ในปัจจุบันเป็นยุคของอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นสื่อหลักที่หลายๆคนสามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก และมีข่าวสารของสิ่งต่างๆที่รวดเร็วและทันสมัยให้อ่าน ในวงการเกมก็เช่นกันครับ เดี๋ยวนี้ข่าวเกมใหม่ๆ เกมน่าสนใจ เหล่านี้สามารถติดตามได้จากเว็บข่าวสารเกม บอร์ดสนทนา หรือแม้แต่ตามเฟซบุ้ค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อวงการนิตยสารเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันนิตยสารเกมที่ยังมีอยู่ในประเทศไทยนั้นหลักๆมีอยู่ 3 เจ้า แต่ในครั้งนี้ผมจะมาแนะนำเจ้าที่ผมติดตามอยู่ครับ ซึ่งมีดีอะไร? ทำไมต้องมาแนะนำ? จะสู้อ่านจากอินเตอร์เน็ตได้หรือ? เดี๋ยวเราจะค่อยๆมาดูไปทีละสเต็ปครับ
ส่วนตรงนี้เป็นอารัมภบทครับ ใครจะอ่านรีวิวเชิญข้ามไปได้เลย
นิตยสารที่จะมาพูดถึงนั้นคือ Play Magazine แต่เดิมเมื่อก่อนคือนิตยสาร EGM ประเทศไทย ซึ่งเป็นนิตยสารต่างประเทศแล้วมีการซื้อลิขสิทธิ์มาแปลเป็นภาษาไทย ในยุคแรกๆของ EGM นั้นจึงมีแต่บทความที่เขียนโดยมุมมองของฝรั่งมาโดยตลอด นับว่าเป็นข้อดีที่จะได้เห็นข้อมูลจากทางสื่อที่สามารถเข้าถึงวงการเกมได้ดีกว่า โดยเฉพาะเนื้อหาพิเศษๆที่ได้จากผู้สร้างเกมโดยตรง หรือบทสัมภาษณ์เฉพาะจากทีมงาน แต่ข้อเสียก็คือความล่าช้ากว่าเจ้าของต้นฉบับอยู่ 1 เล่ม เท่ากับว่าข่าวสารนั้นช้าไป 1 เดือน ถือว่าเป็นข้อเสียใหญ่สำหรับยุคทื่มีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อคู่แข่งครับ
นิตยสาร EGM ตอนนั้นบทความเป็นของเมืองนอก บทสัมภาษณ์นักสร้างเกมโดยเฉพาะก็มีนะ!
ในช่วงท้ายๆ (ผมจำไม่ได้ว่าเล่มที่เท่าไหร่) นิตยสาร EGM ต่างประเทศปิดตัวลง ทำให้ นิตยสาร EGM ประเทศไทยต้องรีบปรับตัวกันยกใหญ่ โดยมีคำแถลงพิเศษของทาง บ.ก. ว่ากำลังพิจารณานิตยสารหัวใหม่ที่จะซื้อมาแทน EGM และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ Play Magazine ครับ
Play Magazine เป็นนิตยสารอีกเจ้าหนึ่งของทางฝรั่ง ซึ่งมีจุดเด่นตรงจะเน้นเกมญี่ปุ่นมากกว่าเจ้าอื่นๆ (พวกเกมภาษาโมเอะๆทั้งหลาย เช่น Hyperdimension Neptunia ปกตินิตยสารฝรั่งจะไม่พูดถึง แต่ Play นั้นไม่พลาด) ในตอนนั้น ทางทีมงาน EGM ของไทยจึงได้เปลี่ยนหัวนิตยสารเริ่มต้นกันใหม่เป็น Play Magazine ประเทศไทยครับ
เริ่มต้นใหม่กับนิตยสาร Play ในภาพเป็นเล่ม 2 ของนิตยสารตัวนี้
ต่อมาเกิดวิกฤติอีกแล้วเมื่อ นิตยสาร Play ของทางต่างประเทศเกิดมีปัญหาไม่ส่งต้นฉบับมา ทำให้ทางทีมงานต้องเขียนเนื้อหากันเองและเข็นออกมาให้ทันตามกำหนด จำได้ว่าช่วงนั้นมีอยู่เล่มหนึ่ง ที่จู่ๆเนื้อหาน้อยกว่า และหนังสือบางลงจนรู้สึกได้ ซึ่งตอนนั้นนิตยสาร Play ของต่างประเทศดูเหมือนจะติดปัญหาจนยกเลิกสัญญากันในที่สุด ทีมงานของ Play ประเทศไทยจึงดำเนินการกันต่อเองในฐานะนิตยสารเกมรายเดือน ซึ่งตรงนี้ทางทีมงานก็พยายามที่จะสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดนักอ่านในยุคที่อินเตอร์เน็ตเป็นใหญ่
นิตยสาร Play ยุคปัจจุบัน เขียนโดยคนไทย 100% ในภาพปกเป็นไรเด็นจาก Metal Gear Rising: Revengeance ซึ่งเป็น Cover Story ของเล่มนี้ แถมคนเขียนเป็นเกมเมอร์หญิงด้วยนะเออ!
เขียนเกริ่นมาตั้งนานก็ได้เวลาเปิดการรีวิวเสียทีครับ อ่านต่อที่ความเห็นถัดไป
[CR] มาแนะนำนิตยสารเกมที่มีให้มากกว่าเรื่องราวของเกมครับ
ส่วนตรงนี้เป็นอารัมภบทครับ ใครจะอ่านรีวิวเชิญข้ามไปได้เลย
นิตยสารที่จะมาพูดถึงนั้นคือ Play Magazine แต่เดิมเมื่อก่อนคือนิตยสาร EGM ประเทศไทย ซึ่งเป็นนิตยสารต่างประเทศแล้วมีการซื้อลิขสิทธิ์มาแปลเป็นภาษาไทย ในยุคแรกๆของ EGM นั้นจึงมีแต่บทความที่เขียนโดยมุมมองของฝรั่งมาโดยตลอด นับว่าเป็นข้อดีที่จะได้เห็นข้อมูลจากทางสื่อที่สามารถเข้าถึงวงการเกมได้ดีกว่า โดยเฉพาะเนื้อหาพิเศษๆที่ได้จากผู้สร้างเกมโดยตรง หรือบทสัมภาษณ์เฉพาะจากทีมงาน แต่ข้อเสียก็คือความล่าช้ากว่าเจ้าของต้นฉบับอยู่ 1 เล่ม เท่ากับว่าข่าวสารนั้นช้าไป 1 เดือน ถือว่าเป็นข้อเสียใหญ่สำหรับยุคทื่มีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อคู่แข่งครับ
นิตยสาร EGM ตอนนั้นบทความเป็นของเมืองนอก บทสัมภาษณ์นักสร้างเกมโดยเฉพาะก็มีนะ!
ในช่วงท้ายๆ (ผมจำไม่ได้ว่าเล่มที่เท่าไหร่) นิตยสาร EGM ต่างประเทศปิดตัวลง ทำให้ นิตยสาร EGM ประเทศไทยต้องรีบปรับตัวกันยกใหญ่ โดยมีคำแถลงพิเศษของทาง บ.ก. ว่ากำลังพิจารณานิตยสารหัวใหม่ที่จะซื้อมาแทน EGM และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ Play Magazine ครับ
Play Magazine เป็นนิตยสารอีกเจ้าหนึ่งของทางฝรั่ง ซึ่งมีจุดเด่นตรงจะเน้นเกมญี่ปุ่นมากกว่าเจ้าอื่นๆ (พวกเกมภาษาโมเอะๆทั้งหลาย เช่น Hyperdimension Neptunia ปกตินิตยสารฝรั่งจะไม่พูดถึง แต่ Play นั้นไม่พลาด) ในตอนนั้น ทางทีมงาน EGM ของไทยจึงได้เปลี่ยนหัวนิตยสารเริ่มต้นกันใหม่เป็น Play Magazine ประเทศไทยครับ
เริ่มต้นใหม่กับนิตยสาร Play ในภาพเป็นเล่ม 2 ของนิตยสารตัวนี้
ต่อมาเกิดวิกฤติอีกแล้วเมื่อ นิตยสาร Play ของทางต่างประเทศเกิดมีปัญหาไม่ส่งต้นฉบับมา ทำให้ทางทีมงานต้องเขียนเนื้อหากันเองและเข็นออกมาให้ทันตามกำหนด จำได้ว่าช่วงนั้นมีอยู่เล่มหนึ่ง ที่จู่ๆเนื้อหาน้อยกว่า และหนังสือบางลงจนรู้สึกได้ ซึ่งตอนนั้นนิตยสาร Play ของต่างประเทศดูเหมือนจะติดปัญหาจนยกเลิกสัญญากันในที่สุด ทีมงานของ Play ประเทศไทยจึงดำเนินการกันต่อเองในฐานะนิตยสารเกมรายเดือน ซึ่งตรงนี้ทางทีมงานก็พยายามที่จะสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดนักอ่านในยุคที่อินเตอร์เน็ตเป็นใหญ่
นิตยสาร Play ยุคปัจจุบัน เขียนโดยคนไทย 100% ในภาพปกเป็นไรเด็นจาก Metal Gear Rising: Revengeance ซึ่งเป็น Cover Story ของเล่มนี้ แถมคนเขียนเป็นเกมเมอร์หญิงด้วยนะเออ!
เขียนเกริ่นมาตั้งนานก็ได้เวลาเปิดการรีวิวเสียทีครับ อ่านต่อที่ความเห็นถัดไป