อีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า สถานีโทรทัศน์น้องใหม่ “ไทยรัฐทีวี” ก็จะได้มีโอกาสนำสิ่งที่เตรียมการมาเป็นปีๆ ออกมาอวดคุณผู้ชมทั้งที่เป็น “แฟนไทยรัฐ” และไม่ใช่ “แฟนไทยรัฐ” กันอย่างถ้วนหน้า ตามช่องทางต่างๆ ที่ได้มีการประชาสัมพันธ์กันไปเป็นระยะๆ ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ย้ำกันง่ายๆ อีกครั้งคือ ถ้าหากใครมีเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้เลย หรือมีกล่องแปลงสัญญาณ (Set Top Box) แบบ DVB-T2 และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จะสามารถรับชม “ไทยรัฐทีวี” ได้ทางช่อง 32 ด้วยระบบความคมชัดสูง (HD) ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กำลังพิจารณามูลค่าและวิธีการแจกจ่ายคูปองให้กับประชาชนเพื่อนำไปแลกซื้ออุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ คาดว่าน่าจะสามารถเริ่มแจกจ่ายได้ในเดือน มิ.ย.นี้
โดยพื้นที่การรับชมในช่องทางนี้ จะมีการขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ ตามเงื่อนไขว่าจะต้องจนครอบคลุมครัวเรือน 50% ภายในเวลา 1 ปี/ 80% ภายในเวลา 2 ปี/ 90% ในระยะเวลา 3 ปี และ 95% ภายในระยะเวลา 4 ปี
ส่วนใครที่มีกล่องรับโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก (เคเบิลทีวี) เช่น CTH หรือ True Visions สามารถรับชมได้ทางช่อง 42 โดย CTH จะส่งสัญญาณในระบบความคมชัดสูง ขณะที่ True Visions จะเป็นความคมชัดปกติ (SD) ทั้งนี้ สามารถรับชมได้ทั่วทุกพื้นที่ไม่มีข้อจำกัด
ขณะที่ผู้มีกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ไม่ว่าจะเป็นของ GMMZ / DTV/ PSI/ THAISAT/ INFOSAT/ LEOTECH/ IDEASAT สามารถรับชมได้ทางช่อง 3 และ 42 ในระบบความคมชัดปกติ (SD) ส่วนกล่อง SUNBOX และ DYNASAT รับชมได้เฉพาะช่อง 42 ในระบบ SD เช่นกัน
“ไทยรัฐทีวี” ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ แบบรายการทั่วไปหรือ Variety ในระบบความคมชัดสูง (HD) ในประเภทนี้ มีผู้ได้รับใบอนุญาตอีก 6 รายได้แก่ เจ้าของและผู้รับสัมปทานในระบบเดิมหรือ อนาล็อก 3 รายคือ ช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง 9 อสมท และรายใหม่อีก 3 รายได้แก่ GMM Grammy, PPTV และอมรินทร์ทีวี
ในบรรดาผู้รับใบอนุญาตในประเภทนี้ ต้องถือว่า “ไทยรัฐทีวี” เป็นน้องใหม่ที่สุด เพราะรายใหม่อีก 3 รายนั้น มีการออกอากาศหรือทดลองออกอากาศในช่องทางดาวเทียมมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ด้วยความที่ “ไทยรัฐ” อยู่ในธุรกิจสื่อหนังสือพิมพ์มากว่า 60 ปี และมีประสบการณ์ในการให้บริการข่าวออนไลน์มากว่า 10 ปี จึงเชื่อว่าประสบการณ์ตรงนี้ น่าจะสามารถนำมาเป็นจุดแข็งให้การให้บริการได้
ดังนั้น จุดแข็งของ “ไทยรัฐทีวี” ที่คงไม่ใครปฏิเสธได้คือ จุดแข็งด้านการรายงานข่าว ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอจากสิ่งพิมพ์และออนไลน์มาเป็นภาพเคลื่อนไหวทางทีวี แต่ด้วยความที่ “ไทยรัฐทีวี” มีเป้าหมายที่จะเป็นช่องให้บริการรายการทั่วไปหรือ Variety ที่จะมีทั้งข่าวสาร สาระและความบันเทิง
รายการทาง “ไทยรัฐทีวี” จึงจะไม่ได้มีแต่รายการข่าวสารเท่านั้น แต่จะมีรายการสาระบันเทิงอื่นๆ เช่น รายการทอล์กโชว์ เกมโชว์ รายการสารคดีทั้งสารคดีเชิงข่าวและสารคดีที่เป็นความรู้สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งภาพยนตร์ซีรีส์จากต่างประเทศ หรือแม้แต่ละครที่จะเข้ามาเติมเต็มในอนาคต
พูดง่ายๆ คือ รายการต่างๆ ในไทยรัฐทีวี มุ่งที่จะตอบสนองกลุ่มผู้ชมทุกระดับ ทุกวัย โดยยังคงยึดมั่นในรายการข่าวที่เป็นจุดแข็ง และรายการสาระบันเทิงอื่นๆ จากผู้ผลิตรายการรายใหญ่ที่มีความช่ำชองอยู่แล้วในตลาดทีวีอนาล็อกเดิม และผู้ผลิตรายการรายใหม่ที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างให้กับผู้ชมภายใต้สโลแกนของช่องคือ “คิดต่างอย่างเข้าใจ”
กลับมาที่ “รายการข่าว” ที่จะเป็นจุดแข็งของ “ไทยรัฐทีวี” นั้น จะเป็นการผสมผสานประสบการณ์และความช่ำชองในงานข่าวของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เข้ากับทีมงานคนรุ่นใหม่ในกองบรรณาธิการ “ไทยรัฐออนไลน” และกองบรรณาธิการ “ไทยรัฐทีวี” ที่จะทำงานร่วมกันในระบบ Digital Newsroom หรือกองบรรณาธิการร่วมที่สามารถผลิตข่าวเพื่อนำเสนอได้ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ออนไลน์ ทีวี ข้อความสั้น (SMS) หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media ที่นับวันจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้สื่อข่าว “ไทยรัฐ” ไม่ว่าจะในส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่มีรวมกันกว่า 800 คนจากทุกสื่อ จะร่วมมือกันทำงานเพื่อเป็นหลักประกันให้กับ “ผู้บริโภคข่าวสาร” ของไทยรัฐ ไม่ว่าจะรับสารจากช่องทางใดก็ตาม ให้ได้รับข่าวสารที่เที่ยงตรง เป็นธรรม ลุ่มลึกและเชื่อถือได้ ให้สมกับเป็นแหล่งข้อมูลสุดท้ายที่คนไทยจะต้องเข้าถึงเพื่อยืนยันและตรวจสอบข่าวสารที่เกิดขึ้นมากกว่าในแต่ละวัน ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาคอาเซียนและทุกซอกมุมอื่นๆ ของโลก
ดังนั้น การเริ่มต้นของ “ไทยรัฐทีวี” ในวันที่ 24 เม.ย.นี้ จึงถือเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการทำงานใหม่ของฝ่ายบรรณาธิการจากทุกๆ สื่อของ “ไทยรัฐ” ในรูปแบบของ “กองบรรณาธิการร่วม” ที่จะมาตอบโจทย์ให้แก่ผู้บริโภคข่าวสารในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร “ท่วมท้น” จนเกิดความสับสนไปหมด ให้สามารถนำข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ของ “ไทยรัฐ” ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับการติดตามความเคลื่อนไหวและสะท้อนปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้นั่นเอง...
ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี
Twitter: @chavarong
chavarong@thairath.co.th
นับ 1 ไทยรัฐทีวี จุดเริ่มต้น Digital Newsroom
ย้ำกันง่ายๆ อีกครั้งคือ ถ้าหากใครมีเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้เลย หรือมีกล่องแปลงสัญญาณ (Set Top Box) แบบ DVB-T2 และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จะสามารถรับชม “ไทยรัฐทีวี” ได้ทางช่อง 32 ด้วยระบบความคมชัดสูง (HD) ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กำลังพิจารณามูลค่าและวิธีการแจกจ่ายคูปองให้กับประชาชนเพื่อนำไปแลกซื้ออุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ คาดว่าน่าจะสามารถเริ่มแจกจ่ายได้ในเดือน มิ.ย.นี้
โดยพื้นที่การรับชมในช่องทางนี้ จะมีการขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ ตามเงื่อนไขว่าจะต้องจนครอบคลุมครัวเรือน 50% ภายในเวลา 1 ปี/ 80% ภายในเวลา 2 ปี/ 90% ในระยะเวลา 3 ปี และ 95% ภายในระยะเวลา 4 ปี
ส่วนใครที่มีกล่องรับโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก (เคเบิลทีวี) เช่น CTH หรือ True Visions สามารถรับชมได้ทางช่อง 42 โดย CTH จะส่งสัญญาณในระบบความคมชัดสูง ขณะที่ True Visions จะเป็นความคมชัดปกติ (SD) ทั้งนี้ สามารถรับชมได้ทั่วทุกพื้นที่ไม่มีข้อจำกัด
ขณะที่ผู้มีกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ไม่ว่าจะเป็นของ GMMZ / DTV/ PSI/ THAISAT/ INFOSAT/ LEOTECH/ IDEASAT สามารถรับชมได้ทางช่อง 3 และ 42 ในระบบความคมชัดปกติ (SD) ส่วนกล่อง SUNBOX และ DYNASAT รับชมได้เฉพาะช่อง 42 ในระบบ SD เช่นกัน
“ไทยรัฐทีวี” ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ แบบรายการทั่วไปหรือ Variety ในระบบความคมชัดสูง (HD) ในประเภทนี้ มีผู้ได้รับใบอนุญาตอีก 6 รายได้แก่ เจ้าของและผู้รับสัมปทานในระบบเดิมหรือ อนาล็อก 3 รายคือ ช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง 9 อสมท และรายใหม่อีก 3 รายได้แก่ GMM Grammy, PPTV และอมรินทร์ทีวี
ในบรรดาผู้รับใบอนุญาตในประเภทนี้ ต้องถือว่า “ไทยรัฐทีวี” เป็นน้องใหม่ที่สุด เพราะรายใหม่อีก 3 รายนั้น มีการออกอากาศหรือทดลองออกอากาศในช่องทางดาวเทียมมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ด้วยความที่ “ไทยรัฐ” อยู่ในธุรกิจสื่อหนังสือพิมพ์มากว่า 60 ปี และมีประสบการณ์ในการให้บริการข่าวออนไลน์มากว่า 10 ปี จึงเชื่อว่าประสบการณ์ตรงนี้ น่าจะสามารถนำมาเป็นจุดแข็งให้การให้บริการได้
ดังนั้น จุดแข็งของ “ไทยรัฐทีวี” ที่คงไม่ใครปฏิเสธได้คือ จุดแข็งด้านการรายงานข่าว ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอจากสิ่งพิมพ์และออนไลน์มาเป็นภาพเคลื่อนไหวทางทีวี แต่ด้วยความที่ “ไทยรัฐทีวี” มีเป้าหมายที่จะเป็นช่องให้บริการรายการทั่วไปหรือ Variety ที่จะมีทั้งข่าวสาร สาระและความบันเทิง
รายการทาง “ไทยรัฐทีวี” จึงจะไม่ได้มีแต่รายการข่าวสารเท่านั้น แต่จะมีรายการสาระบันเทิงอื่นๆ เช่น รายการทอล์กโชว์ เกมโชว์ รายการสารคดีทั้งสารคดีเชิงข่าวและสารคดีที่เป็นความรู้สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งภาพยนตร์ซีรีส์จากต่างประเทศ หรือแม้แต่ละครที่จะเข้ามาเติมเต็มในอนาคต
พูดง่ายๆ คือ รายการต่างๆ ในไทยรัฐทีวี มุ่งที่จะตอบสนองกลุ่มผู้ชมทุกระดับ ทุกวัย โดยยังคงยึดมั่นในรายการข่าวที่เป็นจุดแข็ง และรายการสาระบันเทิงอื่นๆ จากผู้ผลิตรายการรายใหญ่ที่มีความช่ำชองอยู่แล้วในตลาดทีวีอนาล็อกเดิม และผู้ผลิตรายการรายใหม่ที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างให้กับผู้ชมภายใต้สโลแกนของช่องคือ “คิดต่างอย่างเข้าใจ”
กลับมาที่ “รายการข่าว” ที่จะเป็นจุดแข็งของ “ไทยรัฐทีวี” นั้น จะเป็นการผสมผสานประสบการณ์และความช่ำชองในงานข่าวของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เข้ากับทีมงานคนรุ่นใหม่ในกองบรรณาธิการ “ไทยรัฐออนไลน” และกองบรรณาธิการ “ไทยรัฐทีวี” ที่จะทำงานร่วมกันในระบบ Digital Newsroom หรือกองบรรณาธิการร่วมที่สามารถผลิตข่าวเพื่อนำเสนอได้ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ออนไลน์ ทีวี ข้อความสั้น (SMS) หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media ที่นับวันจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้สื่อข่าว “ไทยรัฐ” ไม่ว่าจะในส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่มีรวมกันกว่า 800 คนจากทุกสื่อ จะร่วมมือกันทำงานเพื่อเป็นหลักประกันให้กับ “ผู้บริโภคข่าวสาร” ของไทยรัฐ ไม่ว่าจะรับสารจากช่องทางใดก็ตาม ให้ได้รับข่าวสารที่เที่ยงตรง เป็นธรรม ลุ่มลึกและเชื่อถือได้ ให้สมกับเป็นแหล่งข้อมูลสุดท้ายที่คนไทยจะต้องเข้าถึงเพื่อยืนยันและตรวจสอบข่าวสารที่เกิดขึ้นมากกว่าในแต่ละวัน ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาคอาเซียนและทุกซอกมุมอื่นๆ ของโลก
ดังนั้น การเริ่มต้นของ “ไทยรัฐทีวี” ในวันที่ 24 เม.ย.นี้ จึงถือเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการทำงานใหม่ของฝ่ายบรรณาธิการจากทุกๆ สื่อของ “ไทยรัฐ” ในรูปแบบของ “กองบรรณาธิการร่วม” ที่จะมาตอบโจทย์ให้แก่ผู้บริโภคข่าวสารในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร “ท่วมท้น” จนเกิดความสับสนไปหมด ให้สามารถนำข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ของ “ไทยรัฐ” ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับการติดตามความเคลื่อนไหวและสะท้อนปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้นั่นเอง...
ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี
Twitter: @chavarong
chavarong@thairath.co.th