คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่อง Service Charge มานานแล้วครับ และโดยปกติถ้าเลือกได้ก็จะไม่ไปอุดหนุนร้านที่มี Service Charge ครับ ด้วยเหตุผลหลักที่ผมมองว่าระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่มีการชาร์จ 10% โดยอัตโนมัตินั้นไม่เหมาะกับการใช้ในเมืองไทยเป็ยอย่างยิ่งครับ
ถามว่าทำไม?
ธรรมเนียมการให้ค่าบริการนั้น เราเอามาจากต่างประเทศ ซึ่งผมขอเทียบกับอเมริกาเป็นหลักแล้วกันนะครับเพราะผมอยู่อเมริกามานานเลยพอให้ข้อมูลได้ (ในหลายๆประเทศที่ผมไปมาก็ไม่มีเสียด้วยซ้ำ)
อย่างในอเมริกานั้น ค่าชั่วโมงของคนที่ทำงานเป็นคนเสริฟเนี่ยจะอยู่ที่ราวๆ $2.50-$2.75 ต่อชั่วโมงครับ (อันนี้เป็นข้อมูลหลายปีแล้ว ใครมีข้อมูลอัพเดทล่าสุดช่วยเข้ามาแจ้งหน่อยนะครับ) เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำที่ $7.25 ต่อชั่วโมง ซึ่งนั่นแปลว่าคนเสริฟนั้นได้รายได้หลักมาจากการบริการจริงๆครับ
ทีนี้การให้เงินค่าบริการหรือทิปนั้นจริงๆแล้วมันเป็นธรรมเนียมครับ ไม่ใช่ข้อบังคับ ซึ่งโดยมาตราฐานนั้นจะอยู่ที่ 10-20% แล้วแต่ความพึงพอใจในการบริการครับ ซึ่ง 15% ถือว่าเป็นมาตราฐาน ในขณะที่ 10% หรือน้อยกว่าแสดงว่าลูกค้าไม่พึงพอใจครับ ส่วน 20% ขึ้นไปก็ถือว่าเป็นบริการดีมากครับ ในขณะที่บางร้านจะมีการบังคับก็ต่อเมื่อเป็นโต๊ะที่มากลุ่มใหญ่ที่ต้องอาศัยเวลาในการดูแลมากกว่าปกติ แถมอาจจะต้องมีการจัดโต๊ะให้พิเศษ ซึ่งร้านพวกนี้มักจะระบุไปเลยครับว่าถ้าเกิน 6-8 คนขึ้นไปจะคิดค่าบริการ 18% โดยอัตโนมัติ
เพราะฉะนั้นการทำงานของพนักงานเสริฟนั้น เรียกว่าต้องพยายามทำงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจเพื่อที่ให้ได้เงินมาครับ
อย่างไรก็ดี เงินที่ได้จากการทำงานเสริฟนั้น ถึงแม้บางที่อาจจะได้รายได้ถึง $2,500 ขึ้นไปต่อเดือน แต่ไม่ได้ถือเป็นรายได้ที่มากมายอะไรในอเมริกาครับ เพราะฉะนั้นมีน้อยคนนักครับที่เลือกจะทำงานเสริฟเป็นงานถาวร โดยเฉพาะว่างานเสริฟจะไม่มีสวัสดิการใดๆครับ ดังนั้นงานเสริฟมักจะเป็นงานประเภทที่เรียกว่า "second job" ของคนอเมริกัน หรือเป็นงานเสริม หรือไม่ก็เป็นแค่ทางผ่านในช่วงที่ยังหางานไม่ได้ เพราะฉะนั้นงานเสริฟมักจะเป็นงานของคนที่การศึกษาไม่สูงมาก กลุ่มคนที่ยังว่างงานอยู่ หรือนักเรียนนักศึกษาและคนที่เพิ่งจบใหม่ๆที่กำลังหางาน (คนอเมริกันจะเลี้ยงดูตัวเองตั้งแต่สมัยเรียนเลยครับ)
เล่าตรงนี้จบแล้ว ย้อนกลับมาถึงเมืองไทย ที่ทำไมผมไม่เห็นด้วยกับการคิดค่าบริการในเมืองไทย
1. พนักงานเสริฟเมืองไทยได้รับเงินตามค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้วครับ (ต่างจากอเมริกาที่ไม่ได้เงินตามค่าแรงขั้นต่ำ) แต่หากถ้าเกิดว่าพนักงานได้เงิน 10% ที่ได้จากการบริการจริง ถ้าคำนวณจากค่าอาหารที่แพงขึ้นทุกวันๆในเมืองไทย ซึ่งเท่าที่ผมไปทานมาช่วงหลังก็ต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้ไม่ต่ำกว่า 350-750 บาทต่อหัวครับ ผมสมมติว่าเฉลี่ยที่ 500 บาทต่อหัว หรือ 1,000 บาทต่อโต๊ะแล้วกันนะครับ นั่นแปลว่าถ้าพนักงานเสริฟคนหนึ่งๆได้เฉลี่ย 10 โต๊ะต่อวันและทำงาน 20 วันต่อเดือน แปลว่าเขาจะได้เงินที่ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน (20 x 10 x 100 บวกกับค่าแรงขั้นต่ำ) ซึ่งนั่นหมายความว่าได้เงินเดือนสูงกว่าคนที่เรียนจบปริญญาตรีทำงานออฟฟิศหลายๆคนเสียอีกครับ ซึ่งนั่นแปลว่าถ้ารายได้ดีขนาดนี้โดยไม่ต้องเรียน มันจะเป็นเหตุจูงใจที่ทำให้คนคิดว่าไม่ต้องเรียนก็ได้ครับ ถ้าเรามองถึงการพัฒนาของประเทศชาติในระยะยาว ตรงนี้ไม่เป็นประโยชน์แน่ๆครับ
ยิ่งเดี๋ยวนี้ร้านในเมืองไทยคิดค่าอาหารแพงมากครับ ร้านในอเมริกาที่ผมไปกินทั่วๆไปนี่อยู่ในช่วง $12-$20 โดยที่เฉลี่ยๆก็น่าจะราวๆ $14-$15 ซึ่งรวมภาษีและทิปแล้วนะครับ ในขณะที่ร้านหรูๆเลยนี่ผมไปกินกับแฟนสองคนก็ไม่น่าเกิน $120 ที่แพงสุดที่เคยไปกินมาคือราคาเกือบๆ $200 ก่อนทิป (เป็นร้านสุดหรูมากๆ) แต่ในขณะที่เมืองไทยเดี๋ยวนี้เรียกว่าราคา $12-$20 หรือ 400-650 นี่เรียกว่าเป็นร้านในห้างธรรมดาๆไปแล้ว ส่วนถ้าร้านหรูๆนี่แพงขึ้นไปได้เป็นหมื่นๆบาท ราคาแพงโหดมากครับ แถมมีชาร์จ 10%
อย่างโรงแรมในเมืองไทยนี่ชอบมี "++" ตลอดเลยครับ ผมไปพักโรงแรมที่ว่าหรูใน Time Squares มาไม่ว่าจะเป็น Sheraton, Hilton หรือ Westin ไม่เคยมีค่า service charge ครับ มีแต่ภาษี (แถมค่าที่พักพวกนี้ ถูกว่าค่าที่พักโรงแรมกับรีสอร์ตในบ้านเราเสียอีก)
แล้วลองคิดดูต่อครับว่าเมื่อเทียบค่าครองชีพระหว่างเมืองไทยกับอเมริกาแล้ว แล้วดูราคาอาหารตามร้านบ้านเรา ดูค่าแรง การศึกษา การพัฒนาประเทศ มันสมควรหรือไม่ครับที่ยังจะชาร์จค่าบริการแบบบังคับแบบนี้
2. ถ้าหากพนักงานไม่ได้เงิน 10% ตามนั้นจริง คำถามคือว่าเงินตรงนั้นไปไหน? เข้าร้าน? แล้วทำไมถึงต้องทำแบบนั้น? ทำให้ราคาดูถูกลงอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่ง แต่อีกปัจจัยที่สำคัญคือการเสียภาษีของทางร้านครับ
3. การบังคับเก็บ 10% ไม่ได้สร้างความจูงใจในบริการครับ ซึ่งเงินนั้นจริงๆแล้วไม่รู้ไปไหน ต่อให้พนักงานได้จริง มันเหมือนเป็นของตายครับ เพราะสั่งแล้วก็การันตีว่าได้เงิน พนักงานเลยไม่ค่อยให้ความสนใจกับลูกค้าสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเราจึงได้เห็นกันอยู่เรื่อยๆที่มีคนมาบ่นว่าบริการร้านนั้นไม่ดี ร้านนี้ไม่ดี ทั้งๆที่ได้ค่า service charge ไปแล้ว (ผมจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งคนบ่นฟูจิเยอะมากๆ)
ผมเคยนึกจะเขียนเรื่องพวกนี้เหมือนกัน แต่ไม่มีเวลาสักที วันนี้นึกออกเท่านี้ เดี๋ยวเอาไว้จะมาแก้ไขเพิ่มเติมครับ
ถามว่าทำไม?
ธรรมเนียมการให้ค่าบริการนั้น เราเอามาจากต่างประเทศ ซึ่งผมขอเทียบกับอเมริกาเป็นหลักแล้วกันนะครับเพราะผมอยู่อเมริกามานานเลยพอให้ข้อมูลได้ (ในหลายๆประเทศที่ผมไปมาก็ไม่มีเสียด้วยซ้ำ)
อย่างในอเมริกานั้น ค่าชั่วโมงของคนที่ทำงานเป็นคนเสริฟเนี่ยจะอยู่ที่ราวๆ $2.50-$2.75 ต่อชั่วโมงครับ (อันนี้เป็นข้อมูลหลายปีแล้ว ใครมีข้อมูลอัพเดทล่าสุดช่วยเข้ามาแจ้งหน่อยนะครับ) เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำที่ $7.25 ต่อชั่วโมง ซึ่งนั่นแปลว่าคนเสริฟนั้นได้รายได้หลักมาจากการบริการจริงๆครับ
ทีนี้การให้เงินค่าบริการหรือทิปนั้นจริงๆแล้วมันเป็นธรรมเนียมครับ ไม่ใช่ข้อบังคับ ซึ่งโดยมาตราฐานนั้นจะอยู่ที่ 10-20% แล้วแต่ความพึงพอใจในการบริการครับ ซึ่ง 15% ถือว่าเป็นมาตราฐาน ในขณะที่ 10% หรือน้อยกว่าแสดงว่าลูกค้าไม่พึงพอใจครับ ส่วน 20% ขึ้นไปก็ถือว่าเป็นบริการดีมากครับ ในขณะที่บางร้านจะมีการบังคับก็ต่อเมื่อเป็นโต๊ะที่มากลุ่มใหญ่ที่ต้องอาศัยเวลาในการดูแลมากกว่าปกติ แถมอาจจะต้องมีการจัดโต๊ะให้พิเศษ ซึ่งร้านพวกนี้มักจะระบุไปเลยครับว่าถ้าเกิน 6-8 คนขึ้นไปจะคิดค่าบริการ 18% โดยอัตโนมัติ
เพราะฉะนั้นการทำงานของพนักงานเสริฟนั้น เรียกว่าต้องพยายามทำงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจเพื่อที่ให้ได้เงินมาครับ
อย่างไรก็ดี เงินที่ได้จากการทำงานเสริฟนั้น ถึงแม้บางที่อาจจะได้รายได้ถึง $2,500 ขึ้นไปต่อเดือน แต่ไม่ได้ถือเป็นรายได้ที่มากมายอะไรในอเมริกาครับ เพราะฉะนั้นมีน้อยคนนักครับที่เลือกจะทำงานเสริฟเป็นงานถาวร โดยเฉพาะว่างานเสริฟจะไม่มีสวัสดิการใดๆครับ ดังนั้นงานเสริฟมักจะเป็นงานประเภทที่เรียกว่า "second job" ของคนอเมริกัน หรือเป็นงานเสริม หรือไม่ก็เป็นแค่ทางผ่านในช่วงที่ยังหางานไม่ได้ เพราะฉะนั้นงานเสริฟมักจะเป็นงานของคนที่การศึกษาไม่สูงมาก กลุ่มคนที่ยังว่างงานอยู่ หรือนักเรียนนักศึกษาและคนที่เพิ่งจบใหม่ๆที่กำลังหางาน (คนอเมริกันจะเลี้ยงดูตัวเองตั้งแต่สมัยเรียนเลยครับ)
เล่าตรงนี้จบแล้ว ย้อนกลับมาถึงเมืองไทย ที่ทำไมผมไม่เห็นด้วยกับการคิดค่าบริการในเมืองไทย
1. พนักงานเสริฟเมืองไทยได้รับเงินตามค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้วครับ (ต่างจากอเมริกาที่ไม่ได้เงินตามค่าแรงขั้นต่ำ) แต่หากถ้าเกิดว่าพนักงานได้เงิน 10% ที่ได้จากการบริการจริง ถ้าคำนวณจากค่าอาหารที่แพงขึ้นทุกวันๆในเมืองไทย ซึ่งเท่าที่ผมไปทานมาช่วงหลังก็ต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้ไม่ต่ำกว่า 350-750 บาทต่อหัวครับ ผมสมมติว่าเฉลี่ยที่ 500 บาทต่อหัว หรือ 1,000 บาทต่อโต๊ะแล้วกันนะครับ นั่นแปลว่าถ้าพนักงานเสริฟคนหนึ่งๆได้เฉลี่ย 10 โต๊ะต่อวันและทำงาน 20 วันต่อเดือน แปลว่าเขาจะได้เงินที่ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน (20 x 10 x 100 บวกกับค่าแรงขั้นต่ำ) ซึ่งนั่นหมายความว่าได้เงินเดือนสูงกว่าคนที่เรียนจบปริญญาตรีทำงานออฟฟิศหลายๆคนเสียอีกครับ ซึ่งนั่นแปลว่าถ้ารายได้ดีขนาดนี้โดยไม่ต้องเรียน มันจะเป็นเหตุจูงใจที่ทำให้คนคิดว่าไม่ต้องเรียนก็ได้ครับ ถ้าเรามองถึงการพัฒนาของประเทศชาติในระยะยาว ตรงนี้ไม่เป็นประโยชน์แน่ๆครับ
ยิ่งเดี๋ยวนี้ร้านในเมืองไทยคิดค่าอาหารแพงมากครับ ร้านในอเมริกาที่ผมไปกินทั่วๆไปนี่อยู่ในช่วง $12-$20 โดยที่เฉลี่ยๆก็น่าจะราวๆ $14-$15 ซึ่งรวมภาษีและทิปแล้วนะครับ ในขณะที่ร้านหรูๆเลยนี่ผมไปกินกับแฟนสองคนก็ไม่น่าเกิน $120 ที่แพงสุดที่เคยไปกินมาคือราคาเกือบๆ $200 ก่อนทิป (เป็นร้านสุดหรูมากๆ) แต่ในขณะที่เมืองไทยเดี๋ยวนี้เรียกว่าราคา $12-$20 หรือ 400-650 นี่เรียกว่าเป็นร้านในห้างธรรมดาๆไปแล้ว ส่วนถ้าร้านหรูๆนี่แพงขึ้นไปได้เป็นหมื่นๆบาท ราคาแพงโหดมากครับ แถมมีชาร์จ 10%
อย่างโรงแรมในเมืองไทยนี่ชอบมี "++" ตลอดเลยครับ ผมไปพักโรงแรมที่ว่าหรูใน Time Squares มาไม่ว่าจะเป็น Sheraton, Hilton หรือ Westin ไม่เคยมีค่า service charge ครับ มีแต่ภาษี (แถมค่าที่พักพวกนี้ ถูกว่าค่าที่พักโรงแรมกับรีสอร์ตในบ้านเราเสียอีก)
แล้วลองคิดดูต่อครับว่าเมื่อเทียบค่าครองชีพระหว่างเมืองไทยกับอเมริกาแล้ว แล้วดูราคาอาหารตามร้านบ้านเรา ดูค่าแรง การศึกษา การพัฒนาประเทศ มันสมควรหรือไม่ครับที่ยังจะชาร์จค่าบริการแบบบังคับแบบนี้
2. ถ้าหากพนักงานไม่ได้เงิน 10% ตามนั้นจริง คำถามคือว่าเงินตรงนั้นไปไหน? เข้าร้าน? แล้วทำไมถึงต้องทำแบบนั้น? ทำให้ราคาดูถูกลงอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่ง แต่อีกปัจจัยที่สำคัญคือการเสียภาษีของทางร้านครับ
3. การบังคับเก็บ 10% ไม่ได้สร้างความจูงใจในบริการครับ ซึ่งเงินนั้นจริงๆแล้วไม่รู้ไปไหน ต่อให้พนักงานได้จริง มันเหมือนเป็นของตายครับ เพราะสั่งแล้วก็การันตีว่าได้เงิน พนักงานเลยไม่ค่อยให้ความสนใจกับลูกค้าสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเราจึงได้เห็นกันอยู่เรื่อยๆที่มีคนมาบ่นว่าบริการร้านนั้นไม่ดี ร้านนี้ไม่ดี ทั้งๆที่ได้ค่า service charge ไปแล้ว (ผมจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งคนบ่นฟูจิเยอะมากๆ)
ผมเคยนึกจะเขียนเรื่องพวกนี้เหมือนกัน แต่ไม่มีเวลาสักที วันนี้นึกออกเท่านี้ เดี๋ยวเอาไว้จะมาแก้ไขเพิ่มเติมครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมเราต้องยอมเสียค่า service charge ให้ร้านอาหารทั้งที่บริการแค่ยกอาหารมาให้ (มาร่วมกันรณรงค์ประเด็นนี้กัน)
ลองคิดดูนะครับ
ค่าอาหาร 1,000 บาท จะต้องเสีย
service charge 10% = 100 บาท
ค่าภาษี 7% = 70 บาท
รวมเราต้องเสียทั้งหมด 1,170 บาท มันใช่หรอ ที่เราต้องเสียให้....