พล อ. เปรม อดีตผ.บ ท.บ ที่มีวาสนาได้เป็นนายกรัฐมนตรีถึง 8 ปี จนมาถึงการเลือกตั้งปี2531
พรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุน พล อ. เปรมให้เป็นนายกต่อ แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ
และประชาชนส่วนหนึ่งที่อยากเห็น นายก ที่มาจากเลือกตั้งบ้าง พล อ.เปรมจึงตัดสินใจวางมือ
พร้อมกับเอ่ยวลีอมตะว่า "ผมพอแล้ว" หลังจากนั้น พล อ เปรม ก็ได้รับการโปรดเกล้าเป็นองคมนตรี
จนเมื่อ อ. สัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม พล อ เปรม จึงก้าวมาเป็นประธานองคมนตรี พล อ เปรม
ยังได้รับการโปรดเกล้า ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษในวันที่ 29 สิงหาคม 2531
วาทกรรม "ผมพอแล้ว" ฟังดูเผินๆเหมือนกับว่า พล อ เปรม วางมือทางการเมืองแล้ว แต่ความเป็นจริงแล้ว
ผู้ที่ติดตามการเมืองมาตลอด จะรู้ว่า อำนาจบารมีของ พล อ เปรม นั้นยิ่งใหญ่กว่านายกทุกคน จนเมื่อ พตท ทักษิณ
ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายก ด้วยความที่ทักษิณประสบความสำเร็จจากภาคธุรกิจมาก่อน จึงมีการบริหารจัดการแบบ
ภาคเอกชน จึงมองข้ามความสำคัญของ พล อ เปรมไป ทำให้ พล อ เปรม เก็บความไม่พอใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนเมื่อทักษิณกล่าวถึง "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" พล อ เปรม จึงได้โอกาสเดินสายด่ารัฐบาลทันที โดยเปรียบ
รัฐบาลเป็นเพียง จ็อกกี้ ไม่ใช่เจ้าของ ต่อมาด้วยการสนับสนุนของคนผู้นี้นี่เอง การรัฐประหารปี49 จึงสำเร็จอย่างง่ายดาย
ทั้งๆที่ไทยว่างเว้นจากการมีรัฐประหารมาแล้ว 15 ปี
ตั้งแต่มีรัฐประหารปี 49 แล้ว ประเทศไทยเราก็อยู่ในวังวนความขัดแย้ง ของเผด็จการ กับฝ่ายประชาธิปไตย ซึ่งนับวันจะทวี
ความรุนแรง จนแทบมองไม่เห็นทางออกสำหรับประเทศไทย
วันนี้มีข่าว คนแก่กลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า "รัฐบุคคล" (จขกท ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ใครแต่งตั้งตาแก่กลุ่มนี้) โดยมี สายหยุด
อายุ 93 ปี เป็นคนมาบอกสังคมว่า "พล อ เปรม เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้ร่างพระบรมราชโองการ แล้วให้ในหลวงทรงลง
พระปรมาภิไธย
ฟังข่าวนี้แล้ว จขกท ก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ส่วนที่ไม่เชื่อนั้น คิดว่าด้วยวุฒิภาวะของ พล อ เปรม แล้วน่าจะมีวิจารณญาณว่า
การกระทำเช่นนี้ เป็นการล่วงละเมิดพระอำนาจหรือไม่ และพล อ เปรม น่าจะรู้ดีว่า ถ้าใช้วิธีนี้แล้ว เหตุการณ์จะยิ่งทวีความ
รุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อนั้น สงครามกลางเมืองที่คนไทยส่วนใหญ่กลัว จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน
ส่วนที่ จขกท เชื่อว่าที่สายหยุดพูดเป็นความจริง เพราะบังเอิญ จขกท นึกถึง มรว คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เคยวิจารณ์ พล อ เปรม
ในเรื่องการนำพระราชดำรัสมาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ฝ่ายตน กับสงสัยเรื่องพฤฒิกรรมความจงรักภักดีของ พล อ เปรม
แถมยังวิจารณ์เรื่อง อุดมการณ์ความคิดทางการเมืองของ พล อ เปรม อีกด้วย แม้ข้อเขียนนั้น จะผ่านมาถึง 20 กว่าปีแล้ว
ก็ตาม แต่สิ่งที่ มรว คึกฤทธิ์ได้เขียนวิจารณ์ไว้ ยังเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันนี้อย่างเหลือเชื่อ
พล อ เปรม ครับ ปัจจุบันนี้โลกเราเปลี่ยนไปเร็วมาก ประกอบกับ ท่านเองก็อายุมากแล้ว ปล่อยวางบ้างเถอะครับ
การใช้วิธีการเดิมๆในอดีตเพื่อที่จะมาแก้ปัญหาในปัจจุบัน นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว รังแต่จะเกิดปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่า
ปัญหาเดิมเพิ่มขึ้นมาอีก ขอให้ท่านนึกถึงคำที่เคยพูดเมื่อปี 2531 ว่า "ผมพอแล้ว" ทำจริงๆสักครั้งเถอะครับ
ถ้าทำได้ ท่านก็จะได้ชื่อว่า "เป็นรัฐบุรุษในใจของประชาชนทุกคน" อย่าหลงเชื่อคำของพวก เฒ่าทารก เลยนะครับ
ป.ล บทความที่ มรว คึกฤทธิ์ เขียนวิจารณ์ พล อ เปรม ตีพิมพ์ ลงใน นสพ สยามรัฐ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2530
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หนังสือพิมพ์รายวันสยามรัฐ จากคึกฤทธิ์ ถึงเปรม
หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ
ฉบับประจำวันที่ 11 มีนาคม 2530
ความจริงผมไม่อยากจะเขียนเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้เลย แต่เมื่อได้พิจารณาดูโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่า จำเป็นต้อง
เขียนเพราะถ้าไม่เขียนแล้วอาจเกิดผลเสียหายใหญ่โตต่อไปได้
จะกระเทือนใครบ้างผมก็ไม่สนใจละครับ เพราะผมคิดเสียว่า ถ้าผมกระเทือนใครคนนั้นเป็นคนควรกระเทือน
หรือกระเทือนอยู่แล้ว
มีข่าวออกมาว่า ในหลวงมีพระราชดำรัสกับคนหนังสือพิมพ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ในทำนองว่า
ระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทยนั้นยุ่งยากเพราะเราต้องลอกแบบฝรั่งเอามาใช้ ถ้าทำแบบไทยๆ ก็คงจะยุ่งยาก
น้อยลง พระราชดำรัสนี้มีขึ้นในโต๊ะเสวยขณะที่มีพระราชปฏิสันถารกับคนหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นธรรมดาของพระ
ราชดำรัสในโต๊ะเสวยก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ มาก่อนหน้านี้ หรือคนหนังสือพิมพ์กราบบังคมทูลถามอย่าง
ใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และเมื่อมีพระราชกระแสที่เป็นข่าวนี้แล้ว ก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ ต่อไปอีก
การที่จะนำพระราชกระแสในโต๊ะเสวยมาบอกเล่าให้คนนอกทราบนั้น ก็ไม่บังควรอย่างยิ่งอยู่แล้ว
แต่ถ้าจะบอกเล่า ก็ควรจะบอกให้หมดว่า พระราชกระแสก่อนนั้นมีมาอย่างไร และพระราชกระแสต่อไปมีอย่างไร
การที่รัฐบาลจงใจเชิญพระราชกระแสมาแต่ประโยคเดียว แล้วสั่งให้เผยแพร่ต่อไปนั้น เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง
แม้จะเป็นคำพูดของคนอื่นก็ไม่ควร เพราะไม่เป็นธรรมแก่ผู้พูด
ความจริง คนหนังสือพิมพ์ที่เฝ้าฯอยู่ในโต๊ะเสวยนั้น มีอยู่หลายคน ไปจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ แต่มีอยู่เพียง
ฉบับเดียวหรือสองฉบับเท่านั้น ที่ได้นำมาลงเป็นข่าว แต่ก็เป็นข่าวเล็กๆ มิได้ถือว่าเป็นข่าวใหญ่ข่าวสำคัญ
หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่นั้นมิได้เอ่ยถึงเลย
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์ไทยนั้นถึงจะจ้วงจาบใครต่อใครให้เกิดโทสะ เคียดแค้นได้อยู่เสมอ แต่ก็รู้ที่ต่ำที่
สูง บูชาคนที่ควรบูชาและมีความจงรักภักดีอันมั่นคงแข็งแรงอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือ หนังสือพิมพ์ไทยยังเป็นผู้ดีอยู่ไม่
กำเริบ
ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้ตื่นเต้นถึงกับบอกคณะรัฐมนตรีให้ช่วยกันเผยแพร่
ข่าวนี้ให้สะพัดออกไป และย้ำแล้วย้ำอีกว่า อยากให้คนรู้กันทั่ว
ที่คุณเปรมอ้างว่าจงรักภักดีต่อพระกรุณายิ่งกว่าใครนั้น น่าจะต้องเอามาผ่านห้องทดลองเพื่อวิเคราะห์กันใหม่เสีย
แล้วกระมัง? สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคิดก็คือ คำว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั้น หมายความว่าอย่างไร โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ความหมายของคำนี้ในขณะที่มีพระราชดำรัสนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ ผมเองก็ไม่รู้
คุณเปรมเป็นอะไรมาจึงจะเข้าไปหยั่งรู้ในพระราชหฤทัยได้?
เพียงแต่คิดว่าตัวรู้ก็ออกจะเป็นคนไม่น่าติดต่อด้วยเสียแล้ว
เรื่องประชาธิปไตยแบบไทยๆ นี้ ผมได้ยินพูดกันมาช้านานแล้วคนโน้นพูดบ้างคนนี้พูดบ้าง ฟังดูก็เห็นตรงกันแต่
ศัพท์ที่ใช้เรียก
ส่วนวิธีการที่อ้างว่าเป็นวิธีการแบบไทยๆ นั้น ไม่เห็นตรงกันสักราย เมื่อต่างคนต่างคิดในเรื่องเดียวกันนี้ ต่างคน
ต่างก็มีวิธีการของตนแตกต่างกันไป บ้าบ้าง บอบ้าง บิ่นบ้าง หาอะไรเป็นแก่นสารและเอาเป็นที่ยุติไม่ได้
เมื่อคุณเปรมตื่นเต้นในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ อย่างนี้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่า คุณเปรมเองก็ต้องการและมี
วิธีการของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของตนเอง
หมายถึง การเป็นนายกฯโดยไม่ต้องสมัครผู้แทนฯให้เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ ใช่ไหม?
หมายถึงการที่เป็นนายกฯคนเดียวตลอดไปใช่ไหม?
หมายถึงนายกฯคนที่ชื่อเปรมนั้นไม่ต้องรับผิดในสิ่งใดและต่อใครใช่ไหม?
หมายถึงนายกฯคนที่ชื่อเปรมจะต้องอยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ ใครแตะต้องไม่ได้ ใช่ไหม?
หมายถึง ความเป็นนายกฯนั้นมีแต่เสวยสุข ไม่มีทุกข์กับใคร ใช่ไหม?
ได้อยู่บ้านหลวง ใช้น้ำหลวง ไฟหลวง ใช่ไหม?
จะไปไหนก็ใช้รถหลวง เรือหลวง หรือหลวงออกค่าโดยสารเครื่องบินให้ยกโขยงกันไปเที่ยวต่างประเทศได้ ใช่
ไหม?
จะไปไหนก็มีคนมาเรียงรายคอยต้อนรับ บางแห่งถึงกับก้มลงกราบกับพื้นดิน ใช่ไหม?
คึกฤทธิ์ ปราโมช
ป.ล 2 ส่วนตัว จขกท คิดว่า สายหยุดลักไก่
พล อ เปรมครับ ไหนบอกว่า "ผมพอแล้ว" ไงครับ
พรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุน พล อ. เปรมให้เป็นนายกต่อ แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ
และประชาชนส่วนหนึ่งที่อยากเห็น นายก ที่มาจากเลือกตั้งบ้าง พล อ.เปรมจึงตัดสินใจวางมือ
พร้อมกับเอ่ยวลีอมตะว่า "ผมพอแล้ว" หลังจากนั้น พล อ เปรม ก็ได้รับการโปรดเกล้าเป็นองคมนตรี
จนเมื่อ อ. สัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม พล อ เปรม จึงก้าวมาเป็นประธานองคมนตรี พล อ เปรม
ยังได้รับการโปรดเกล้า ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษในวันที่ 29 สิงหาคม 2531
วาทกรรม "ผมพอแล้ว" ฟังดูเผินๆเหมือนกับว่า พล อ เปรม วางมือทางการเมืองแล้ว แต่ความเป็นจริงแล้ว
ผู้ที่ติดตามการเมืองมาตลอด จะรู้ว่า อำนาจบารมีของ พล อ เปรม นั้นยิ่งใหญ่กว่านายกทุกคน จนเมื่อ พตท ทักษิณ
ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายก ด้วยความที่ทักษิณประสบความสำเร็จจากภาคธุรกิจมาก่อน จึงมีการบริหารจัดการแบบ
ภาคเอกชน จึงมองข้ามความสำคัญของ พล อ เปรมไป ทำให้ พล อ เปรม เก็บความไม่พอใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนเมื่อทักษิณกล่าวถึง "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" พล อ เปรม จึงได้โอกาสเดินสายด่ารัฐบาลทันที โดยเปรียบ
รัฐบาลเป็นเพียง จ็อกกี้ ไม่ใช่เจ้าของ ต่อมาด้วยการสนับสนุนของคนผู้นี้นี่เอง การรัฐประหารปี49 จึงสำเร็จอย่างง่ายดาย
ทั้งๆที่ไทยว่างเว้นจากการมีรัฐประหารมาแล้ว 15 ปี
ตั้งแต่มีรัฐประหารปี 49 แล้ว ประเทศไทยเราก็อยู่ในวังวนความขัดแย้ง ของเผด็จการ กับฝ่ายประชาธิปไตย ซึ่งนับวันจะทวี
ความรุนแรง จนแทบมองไม่เห็นทางออกสำหรับประเทศไทย
วันนี้มีข่าว คนแก่กลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า "รัฐบุคคล" (จขกท ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ใครแต่งตั้งตาแก่กลุ่มนี้) โดยมี สายหยุด
อายุ 93 ปี เป็นคนมาบอกสังคมว่า "พล อ เปรม เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้ร่างพระบรมราชโองการ แล้วให้ในหลวงทรงลง
พระปรมาภิไธย
ฟังข่าวนี้แล้ว จขกท ก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ส่วนที่ไม่เชื่อนั้น คิดว่าด้วยวุฒิภาวะของ พล อ เปรม แล้วน่าจะมีวิจารณญาณว่า
การกระทำเช่นนี้ เป็นการล่วงละเมิดพระอำนาจหรือไม่ และพล อ เปรม น่าจะรู้ดีว่า ถ้าใช้วิธีนี้แล้ว เหตุการณ์จะยิ่งทวีความ
รุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อนั้น สงครามกลางเมืองที่คนไทยส่วนใหญ่กลัว จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน
ส่วนที่ จขกท เชื่อว่าที่สายหยุดพูดเป็นความจริง เพราะบังเอิญ จขกท นึกถึง มรว คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เคยวิจารณ์ พล อ เปรม
ในเรื่องการนำพระราชดำรัสมาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ฝ่ายตน กับสงสัยเรื่องพฤฒิกรรมความจงรักภักดีของ พล อ เปรม
แถมยังวิจารณ์เรื่อง อุดมการณ์ความคิดทางการเมืองของ พล อ เปรม อีกด้วย แม้ข้อเขียนนั้น จะผ่านมาถึง 20 กว่าปีแล้ว
ก็ตาม แต่สิ่งที่ มรว คึกฤทธิ์ได้เขียนวิจารณ์ไว้ ยังเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันนี้อย่างเหลือเชื่อ
พล อ เปรม ครับ ปัจจุบันนี้โลกเราเปลี่ยนไปเร็วมาก ประกอบกับ ท่านเองก็อายุมากแล้ว ปล่อยวางบ้างเถอะครับ
การใช้วิธีการเดิมๆในอดีตเพื่อที่จะมาแก้ปัญหาในปัจจุบัน นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว รังแต่จะเกิดปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่า
ปัญหาเดิมเพิ่มขึ้นมาอีก ขอให้ท่านนึกถึงคำที่เคยพูดเมื่อปี 2531 ว่า "ผมพอแล้ว" ทำจริงๆสักครั้งเถอะครับ
ถ้าทำได้ ท่านก็จะได้ชื่อว่า "เป็นรัฐบุรุษในใจของประชาชนทุกคน" อย่าหลงเชื่อคำของพวก เฒ่าทารก เลยนะครับ
ป.ล บทความที่ มรว คึกฤทธิ์ เขียนวิจารณ์ พล อ เปรม ตีพิมพ์ ลงใน นสพ สยามรัฐ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2530
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ป.ล 2 ส่วนตัว จขกท คิดว่า สายหยุดลักไก่