กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 9
ต่อจาก
กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 1
http://ppantip.com/topic/30683816
กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 2
http://ppantip.com/topic/30685306
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 3
http://ppantip.com/topic/30686306
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 4
http://ppantip.com/topic/30686911
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 5
http://ppantip.com/topic/30688939
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 6
http://ppantip.com/topic/30690192
กรรมทันตา อาชีฟเชฟ...อาชีฟทรหด 7
http://ppantip.com/topic/31958337
กรรมทันตา อาชีฟเชฟ...อาชีฟทรหด 8
http://ppantip.com/topic/31965901
สวัสดีครับ
มาฟังเรื่องการเรียนในปี 4 กันต่อนะครับ
นอกจจากเรื่องหลักคือ การฝึกงานอย่างน้อย 3 เดือน
ซึ่งนักศึกษา เพื่อนๆ ของน้องโดนัทหลายคนไปฝึกงานถึง...ต่างประเทศ
ทั้งอเมริกา และยุโรป
ปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ไปแบบ Work & Travel โดยผ่านเอเจนซี่
มีทั้งแบบส่งโปรไฟล์ไปให้พิจารณา แต่ผ่านยากมาก
นอกจากจะมีญาติพี่น้อง ทำกิจการ หรือร้านอาหารอยู่ในเมืองนอก
และส่วนใหญ่เป็นแบบที่มี เชฟ ของแต่ละแห่งบินมาคัดตัว
ถึง ม.ราชภัฏสวนดุสิต
ทดสอบแบบตัวต่อตัว ทำอาหารให้ดูไป พูดอธิบายไป
ถ้าผ่านก็ต้องจ่ายค่าตั๋ว ค่าธรรมเนียม ค่าเอเจนซี่
ล่าสุดนี่รวม ๆ แล้วประมาณ 100,000 – 150,000 บาท
แต่ไปทำงานแค่ 4 – 6 เดือน ก็ได้คืนแล้ว
ส่วนใหญ่จะทำสัญญาอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ปี
เพื่อนลูกสาวของผมคนหนึ่ง ชื่อ...น้องน้ำอ้อย
พ่อแม่ ขายส้มตำ ไก่ย่าง อาหารอีสานแบบแท้ดั้งเดิม
อยู่หน้าโรงงาน แถวซอยลาซาน บางนา
ไปฝึกงานถึง วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
ดูเหมือนจะเป็นโรงแรมอะไรซักกะอย่าง
ไปถึงใหม่ก็ เด๋อ ๆ ด๋า ๆ ตามประสากระเหรี่ยงไทย
สปีคอือ ๆ ออ ๆ งง ๆ กันไปทั้งไทย ทั้งฝรั่ง
โดนทีมงานฝรั่งรุ่นพี่ดูถูกเหยียดหยามตามประสา เด็กใหม่
ต้องไปทำงานค่อนไปทางแรงงาน งานที่รุ่นพี่ไม่อยากจะทำ
หรือเป็นตัวสแปร์ สำรอง ทำมันทุกหน้าที่
กระทั่งวันนึง ไอ้รุ่นพี่ประจำแผนกย่างไก่ อบไก่ แว่บบบ..บ ไปไหนไม่รู้
น้องน้ำอ้อย เลยต้องโดดเข้าไปช่วยแก้ขัดแทน
งานเสร็จส่งไก่ที่ อบ ย่าง ออกไปหน้าเคาท์เตอร์เรียบร้อย
ออกมาพัก เพราะทั้งเหนื่อย ทั้งร้อน พูดบ่นกับใครก็ไม่ได้
สปีคอังกฤษ สำเนียงกะเหรี่ยงกันไม่ค่อยรู้เรื่อง....
มาตกใจเอา ก็เพราะได้ยินเสียง เชฟใหญ่ เอะอะเอ็ดตะโรลั่นครัว
จับความได้แค่...ใครวะ ใครทำบอกมา
เรียกตัวมาผมกับ ไอ เดี๋ยวนี้
ยื่นหน้าเข้าไปดูในครัวเห็น ทู๊กก..ก คนทำหน้าตาตื่น
แล้วหลายคนก็ชี้นิ้วมาที่ กระเหรี่ยงไทยอิสาน ตัวเตี้ย ๆ คนนี้นี่เอง ง ง ง
เธอเล่าให้ลูกสาวฟังว่า...ความรู้สึกตอนนั้นมัน หายร้อน.น.น ไปทันที
แต่เย็น วาบ บ บ บ...เข้ามาแทน
เมื่อไปยืนต่อหน้าทุกคน เชฟใหญ่ ก็ถามว่า
ยู ใช่มั๊ยที่ทำเมนู ไก่ ส่งออกไป
ไอ้ฝรั่งรุ่นพี่คนที่ประจำแผนก ไม่รู้มันมาจากไหน
รีบคอนเฟิร์มยืนยันทันที เยส...เยส นังเด็กใหม่คนนี้แหละ ฮึ
เชฟใหญ่ มองสำรวจหัว จรดเท้าสามรอบ
แล้วเอื้อมมือมาจับบ่าทั้งสองข้าง
ไก่ ของยู มันเอ็กซเล้นท์มาก....
มันได้อย่างใจ ไอ จีงงงง จิงงงงง
ต่อไปนี้ ยู มาสอนย่างไก่ให้พวกนี้หน่อยนะ โอเค๊
ตั้งแต่วันนั้นมา งานหนัก ๆ ไม่ต้องทำแล้ว
ได้ยกระดับ ขึ้นเป็นมือโปรฯ ด้านย่างอบไก่ไปซะแล้วววว
เธอบอก...โธ่ มันอยู่ในสายเลือด ย่างไก่มาตั้งแต่จำความได้.....
เรื่องงานวิจัย และการสอบ...ผู้สัมผัสอาหาร
ผมจำสับสนเองแหละ
มันต้องส่งตั้งแต่เริ่ม ๆ เปิดเทอมแรก ก่อนไปฝึกงานซะอีก
การทำวิจัย...
เจตนาอาจารย์ผู้สอน ต้องการให้นักศึกษาได้เรียนรู้แบบเจาะลึก
ออกความคิด เอาวัตถุดิบพื้น ๆ ของบ้านเรา
มาพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่เป็นอยู่ ให้มันหลากหลายขึ้นไปอีก
ลูกสาวของผม ได้ทำเรื่อง มะยม กับมะเฟือง
ซึ่งช่วงเวลานั้น มันไม่ใช่หน้าฤดูกาลออกลูก ออกผล ซะด้วยซิ
กว่าจะตามหาซื้อมาได้อย่างละ 2 – 3 ก.ก.แทบตาย
ตะเวณไปสารพัดตลาด
เอามาทำ แยม
แยมมะเฟือง กับ แยมมะยม
ผมแอบชิม ระหว่างกำลังเคี่ยวทำใกล้เสร็จ
แยมมะยม รสชาติเหมือน บ๊วยแผ่น อ่ะ
แต่น้องโดนัท บอกต้องราดบนไอศกรีมถึงจะอร่อย
ส่วนแยมมะเฟือง อร่อยมากเลยแหละ
แต่ภรรยาผม บอกทีหลังไม่ต้องทำอีกแล้วนะ
เคี่ยวทีตั้งครึ่งค่อนวัน เปลืองแก๊สไปตั้งเท่าไหร่แล้ว
ภรรยาของผมเธอเป็นคน อ่อนหวาน
คือ...ออกไปทาง เค็ม อ่ะครับ
อ้อ...มีผู้ฟังบางท่านสงสัยว่า การเรียน การสอบ เค้าทำกันยังไง
ถามให้แล้ว ลูกสาวบอกก็เรียนทั้ง ทฤษฎี ทั้งปฏิบัติ
ห้องเรียนก็มีทั้งที่เป็นแบบทั่ว ๆ ไป สำหรับเรียนทฤษฎี
และแบบที่เป็น ห้องครัว กึ่งห้องเรียน
คือมี เคาน์เตอร์สเตชั่นทำอาหาร มีเตา มีเขียง มีก๊อกน้ำ อ่างล้าง
อยู่หน้าห้องเรียน
มีนักเรียน นักศึกษา นั่งดู นั่งจดจำ ห่างไป
และแบบที่เป็นครัวเต็มรูปแบบ มีเคาน์เตอร์สเตชั่น สแตนเลสเรียงเป็นแถวเยอะแยะ
นักศึกษาที่จะเข้าเรียนปฏิบัติ ต้องแต่งชุดเชฟ
ชุดทำครัว ครบทั้งเสื้อ หมวก ผ้ากันเปื้อน รองเท้ากันลื่น
จำนวนนักเรียนก็เยอะ ต้องจัดกลุ่มกันกลุ่มละ 3 คน 5 คน หรือ 10 คน
แต่อาจารย์จะกระจายเด็ก เก่ง และไม่เก่งในทุกกลุ่ม
เพื่อให้คนเก่ง ช่วยเป็นแกนนำแรงเหวี่ยงให้เพื่อนที่อ่อนกว่า
ต้องเข้าใจกันก่อนนะครับว่า มหาลัยฯ หรืออาจารย์
ท่านสอนให้รู้จัก มาตรฐาน เป็นสำคัญก่อนอื่น
สอนทำตามสูตร ตามมาตรฐานสากล
เรื่องรสชาติอร่อย เป็นเรื่องของเทคนิคตามมา
แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า...จำนวนนักศึกษามันเยอะ
เนื้อหาการเรียน ก็ยัดอัดทะนานมาแน่นไปหมด
เวลาของการได้ลงมือทำจริง มันก็น้อย
แต่ที่น้อยยยยยยย...ย..ย.ย ที่สุด
คือ เงิน งบประมาณ ที่ได้จากหลวง
เคยคุยกับลูกสาวว่า ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว
การเรียนแต่ละเมนู แต่ละอย่างแค่แป๊บบ..บ.บ เดียว
เด็กที่หัวอ่อน หัวช้าหน่อย ก็แย่นะซิ
ตัวเด็กนักศึกษาต้องขวนขวายไปหาทางฝึกฝนเอาข้างนอกเอง
ต้องขยันตะเกียก ตะกาย ไปลงมือทำซ้ำ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีกบ่อย ๆ
ถึงต้องมีการบังคับให้ฝึกงานเยอะ ๆ ในแต่ละเทอม
น้องโดนัท กับเพื่อนบางคนถึงต้องหาความรู้ด้วยการทำงาน
เป็นผู้ช่วยสอน ในวันหยุดอย่างที่เล่าไปตั้งแต่ตอนแรก ๆ
ยอมเหนื่อยหนักก็เพราะเหตุนี้แหละ
ส่วนการ สอบ ก็เหมือนกัน
มีทั้งทฤษฎี เขียนอธิบายกันหลาย ๆ หน้ากระดาษ
และแบบที่ต้อง ไปเตรียมวัตถุดิบสด ๆ มาให้พร้อม
จัดการปรุงทำกันบนเตาจริง ๆ
ต่อหน้าอาจารย์ ตัวต่อตัว หรือกลุ่มเล็ก ๆ
แล้วชิมให้คะแนนกันตรงนั้นเลย
ขอย้อนกลับมาเรื่องการไปฝึกงานแบบ Work & Travel
หรือการไปฝึกทำงานที่ต่างประเทศ
โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 บาท บวก..บวก
มีคนสงสัยเยอะว่าทำไม น้องโดนัท ถึงไม่ไปบ้างล่ะ
ยืดอกบอกตรง ๆ ครับ....ไม่มีสตางค์
เท่าที่ส่งลูกเรียนได้รอดครบ 4 ปีนี่
ทั้งผมและภรรยา ก็แทบขาดใจ เป็นหนี้เพิ่มขึ้นก็ไม่น้อย
ทำยังไงได้ ลูก คือ...แก้วตา ดวงใจ
อีกประการ ก็ตัวลูกสาวเองก็ไม่ได้มีความรู้สึกอยากจะไป
คงเห็นและเข้าใจสถานการณ์ของครอบครัวตลอดเวลา
ผมกับภรรยาเลี้ยงลูกแบบ...เพื่อน
เราแชร์สุขทุกข์กัน พูดคุยปรึกษากันตลอดเวลา
เรื่องราวหลากหลายที่เข้ามาในแต่ละวัน
เราก็เอามาคุย มาถกเถียง หาวิธีการรับมือกับมัน
ทั้งทางความคิด ทั้งการกระทำ
เหตุผลที่สำคัญอีกอย่างคือ
ลองปรึกษากับอาจารย์ที่สนิทกับน้องโดนัท หลาย ๆ ท่าน
ได้ข้อคิดว่า ส่วนใหญ่เด็กสายงานนี้ก็ต้องไปทำงานในครัว
ของโรงแรมขนาดใหญ่เกือบทั้งนั้น
เป็นระบบ เชน หรือสาขาทั่วโลก
มันมีระเบียบระบบ มีสไตล์การทำงานที่เป็นมาตรฐาน
เหมือนกันแทบทั้งนั้น
จะต่างกันไปก็ตัว เชฟใหญ่
เพื่อนร่วมงาน และสังคมรอบข้างในครัว
วัน ๆ นึงก็ตื่นขึ้นมาก็รีบเข้าครัว ทำงานหัวหมุนวุ่นวายไปจนดึกดื่น
เหนื่อยหนัก เซซังกลับมาซุกหัวนอน อย่างนี้ทู๊กกก..ก วัน
วันเวรหยุดก็อยู่กับเด็กไทยด้วยกัน เพื่อความปลอดภัยและ อุ่นใจ
ถึงจะออกไปเที่ยว ก็เที่ยวกับกะเหรี่ยงไทยด้วยกัน
พอว่างก็เล่นเฟสบุ๊ค ภาษาไทย
ไม่ค่อยได้ฝึกฝนภาษาฝรั่ง ซักเท่าไหร่
น่าเสียดาย
อีกอย่างที่น้องโดนัท อยากฝากบอก
แน่นอนในสายตาของผม ม.ราชภัฎสวนดุสิต ดีแน่ ๆ
ค่าเรียนพอรับไหว สังคมเด็กที่นี่ไม่เหลื่อมล้ำกันมาก
ปากกัดเท้าถีบ ดิ้นรนมาจากต่างจังหวัดเกือบทั้งนั้น
ยังสดใส ไม่ค่อยมี มายา และมารยา
คือสถารที่เรียน...มีความพร้อมทั้งเครื่องไม้ เครื่องมือ
อุปกรณ์ไม่เป็นรองใคร
มีครู อาจารย์ ที่มีความสามารถระดับที่เคยตระเวนทำงานไปแล้วทั่วโลก
แถมยังมีหน่วยงานพิเศษ เช่น ร.ร.การอาหารนานาชาติ ที่สอนคนภายนอก
มี Thailand Culinary Academy ที่รวมหัวกันของคนเก่งระดับ...โลก
ที่พร้อมเปิดโอกาสให้คน ทู๊กกกกก....ก คน
ที่กล้าเดินเข้ามาขอฝึกฝน เรียนรู้
แถมยังสนับสนุนหาเงินทุน มาส่งให้ไปไขว่ฟ้า คว้าดาว
แข่งขันในเวทีระดับ อินเตอร์เนชั่นแนล
แต่...สถาบัน หรือโรงเรียนอื่นก็ไม่ใช่ไม่ดี
คีย์สำคัญ ของเรื่องทั้งหมดก็อยู่ที่...ตัวเด็กนักศึกษา
ว่าเค้าจะเอาจริงเอาจังกับชีวิต กับอาชีพ กับอนาคตของตัวเอง
การเรียนในห้องเรียน เป็นความรู้ที่เป็นมาตรฐาน
แต่มันไม่พอ ยังไงก็ไม่พอออออ...อ..อ
ต้องออกไปแสวงหาโอกาส หาประสบการณ์ทำงาน
ฝึกมือ ฝึกทักษะ ให้มากถึงมากที่สุด
เด็ก ม.สวนดุสิต ที่ไม่เอาไหน
เข้ากลุ่มเพื่อนผิด ๆ ห่างบ้าน ไกลพ่อแม่
หลงระเริงกับอิสระที่หาขอบเขตไม่เจอ...ก็เยอะ เยอะ แยะ
เด็กมหาลัยเอกชน รวย ๆ แพง ๆ
ก็ตามประสาคนมีสตางค์ ไม่ค่อยเคยลำบาก
มาเรียนทางสายงานนี้ ถึงได้รู้ว่ามัน โคตะระ เหนื่อย ย ย
วิ่งเผ่น หันหน้าหนีไปเยอะเหมือนกัน
แต่...ไอ้ที่ทัศนคติเป็น บวก หันหน้าชนสู้ตาย
ทางบ้านมีความพร้อม ตัวเด็กมีความกระตือรือร้น
ก็ยิ่งไปไกล ไปได้ง่ายกว่า...เค้าทำบุญสะสมมาเยอะกว่า
พอไปฝึกงานแล้ว ถึงได้เข้าใจ...คำว่า สถาบัน ไม่มีความหมาย
เชฟใหญ่ หรือเพื่อนร่วมงานเค้า วัด คุณที่คุณภาพ ที่ความสามารถ
ไม่มีใครถามหรอกว่า เรียนจบที่ไหนมา เสียเงินกี่แสนกี่ล้าน
สำหรับพวกเค้า...มันไร้สาระ
ว่ากันที่ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดล้วน...ล้วน
ณ.ตอนนี้ลูกสาวผม ก็ฝึกงานเสร็จหมดเแล้ว
ถือว่าเรียนจบแล้ว....
แต่ก็เรียกว่า เป็นการเริ่มต้นของชีวิต จริง
ไม่ใช่ นักศึกษา อีกต่อไปแล้ว
ช่วงต่อของชีวิตที่ออกจะงง ๆ สับสนอลหม่าน
ยังไม่ทันหายเหนื่อย ก็ต้องวุ่นวายกับการหางาน
การวางแผนเดินเส้นทางชีวิตต่อไปอีกแล้ว
ไม่รู้ว่าท่านทั้งหลาย
ยังอยากฟังกันต่อหรือเปล่า ครับ
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 10
http://ppantip.com/topic/32001727
หรือใน บล๊อกแก็งค์
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tobeteam
อนณ 093-149-9564
tobeteam@yahoo.com
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 9
ต่อจาก
กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 1
http://ppantip.com/topic/30683816
กรรมทันตา อาชีพเชฟ..อาชีพทรหด 2
http://ppantip.com/topic/30685306
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 3
http://ppantip.com/topic/30686306
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 4
http://ppantip.com/topic/30686911
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 5
http://ppantip.com/topic/30688939
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 6
http://ppantip.com/topic/30690192
กรรมทันตา อาชีฟเชฟ...อาชีฟทรหด 7
http://ppantip.com/topic/31958337
กรรมทันตา อาชีฟเชฟ...อาชีฟทรหด 8
http://ppantip.com/topic/31965901
สวัสดีครับ
มาฟังเรื่องการเรียนในปี 4 กันต่อนะครับ
นอกจจากเรื่องหลักคือ การฝึกงานอย่างน้อย 3 เดือน
ซึ่งนักศึกษา เพื่อนๆ ของน้องโดนัทหลายคนไปฝึกงานถึง...ต่างประเทศ
ทั้งอเมริกา และยุโรป
ปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ไปแบบ Work & Travel โดยผ่านเอเจนซี่
มีทั้งแบบส่งโปรไฟล์ไปให้พิจารณา แต่ผ่านยากมาก
นอกจากจะมีญาติพี่น้อง ทำกิจการ หรือร้านอาหารอยู่ในเมืองนอก
และส่วนใหญ่เป็นแบบที่มี เชฟ ของแต่ละแห่งบินมาคัดตัว
ถึง ม.ราชภัฏสวนดุสิต
ทดสอบแบบตัวต่อตัว ทำอาหารให้ดูไป พูดอธิบายไป
ถ้าผ่านก็ต้องจ่ายค่าตั๋ว ค่าธรรมเนียม ค่าเอเจนซี่
ล่าสุดนี่รวม ๆ แล้วประมาณ 100,000 – 150,000 บาท
แต่ไปทำงานแค่ 4 – 6 เดือน ก็ได้คืนแล้ว
ส่วนใหญ่จะทำสัญญาอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ปี
เพื่อนลูกสาวของผมคนหนึ่ง ชื่อ...น้องน้ำอ้อย
พ่อแม่ ขายส้มตำ ไก่ย่าง อาหารอีสานแบบแท้ดั้งเดิม
อยู่หน้าโรงงาน แถวซอยลาซาน บางนา
ไปฝึกงานถึง วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
ดูเหมือนจะเป็นโรงแรมอะไรซักกะอย่าง
ไปถึงใหม่ก็ เด๋อ ๆ ด๋า ๆ ตามประสากระเหรี่ยงไทย
สปีคอือ ๆ ออ ๆ งง ๆ กันไปทั้งไทย ทั้งฝรั่ง
โดนทีมงานฝรั่งรุ่นพี่ดูถูกเหยียดหยามตามประสา เด็กใหม่
ต้องไปทำงานค่อนไปทางแรงงาน งานที่รุ่นพี่ไม่อยากจะทำ
หรือเป็นตัวสแปร์ สำรอง ทำมันทุกหน้าที่
กระทั่งวันนึง ไอ้รุ่นพี่ประจำแผนกย่างไก่ อบไก่ แว่บบบ..บ ไปไหนไม่รู้
น้องน้ำอ้อย เลยต้องโดดเข้าไปช่วยแก้ขัดแทน
งานเสร็จส่งไก่ที่ อบ ย่าง ออกไปหน้าเคาท์เตอร์เรียบร้อย
ออกมาพัก เพราะทั้งเหนื่อย ทั้งร้อน พูดบ่นกับใครก็ไม่ได้
สปีคอังกฤษ สำเนียงกะเหรี่ยงกันไม่ค่อยรู้เรื่อง....
มาตกใจเอา ก็เพราะได้ยินเสียง เชฟใหญ่ เอะอะเอ็ดตะโรลั่นครัว
จับความได้แค่...ใครวะ ใครทำบอกมา
เรียกตัวมาผมกับ ไอ เดี๋ยวนี้
ยื่นหน้าเข้าไปดูในครัวเห็น ทู๊กก..ก คนทำหน้าตาตื่น
แล้วหลายคนก็ชี้นิ้วมาที่ กระเหรี่ยงไทยอิสาน ตัวเตี้ย ๆ คนนี้นี่เอง ง ง ง
เธอเล่าให้ลูกสาวฟังว่า...ความรู้สึกตอนนั้นมัน หายร้อน.น.น ไปทันที
แต่เย็น วาบ บ บ บ...เข้ามาแทน
เมื่อไปยืนต่อหน้าทุกคน เชฟใหญ่ ก็ถามว่า
ยู ใช่มั๊ยที่ทำเมนู ไก่ ส่งออกไป
ไอ้ฝรั่งรุ่นพี่คนที่ประจำแผนก ไม่รู้มันมาจากไหน
รีบคอนเฟิร์มยืนยันทันที เยส...เยส นังเด็กใหม่คนนี้แหละ ฮึ
เชฟใหญ่ มองสำรวจหัว จรดเท้าสามรอบ
แล้วเอื้อมมือมาจับบ่าทั้งสองข้าง
ไก่ ของยู มันเอ็กซเล้นท์มาก....
มันได้อย่างใจ ไอ จีงงงง จิงงงงง
ต่อไปนี้ ยู มาสอนย่างไก่ให้พวกนี้หน่อยนะ โอเค๊
ตั้งแต่วันนั้นมา งานหนัก ๆ ไม่ต้องทำแล้ว
ได้ยกระดับ ขึ้นเป็นมือโปรฯ ด้านย่างอบไก่ไปซะแล้วววว
เธอบอก...โธ่ มันอยู่ในสายเลือด ย่างไก่มาตั้งแต่จำความได้.....
เรื่องงานวิจัย และการสอบ...ผู้สัมผัสอาหาร
ผมจำสับสนเองแหละ
มันต้องส่งตั้งแต่เริ่ม ๆ เปิดเทอมแรก ก่อนไปฝึกงานซะอีก
การทำวิจัย...
เจตนาอาจารย์ผู้สอน ต้องการให้นักศึกษาได้เรียนรู้แบบเจาะลึก
ออกความคิด เอาวัตถุดิบพื้น ๆ ของบ้านเรา
มาพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่เป็นอยู่ ให้มันหลากหลายขึ้นไปอีก
ลูกสาวของผม ได้ทำเรื่อง มะยม กับมะเฟือง
ซึ่งช่วงเวลานั้น มันไม่ใช่หน้าฤดูกาลออกลูก ออกผล ซะด้วยซิ
กว่าจะตามหาซื้อมาได้อย่างละ 2 – 3 ก.ก.แทบตาย
ตะเวณไปสารพัดตลาด
เอามาทำ แยม
แยมมะเฟือง กับ แยมมะยม
ผมแอบชิม ระหว่างกำลังเคี่ยวทำใกล้เสร็จ
แยมมะยม รสชาติเหมือน บ๊วยแผ่น อ่ะ
แต่น้องโดนัท บอกต้องราดบนไอศกรีมถึงจะอร่อย
ส่วนแยมมะเฟือง อร่อยมากเลยแหละ
แต่ภรรยาผม บอกทีหลังไม่ต้องทำอีกแล้วนะ
เคี่ยวทีตั้งครึ่งค่อนวัน เปลืองแก๊สไปตั้งเท่าไหร่แล้ว
ภรรยาของผมเธอเป็นคน อ่อนหวาน
คือ...ออกไปทาง เค็ม อ่ะครับ
อ้อ...มีผู้ฟังบางท่านสงสัยว่า การเรียน การสอบ เค้าทำกันยังไง
ถามให้แล้ว ลูกสาวบอกก็เรียนทั้ง ทฤษฎี ทั้งปฏิบัติ
ห้องเรียนก็มีทั้งที่เป็นแบบทั่ว ๆ ไป สำหรับเรียนทฤษฎี
และแบบที่เป็น ห้องครัว กึ่งห้องเรียน
คือมี เคาน์เตอร์สเตชั่นทำอาหาร มีเตา มีเขียง มีก๊อกน้ำ อ่างล้าง
อยู่หน้าห้องเรียน
มีนักเรียน นักศึกษา นั่งดู นั่งจดจำ ห่างไป
และแบบที่เป็นครัวเต็มรูปแบบ มีเคาน์เตอร์สเตชั่น สแตนเลสเรียงเป็นแถวเยอะแยะ
นักศึกษาที่จะเข้าเรียนปฏิบัติ ต้องแต่งชุดเชฟ
ชุดทำครัว ครบทั้งเสื้อ หมวก ผ้ากันเปื้อน รองเท้ากันลื่น
จำนวนนักเรียนก็เยอะ ต้องจัดกลุ่มกันกลุ่มละ 3 คน 5 คน หรือ 10 คน
แต่อาจารย์จะกระจายเด็ก เก่ง และไม่เก่งในทุกกลุ่ม
เพื่อให้คนเก่ง ช่วยเป็นแกนนำแรงเหวี่ยงให้เพื่อนที่อ่อนกว่า
ต้องเข้าใจกันก่อนนะครับว่า มหาลัยฯ หรืออาจารย์
ท่านสอนให้รู้จัก มาตรฐาน เป็นสำคัญก่อนอื่น
สอนทำตามสูตร ตามมาตรฐานสากล
เรื่องรสชาติอร่อย เป็นเรื่องของเทคนิคตามมา
แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า...จำนวนนักศึกษามันเยอะ
เนื้อหาการเรียน ก็ยัดอัดทะนานมาแน่นไปหมด
เวลาของการได้ลงมือทำจริง มันก็น้อย
แต่ที่น้อยยยยยยย...ย..ย.ย ที่สุด
คือ เงิน งบประมาณ ที่ได้จากหลวง
เคยคุยกับลูกสาวว่า ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว
การเรียนแต่ละเมนู แต่ละอย่างแค่แป๊บบ..บ.บ เดียว
เด็กที่หัวอ่อน หัวช้าหน่อย ก็แย่นะซิ
ตัวเด็กนักศึกษาต้องขวนขวายไปหาทางฝึกฝนเอาข้างนอกเอง
ต้องขยันตะเกียก ตะกาย ไปลงมือทำซ้ำ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีกบ่อย ๆ
ถึงต้องมีการบังคับให้ฝึกงานเยอะ ๆ ในแต่ละเทอม
น้องโดนัท กับเพื่อนบางคนถึงต้องหาความรู้ด้วยการทำงาน
เป็นผู้ช่วยสอน ในวันหยุดอย่างที่เล่าไปตั้งแต่ตอนแรก ๆ
ยอมเหนื่อยหนักก็เพราะเหตุนี้แหละ
ส่วนการ สอบ ก็เหมือนกัน
มีทั้งทฤษฎี เขียนอธิบายกันหลาย ๆ หน้ากระดาษ
และแบบที่ต้อง ไปเตรียมวัตถุดิบสด ๆ มาให้พร้อม
จัดการปรุงทำกันบนเตาจริง ๆ
ต่อหน้าอาจารย์ ตัวต่อตัว หรือกลุ่มเล็ก ๆ
แล้วชิมให้คะแนนกันตรงนั้นเลย
ขอย้อนกลับมาเรื่องการไปฝึกงานแบบ Work & Travel
หรือการไปฝึกทำงานที่ต่างประเทศ
โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 บาท บวก..บวก
มีคนสงสัยเยอะว่าทำไม น้องโดนัท ถึงไม่ไปบ้างล่ะ
ยืดอกบอกตรง ๆ ครับ....ไม่มีสตางค์
เท่าที่ส่งลูกเรียนได้รอดครบ 4 ปีนี่
ทั้งผมและภรรยา ก็แทบขาดใจ เป็นหนี้เพิ่มขึ้นก็ไม่น้อย
ทำยังไงได้ ลูก คือ...แก้วตา ดวงใจ
อีกประการ ก็ตัวลูกสาวเองก็ไม่ได้มีความรู้สึกอยากจะไป
คงเห็นและเข้าใจสถานการณ์ของครอบครัวตลอดเวลา
ผมกับภรรยาเลี้ยงลูกแบบ...เพื่อน
เราแชร์สุขทุกข์กัน พูดคุยปรึกษากันตลอดเวลา
เรื่องราวหลากหลายที่เข้ามาในแต่ละวัน
เราก็เอามาคุย มาถกเถียง หาวิธีการรับมือกับมัน
ทั้งทางความคิด ทั้งการกระทำ
เหตุผลที่สำคัญอีกอย่างคือ
ลองปรึกษากับอาจารย์ที่สนิทกับน้องโดนัท หลาย ๆ ท่าน
ได้ข้อคิดว่า ส่วนใหญ่เด็กสายงานนี้ก็ต้องไปทำงานในครัว
ของโรงแรมขนาดใหญ่เกือบทั้งนั้น
เป็นระบบ เชน หรือสาขาทั่วโลก
มันมีระเบียบระบบ มีสไตล์การทำงานที่เป็นมาตรฐาน
เหมือนกันแทบทั้งนั้น
จะต่างกันไปก็ตัว เชฟใหญ่
เพื่อนร่วมงาน และสังคมรอบข้างในครัว
วัน ๆ นึงก็ตื่นขึ้นมาก็รีบเข้าครัว ทำงานหัวหมุนวุ่นวายไปจนดึกดื่น
เหนื่อยหนัก เซซังกลับมาซุกหัวนอน อย่างนี้ทู๊กกก..ก วัน
วันเวรหยุดก็อยู่กับเด็กไทยด้วยกัน เพื่อความปลอดภัยและ อุ่นใจ
ถึงจะออกไปเที่ยว ก็เที่ยวกับกะเหรี่ยงไทยด้วยกัน
พอว่างก็เล่นเฟสบุ๊ค ภาษาไทย
ไม่ค่อยได้ฝึกฝนภาษาฝรั่ง ซักเท่าไหร่
น่าเสียดาย
อีกอย่างที่น้องโดนัท อยากฝากบอก
แน่นอนในสายตาของผม ม.ราชภัฎสวนดุสิต ดีแน่ ๆ
ค่าเรียนพอรับไหว สังคมเด็กที่นี่ไม่เหลื่อมล้ำกันมาก
ปากกัดเท้าถีบ ดิ้นรนมาจากต่างจังหวัดเกือบทั้งนั้น
ยังสดใส ไม่ค่อยมี มายา และมารยา
คือสถารที่เรียน...มีความพร้อมทั้งเครื่องไม้ เครื่องมือ
อุปกรณ์ไม่เป็นรองใคร
มีครู อาจารย์ ที่มีความสามารถระดับที่เคยตระเวนทำงานไปแล้วทั่วโลก
แถมยังมีหน่วยงานพิเศษ เช่น ร.ร.การอาหารนานาชาติ ที่สอนคนภายนอก
มี Thailand Culinary Academy ที่รวมหัวกันของคนเก่งระดับ...โลก
ที่พร้อมเปิดโอกาสให้คน ทู๊กกกกก....ก คน
ที่กล้าเดินเข้ามาขอฝึกฝน เรียนรู้
แถมยังสนับสนุนหาเงินทุน มาส่งให้ไปไขว่ฟ้า คว้าดาว
แข่งขันในเวทีระดับ อินเตอร์เนชั่นแนล
แต่...สถาบัน หรือโรงเรียนอื่นก็ไม่ใช่ไม่ดี
คีย์สำคัญ ของเรื่องทั้งหมดก็อยู่ที่...ตัวเด็กนักศึกษา
ว่าเค้าจะเอาจริงเอาจังกับชีวิต กับอาชีพ กับอนาคตของตัวเอง
การเรียนในห้องเรียน เป็นความรู้ที่เป็นมาตรฐาน
แต่มันไม่พอ ยังไงก็ไม่พอออออ...อ..อ
ต้องออกไปแสวงหาโอกาส หาประสบการณ์ทำงาน
ฝึกมือ ฝึกทักษะ ให้มากถึงมากที่สุด
เด็ก ม.สวนดุสิต ที่ไม่เอาไหน
เข้ากลุ่มเพื่อนผิด ๆ ห่างบ้าน ไกลพ่อแม่
หลงระเริงกับอิสระที่หาขอบเขตไม่เจอ...ก็เยอะ เยอะ แยะ
เด็กมหาลัยเอกชน รวย ๆ แพง ๆ
ก็ตามประสาคนมีสตางค์ ไม่ค่อยเคยลำบาก
มาเรียนทางสายงานนี้ ถึงได้รู้ว่ามัน โคตะระ เหนื่อย ย ย
วิ่งเผ่น หันหน้าหนีไปเยอะเหมือนกัน
แต่...ไอ้ที่ทัศนคติเป็น บวก หันหน้าชนสู้ตาย
ทางบ้านมีความพร้อม ตัวเด็กมีความกระตือรือร้น
ก็ยิ่งไปไกล ไปได้ง่ายกว่า...เค้าทำบุญสะสมมาเยอะกว่า
พอไปฝึกงานแล้ว ถึงได้เข้าใจ...คำว่า สถาบัน ไม่มีความหมาย
เชฟใหญ่ หรือเพื่อนร่วมงานเค้า วัด คุณที่คุณภาพ ที่ความสามารถ
ไม่มีใครถามหรอกว่า เรียนจบที่ไหนมา เสียเงินกี่แสนกี่ล้าน
สำหรับพวกเค้า...มันไร้สาระ
ว่ากันที่ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดล้วน...ล้วน
ณ.ตอนนี้ลูกสาวผม ก็ฝึกงานเสร็จหมดเแล้ว
ถือว่าเรียนจบแล้ว....
แต่ก็เรียกว่า เป็นการเริ่มต้นของชีวิต จริง
ไม่ใช่ นักศึกษา อีกต่อไปแล้ว
ช่วงต่อของชีวิตที่ออกจะงง ๆ สับสนอลหม่าน
ยังไม่ทันหายเหนื่อย ก็ต้องวุ่นวายกับการหางาน
การวางแผนเดินเส้นทางชีวิตต่อไปอีกแล้ว
ไม่รู้ว่าท่านทั้งหลาย
ยังอยากฟังกันต่อหรือเปล่า ครับ
กรรมทันตา อาชีพเชฟ...อาชีพทรหด 10
http://ppantip.com/topic/32001727
หรือใน บล๊อกแก็งค์
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tobeteam
อนณ 093-149-9564
tobeteam@yahoo.com