ไม่รู้จะเปิดค้นหาซากบรรพบุรุษมันหรือไง?
advertisement
'เท่ตรงไหน ใครวานบอก' เปิดไฟตัดหมอกไม่รู้จักเวลา มันสว่างจ้าแยงตารู้ไหม!!
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 29 ก.ย. 2555 14:00
หลังจากได้เขียนเรื่อง 'เลิกเสียที เสพติดไฟผ่าหมาก...' ก็เป็นที่น่ายินดีได้รับผลตอบรับจากแฟนไทยรัฐออนไลน์ ส่งข้อความอยากให้จำเพาะเจาะจงเรื่องของ 'ไฟตัดหมอก' เพิ่มเติมสักหน่อย เพราะรู้สึกถึงความทนทุกข์ระทมสายตาทุกครั้งเมื่อยามต้องขับรถขับราสวนทางกับพวกรถบูชาไฟเหล่านั้น
แล้วมีหรือที่จะกล้าไม่ไยดีเสียงของแฟนๆ ผู้น่ารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วเรื่องนั้นๆ มันสุดแสนจะเป็นเรื่องระดับตำนานถึงเพียงนี้ ที่ต้องบอกว่า 'ไฟตัดหมอก' กลายเป็นประเด็นระดับตำนานไปแล้ว เพราะเราต่างมักเห็นคำจำกัดความของการใช้อุปกรณ์ชุดไฟดวงที่ 2 พวกนี้มานานแสนนานแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่พบคือ...ทุกอย่างบนถนนก็ยังเหมือนเดิม?
ถิ่นฐานกำเนิด ที่มาของไฟตัดหมอก
ย้อนไปถึงบ้านเกิดเมืองนอนของอุปกรณ์ที่มีชื่อในสูติบัตรฉบับสากลว่า 'Fog Lamp' เป็นบ้านเมืองในแถบประเทศอากาศหนาวเหน็บ และประเทศที่มีลักษณะของฝนตกชุกตลอดปี จึงต้องมีความจำเป็นที่จะคิดค้นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นขณะขับขี่ยานพาหนะขึ้นมานั่นเอง
เกิดมาเพื่อช่วยเหลือ
ไฟตัดหมอกจะใช้หลอดที่เป็นสปอตไลท์ ซึ่งมีความสว่างสูงกว่าไฟหน้าทั่วไป ติดตั้งบริเวณด้านหน้าตอนล่างของตัวรถในกรณีของไฟตัดหมอกหน้า ลำแสงที่ส่องออกมาขนานไปกับพื้นถนนทำให้จุดตกกระทบอยู่ไกลว่าไฟหน้าปกติ ในขณะที่ไฟหน้าปกติเมื่อเปิดในขณะฝนตกหนักหรือหมอกลงจัด แสงที่ไปกระทบจะสะท้อนเข้าสู่ตาของผู้ขับขี่ทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นย่ำแย่ลง
ในขณะที่แสงของไฟตัดหมอกสามารถพุ่งไปได้ไกลกว่าในมุมขนาน อีกทั้งแสงที่กระทบกลับมาก็ไม่ได้อยู่ในมุมที่ก่อกวนสายตาผู้ขับขี่ ทำให้การมองเห็นในระยะ 30-80 เมตรสามารถทำได้ดียิ่งขึ้น
ไฟตัดหมอก สัญชาติไทยๆ
แต่!! นับจากวันที่ 'Fog Lamp' มู่งหน้าเข้าสู่ตลาดยานยนต์บ้านเรา พร้อมกับได้ชื่อภาษาไทยสุดไฉไลว่า 'ไฟตัดหมอก' จากอุปกรณ์จำเป็นในเมืองหนาว มุ่งหน้าสู่การปฎิบัติงานในเมืองร้อน มันถูกโยนไปอยู่หมวด 'ประดับยนต์' ซะอย่างนั้น! หนำซ้ำยังก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้ใช้จำนวนมาก ถึงความสวยงามและหรูหราอันไม่ค่อยจะเข้าท่าที่เข้าใจกันแบบนั้น...ให้ตายสิ
กลายเป็นตัวเพิ่มความหรูระดับพรีเมียม
เราจะเห็นได้จากการที่ไฟตัดหมอกมักตั้งรกรากอยู่ตามกันชนด้านหน้าของรถระดับพรีเมียม หรือรถระดับตลาดแต่จะเลือกอยู่ในตัวท็อปของแต่ละรุ่นเท่านั้น และนั่นจึงทำให้ผู้ที่ซื้อรถจำนวนไม่น้อยมองว่ามันไม่ใช่อุปกรณ์จำเป็น เพราะหากมันจำเป็นค่ายรถคงต้องจับมันยัดไว้ในอุปกรณ์มาตรฐานไปแล้ว แต่กลายเป็นว่าถ้ามีไฟตัดหมอกแสดงว่ามันเป็นตัวท็อปของรุ่น!
เพื่อนร่วมทาง ผู้โดนบดบังทัศนวิสัย
จึงไม่แปลกที่จะเห็นใครก็ตาม มักเที่ยวตามหาอุปกรณ์ไฟตัดหมอกเหล่านี้มาติดตั้งเสริมบารมีให้กับรถคันเก่ง แต่นั่นมันคงไม่ได้ผิดอะไรถ้าหากยามค่ำคืนในวันที่ฟ้าปลอดโปร่ง พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้แสดงตนเป็นคนบูชาไฟ เรียกว่าไฟในรถมีเท่าไหร่เปิดมันให้หมดทุกดวง
โดยไม่สนใจด้วยซ้ำว่าแท้จริงแล้ว หน้าที่อันเป็นความรับผิดชอบของไฟตัดหมอกที่ถูกที่ควรนั้นมันคืออะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ ทุกครั้งที่เปิดไฟตัดหมอก นอกจากความภูมิใจที่ได้แสดงให้ใครต่อใครเห็นว่ารถฉันมีไฟตัดหมอกนะตัวเธอว์ แต่ผู้ร่วมทางต่างหากที่กลายเป็นผู้รับเคราะห์จากความสว่างจ้าเกินความจำเป็นของมันต่างหากเล่า รู้ไว้บ้างก็ดีนะ
สถานการณ์ที่ใช้ได้อย่างเหมาะสม
เวลาที่เหมาะที่ควรที่สามารถใช้ไฟตัดหมอกได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับคำสาปแช่งสรรเสริญตลอดทาง ก็คือช่วงที่หมอกลงจัดซึ่งอาจพบได้ไม่บ่อยนักแต่ก็ยังพอมีให้เห็นโดยเฉพาะช่วงเช้าๆ รวมถึงในสถานการณ์สายฝนที่ถล่มไม่ลืมหูลืมตาเหมือนที่คนไทยได้เจอตลอด 3 อาทิตย์ที่ผ่านมานี้ ซึ่งไฟตัดหมอกจะสามารถช่วยงานแผ้วถางทางให้เรามองเห็นได้เป็นอย่างดี
ปรับ 500 เรื่องจิ๊บ แต่จิตสำนึกสิเรื่องใหญ่
โทษทางกฎหมายสูงสุดของการเปิดไฟตัดหมอกแบบไม่รู้จักเวล่ำเวลาอยู่ที่ปรับไม่เกิน 500 บาท แต่อะไรก็คงไม่ดีไปกว่าการรู้จักจิตสำนึกที่มีต่อเพื่อนร่วมทาง เพราะการเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่จำเป็น มันรบกวนทัศนวิสัยการมองเห็นทั้งรถที่สวนมาและรถด้านหน้าของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอให้รู้ไว้เสมอว่า 'ไฟตัดหมอกมีได้ แต่ใช้ให้ถูกเวลา' มันปลอดภัยและเท่กว่าเยอะ.
ใครเดือดร้อนจากพวกที่ชอบเปิดไฟตัดหมอกหน้า ตอนกลางวัน ไร้จิตสำนึก เข้ามาให้ศีลให้พรพวกมันหน่อย
advertisement
'เท่ตรงไหน ใครวานบอก' เปิดไฟตัดหมอกไม่รู้จักเวลา มันสว่างจ้าแยงตารู้ไหม!!
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 29 ก.ย. 2555 14:00
หลังจากได้เขียนเรื่อง 'เลิกเสียที เสพติดไฟผ่าหมาก...' ก็เป็นที่น่ายินดีได้รับผลตอบรับจากแฟนไทยรัฐออนไลน์ ส่งข้อความอยากให้จำเพาะเจาะจงเรื่องของ 'ไฟตัดหมอก' เพิ่มเติมสักหน่อย เพราะรู้สึกถึงความทนทุกข์ระทมสายตาทุกครั้งเมื่อยามต้องขับรถขับราสวนทางกับพวกรถบูชาไฟเหล่านั้น
แล้วมีหรือที่จะกล้าไม่ไยดีเสียงของแฟนๆ ผู้น่ารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วเรื่องนั้นๆ มันสุดแสนจะเป็นเรื่องระดับตำนานถึงเพียงนี้ ที่ต้องบอกว่า 'ไฟตัดหมอก' กลายเป็นประเด็นระดับตำนานไปแล้ว เพราะเราต่างมักเห็นคำจำกัดความของการใช้อุปกรณ์ชุดไฟดวงที่ 2 พวกนี้มานานแสนนานแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่พบคือ...ทุกอย่างบนถนนก็ยังเหมือนเดิม?
ถิ่นฐานกำเนิด ที่มาของไฟตัดหมอก
ย้อนไปถึงบ้านเกิดเมืองนอนของอุปกรณ์ที่มีชื่อในสูติบัตรฉบับสากลว่า 'Fog Lamp' เป็นบ้านเมืองในแถบประเทศอากาศหนาวเหน็บ และประเทศที่มีลักษณะของฝนตกชุกตลอดปี จึงต้องมีความจำเป็นที่จะคิดค้นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นขณะขับขี่ยานพาหนะขึ้นมานั่นเอง
เกิดมาเพื่อช่วยเหลือ
ไฟตัดหมอกจะใช้หลอดที่เป็นสปอตไลท์ ซึ่งมีความสว่างสูงกว่าไฟหน้าทั่วไป ติดตั้งบริเวณด้านหน้าตอนล่างของตัวรถในกรณีของไฟตัดหมอกหน้า ลำแสงที่ส่องออกมาขนานไปกับพื้นถนนทำให้จุดตกกระทบอยู่ไกลว่าไฟหน้าปกติ ในขณะที่ไฟหน้าปกติเมื่อเปิดในขณะฝนตกหนักหรือหมอกลงจัด แสงที่ไปกระทบจะสะท้อนเข้าสู่ตาของผู้ขับขี่ทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นย่ำแย่ลง
ในขณะที่แสงของไฟตัดหมอกสามารถพุ่งไปได้ไกลกว่าในมุมขนาน อีกทั้งแสงที่กระทบกลับมาก็ไม่ได้อยู่ในมุมที่ก่อกวนสายตาผู้ขับขี่ ทำให้การมองเห็นในระยะ 30-80 เมตรสามารถทำได้ดียิ่งขึ้น
ไฟตัดหมอก สัญชาติไทยๆ
แต่!! นับจากวันที่ 'Fog Lamp' มู่งหน้าเข้าสู่ตลาดยานยนต์บ้านเรา พร้อมกับได้ชื่อภาษาไทยสุดไฉไลว่า 'ไฟตัดหมอก' จากอุปกรณ์จำเป็นในเมืองหนาว มุ่งหน้าสู่การปฎิบัติงานในเมืองร้อน มันถูกโยนไปอยู่หมวด 'ประดับยนต์' ซะอย่างนั้น! หนำซ้ำยังก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้ใช้จำนวนมาก ถึงความสวยงามและหรูหราอันไม่ค่อยจะเข้าท่าที่เข้าใจกันแบบนั้น...ให้ตายสิ
กลายเป็นตัวเพิ่มความหรูระดับพรีเมียม
เราจะเห็นได้จากการที่ไฟตัดหมอกมักตั้งรกรากอยู่ตามกันชนด้านหน้าของรถระดับพรีเมียม หรือรถระดับตลาดแต่จะเลือกอยู่ในตัวท็อปของแต่ละรุ่นเท่านั้น และนั่นจึงทำให้ผู้ที่ซื้อรถจำนวนไม่น้อยมองว่ามันไม่ใช่อุปกรณ์จำเป็น เพราะหากมันจำเป็นค่ายรถคงต้องจับมันยัดไว้ในอุปกรณ์มาตรฐานไปแล้ว แต่กลายเป็นว่าถ้ามีไฟตัดหมอกแสดงว่ามันเป็นตัวท็อปของรุ่น!
เพื่อนร่วมทาง ผู้โดนบดบังทัศนวิสัย
จึงไม่แปลกที่จะเห็นใครก็ตาม มักเที่ยวตามหาอุปกรณ์ไฟตัดหมอกเหล่านี้มาติดตั้งเสริมบารมีให้กับรถคันเก่ง แต่นั่นมันคงไม่ได้ผิดอะไรถ้าหากยามค่ำคืนในวันที่ฟ้าปลอดโปร่ง พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้แสดงตนเป็นคนบูชาไฟ เรียกว่าไฟในรถมีเท่าไหร่เปิดมันให้หมดทุกดวง
โดยไม่สนใจด้วยซ้ำว่าแท้จริงแล้ว หน้าที่อันเป็นความรับผิดชอบของไฟตัดหมอกที่ถูกที่ควรนั้นมันคืออะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ ทุกครั้งที่เปิดไฟตัดหมอก นอกจากความภูมิใจที่ได้แสดงให้ใครต่อใครเห็นว่ารถฉันมีไฟตัดหมอกนะตัวเธอว์ แต่ผู้ร่วมทางต่างหากที่กลายเป็นผู้รับเคราะห์จากความสว่างจ้าเกินความจำเป็นของมันต่างหากเล่า รู้ไว้บ้างก็ดีนะ
สถานการณ์ที่ใช้ได้อย่างเหมาะสม
เวลาที่เหมาะที่ควรที่สามารถใช้ไฟตัดหมอกได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับคำสาปแช่งสรรเสริญตลอดทาง ก็คือช่วงที่หมอกลงจัดซึ่งอาจพบได้ไม่บ่อยนักแต่ก็ยังพอมีให้เห็นโดยเฉพาะช่วงเช้าๆ รวมถึงในสถานการณ์สายฝนที่ถล่มไม่ลืมหูลืมตาเหมือนที่คนไทยได้เจอตลอด 3 อาทิตย์ที่ผ่านมานี้ ซึ่งไฟตัดหมอกจะสามารถช่วยงานแผ้วถางทางให้เรามองเห็นได้เป็นอย่างดี
ปรับ 500 เรื่องจิ๊บ แต่จิตสำนึกสิเรื่องใหญ่
โทษทางกฎหมายสูงสุดของการเปิดไฟตัดหมอกแบบไม่รู้จักเวล่ำเวลาอยู่ที่ปรับไม่เกิน 500 บาท แต่อะไรก็คงไม่ดีไปกว่าการรู้จักจิตสำนึกที่มีต่อเพื่อนร่วมทาง เพราะการเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่จำเป็น มันรบกวนทัศนวิสัยการมองเห็นทั้งรถที่สวนมาและรถด้านหน้าของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอให้รู้ไว้เสมอว่า 'ไฟตัดหมอกมีได้ แต่ใช้ให้ถูกเวลา' มันปลอดภัยและเท่กว่าเยอะ.