รัฐบุรุษ = Statesman = homme d'état = A male political leader who promotes the public good or who is recognized for probity, leadership, or the qualities necessary to govern a state.
จาก wikipaedia :
รัฐบุรุษ (อังกฤษ: Statesman) คือ บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะต่าง ๆ อาทิ ผู้นำทางการเมือง หรือผู้นำทางทหาร โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งได้ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ช่วยเหลือจงรักภักดีต่อชาตินั้น ๆ จนเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป
ในประเทศไทย
รัฐบุรุษอาวุโส
ประเทศไทยเคยมีตำแหน่ง รัฐบุรุษอาวุโส มาก่อน ซึ่งหมายถึง บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะผู้นำทางการเมือง หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ได้ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยโดยทั่วไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐบุรุษอาวุโส ทั้งนี้ มีชาวไทยที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกย่องขึ้นเป็นรัฐบุรุษอาวุโส 1 ท่าน คือ
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐมนูธรรม ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8, อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และ 11 มิถุนายน - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ผู้นำสมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน ผู้นำขบวนการเสรีไทย ที่ช่วยให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เหมือนกับฝ่ายอักษะ ในสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นผู้รับลงนามสนองพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2488"
รัฐบุรุษ
ส่วนตำแหน่ง รัฐบุรุษ หมายถึง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอด อันเป็นที่ประจักษ์ ไม่มีความด่างพร้อย และเป็นที่ยอมรับของประชาชน
คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่งนามของผู้ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษ โดยผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป นับจนถึงปัจจุบัน มีชาวไทยที่ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นรัฐบุรุษ 1 ท่าน คือ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ประธานสภาองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 30 เมษายน พ.ศ. 2526, 30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 และ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 โดยมี พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531
*****************
เมื่อ 28 ม.ค. 57 ที่มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง จัดตั้งคณะ"รัฐบุคคล" นับเป็นความพยายามเลียนแบบคำว่า"รัฐบุรุษ" ที่ดูเหมือนจะเน้นความเป็นเพศชาย ซึ่งปัจจุบันมักจะเปลี่ยนให้เป็นเพศกลางๆ อย่าง Chairman ปัจจุบันก็มักเรียกว่า Chairperson หรือ Salesman ก็เรียก Salesperson ดังนั้นก็ไม่น่าจะแปลกที่จะใช้ Statesperson แทน Statesman
แต่โดยที่ตำแหน่ง รัฐบุรุษ ในประเทศไทย เป็นตำแหน่งที่จะต้องได้รับการโปรดเกล้า มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เท่านั้น การที่คณะบุคคลดังกล่าวบังอาจสถาปนากันเองเป็น รัฐบุคคล ที่มีฐานะเทียบเคียงได้กับ รัฐบุรุษ จึงนับได้ว่ากระทำความผิด ล่วงเกินพระราชอำนาจ ของพระเจ้าแผ่นดิน
จึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการตามกฎหมายกับคณะบุคคลดังกล่าวด้วย
รัฐบุคคล คืออะไร? สมควรเรียกตัวเองเช่นนั้นหรือไม่
จาก wikipaedia :
รัฐบุรุษ (อังกฤษ: Statesman) คือ บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะต่าง ๆ อาทิ ผู้นำทางการเมือง หรือผู้นำทางทหาร โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งได้ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ช่วยเหลือจงรักภักดีต่อชาตินั้น ๆ จนเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป
ในประเทศไทย
รัฐบุรุษอาวุโส
ประเทศไทยเคยมีตำแหน่ง รัฐบุรุษอาวุโส มาก่อน ซึ่งหมายถึง บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะผู้นำทางการเมือง หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ได้ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยโดยทั่วไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐบุรุษอาวุโส ทั้งนี้ มีชาวไทยที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกย่องขึ้นเป็นรัฐบุรุษอาวุโส 1 ท่าน คือ
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐมนูธรรม ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8, อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และ 11 มิถุนายน - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ผู้นำสมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน ผู้นำขบวนการเสรีไทย ที่ช่วยให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เหมือนกับฝ่ายอักษะ ในสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นผู้รับลงนามสนองพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2488"
รัฐบุรุษ
ส่วนตำแหน่ง รัฐบุรุษ หมายถึง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอด อันเป็นที่ประจักษ์ ไม่มีความด่างพร้อย และเป็นที่ยอมรับของประชาชน
คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่งนามของผู้ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษ โดยผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป นับจนถึงปัจจุบัน มีชาวไทยที่ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นรัฐบุรุษ 1 ท่าน คือ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ประธานสภาองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 30 เมษายน พ.ศ. 2526, 30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 และ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 โดยมี พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531
*****************
เมื่อ 28 ม.ค. 57 ที่มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง จัดตั้งคณะ"รัฐบุคคล" นับเป็นความพยายามเลียนแบบคำว่า"รัฐบุรุษ" ที่ดูเหมือนจะเน้นความเป็นเพศชาย ซึ่งปัจจุบันมักจะเปลี่ยนให้เป็นเพศกลางๆ อย่าง Chairman ปัจจุบันก็มักเรียกว่า Chairperson หรือ Salesman ก็เรียก Salesperson ดังนั้นก็ไม่น่าจะแปลกที่จะใช้ Statesperson แทน Statesman
แต่โดยที่ตำแหน่ง รัฐบุรุษ ในประเทศไทย เป็นตำแหน่งที่จะต้องได้รับการโปรดเกล้า มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เท่านั้น การที่คณะบุคคลดังกล่าวบังอาจสถาปนากันเองเป็น รัฐบุคคล ที่มีฐานะเทียบเคียงได้กับ รัฐบุรุษ จึงนับได้ว่ากระทำความผิด ล่วงเกินพระราชอำนาจ ของพระเจ้าแผ่นดิน
จึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการตามกฎหมายกับคณะบุคคลดังกล่าวด้วย