เป็นมาม่าอีกเรื่องที่ดูไม่น่าจะมาม่าได้ กับประเด็นการส่งต่อตั๋ววัน
ซึ่งตอนนี้มีคำตอบจากผู้ให้บริการออกมาแล้ว
ซึ่งกรณีนี้สามารถทำได้ ตราบใดที่มีผู้ใช้บบัตรใบนั้นในเวลาเดียวกันในระบบรถไฟฟ้าเพียงคนเดียว (เข้าระบบด้วยบัตรใบเดียวพร้อมกันไม่ได้)
ต่อไปเป็นความเห็นส่วนตัวสำหรับกรณีนี้นะครับ
เราผู้ใช้บริการมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎที่ผู้ให้บริการได้วางไว้ แต่มีสิทธิที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ของเราตราบที่ไม่ผิดกฎของผู้ใช้บริการหรือกฎหมาย ซึ่งในกรณีนี้เป็นการซื้อสิทธิการเดินทางใน 1 วัน และเมื่อผู้ให้บริการไม่ได้กำหนดว่าบัตรนี้ห้าม "โอนกรรมสิทธิ์" การโอนกรรมสิทธิ์ในบัตรไปยังบุคคลอื่นจึงสามารถทำได้
กรณีเทียบเคียงที่อาจยกขึ้นได้ก็คือ การซื้อหนังสือ เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเมื่อเลิกใช้แล้วยกกรรมสิทธิให้คนอื่นใช้ต่อ ซึ่งเกือบทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ซึ่งผมว่าก็ไม่ต่างกับกรณีนี้เพราะ ทั้งผู้ผลิตสินค้า และผู้ให้บริการรถไฟฟ้า ต่างก็เสียโอกาสที่จะขายสินค้าและบริการไปเหมือนกัน
ส่วนอีกหนึ่งกรณีที่อยากยกมาเทียบเคียบ คือการทานบุฟเฟ่ต์ ในกรณีนี้ร้านค่ามักจะใช้คำว่า "หัวละ อิ่มละ คนละ" ซึ่งเป็นการขายสิทธิการทานอาหาร 1 มื้อให้คน 1 คนโดยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ (หลายที่มักมีระบุอยู่แล้วในเงื่อนไขว่าเป็นราคาต่อคน ร้านไหนไม่ได้ติดแบบนี้ก็อย่าไป จ่าย 1 กิน 2 นะครับ เดี๋ยวจะลำบากร้านมาติดป้ายสงวนสิทธิ์)
อีกกรณีก็ตั๋ววันสำหรับชมภาพยนต์ (ได้ก่อนผมดูบ่อยแต่รู้สึกเดี๋ยวนี้ผู้ให้บริการไม่ค่อยทำออกมาแล้ว) ซึ่งแต่ก่อนทำออกมาในแบบกำไรข้อมือ (เหมือนตั่ววัน dreamworld) ซึ่งกรณีเหล่านี้ผู้ให้บริการมักระบุชัดเจนว่าไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
กล่าวโดยสรุปก็คือ ลูกค้ามีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฏที่ผู้ให้บริการได้วางไว้ ลูกค้าสามารถใช้สิทธิที่ตนซื้อมาได้อย่างเต็มที่ เว้นแต่ผู้ให้บริการมีการตั้งเงื่อนไขหรือสงวนสิทธิ์บางอย่างใบบริการนั้นไว้
ปล. ใครทราบบ้างครับ Tag รถไฟฟ้าอยู่ไหน หาไม่เจอ
จบประเด็น ตั๋ววันรถไฟฟ้า กับ คำตอบของผู้ให้บริการ
ซึ่งตอนนี้มีคำตอบจากผู้ให้บริการออกมาแล้ว
ซึ่งกรณีนี้สามารถทำได้ ตราบใดที่มีผู้ใช้บบัตรใบนั้นในเวลาเดียวกันในระบบรถไฟฟ้าเพียงคนเดียว (เข้าระบบด้วยบัตรใบเดียวพร้อมกันไม่ได้)
ต่อไปเป็นความเห็นส่วนตัวสำหรับกรณีนี้นะครับ
เราผู้ใช้บริการมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎที่ผู้ให้บริการได้วางไว้ แต่มีสิทธิที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ของเราตราบที่ไม่ผิดกฎของผู้ใช้บริการหรือกฎหมาย ซึ่งในกรณีนี้เป็นการซื้อสิทธิการเดินทางใน 1 วัน และเมื่อผู้ให้บริการไม่ได้กำหนดว่าบัตรนี้ห้าม "โอนกรรมสิทธิ์" การโอนกรรมสิทธิ์ในบัตรไปยังบุคคลอื่นจึงสามารถทำได้
กรณีเทียบเคียงที่อาจยกขึ้นได้ก็คือ การซื้อหนังสือ เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเมื่อเลิกใช้แล้วยกกรรมสิทธิให้คนอื่นใช้ต่อ ซึ่งเกือบทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ซึ่งผมว่าก็ไม่ต่างกับกรณีนี้เพราะ ทั้งผู้ผลิตสินค้า และผู้ให้บริการรถไฟฟ้า ต่างก็เสียโอกาสที่จะขายสินค้าและบริการไปเหมือนกัน
ส่วนอีกหนึ่งกรณีที่อยากยกมาเทียบเคียบ คือการทานบุฟเฟ่ต์ ในกรณีนี้ร้านค่ามักจะใช้คำว่า "หัวละ อิ่มละ คนละ" ซึ่งเป็นการขายสิทธิการทานอาหาร 1 มื้อให้คน 1 คนโดยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ (หลายที่มักมีระบุอยู่แล้วในเงื่อนไขว่าเป็นราคาต่อคน ร้านไหนไม่ได้ติดแบบนี้ก็อย่าไป จ่าย 1 กิน 2 นะครับ เดี๋ยวจะลำบากร้านมาติดป้ายสงวนสิทธิ์)
อีกกรณีก็ตั๋ววันสำหรับชมภาพยนต์ (ได้ก่อนผมดูบ่อยแต่รู้สึกเดี๋ยวนี้ผู้ให้บริการไม่ค่อยทำออกมาแล้ว) ซึ่งแต่ก่อนทำออกมาในแบบกำไรข้อมือ (เหมือนตั่ววัน dreamworld) ซึ่งกรณีเหล่านี้ผู้ให้บริการมักระบุชัดเจนว่าไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
กล่าวโดยสรุปก็คือ ลูกค้ามีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฏที่ผู้ให้บริการได้วางไว้ ลูกค้าสามารถใช้สิทธิที่ตนซื้อมาได้อย่างเต็มที่ เว้นแต่ผู้ให้บริการมีการตั้งเงื่อนไขหรือสงวนสิทธิ์บางอย่างใบบริการนั้นไว้
ปล. ใครทราบบ้างครับ Tag รถไฟฟ้าอยู่ไหน หาไม่เจอ