กระบวนการ ยุติธรรมในประเทศที่ยังไม่สมบูรณ์ เราจะเริ่มแก้ไขกันตอนไหนครับ

ผมขอเขียนในแบบที่คนในวงการ กฏหมายคุยกันแล้วกันนะครับ ไม่ยืดเยื้อจะได้ไม่ต้องเขียนเยอะเพราะหลายท่านที่เข้ามาตอบคงเป็นนักกฏหมายและเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างดีแล้วแต่อยากแค่แลกเปลี่ยนความรู้กันครับ

ระบบกล่าวหาซึ่งตั้งแต่เราเรียนกันมาก็เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ามีความแตกต่างจากระบบ ไต่สวน
ซึ่งมีรายละเอียดคือ
1 จำเลยไม่ตกเป็นกรรมแห่งคดีคือเป็นประธานแห่งคดี
2 แยกอำนาจสอบสวนฟ้องร้องและองค์กรพิจารณาพิพากษาออกจากกัน
3 ศาลต้องทำการค้นหาความจริงคือ ต้องกระตือรือร้น

คดีอาญาเป็นเรื่องของการตรวจสอบความจริงซึ่งมีอยู่สองชั้น คือ การตรวจสอบความจริงชั้นเจ้าพนักงาน และการตรวจสอบความจริงชั้นศาล

การตรวจสอบความจริงชั้นเจ้าพนักงานก็คือ “การสอบสวน” ซึ่ง “การสอบสวน”  นั้น มีเนื้อหา 2 ประการ คือ การรวบรวมพยานหลักฐาน และการใช้มาตรการบังคับ

ในหลักการแล้วการสอบสวนต้องเริ่มด้วยการรวบรวมพยานหลักฐานอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยก่อน ส่วนการใช้มาตรการบังคับจะใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น กล่าวคือ เมื่อได้รวบรวมพยานหลักฐานจนเห็นว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดจริงที่จะนำไปสู่การฟ้องคดี แต่เพื่อให้เป็นไปตาม “หลักฟังความทุกฝ่าย” กรณีจึงต้องได้ตัวผู้ต้องหามาสอบปากคำเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้แก้ตัวก่อนการฟ้องคดี

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 บัญญัติว่า


มาตรา 120 ห้ามมิได้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน

หัวใจของบทบัญญัติมาตรานี้คือการสอบสวนปากคำผู้ต้องหา ซึ่งจำเป็นต้องกระทำเมื่อจะต้องฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลต่อไป แต่หากไม่มีการฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลต่อไปแล้ว กรณีก็ไม่มีความจำเป็นต้องสอบสวนปากคำผู้ต้องหา

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และกรณีมีเพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นเท่านั้นเจ้าพนักงานก็จะพยายามใช้มาตรการบังคับแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงเป็นช่องทางให้พนักงานสอบสวนใช้อำนาจโดยมิชอบได้ เช่น กระทำการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา มาตรา 135 โดยพยายามเค้นหาความจริงจากผู้ต้องหา กรณีจึงทำให้ผู้ต้องหาตกเป็น “กรรมในคดี” ไป แทนที่ผู้ต้องหาจะเป็น “ประธานในคดี”  อันเป็นหัวใจของการดำเนินคดีอาญาใน “ระบบกล่าวหา” และขัดต่อหลักประกันสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพในชีวิและร่างกาย ตามปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ชั้นอัยการ  ในการสอบสวนแม้ ป วิอาญ จะให้ พนง สอบสวนจะต้องวางตัวเป็นกลาง รวบรวมพยานหลักฐานทั้งที่เป็นดีและผลเสียต่อตัวผู้ถูกกล่าวหา แต่ในทางปฎิบัต พนง สอบสวนมักจะทำการรวบรวม พยานหลักฐานเฉพาะที่เป็นผลร้ายต่อ ผู้ถูกกล่าวหาเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษโดยไม่ได้ใช้วิธีการสอบสวนในระบบการค้นหาความจริงทำให้ งดเว้นพยานหลักฐานหรือไม่รวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นคุณแกผู้ต้องหาไว้ในสำนวน
ซึ่งตามระบบ กล่าวหา พนง เป็นเพียง ผู้ช่วย พนง อัยการเท่านั้น แม้ว่าตาม กฏหมายไทย การตรวจสอบกลั่นกรองคดีของ พนง อัยการ จะมีอำนาจสั่งให้ พนง สอบสวนเพิ่มเติมได้ หากเห็นว่าการสอบสวนยังมีข้อบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ หรือ พนง จะหมายเรียก พยานมาสอบเองได้ แต่ในทาง ปฎิบัตก็อาจไม่มีผลสำเร็จซึ่ง มักจะพบอยู่เมอว่า พนง สังให้สอบสวนเพิ่มเติมภายหลังจากที่ รับสำนวนแล้ว เหลือเวลาฝากขังเล็กน้อยทำให้สอบสวนเพิ่มเติมไม่มีประสิทธิภาพซึ่งการกลั่นกรองดังกล่าวซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของ พนง อัยการ ไม่มีประสิทธิภาพพอ
อีกทั้งเรื่อง การใช้หลักดุลพินิจ ซึ่งมักจะสั่งฟ้องไว้ก่อน ซึ่งเป็นการผลักภาระให้ศาลโดยไม่จำเป็น และเป็นภาระใหญ่สำหรับ ผู้ต้องหาโดยไม่จำเป็นซึ่งเห็นได้จากการที่ศาลพิพากษายกฟ้อง จำเลยในหลายคดี ซึ่งการค้นหาความจริงในคดีของ พนง สอบสวนกับ พนง อัยการ ยังมีข้อบกพร่องอีกมาก

ส่วนขั้นตอนการดำเนินการคดีชั้นพิจารณาคดีพิพาษาดดี ตาม ป.วิอาญา  กำหนดให้ศาลค้นหาความจาิงจากพยาฯหลักฐานต่าง ๆ  ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ในชั้น พิจารณา ให้ศาบมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจาก พนง อัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ ตาม ม 175 หรือศาลสามารถสืบพยานเพิ่มเติมได้โดยพลการ ตาม ม 228 แสดงให้เห็นว่าระบบการพิจารณาคดีของศาลไทย ได้รับเอาวิธีการค้นหาความจริงโดยศาลของประเทศที่ยึดถือระบบ กฏหมาย Civil Law มาใช้อย่างแน่นอนซึ่ง ศาลสามารถที่จะใช้หลัก การค้นหาความจริงในคดีได้อย่างกว้างขวาง

แต่ในทางปฎิบัติการพิจารณาของศาลไทย ศาลกับกำหนดบทบาทตนเองอย่างตรงกันข้าง คือทำตัวเป็นกลาง ไม่เข้าไปมีบทบาทในการค้นหาความจริง
เพียงแต่บันทึกคำพยานที่คู่ความนำสืบแล้วรวมไว้ในสำนวนเพื่อนำไปวินฉัยตัดสินคดี ปล่อยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันในทางกฏหมายเท่ากับเป็นการรับเอาวิธีการค้นหาหาความจริงโดยคู่ความตามระบบกล่าวหาที่ใช้ใรระบบคอมมอนลอร์

ผมขอแสดงความคิดเห็นไว้อย่างกว้าง ๆ เพราะกระบวนการยุติธรรมของบ้านเรายังมีปัญหาอีกมากแม้ว่าจะผ่านเวลามานาน
หวังว่าสักวันระบบกฏหมายของเราจะเจริญก้าวหน้าเหมือน อารยะประเทศ ทั้งหลาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่