จากกรณีเรือ เซวอน ของเกาหลีจม
เท่าที่ติดตามอ่านมาสองวัน
ผมพบว่า พวกเรายังไม่รู้จัก LIFERAFT หรือเรือชว่ยชีวิต กันสักเท่าไหร่
วันนี้เลยกลับบ้านมาตั้งใจจะเขียนเป็นความรู้หน่อยครับ
อยากให้คนเดินทางได้อ่านเป็นความรู้และจดจำไว้นะครับ
น่าจะมีประโยชน์อย่างมากในสถานะการ์ณจริง หากคุณต้องประสพภัยทางเรือ
หรืออาจช่วยในการตัดสินใจ ใดใด ขณะเรือกำลังจมได้
ข้อมูลที่เขียนอาจจะไม่เป๊ะ เหมือนตอนผมเป็นเซลล์ขาย LR ที่ต้องนั่งท่องกฎก่อนไปเสนองานลูกค้า
เพราะมัน 10 กว่าปีมาแล้ว
ผิดพลาดประการใดทักท้วงได้
---
---
---
LIFERAFT หรือ แพชูชีพ ยามฉุกเฉิน
ถูกบังคับใช้ตามกฎ IMO (INTERNATIONAL MARITIME ORGANIZATION) หรือองกรณ์การเดินเรือสากลโลก
และกรมเจ้าท่าในไทยก็ ยึดนโยบาย ออกกฎหมายยึดหลักตาม IMO
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(แต่ไม่เคร่งงงงงงงงงง)
ตามกฎ IMO บังคับให้เรือเดินทะเลชายฝั่ง ต้องมีไว้ "เกิน" จำนวนคน
เช่น เรือโดยสาร ข้ามฝากไป พีพี ความจุ 200 คน (เฉพาะผู้โดยสาร)
ต้องมี LR รองรับเกินจำนวน ความจุผดส. และต้องมีสำรองสำหรับลูกเรือด้วย
โดยจุดประสงค์แท้จริงของ LR คือ "ประวิงเวลาและความปลอดภัย ของผู้ประสพภัยเพื่อรอการช่วยเหลือ"
การลำเลียงผู้ประสพภัยลงแพชูชีพ หรือเรือชูชีพนั้น เพื่อให้ผู้ประสพภัย ได้มีที่ปลอดภัยจากเหตุเรือกำลังจม (หรือจมไปแล้ว)
และมีที่กำบังแดด มีอาหารและน้ำฉุกเฉิน ยา อุปกรณ์ยังชีพเบื้องต้น รวมถึงอุปกรณ์ส่งสัญญาณ
ตาม เกรดของ LR (SOLAS คลาสต่างๆ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(ในกรณีถ้าเรือจมช้า และมีเรือบต ก็ขึ้นไปนั่งตามจำนวนคนครับ เมื่อคนครบ เขาจะปล่อยเรือลงน้ำเอง
)
มาทำความรู้จัก LR กันครับ
LIFERAFT หน้าตาเป็นยังไง ?
มักจะพบเป็นรูปทรงคล้ายถังนอนตะแคง แบบนี้
ซึ่งเป็นทรงมาตรฐาน ที่ทำให้กลิ้งได้ เพราะ คุณอาจต้องพลักมัน หรือกลิ้งมันลงจากกราบเรือ เพื่อให้กลไกมันทำงานครับ
บางยี่ห้อ ก็จะเป็นทรงกระเป๋าเดินทาง เช่น LR ของเรือ ยอร์ช เรือใบ เพราะ ถ้าใช้แบบทรงถัง เวลาเรือใบกินลม มันอาจกลิ้งตกจากเรือได้ครับ
ปกติทรงสี่เหลี่ยมมักจะเอาไว้ขายเรือ มอเตอร์ยอร์ช เรือใบ หรือเรือหรูๆ เสียมากกว่า แต่ระบบการใช้งานเหมือนกันครับ
LIFERAFT มีขนาดเท่าไหร่บ้าง ?
ตามปกติ มีตั้งแต่ 2 คน จนถึง 30 คนครับ
แต่ขนาดยอดฮิตคือ 15 - 25 คน เนื่องจากขนาดใหญ่ไป จะทำการดูแลลำบากขณะใช้งาน (ใหญ่เกิน)
ขนาดใหญ่กว่านั้นก็มีแต่ที่นิยม อย่างในไทยคือ 25 คนครับ
LIFERAFT อยู่ตรงไหน ? ของเรือ ?
โดยปกติ (เกือบทุกลำ) จะอยู่กราบเรือครับ
จากภาพเป็นการติดตั้งตามมาตรฐานเลยครับ อยู่บนแท่นวาง ตรงกราบเรือเป็นสลิงสามารถ ปลดสลิงออกเพื่อปล่อย LR ลงไปได้สะดวก
ดังนั้น เวลาเกิดเหตุ วิ่งไปที่กราบเรือครับ หรือท้ายเรือ ถ้ากัปตันประกาศแล้ว จะมีลูกเรือไปรอถีบหรือเตรียมLR ให้ครับ
การทำงานของ LR
แบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ดังนี้ครับ
ในกรณีมีเวลาเตรียมการ์ณ
เช่น จมอย่างช้าๆ คลื่นลมสงบ
บางลำจะมีการเตรียม สะพานลม ลำเลียงลงแบบสไลด์เดอร์
ซึ่งต้องถอดรองเท้าและเข็มขัดออกทุกคน รวมถึงสัมภาระที่อาจไปเกี่ยวสะพานลมหรือ LR ได้
กรณี ฉุกเฉิน แบบเรือเอียงด้านใดด้านหนึ่ง
เจ้าหน้าที่จะปล่อยแพลงไปในน้ำ ให้คุณใส่ชูชีพ แล้วว่าไปที่ LR ครับ
หลายคนอาจคิดว่า อ้าว นึงว่าเข้าไปนั่งให้เต็มแล้วยกลงเสียอีก ?
ซึ่งทำไม่ได้ครับ การขึ้น LR แบบปกติส่วนมาก ต้องว่ายไปที่ชูชีพครับ
จากที่ผมเคยเทรนมา คนไปคนแรก ต้องว่ายน้ำแข๊งแรงดี ไปถึงแล้ว ต้องพยายามดึงคนต่อๆไปขึ้นมา
คนที่ขึ้นมาแล้วต้องไปนั่งอีกฟากเพื่อไม่ให้ LR เทน้ำหนักไปข้างใดข้างนึง และคนต่อๆมา ต้องทำหน้าที่ตักน้ำที่เข้าแพออกด้วย
จะทำให้ LIFERAFT ทำงานได้ยังไง ?
ปกติ LR จะมีวิธีใช้งาน 2 แบบหลักๆ คือ
1. ดึงสลักเพื่อปลดแพ
โดยการผูกเชือกสีขาว ที่โผล่มาจากตัว LR ไว้ที่ข้างเรือ (ควรเลือกให้เหล็กที่ผูกแข๊งแรงด้วยนะครับ)
แล้วกลิ้งมันลงไป ในน้ำเลย
เมื่อสลักถูกกระชากจากเชือกที่ผูกไว้ กลไกแก๊สภายในจะทำงาน และไปเป่าลมให้แพชูชีพด้านในพองตัวออกมาตามภาพครับ
2. โดยระบบอัตโนมัติ (ไฮโดรสตาร์ติค รีรีส)
เจ้าที่เห็นในภาพ คือ ตัดตัดอัตโนมัติ เวลาที่เรือจมอย่างรวดเร็ว จนเราไม่มีเวลาดึงสลัก
เจ้า ไฮโดรฯ นี้จะทำงานเมื่ออยู่ในความลึกระดับนึง มันจะทำงานโดยการไปตัดเชือกปลดแพของ LR
อธิบายง่ายๆคือ เมื่อเรือจม และมีเจ้าไฮโดรฯ คุณจะลอยคออยู่บนผิวน้ำสักพัก เจ้า LR ก็จะลอยสวนเรือขึ้นมา
จากนั้นรอให้มันเติมลมให้ได้ทรงก่อน จึงเริ่มทยอยกันเข้าไปในแพ
แน่ใจได้อย่างไรว่า แพมันจะกางตอนถีบมันลงไป ?
เรากางมันเสร็จแล้วค่อยโยน ไม่ดีกว่าเหรอ ?
การกางบนเรือแล้วโยนลง ขอให้เลิกคิดเลยครับ เพราะเมื่อมันกาง อาจพองไปโดนจุดแหลมคมจนทำให้แพรั่วได้
การกางในน้ำเป็นมาตรฐานที่คิดและตรวจสอบมาอย่างดีครับ
ก่อนที่จะจำหน่ายไปยังเรือต่างๆ บริษัทผู้ผลิตและ บริษัทที่รับตรวจสอบบรรจุ จะมีการตรวจสอบมาตรฐานตามขั้นตอน ครับ
ทั้งอายุวัสดุ การทดสอบกาง รอยรั่ว โดยจะมีการทดสอบซ้ำหลายขั้นตอน จนผ่านมาตรฐานครับ
ภายในแพ มีอะไรบ้าง ?
ดูตามภาพเลยครับ
นอกจากที่ว่างแล้ว จะมี อาหาร น้ำจืด ยา และอุปกรณ์ยังชีพครับ ตะขอเบ็ด ขันตักน้ำ ไม้พาย
พลุส่งสัญญาณ
โดยอาหารเป็นแท่งโปรตีนพลังงานสูง ส่วนน้ำจืดเป็นน้ำจืดเฉยๆครับ
แต่จะมีการแบ่งเปนแท่งๆ และน้ำเป็นซอง เพื่อแจกจ่ายให้คนบนแพ ของใครของมัน
ตรงนี้เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหารกันครับ
กัปตันหรือ ลูกเรือ (ถ้าอยู่ในแพ) จะเป็นคนแบ่งตามส่วน จนกว่าจะมีการช่วยเหลือครับ
เรือจมไปก่อน แล้วแพจะลอยขึ้นมาได้ยังไง ? จากเรือที่จม
ดู ตามคลิปเลยครับ
ถ้าเสียงหวูดสละเรือมา แล้วเรือเป็นแบบในคลิป คือ จมแน่นอน ใส่ชูชีพแล้วโดดออกไปไกลๆ เรือครับ รอแพพอง แล้วว่ายไปหาแพเลย
ดูจำนวนคนที่ว่ายไปกับ แพดีดี ถ้าคนเยอะเกิน ว่ายไปอันที่คนน้อยกว่า (ดูสภาพร่างกายตัวเองด้วยนะครับ ประเมินดีดี)
พื้นที่ไม่พอไปต่อด้านล่างครับ
มาทำความรู้จักและวิธีใช้ "LIFERAFT" แพชูชีพช่วยชีวิตในกรณีเรือจมกันครับ : คุณอ่านครั้งเดียวอาจช่วยได้หลายชีวิต
เท่าที่ติดตามอ่านมาสองวัน
ผมพบว่า พวกเรายังไม่รู้จัก LIFERAFT หรือเรือชว่ยชีวิต กันสักเท่าไหร่
วันนี้เลยกลับบ้านมาตั้งใจจะเขียนเป็นความรู้หน่อยครับ
อยากให้คนเดินทางได้อ่านเป็นความรู้และจดจำไว้นะครับ
น่าจะมีประโยชน์อย่างมากในสถานะการ์ณจริง หากคุณต้องประสพภัยทางเรือ
หรืออาจช่วยในการตัดสินใจ ใดใด ขณะเรือกำลังจมได้
ข้อมูลที่เขียนอาจจะไม่เป๊ะ เหมือนตอนผมเป็นเซลล์ขาย LR ที่ต้องนั่งท่องกฎก่อนไปเสนองานลูกค้า
เพราะมัน 10 กว่าปีมาแล้ว
ผิดพลาดประการใดทักท้วงได้
---
---
---
LIFERAFT หรือ แพชูชีพ ยามฉุกเฉิน
ถูกบังคับใช้ตามกฎ IMO (INTERNATIONAL MARITIME ORGANIZATION) หรือองกรณ์การเดินเรือสากลโลก
และกรมเจ้าท่าในไทยก็ ยึดนโยบาย ออกกฎหมายยึดหลักตาม IMO [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตามกฎ IMO บังคับให้เรือเดินทะเลชายฝั่ง ต้องมีไว้ "เกิน" จำนวนคน
เช่น เรือโดยสาร ข้ามฝากไป พีพี ความจุ 200 คน (เฉพาะผู้โดยสาร)
ต้องมี LR รองรับเกินจำนวน ความจุผดส. และต้องมีสำรองสำหรับลูกเรือด้วย
โดยจุดประสงค์แท้จริงของ LR คือ "ประวิงเวลาและความปลอดภัย ของผู้ประสพภัยเพื่อรอการช่วยเหลือ"
การลำเลียงผู้ประสพภัยลงแพชูชีพ หรือเรือชูชีพนั้น เพื่อให้ผู้ประสพภัย ได้มีที่ปลอดภัยจากเหตุเรือกำลังจม (หรือจมไปแล้ว)
และมีที่กำบังแดด มีอาหารและน้ำฉุกเฉิน ยา อุปกรณ์ยังชีพเบื้องต้น รวมถึงอุปกรณ์ส่งสัญญาณ
ตาม เกรดของ LR (SOLAS คลาสต่างๆ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มาทำความรู้จัก LR กันครับ
LIFERAFT หน้าตาเป็นยังไง ?
มักจะพบเป็นรูปทรงคล้ายถังนอนตะแคง แบบนี้
ซึ่งเป็นทรงมาตรฐาน ที่ทำให้กลิ้งได้ เพราะ คุณอาจต้องพลักมัน หรือกลิ้งมันลงจากกราบเรือ เพื่อให้กลไกมันทำงานครับ
บางยี่ห้อ ก็จะเป็นทรงกระเป๋าเดินทาง เช่น LR ของเรือ ยอร์ช เรือใบ เพราะ ถ้าใช้แบบทรงถัง เวลาเรือใบกินลม มันอาจกลิ้งตกจากเรือได้ครับ
ปกติทรงสี่เหลี่ยมมักจะเอาไว้ขายเรือ มอเตอร์ยอร์ช เรือใบ หรือเรือหรูๆ เสียมากกว่า แต่ระบบการใช้งานเหมือนกันครับ
LIFERAFT มีขนาดเท่าไหร่บ้าง ?
ตามปกติ มีตั้งแต่ 2 คน จนถึง 30 คนครับ
แต่ขนาดยอดฮิตคือ 15 - 25 คน เนื่องจากขนาดใหญ่ไป จะทำการดูแลลำบากขณะใช้งาน (ใหญ่เกิน)
ขนาดใหญ่กว่านั้นก็มีแต่ที่นิยม อย่างในไทยคือ 25 คนครับ
LIFERAFT อยู่ตรงไหน ? ของเรือ ?
โดยปกติ (เกือบทุกลำ) จะอยู่กราบเรือครับ
จากภาพเป็นการติดตั้งตามมาตรฐานเลยครับ อยู่บนแท่นวาง ตรงกราบเรือเป็นสลิงสามารถ ปลดสลิงออกเพื่อปล่อย LR ลงไปได้สะดวก
ดังนั้น เวลาเกิดเหตุ วิ่งไปที่กราบเรือครับ หรือท้ายเรือ ถ้ากัปตันประกาศแล้ว จะมีลูกเรือไปรอถีบหรือเตรียมLR ให้ครับ
การทำงานของ LR
แบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ดังนี้ครับ
ในกรณีมีเวลาเตรียมการ์ณ
เช่น จมอย่างช้าๆ คลื่นลมสงบ
บางลำจะมีการเตรียม สะพานลม ลำเลียงลงแบบสไลด์เดอร์
ซึ่งต้องถอดรองเท้าและเข็มขัดออกทุกคน รวมถึงสัมภาระที่อาจไปเกี่ยวสะพานลมหรือ LR ได้
กรณี ฉุกเฉิน แบบเรือเอียงด้านใดด้านหนึ่ง
เจ้าหน้าที่จะปล่อยแพลงไปในน้ำ ให้คุณใส่ชูชีพ แล้วว่าไปที่ LR ครับ
หลายคนอาจคิดว่า อ้าว นึงว่าเข้าไปนั่งให้เต็มแล้วยกลงเสียอีก ?
ซึ่งทำไม่ได้ครับ การขึ้น LR แบบปกติส่วนมาก ต้องว่ายไปที่ชูชีพครับ
จากที่ผมเคยเทรนมา คนไปคนแรก ต้องว่ายน้ำแข๊งแรงดี ไปถึงแล้ว ต้องพยายามดึงคนต่อๆไปขึ้นมา
คนที่ขึ้นมาแล้วต้องไปนั่งอีกฟากเพื่อไม่ให้ LR เทน้ำหนักไปข้างใดข้างนึง และคนต่อๆมา ต้องทำหน้าที่ตักน้ำที่เข้าแพออกด้วย
จะทำให้ LIFERAFT ทำงานได้ยังไง ?
ปกติ LR จะมีวิธีใช้งาน 2 แบบหลักๆ คือ
1. ดึงสลักเพื่อปลดแพ
โดยการผูกเชือกสีขาว ที่โผล่มาจากตัว LR ไว้ที่ข้างเรือ (ควรเลือกให้เหล็กที่ผูกแข๊งแรงด้วยนะครับ)
แล้วกลิ้งมันลงไป ในน้ำเลย
เมื่อสลักถูกกระชากจากเชือกที่ผูกไว้ กลไกแก๊สภายในจะทำงาน และไปเป่าลมให้แพชูชีพด้านในพองตัวออกมาตามภาพครับ
2. โดยระบบอัตโนมัติ (ไฮโดรสตาร์ติค รีรีส)
เจ้าที่เห็นในภาพ คือ ตัดตัดอัตโนมัติ เวลาที่เรือจมอย่างรวดเร็ว จนเราไม่มีเวลาดึงสลัก
เจ้า ไฮโดรฯ นี้จะทำงานเมื่ออยู่ในความลึกระดับนึง มันจะทำงานโดยการไปตัดเชือกปลดแพของ LR
อธิบายง่ายๆคือ เมื่อเรือจม และมีเจ้าไฮโดรฯ คุณจะลอยคออยู่บนผิวน้ำสักพัก เจ้า LR ก็จะลอยสวนเรือขึ้นมา
จากนั้นรอให้มันเติมลมให้ได้ทรงก่อน จึงเริ่มทยอยกันเข้าไปในแพ
แน่ใจได้อย่างไรว่า แพมันจะกางตอนถีบมันลงไป ?
เรากางมันเสร็จแล้วค่อยโยน ไม่ดีกว่าเหรอ ?
การกางบนเรือแล้วโยนลง ขอให้เลิกคิดเลยครับ เพราะเมื่อมันกาง อาจพองไปโดนจุดแหลมคมจนทำให้แพรั่วได้
การกางในน้ำเป็นมาตรฐานที่คิดและตรวจสอบมาอย่างดีครับ
ก่อนที่จะจำหน่ายไปยังเรือต่างๆ บริษัทผู้ผลิตและ บริษัทที่รับตรวจสอบบรรจุ จะมีการตรวจสอบมาตรฐานตามขั้นตอน ครับ
ทั้งอายุวัสดุ การทดสอบกาง รอยรั่ว โดยจะมีการทดสอบซ้ำหลายขั้นตอน จนผ่านมาตรฐานครับ
ภายในแพ มีอะไรบ้าง ?
ดูตามภาพเลยครับ
นอกจากที่ว่างแล้ว จะมี อาหาร น้ำจืด ยา และอุปกรณ์ยังชีพครับ ตะขอเบ็ด ขันตักน้ำ ไม้พาย
พลุส่งสัญญาณ
โดยอาหารเป็นแท่งโปรตีนพลังงานสูง ส่วนน้ำจืดเป็นน้ำจืดเฉยๆครับ
แต่จะมีการแบ่งเปนแท่งๆ และน้ำเป็นซอง เพื่อแจกจ่ายให้คนบนแพ ของใครของมัน
ตรงนี้เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหารกันครับ
กัปตันหรือ ลูกเรือ (ถ้าอยู่ในแพ) จะเป็นคนแบ่งตามส่วน จนกว่าจะมีการช่วยเหลือครับ
เรือจมไปก่อน แล้วแพจะลอยขึ้นมาได้ยังไง ? จากเรือที่จม
ดู ตามคลิปเลยครับ
ถ้าเสียงหวูดสละเรือมา แล้วเรือเป็นแบบในคลิป คือ จมแน่นอน ใส่ชูชีพแล้วโดดออกไปไกลๆ เรือครับ รอแพพอง แล้วว่ายไปหาแพเลย
ดูจำนวนคนที่ว่ายไปกับ แพดีดี ถ้าคนเยอะเกิน ว่ายไปอันที่คนน้อยกว่า (ดูสภาพร่างกายตัวเองด้วยนะครับ ประเมินดีดี)
พื้นที่ไม่พอไปต่อด้านล่างครับ