ถ้าเราเคยศึกษาพุทธประวัติมาบ้าง เราจะได้พบเห็นคำว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งหลายๆคนมักพูดแบบง่ายๆว่า เป็นการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้โดยตรง
แต่หลายๆคนอาจคิดว่า พระพุทธเจ้าต้องโกนผมให้ ทำพิธีเอง ทำทุกอย่างด้วยตัวเองหมดถึงจะเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่
การบวชจะเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา ก็ต่อเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
"เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"
ซึ่งคำพูดประโยคนี้มีเพียงพระพุทธเจ้าที่พูดได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าพระพุทธเจ้าพูดกับใครแสดงว่าคนนั้นได้รับการบวชโดย เอหิภิกขุอุปสัมปทา
แต่ในเรื่องพิธีการบวช พระพุทธเจ้าสามารถใช้ให้พระองค์อื่นทำการแทนได้ ซึ่ง พระสารีบุตร คือคนที่พระพุทธเจ้ามักใช้ให้ทำการบวชอยู่บ่อยๆ
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
1.คำว่า "ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด" พระพุทธเจ้าจะไม่พูดประโยคนี้เมื่อคนผู้นั้นบรรลุอรหันต์ในขณะที่ยังเป็นฆราวาส
แต่พระพุทธเจ้าจะตรัสว่า "เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด"
2.คำว่า "พรหมจรรย์" คือการปฏิบัติธรรม เพื่อให้ถึงการหลุดพ้นจากกิเลส ดังที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆว่า เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
เอหิภิกขุอุปสัมปทา คืออะไร
แต่หลายๆคนอาจคิดว่า พระพุทธเจ้าต้องโกนผมให้ ทำพิธีเอง ทำทุกอย่างด้วยตัวเองหมดถึงจะเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่
การบวชจะเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา ก็ต่อเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
"เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"
ซึ่งคำพูดประโยคนี้มีเพียงพระพุทธเจ้าที่พูดได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าพระพุทธเจ้าพูดกับใครแสดงว่าคนนั้นได้รับการบวชโดย เอหิภิกขุอุปสัมปทา
แต่ในเรื่องพิธีการบวช พระพุทธเจ้าสามารถใช้ให้พระองค์อื่นทำการแทนได้ ซึ่ง พระสารีบุตร คือคนที่พระพุทธเจ้ามักใช้ให้ทำการบวชอยู่บ่อยๆ
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
1.คำว่า "ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด" พระพุทธเจ้าจะไม่พูดประโยคนี้เมื่อคนผู้นั้นบรรลุอรหันต์ในขณะที่ยังเป็นฆราวาส
แต่พระพุทธเจ้าจะตรัสว่า "เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด"
2.คำว่า "พรหมจรรย์" คือการปฏิบัติธรรม เพื่อให้ถึงการหลุดพ้นจากกิเลส ดังที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆว่า เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์