จับตา“อิชิตัน” เทรดวันแรกเหนือจองมากน้อยแค่ไหน? นักลงทุนเสียงแตก กลุ่มหนึ่งพร้อมเข้าซื้อสะสม เหตุเชื่อมั่นในศักยภาพกลยุทธ์การตลาด ขณะที่อีกกลุ่มชี้เหลือส่วนต่างทำกำไรน้อย ขอรอฝุ่นหายตลบ แล้วเข้าเก็บในราคาจริง หลังประเมินราคาขายสูง ไม่มั่นใจคำแนะนำโบรกฯที่ให้ 17-19 บาท แต่ที่แน่ “ภาสกรนที”ได้ถอนทุนคืน จากเงินระดมทุน3.9 พันล้าน ที่ต้องนำไปใช้หนี้สถาบันการเงิน และกรรมการ ราว 2.5 พันล้านบาท ด้านวงการชี้ความเสี่ยงสำคัญ ซื้อ ICHI เหมือนซื้อ “ตัน ภาสกรนที”
ช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2557 ที่ห้องโถงชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คงคึกคักไม่น้อย เมื่อ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ICHI) จะเข้าซื้อขายบนกระดานหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก ในราคาIPO ที่ 13 บาทต่อหุ้น มูลค่าพาร์หุ้นละ1บาท เป็นเหตุให้หลายต่อหลายคนเฝ้ารอลุ้นเวลาเปิดตลาดและปิดตลาดในวันดังกล่าวว่า หุ้นICHI จะสามารถยืนเหนือราคาจองของตนเองได้หรือไม่
เกร็ดเล็กน้อยในอดีต สมัย บมจ.โออิชิ (OISHI) ก่อนเปิดตัวเข้าเทรด “ตัน ภาสกรนที”มีการจัดขบวนแถวยาว เฉลิมฉลองการเทรดครั้งแรกอย่างอลังการ ซึ่งหลายฝ่ายก็คาดว่าการเฉลิมฉลองหุ้น ICHI รอบนี้ มาร์เก็ตติ้งแมนอย่าง “ตัน” คงไม่ทำให้ใครผิดหวังเช่นกัน
เดิมที ICHI เคยมีกำหนดเข้าตลาดหุ้นในช่วงวันที่ 11 เดือน 12 ปี 13 หรือปีก่อนมาแล้วครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการโปรโมทข่าวสารของ บมจ.อิชิตันผ่านสื่อต่างๆ จำนวนมาก ถึงศักยภาพบริษัท และความสามารถในการทำรายได้ - กำไร แต่สุดท้ายกลับมาตกม้า....เพราะบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง...ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับแผนการนำ ICHI เข้าตลาดหลักทรัพย์ตัดสินใจเลื่อนการเข้าซื้อขายออกไป จนกลับดำเนินการอีกครั้งและได้ฤกษ์เทรดในวันที่ 21 เมษายนนี้
การกลับมาสู่ตลาดชาเขียวรอบที่2
ตลาดชาเขียวไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับ “ตัน ภาสกรนที” ผู้ที่เคยปลุกปั้น OISHI โด่งดังเป็นพลุแตกในตลาดเครื่องดื่มเมืองไทยในอดีต จน “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” แห่งบมจ.ไทยเบฟเวอเรจ หรือเบียร์ช้างอดใจไม่ได้ต้องเข้ามาเทกโอเวอร์กิจการ โดยในช่วงแรกยังมอบหมายให้ “ตัน” ดำเนินการบริหารโออิชิต่อไป แต่พอผ่านมาได้สักระยะ “ตัน” ตัดสินใจจากออกมา และกลับมาทำตลาดที่ตนถนัดอีกครั้งนั่นคือ ชาเขียวพร้อมดื่ม ภายใต้แบรนด์ “อิชิตัน” ที่กำลังจะเข้าซื้อขายในวันนี้
ช่วงเวลาดังกล่าว มีคำถามจำนวนมากของมวลชนถึงความเหมาะสมในการทำธุรกิจ ว่าเหมาะสมหรือไม่เมื่อเคยทำชาเขียวยี่ห้อหนึ่งจนโด่งดัง แล้วขายกิจการไปให้กับผู้อื่นแล้ว แต่ต่อมากลับมาสร้างยี่ห้อใหม่เข้ามาขายแข่งขันกับยี่ห้อเดิมของตนเอง แต่ด้วยความเป็นยอดนักการตลาด “ตัน” ผ่านพ้นจุดดังกล่าวออกมาได้ และยังสามารถนำชาเขียวยี่ห้อใหม่ของตน ชิงส่วนแบ่งการตลาดจากยี่ห้อเดิมที่ขายไป ขึ้นมาเป็นเจ้าของส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 แทน
ต้องยอมรับว่า “อิชิตัน” ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสวยหรู ในแรกเริ่มที่กำลังก่อร่างอาณาจักรใหม่ บริษัทต้องประสบปัญหากับภัยพิบัติจากมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 แต่ความไม่ย่อท้อของผู้บริหารก็ทำให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าวมาได้เช่นกัน
ข้อถกเถียงIPOที่13บาท แพงหรือคุ้มค่า?
กลับมาที่การเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรกของ บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป (ICHI) ราคาหุ้นไอพีโอที่ 13 บาทต่อหุ้นสร้างความพอใจให้กับนักลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรายย่อย จากการมีส่วนลดถึง 36% แต่ในทางกลับกันพบว่ายังมีนักลงทุนบางส่วนไม่พอใจในราคาระดับนี้ อาทิ นักลงทุนรายใหญ่ และนักลงทุนประเภท value investor บางกลุ่ม เพราะมองว่ามีช่องว่างหรือส่วนต่างให้กำไรได้ไม่มากนัก ไม่คุ้มความเสี่ยง เพราะมองกันว่าราคาหุ้นที่จะเข้าซื้อขายไม่น่าจะขยับขึ้นไปมากเท่าใด อีกทั้งแรกเริ่มเดิมที ก่อนที่จะสรุปราคาซื้อขายหุ้นIPO มีหลายฝ่ายประเมินว่า ICHI จะเคาะราคาIPO อยู่ในช่วง 12 - 10 บาท และให้มูลค่าเหมาะสมแก่หุ้นไม่ถึง 17 บาท ซึ่งสวนทางกับนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งที่ให้มากถึง 17- 19 บาท
“ผมมั่นใจว่าหุ้น ICHI จะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุนจนยืนเหนือราคาจอง ส่วนหนึ่งเชื่อว่าราคาขาย IPO 13 บาทเป็นราคาที่น่าสนใจ โดยราคาดังกล่าวคิดเป็นส่วนลดให้กับนักลงทุนถึง 36% อีกทั้งได้รับความสนใจจากนักลงทุนมียอดจองหุ้นจนล้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้อิชิตันมีนโยบายจะจ่ายเงินปันผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทำให้เข้ามาซื้อหุ้นในกระดานเพิ่มเติมเพื่อลงทุนหวังผลตอบแทนในระยะยาว อีกทั้ง กลุ่มตนเองและคุณอิง ภาสกรนที คือกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมรายใหญ่สุด มีสัดส่วนการถือหุ้น 60.4% ซึ่งตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ปริมาณหุ้นที่ต้อง silent ช่วง Silent Period ขั้นต่ำ 55% หุ้น ซึ่งกลุ่มตนเองและผู้บริหารท่านอื่นมีความตั้งใจจะถือหุ้นทั้งหมดในระยะยาวและไม่มีแผนจะลดสัดส่วนการถือหุ้นอย่างแน่นอน” ตัน ภาสกรนที ให้ความเห็น
หุ้นพนักงาน70ล้านหุ้นอาจบั่นทอนราคา
ทั้งนี้หุ้นIPO ของ ICHI จำนวน 300 ล้านหุ้น นั้นคิดเป็น 23.1% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งปัจจุบัน บริษัทมีทุนจดทะเบียน 1,300 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,300 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยเป็นทุนชำระแล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน จำนวนหุ้นIPO ที่ระดับ 300 ล้านหุ้น ในราคา 13 บาท/หุ้น คิดเป็นเม็ดเงินในการระดมทุน 3,900 ล้านบาท หลายฝ่ายมองว่าเป็นงานหนัก และอาจทำให้ไม่สามารถเกิดแรงเก็งกำไรในการเทรดวันแรกของ ICHI ได้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากหุ้นที่ผู้บริหารมอบให้พนักงานรวม 70 ล้านหุ้น ด้วยต้นทุนหุ้นละ 1 บาท ที่จะเข้ามาบั่นทอนการปรับขึ้นของราคาในการซื้อขายวันแรก แม้จะมีหุ้นที่ติด silent period 715 ล้านหุ้นหรือ 55% ของทุนชำระแล้วการันตีผ่านไฟลิ่งหรือหนังสือชี้ชวนเอาไว้ก็ตาม
จับตาเทรด“ตันแมน” ICHIเหลือช่วงอัพน้อย
จับตา“อิชิตัน” เทรดวันแรกเหนือจองมากน้อยแค่ไหน? นักลงทุนเสียงแตก กลุ่มหนึ่งพร้อมเข้าซื้อสะสม เหตุเชื่อมั่นในศักยภาพกลยุทธ์การตลาด ขณะที่อีกกลุ่มชี้เหลือส่วนต่างทำกำไรน้อย ขอรอฝุ่นหายตลบ แล้วเข้าเก็บในราคาจริง หลังประเมินราคาขายสูง ไม่มั่นใจคำแนะนำโบรกฯที่ให้ 17-19 บาท แต่ที่แน่ “ภาสกรนที”ได้ถอนทุนคืน จากเงินระดมทุน3.9 พันล้าน ที่ต้องนำไปใช้หนี้สถาบันการเงิน และกรรมการ ราว 2.5 พันล้านบาท ด้านวงการชี้ความเสี่ยงสำคัญ ซื้อ ICHI เหมือนซื้อ “ตัน ภาสกรนที”
ช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2557 ที่ห้องโถงชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คงคึกคักไม่น้อย เมื่อ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ICHI) จะเข้าซื้อขายบนกระดานหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก ในราคาIPO ที่ 13 บาทต่อหุ้น มูลค่าพาร์หุ้นละ1บาท เป็นเหตุให้หลายต่อหลายคนเฝ้ารอลุ้นเวลาเปิดตลาดและปิดตลาดในวันดังกล่าวว่า หุ้นICHI จะสามารถยืนเหนือราคาจองของตนเองได้หรือไม่
เกร็ดเล็กน้อยในอดีต สมัย บมจ.โออิชิ (OISHI) ก่อนเปิดตัวเข้าเทรด “ตัน ภาสกรนที”มีการจัดขบวนแถวยาว เฉลิมฉลองการเทรดครั้งแรกอย่างอลังการ ซึ่งหลายฝ่ายก็คาดว่าการเฉลิมฉลองหุ้น ICHI รอบนี้ มาร์เก็ตติ้งแมนอย่าง “ตัน” คงไม่ทำให้ใครผิดหวังเช่นกัน
เดิมที ICHI เคยมีกำหนดเข้าตลาดหุ้นในช่วงวันที่ 11 เดือน 12 ปี 13 หรือปีก่อนมาแล้วครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการโปรโมทข่าวสารของ บมจ.อิชิตันผ่านสื่อต่างๆ จำนวนมาก ถึงศักยภาพบริษัท และความสามารถในการทำรายได้ - กำไร แต่สุดท้ายกลับมาตกม้า....เพราะบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง...ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับแผนการนำ ICHI เข้าตลาดหลักทรัพย์ตัดสินใจเลื่อนการเข้าซื้อขายออกไป จนกลับดำเนินการอีกครั้งและได้ฤกษ์เทรดในวันที่ 21 เมษายนนี้
การกลับมาสู่ตลาดชาเขียวรอบที่2
ตลาดชาเขียวไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับ “ตัน ภาสกรนที” ผู้ที่เคยปลุกปั้น OISHI โด่งดังเป็นพลุแตกในตลาดเครื่องดื่มเมืองไทยในอดีต จน “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” แห่งบมจ.ไทยเบฟเวอเรจ หรือเบียร์ช้างอดใจไม่ได้ต้องเข้ามาเทกโอเวอร์กิจการ โดยในช่วงแรกยังมอบหมายให้ “ตัน” ดำเนินการบริหารโออิชิต่อไป แต่พอผ่านมาได้สักระยะ “ตัน” ตัดสินใจจากออกมา และกลับมาทำตลาดที่ตนถนัดอีกครั้งนั่นคือ ชาเขียวพร้อมดื่ม ภายใต้แบรนด์ “อิชิตัน” ที่กำลังจะเข้าซื้อขายในวันนี้
ช่วงเวลาดังกล่าว มีคำถามจำนวนมากของมวลชนถึงความเหมาะสมในการทำธุรกิจ ว่าเหมาะสมหรือไม่เมื่อเคยทำชาเขียวยี่ห้อหนึ่งจนโด่งดัง แล้วขายกิจการไปให้กับผู้อื่นแล้ว แต่ต่อมากลับมาสร้างยี่ห้อใหม่เข้ามาขายแข่งขันกับยี่ห้อเดิมของตนเอง แต่ด้วยความเป็นยอดนักการตลาด “ตัน” ผ่านพ้นจุดดังกล่าวออกมาได้ และยังสามารถนำชาเขียวยี่ห้อใหม่ของตน ชิงส่วนแบ่งการตลาดจากยี่ห้อเดิมที่ขายไป ขึ้นมาเป็นเจ้าของส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 แทน
ต้องยอมรับว่า “อิชิตัน” ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสวยหรู ในแรกเริ่มที่กำลังก่อร่างอาณาจักรใหม่ บริษัทต้องประสบปัญหากับภัยพิบัติจากมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 แต่ความไม่ย่อท้อของผู้บริหารก็ทำให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าวมาได้เช่นกัน
ข้อถกเถียงIPOที่13บาท แพงหรือคุ้มค่า?
กลับมาที่การเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรกของ บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป (ICHI) ราคาหุ้นไอพีโอที่ 13 บาทต่อหุ้นสร้างความพอใจให้กับนักลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรายย่อย จากการมีส่วนลดถึง 36% แต่ในทางกลับกันพบว่ายังมีนักลงทุนบางส่วนไม่พอใจในราคาระดับนี้ อาทิ นักลงทุนรายใหญ่ และนักลงทุนประเภท value investor บางกลุ่ม เพราะมองว่ามีช่องว่างหรือส่วนต่างให้กำไรได้ไม่มากนัก ไม่คุ้มความเสี่ยง เพราะมองกันว่าราคาหุ้นที่จะเข้าซื้อขายไม่น่าจะขยับขึ้นไปมากเท่าใด อีกทั้งแรกเริ่มเดิมที ก่อนที่จะสรุปราคาซื้อขายหุ้นIPO มีหลายฝ่ายประเมินว่า ICHI จะเคาะราคาIPO อยู่ในช่วง 12 - 10 บาท และให้มูลค่าเหมาะสมแก่หุ้นไม่ถึง 17 บาท ซึ่งสวนทางกับนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งที่ให้มากถึง 17- 19 บาท
“ผมมั่นใจว่าหุ้น ICHI จะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุนจนยืนเหนือราคาจอง ส่วนหนึ่งเชื่อว่าราคาขาย IPO 13 บาทเป็นราคาที่น่าสนใจ โดยราคาดังกล่าวคิดเป็นส่วนลดให้กับนักลงทุนถึง 36% อีกทั้งได้รับความสนใจจากนักลงทุนมียอดจองหุ้นจนล้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้อิชิตันมีนโยบายจะจ่ายเงินปันผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทำให้เข้ามาซื้อหุ้นในกระดานเพิ่มเติมเพื่อลงทุนหวังผลตอบแทนในระยะยาว อีกทั้ง กลุ่มตนเองและคุณอิง ภาสกรนที คือกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมรายใหญ่สุด มีสัดส่วนการถือหุ้น 60.4% ซึ่งตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ปริมาณหุ้นที่ต้อง silent ช่วง Silent Period ขั้นต่ำ 55% หุ้น ซึ่งกลุ่มตนเองและผู้บริหารท่านอื่นมีความตั้งใจจะถือหุ้นทั้งหมดในระยะยาวและไม่มีแผนจะลดสัดส่วนการถือหุ้นอย่างแน่นอน” ตัน ภาสกรนที ให้ความเห็น
หุ้นพนักงาน70ล้านหุ้นอาจบั่นทอนราคา
ทั้งนี้หุ้นIPO ของ ICHI จำนวน 300 ล้านหุ้น นั้นคิดเป็น 23.1% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งปัจจุบัน บริษัทมีทุนจดทะเบียน 1,300 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,300 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยเป็นทุนชำระแล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน จำนวนหุ้นIPO ที่ระดับ 300 ล้านหุ้น ในราคา 13 บาท/หุ้น คิดเป็นเม็ดเงินในการระดมทุน 3,900 ล้านบาท หลายฝ่ายมองว่าเป็นงานหนัก และอาจทำให้ไม่สามารถเกิดแรงเก็งกำไรในการเทรดวันแรกของ ICHI ได้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากหุ้นที่ผู้บริหารมอบให้พนักงานรวม 70 ล้านหุ้น ด้วยต้นทุนหุ้นละ 1 บาท ที่จะเข้ามาบั่นทอนการปรับขึ้นของราคาในการซื้อขายวันแรก แม้จะมีหุ้นที่ติด silent period 715 ล้านหุ้นหรือ 55% ของทุนชำระแล้วการันตีผ่านไฟลิ่งหรือหนังสือชี้ชวนเอาไว้ก็ตาม