เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความชอบธรรม และความเหมาะสม เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นทางกฎหมาย และการหาทางออกนอกระบบประชาธิปไตย หลังคณะรัฐบุคคล เสนอให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถวายร่างพระบรมราชโองการให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธย เพื่อแก้วิกฤตบ้านเมือง
แม้ข้อเสนอนี้จะไม่มีเนื้อหาในร่างพระบรมราชโองการ แต่คณะรัฐบุคคล เห็นว่า จะมาจากการตกผลึกร่วมกันระหว่างรัฐบุรุษ ตุลาการ ทหาร และผู้นำทางสังคม ซึ่งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา หากพระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการลงมา จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย จึงเห็นควรให้รัฐบุรุษทำหน้าที่นี้
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ตั้งคำถามต่อแนวทางนี้ทันที ทั้งเรื่องเนื้อหาที่ไม่แน่ชัด และวิธีการที่รัฐธรรมนูญไม่ได้รองรับ รวมทั้งไม่ใช่ทางออกที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ และเห็นว่า ไม่แตกต่างจากข้อเสนอรัฏฐาธิปัตย์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ละเลยสิทธิของประชาชนส่วนใหญ่
เช่นเดียวกับนักรัฐศาสตร์ ที่มองว่าข้อเสนอนี้ เป็นเพียงหนังม้วนเก่าของขบวนการล้มรัฐบาล พร้อมระบุว่า ประธานองคมนตรี ต้องคิดให้หนัก เพราะอาจส่งผลต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และที่สำคัญ ประธานองคมนตรี อาจไม่ใช่คนกลางที่หลายฝ่ายยอมรับ
การประชุมกลุ่มฯก่อนหน้านี้คณะรัฐบุคคลเคยมีข้อเสนอ ที่ถูกวิจารณ์ว่าสนับสนุนให้ทหารออกมาทำรัฐประหารมาแล้ว เช่นเสนอให้พักการเลือกตั้ง ความพยายามโน้มน้าวใจผู้นำเหล่าทัพ หรือการยินยอมต่อความรุนแรง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับการตอบรับจากสังคม
หากพิจารณาสมาชิกในคณะรัฐบุคคล จะพบว่าหลายคนมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เช่น พลเอกสายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกวิมล วงษ์วานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก ศาสตราจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทรวนิช และนายสุรพงษ์ ชัยนาม เช่นเดียวกับหนึ่งนักวิชาการในเวทีนี้ อย่างศาสตราจารย์บรรเจิด สิงคเนติ ที่ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ที่นำเสนอการตีความกฎหมาย ที่ถูกวิจารณ์ว่าโน้มเอียงไปทางผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล
แม้ข้อเสนอนี้จะเป็นไปได้ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นคือ ความร่วมมือกันของขบวนการต่อต้านรัฐบาล ที่พยายามผลักดันให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง บนพื้นฐานที่เชื่อว่าหากศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลพ้นจากรักษาการ ช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ การใช้บทบาทคนกลางโดยมีชื่อของพลเอกเปรม จะเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด และเพื่อลดแรงปะทะในสังคม เมื่อคนกลางเคลียร์ความขัดแย้งได้แล้ว จึงค่อยเดินหน้าจัดการเลือกตั้ เพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมมีหลักประกันในการปฏิรูปตามแนวทางที่ต้องการ
ที่มา :
http://news.voicetv.co.th/democracycrisis/102939.html
15 เมษายน 2557
นักวิชาการเตือน รัฐบุรุษไม่ใช่คนกลางแก้ปัญหา
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความชอบธรรม และความเหมาะสม เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นทางกฎหมาย และการหาทางออกนอกระบบประชาธิปไตย หลังคณะรัฐบุคคล เสนอให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถวายร่างพระบรมราชโองการให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธย เพื่อแก้วิกฤตบ้านเมือง
แม้ข้อเสนอนี้จะไม่มีเนื้อหาในร่างพระบรมราชโองการ แต่คณะรัฐบุคคล เห็นว่า จะมาจากการตกผลึกร่วมกันระหว่างรัฐบุรุษ ตุลาการ ทหาร และผู้นำทางสังคม ซึ่งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา หากพระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการลงมา จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย จึงเห็นควรให้รัฐบุรุษทำหน้าที่นี้
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ตั้งคำถามต่อแนวทางนี้ทันที ทั้งเรื่องเนื้อหาที่ไม่แน่ชัด และวิธีการที่รัฐธรรมนูญไม่ได้รองรับ รวมทั้งไม่ใช่ทางออกที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ และเห็นว่า ไม่แตกต่างจากข้อเสนอรัฏฐาธิปัตย์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ละเลยสิทธิของประชาชนส่วนใหญ่
เช่นเดียวกับนักรัฐศาสตร์ ที่มองว่าข้อเสนอนี้ เป็นเพียงหนังม้วนเก่าของขบวนการล้มรัฐบาล พร้อมระบุว่า ประธานองคมนตรี ต้องคิดให้หนัก เพราะอาจส่งผลต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และที่สำคัญ ประธานองคมนตรี อาจไม่ใช่คนกลางที่หลายฝ่ายยอมรับ
การประชุมกลุ่มฯก่อนหน้านี้คณะรัฐบุคคลเคยมีข้อเสนอ ที่ถูกวิจารณ์ว่าสนับสนุนให้ทหารออกมาทำรัฐประหารมาแล้ว เช่นเสนอให้พักการเลือกตั้ง ความพยายามโน้มน้าวใจผู้นำเหล่าทัพ หรือการยินยอมต่อความรุนแรง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับการตอบรับจากสังคม
หากพิจารณาสมาชิกในคณะรัฐบุคคล จะพบว่าหลายคนมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เช่น พลเอกสายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกวิมล วงษ์วานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก ศาสตราจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทรวนิช และนายสุรพงษ์ ชัยนาม เช่นเดียวกับหนึ่งนักวิชาการในเวทีนี้ อย่างศาสตราจารย์บรรเจิด สิงคเนติ ที่ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ที่นำเสนอการตีความกฎหมาย ที่ถูกวิจารณ์ว่าโน้มเอียงไปทางผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล
แม้ข้อเสนอนี้จะเป็นไปได้ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นคือ ความร่วมมือกันของขบวนการต่อต้านรัฐบาล ที่พยายามผลักดันให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง บนพื้นฐานที่เชื่อว่าหากศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลพ้นจากรักษาการ ช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ การใช้บทบาทคนกลางโดยมีชื่อของพลเอกเปรม จะเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด และเพื่อลดแรงปะทะในสังคม เมื่อคนกลางเคลียร์ความขัดแย้งได้แล้ว จึงค่อยเดินหน้าจัดการเลือกตั้ เพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมมีหลักประกันในการปฏิรูปตามแนวทางที่ต้องการ
ที่มา : http://news.voicetv.co.th/democracycrisis/102939.html
15 เมษายน 2557