http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20140415/575353/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87.html
จับตา"หนี้ครัวเรือน" สัญญาณร้ายที่"แบงก์พาณิชย์"เฝ้าระวัง คาดสิ้นปีนี้แตะระดับ84% หวั่นกลายเป็นชนวนฉุดเครดิตเรทติ้งประเทศ
ตัวเลขหนี้ครัวเรือนล่าสุด ณ สิ้นปี 2556 ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ประกาศออกว่ามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 11.4% เป็นการเติบโตที่ชะลอลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มียอดการเติบโตสูงถึง 18%
การเติบโตของหนี้ครัวเรือนที่โตช้าลง แม้จะทำให้ ธปท. เริ่ม “เบาใจ” ขึ้น แต่หากเทียบกับสัดส่วนหนี้ ต่อ “จีดีพี” หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้ว ยังมีความน่า "เป็นห่วง" อยู่มาก เพราะว่าด้วยการเติบโตของ “จีดีพี” ที่ชะลอลงมากกว่าการเติบโตของสินเชื่อครัวเรือน ทำให้สัดส่วน “หนี้ต่อจีดีพี” ของหนี้ภาคครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
โดยสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีล่าสุด ณ สิ้นปี 2556 ขยับขึ้นมาอยู่ในระดับ 82.3% มีมูลค่าสินเชื่อคงค้างที่ 9.79 ล้านล้านบาท เทียบกับช่วงไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 80.1% หากเทียบกับสิ้นปี 2555 มีสัดส่วนเพียง 75%
นอกจากนี้ ถ้าเทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หรือสิ้นปี 2551 ขณะนั้นหนี้ภาคครัวเรือนต่อจีดีพี มีสัดส่วนเพียง 55.1% เท่านั้น โดยจะเห็นว่าสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นประเด็นที่ไม่ควรประมาท
หวั่นสิ้นปีหนี้ครัวเรือนแตะ 84%
เรื่องนี้ นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ล่าสุด ณ สิ้นปี 2556 ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 82.3% แม้จะเป็นระดับที่ค่อนข้างสูง แต่โอกาสที่สัดส่วนหนี้ตรงนี้จะขยับขึ้นยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่า ณ สิ้นปี 2557 มีความเป็นไปได้สูงที่หนี้ตรงนี้จะเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 84% ของ จีดีพี
“สาเหตุที่เรามองว่า สัดส่วนหนี้ตรงนี้จะเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 84% ของจีดีพี ภายในสิ้นปี 2557 เพราะมองว่าแม้เศรษฐกิจชะลอแต่สินเชื่อครัวเรือน หรือสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคตรงนี้ ยังไงคนก็ยังต้องใช้ ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อธุรกิจที่เวลาเศรษฐกิจไม่ดี สินเชื่อภาคธุรกิจมักจะติดลบ แต่สำหรับสินเชื่อครัวเรือนแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น จึงทำให้โอกาสที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้นยังมีความเป็นไปได้สูง”
แม้ว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ของไทย จะปรับขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับ 82.3% ของจีดีพี แต่อย่างน้อยยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าสินเชื่อครัวเรือนของ เกาหลีใต้ ที่อยู่ระดับ 90% ของจีดีพี หรือของมาเลเซีย ที่อยู่ใกล้ๆ ระดับ 90% ของจีดีพี
ชี้"ดอกเบี้ยพุ่ง"กดดันศก.เปราะบาง
นายเชาว์ บอกด้วยว่าระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นตรงนี้ เชื่อว่าระยะสั้นจะยังไม่เป็นปัจจัยที่มากดดันเศรษฐกิจไทย ตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ระดับต่ำ แต่หากดอกเบี้ยนโยบายเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ก็มีความเสี่ยงที่จะสร้างความเปราะบางให้กับเศรษฐกิจไทยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
“หนี้ครัวเรือนตรงนี้จะมีประเด็นทางเศรษฐกิจต่อเมื่อดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น เชื่อว่าระยะสั้นดอกเบี้ยคงยังไม่เพิ่มขึ้น แต่ระยะยาว 1-2 ปีข้างหน้า ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้นได้ ตามการปรับขึ้นของดอกเบี้ยเฟด (ธนาคารกลางสหรัฐ) และถ้าเป็นเช่นนั้น หนี้ครัวเรือนก็อาจเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจได้เช่นกัน จึงควรต้องระวัง” นายเชาว์ กล่าว
ในอนาคตหากเศรษฐกิจไทยสามารถก้าวพ้นปัญหาการเมืองได้ และทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ในระดับ 4-5% ก็เชื่อว่าแม้ดอกเบี้ยนโยบายจะปรับเพิ่มขึ้น ก็คงไม่สร้างแรงกดดันให้กับเศรษฐกิจไทยมากนัก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจีดีพีในระดับสูง จะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่มากขึ้นตามไปด้วย แต่หากเศรษฐกิจเติบโตได้เพียง 2-3% ตรงนี้ก็ถือเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง
เตือนไทยระวังหนี้ครัวเรือนพุ่ง
ด้าน นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า หนี้ครัวเรือนไทยเริ่มปรับขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูง และเป็นระดับที่มีความ “เปราะบาง” มากขึ้น จะเห็นว่า ธนาคารพาณิชย์บางแห่งของ “มาเลเซีย” เพิ่งจะถูก สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ปรับลด “เครดิตเรทติ้ง” หรืออันดับความน่าเชื่อถือลง หลังจากที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของมาเลเซียปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ 88% ดังนั้น ของไทยเองจึงเป็นเรื่องที่ควรต้องระมัดระวังด้วย
ก่อนหน้านี้ เอสแอนด์พี ได้ปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคาร 4 แห่งของมาเลเซีย เนื่องจากความกังวลว่าราคาบ้านและหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูงขึ้น กำลังส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไร้สมดุล
ในช่วง 1-2 ปีมานี้ ปัจจัยเร้าที่ทำให้หนี้ครัวเรือนเร่งตัวขึ้นเริ่มคลี่คลายลง เช่น โครงการรถยนต์คันแรกที่หมดไปแล้ว หรือไม่มีเหตุการณ์พิเศษอย่างกรณีน้ำท่วมเกิดขึ้น ทำให้อัตราการเติบโตของสินเชื่อในส่วนนี้เริ่มชะลอลง เพียงแต่การชะลอไม่ได้มากเท่ากับการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงทำให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“ช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ต้องติดตามดูว่า การเติบโตของสินเชื่อชะลอเพียงพอแล้วหรือยัง เมื่อเทียบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจที่ชะลอทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่ม อาจต้องใช้สินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการบริโภคไปก่อน จึงทำให้ตัวเลขการโตของสินเชื่อไม่ได้ชะลอลงมากเท่ากับรายได้ ดังนั้นเรื่องเหล่านี้จึงไม่ควรประมาท”
ห่วงดอกเบี้ยปรับขึ้นดันหนี้ครัวเรือนเสี่ยง
ด้าน นายอมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัยเศรษฐกิจและตลาดเงิน สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจเติบโตช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้ ประเด็นนี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเด้งที่สองของเศรษฐกิจไทย รองจากปัจจัยด้านการเมือง ที่ทำให้มุมมอง หรือเครดิตเรทติ้งของประเทศมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดลงได้
“ก่อนหน้านี้ มาเลเซีย ถือเป็นประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนในระดับที่สูงมาก จนทำให้แบงก์พาณิชย์ของมาเลเซียถูกปรับลดเครดิตเรทติ้งลง แต่เวลานี้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนเราเริ่มไล่ตามเขาไปติดๆ แล้ว จึงน่าเป็นห่วงที่เราอาจเผชิญกับการถูกปรับลดมุมมองเชิงเครดิตลง”
ประเด็นที่นายอมรเทพ มีความเป็นห่วงมากที่สุด คืออัตราดอกเบี้ยที่อาจจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้นหากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับเพิ่มขึ้นจริง หนี้ครัวเรือนของไทย ก็จะกลายเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อเศรษฐกิจ
ชี้นโยบายการเงินช่วยไม่ได้
นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินว่า หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงขึ้น แม้จะทำให้ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่คงยังไม่เพิ่มจนถึงระดับที่สร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจไทย ตราบใดที่ประชาชนยังมีงานทำและสามารถชำระหนี้ได้ เพียงแต่การจะหวังให้การบริโภคกลับมาเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง คงทำได้ยาก อย่างน้อยคงต้องรอให้พ้นปี 2558 ไปก่อน
“หนี้ครัวเรือนถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปัญหาใหญ่เกิดจากนโยบายกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน และภาระหนี้ตรงนี้แม้จะใช้นโยบายการเงินช่วยก็ไม่ทำให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น สหรัฐ ที่ระดับหนี้ครัวเรือนค่อนข้างมาก ธนาคารกลางต้องกลับมาใช้นโยบายการเงินกระตุ้น แต่การบริโภคก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะว่าครัวเรือนรอให้ภาระหนี้ลดลงก่อน จึงกลับมาบริโภคใหม่ ดังนั้น การจะหวังให้การบริโภคเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ คงต้องรอไปอย่างน้อย 1-2 ปี”
นายสมประวิณ เชื่อว่าหากเศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตอย่างน้อยปีละ 4-5% เชื่อว่าการบริโภคจะเริ่มกลับมาอีกครั้ง เพราะการที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นมาก ย่อมหมายถึงประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นมากด้วย ดังนั้น ความมั่นใจในการบริโภคก็คงกลับมาอีกครั้งเช่นกัน
หนี้ครัวเรือนพุ่งเสี่ยง'ฉุดเรทติ้ง'
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20140415/575353/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87.html
จับตา"หนี้ครัวเรือน" สัญญาณร้ายที่"แบงก์พาณิชย์"เฝ้าระวัง คาดสิ้นปีนี้แตะระดับ84% หวั่นกลายเป็นชนวนฉุดเครดิตเรทติ้งประเทศ
ตัวเลขหนี้ครัวเรือนล่าสุด ณ สิ้นปี 2556 ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ประกาศออกว่ามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 11.4% เป็นการเติบโตที่ชะลอลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มียอดการเติบโตสูงถึง 18%
การเติบโตของหนี้ครัวเรือนที่โตช้าลง แม้จะทำให้ ธปท. เริ่ม “เบาใจ” ขึ้น แต่หากเทียบกับสัดส่วนหนี้ ต่อ “จีดีพี” หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้ว ยังมีความน่า "เป็นห่วง" อยู่มาก เพราะว่าด้วยการเติบโตของ “จีดีพี” ที่ชะลอลงมากกว่าการเติบโตของสินเชื่อครัวเรือน ทำให้สัดส่วน “หนี้ต่อจีดีพี” ของหนี้ภาคครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
โดยสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีล่าสุด ณ สิ้นปี 2556 ขยับขึ้นมาอยู่ในระดับ 82.3% มีมูลค่าสินเชื่อคงค้างที่ 9.79 ล้านล้านบาท เทียบกับช่วงไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 80.1% หากเทียบกับสิ้นปี 2555 มีสัดส่วนเพียง 75%
นอกจากนี้ ถ้าเทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หรือสิ้นปี 2551 ขณะนั้นหนี้ภาคครัวเรือนต่อจีดีพี มีสัดส่วนเพียง 55.1% เท่านั้น โดยจะเห็นว่าสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นประเด็นที่ไม่ควรประมาท
หวั่นสิ้นปีหนี้ครัวเรือนแตะ 84%
เรื่องนี้ นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ล่าสุด ณ สิ้นปี 2556 ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 82.3% แม้จะเป็นระดับที่ค่อนข้างสูง แต่โอกาสที่สัดส่วนหนี้ตรงนี้จะขยับขึ้นยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่า ณ สิ้นปี 2557 มีความเป็นไปได้สูงที่หนี้ตรงนี้จะเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 84% ของ จีดีพี
“สาเหตุที่เรามองว่า สัดส่วนหนี้ตรงนี้จะเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 84% ของจีดีพี ภายในสิ้นปี 2557 เพราะมองว่าแม้เศรษฐกิจชะลอแต่สินเชื่อครัวเรือน หรือสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคตรงนี้ ยังไงคนก็ยังต้องใช้ ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อธุรกิจที่เวลาเศรษฐกิจไม่ดี สินเชื่อภาคธุรกิจมักจะติดลบ แต่สำหรับสินเชื่อครัวเรือนแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น จึงทำให้โอกาสที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้นยังมีความเป็นไปได้สูง”
แม้ว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ของไทย จะปรับขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับ 82.3% ของจีดีพี แต่อย่างน้อยยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าสินเชื่อครัวเรือนของ เกาหลีใต้ ที่อยู่ระดับ 90% ของจีดีพี หรือของมาเลเซีย ที่อยู่ใกล้ๆ ระดับ 90% ของจีดีพี
ชี้"ดอกเบี้ยพุ่ง"กดดันศก.เปราะบาง
นายเชาว์ บอกด้วยว่าระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นตรงนี้ เชื่อว่าระยะสั้นจะยังไม่เป็นปัจจัยที่มากดดันเศรษฐกิจไทย ตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ระดับต่ำ แต่หากดอกเบี้ยนโยบายเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ก็มีความเสี่ยงที่จะสร้างความเปราะบางให้กับเศรษฐกิจไทยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
“หนี้ครัวเรือนตรงนี้จะมีประเด็นทางเศรษฐกิจต่อเมื่อดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น เชื่อว่าระยะสั้นดอกเบี้ยคงยังไม่เพิ่มขึ้น แต่ระยะยาว 1-2 ปีข้างหน้า ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้นได้ ตามการปรับขึ้นของดอกเบี้ยเฟด (ธนาคารกลางสหรัฐ) และถ้าเป็นเช่นนั้น หนี้ครัวเรือนก็อาจเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจได้เช่นกัน จึงควรต้องระวัง” นายเชาว์ กล่าว
ในอนาคตหากเศรษฐกิจไทยสามารถก้าวพ้นปัญหาการเมืองได้ และทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ในระดับ 4-5% ก็เชื่อว่าแม้ดอกเบี้ยนโยบายจะปรับเพิ่มขึ้น ก็คงไม่สร้างแรงกดดันให้กับเศรษฐกิจไทยมากนัก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจีดีพีในระดับสูง จะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่มากขึ้นตามไปด้วย แต่หากเศรษฐกิจเติบโตได้เพียง 2-3% ตรงนี้ก็ถือเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง
เตือนไทยระวังหนี้ครัวเรือนพุ่ง
ด้าน นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า หนี้ครัวเรือนไทยเริ่มปรับขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูง และเป็นระดับที่มีความ “เปราะบาง” มากขึ้น จะเห็นว่า ธนาคารพาณิชย์บางแห่งของ “มาเลเซีย” เพิ่งจะถูก สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ปรับลด “เครดิตเรทติ้ง” หรืออันดับความน่าเชื่อถือลง หลังจากที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของมาเลเซียปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ 88% ดังนั้น ของไทยเองจึงเป็นเรื่องที่ควรต้องระมัดระวังด้วย
ก่อนหน้านี้ เอสแอนด์พี ได้ปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคาร 4 แห่งของมาเลเซีย เนื่องจากความกังวลว่าราคาบ้านและหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูงขึ้น กำลังส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไร้สมดุล
ในช่วง 1-2 ปีมานี้ ปัจจัยเร้าที่ทำให้หนี้ครัวเรือนเร่งตัวขึ้นเริ่มคลี่คลายลง เช่น โครงการรถยนต์คันแรกที่หมดไปแล้ว หรือไม่มีเหตุการณ์พิเศษอย่างกรณีน้ำท่วมเกิดขึ้น ทำให้อัตราการเติบโตของสินเชื่อในส่วนนี้เริ่มชะลอลง เพียงแต่การชะลอไม่ได้มากเท่ากับการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงทำให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“ช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ต้องติดตามดูว่า การเติบโตของสินเชื่อชะลอเพียงพอแล้วหรือยัง เมื่อเทียบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจที่ชะลอทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่ม อาจต้องใช้สินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการบริโภคไปก่อน จึงทำให้ตัวเลขการโตของสินเชื่อไม่ได้ชะลอลงมากเท่ากับรายได้ ดังนั้นเรื่องเหล่านี้จึงไม่ควรประมาท”
ห่วงดอกเบี้ยปรับขึ้นดันหนี้ครัวเรือนเสี่ยง
ด้าน นายอมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัยเศรษฐกิจและตลาดเงิน สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจเติบโตช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้ ประเด็นนี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเด้งที่สองของเศรษฐกิจไทย รองจากปัจจัยด้านการเมือง ที่ทำให้มุมมอง หรือเครดิตเรทติ้งของประเทศมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดลงได้
“ก่อนหน้านี้ มาเลเซีย ถือเป็นประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนในระดับที่สูงมาก จนทำให้แบงก์พาณิชย์ของมาเลเซียถูกปรับลดเครดิตเรทติ้งลง แต่เวลานี้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนเราเริ่มไล่ตามเขาไปติดๆ แล้ว จึงน่าเป็นห่วงที่เราอาจเผชิญกับการถูกปรับลดมุมมองเชิงเครดิตลง”
ประเด็นที่นายอมรเทพ มีความเป็นห่วงมากที่สุด คืออัตราดอกเบี้ยที่อาจจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้นหากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับเพิ่มขึ้นจริง หนี้ครัวเรือนของไทย ก็จะกลายเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อเศรษฐกิจ
ชี้นโยบายการเงินช่วยไม่ได้
นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินว่า หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงขึ้น แม้จะทำให้ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่คงยังไม่เพิ่มจนถึงระดับที่สร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจไทย ตราบใดที่ประชาชนยังมีงานทำและสามารถชำระหนี้ได้ เพียงแต่การจะหวังให้การบริโภคกลับมาเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง คงทำได้ยาก อย่างน้อยคงต้องรอให้พ้นปี 2558 ไปก่อน
“หนี้ครัวเรือนถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปัญหาใหญ่เกิดจากนโยบายกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน และภาระหนี้ตรงนี้แม้จะใช้นโยบายการเงินช่วยก็ไม่ทำให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น สหรัฐ ที่ระดับหนี้ครัวเรือนค่อนข้างมาก ธนาคารกลางต้องกลับมาใช้นโยบายการเงินกระตุ้น แต่การบริโภคก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะว่าครัวเรือนรอให้ภาระหนี้ลดลงก่อน จึงกลับมาบริโภคใหม่ ดังนั้น การจะหวังให้การบริโภคเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ คงต้องรอไปอย่างน้อย 1-2 ปี”
นายสมประวิณ เชื่อว่าหากเศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตอย่างน้อยปีละ 4-5% เชื่อว่าการบริโภคจะเริ่มกลับมาอีกครั้ง เพราะการที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นมาก ย่อมหมายถึงประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นมากด้วย ดังนั้น ความมั่นใจในการบริโภคก็คงกลับมาอีกครั้งเช่นกัน