สัมภาษณ์พิเศษโดย ขจรศักดิ์ สิริพัฒนกรชัย
หมายเหตุ - นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ "มติชน" ถึงความพยายามใช้คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอนายกฯคนกลาง ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกมองว่าเป็นการรัฐประหารแบบหนึ่งพร้อมกันนี้ยังประเมินแนวต้านจากคนเสื้อแดง พลังที่ 3 และต่างประเทศต่อกรณีดังกล่าว
มองความพยายามที่จะผลักดัน "นายกฯคนกลาง" ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
เบื้องหลังของความพยายามจากบางฝ่ายที่จะเสนอนายกฯคนกลาง เป็นเพราะสู้ด้วยเกมเลือกตั้งไม่ได้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จึงต้องยกเลิกระบบเลือกตั้งชั่วคราว เพื่อจัดการกับสิ่งที่เขาเรียกว่า "ระบอบทักษิณ" ให้หมดไปก่อน ให้เหลือเพียงแค่พรรคการเมืองที่ไม่เป็นภัยต่อเขา แล้วจึงจะปล่อยให้มีการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น การจะล้มรัฐบาลได้มี 2 วิธี คือ "รัฐประหารโดยกองทัพ" กับ "รัฐประหารโดยตุลาการ" ซึ่งเมื่อปี 49 ใช้ทหารแต่ก็ไม่สามารถจัดการกับระบอบทักษิณได้ พอมาคราวนี้ก็มีความพยายามที่จะใช้ทหารเหมือนกัน แต่ไม่ง่ายเหมือนเมื่อปี 49 เพราะขณะนี้มีเสื้อแดงแล้ว ทหารเองก็ไม่อยากทำด้วย เพราะมีบทเรียนและมีประสบการณ์ที่แย่มากจากปี 53 ถูกกล่าวหาว่าฆ่าประชาชน ขณะเดียวกันก็รู้ว่าหากมีการรัฐประหารจะมีการปะทะกับคนเสื้อแดงอย่างแน่นอน ซึ่งจะหลีกหนีการนองเลือดได้ยาก อีกทั้งต่างชาติก็รู้ชัดและแสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่เอาการรัฐประหาร ดังนั้น การรัฐประหารโดยกองทัพจึงเกิดขึ้นได้ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิด จึงต้องใช้รัฐประหารโดยวิธีอื่นแทน และขณะนี้มี 2 คดีที่เตรียมไว้ คำร้องโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ ซึ่งอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ กับคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งอยู่ที่ ป.ป.ช. สุดท้ายหากมีการชี้มูลก็ต้องส่งให้วุฒิสภาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงปล่อยให้มีการเลือก ส.ว.ได้โดยง่ายเพื่อให้ ส.ว.เข้ามารับลูกต่อ และจากนั้นก็จะมีกระบวนการที่จะทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นไปด้วย ไม่มีใครขึ้นรักษาการต่อได้ ซึ่งธงข้างหน้าค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ภายในเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้คงจะต้องมีคำวินิจฉัยอย่างแน่นอน
ประเมินแนวทางการต่อสู้ของฝ่ายต่อต้านนายกฯคนกลางไว้อย่างไรบ้าง
พรรคเพื่อไทยกับตระกูลชินวัตรจะสู้อย่างไรไม่รู้แต่ที่แน่ๆ คนเสื้อแดงจะต้องออกมาอย่างแน่นอน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า แกนนำ นปช.ยังยึดติดอยู่กับการต่อสู้ในรูปแบบเก่า กล่าวคือ ทำได้เพียงการชุมนุมแสดงพลังระดมคนให้ออกมาชุมนุมให้ได้มากที่สุด เพื่อข่มไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งทำรัฐประหาร ซึ่งวิธีการเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่แล้ว ไม่ว่าจะออกมาชุมนุมที่ถนนอักษะ จำนวนเท่าไรก็ตาม จะไม่สามารถหยุดรัฐประหารได้ เพราะองค์กรเหล่านี้อยู่ใน กทม.ซึ่งขณะนี้มีม็อบ กปปส. มี คปท. ชุมนุมอยู่ ขณะเดียวกันมีพรรคประชาธิปัตย์คอยสนับสนุน และมีทหารออกมาคุ้มครองด้วยการตั้งบังเกอร์เต็มไปหมด เพื่อคอยกดการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงไม่ให้เข้ามาใน กทม. ดังนั้น การเคลื่อนไหวก็ทำได้เพียงรอบนอกเท่านั้น ขณะเดียวกัน มวลชนกลุ่มอื่น อย่าง คปท. กปปส. รู้ว่าเขาเองไม่สามารถระดมมวลชนที่สามารถอยู่ได้ยาวได้ ที่ผ่านมาจึงใช้วิธีตั้งเป็นมวลชนขนาดเล็กแล้วมีการติดอาวุธแทน
การเคลื่อนไหวใหม่ของ นปช.ควรจะเดินไปในแนวทางไหน
ควรเน้นการเคลื่อนไหวในพื้นที่คนเสื้อแดงมีเครือข่ายที่เข้มแข็งอยู่แล้วสนับสนุนให้เขาเคลื่อนไหวในพื้นที่ของเขาเองจะดีกว่า กดดันหน่วยราชการ กดดันทหารในพื้นที่ที่สนับสนุนพวกเผด็จการ สนับสนุนให้มีเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อเตรียมรับมือกับการรัฐประหาร ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ดีกว่าที่ระดมคนมาชุมนุม แล้วก็มีปัญหาเรื่องของการรักษาความปลอดภัย เพราะระหว่างการเดินทางที่อาจจะถูกดักโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามอีก แม้จะมีการ์ดคอยดูแลเท่าไรก็ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ที่สำคัญยังจะไม่สามารถหยุดยั้งการรัฐประหารโดยตุลาการได้ด้วย
วิธีที่ว่าจะมีพลังเพียงพอที่จะถ่วงดุลกับฝ่ายตรงข้ามได้แค่ไหน
การสร้างเครือข่ายในพื้นที่เพื่อรอเวลาจะสามารถเคลื่อนไหวในพื้นที่ได้ทันทีที่มีการรัฐประหารโดยตุลาการส่วนใน กทม.ก็ปล่อยไป แล้วรัฐบาลก็ย้ายตัวเองออกไปอยู่ต่างจังหวัด โดยใช้เครือข่ายที่สร้างขึ้นไว้ล่วงหน้าเหล่านี้เป็นเกราะคุ้มครองรัฐบาล ขณะเดียวกันนายกฯต้องประกาศไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และของ ป.ป.ช.ด้วย และยืนยันว่าตนเองยังเป็นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างชอบธรรม และพร้อมจะออกจากตำแหน่งด้วยกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งการที่รัฐบาลยืนยันว่าไม่ออก ทั้งๆ ที่มีคำวินิจฉัยไปแล้ว จะเป็นปัจจัยให้มีข้ออ้างให้ทหารทำรัฐประหารได้ ดังนั้น หากรัฐบาลไปอยู่ต่างจังหวัดก็จะมีมวลชนเป็นผนังคุ้มกันได้อีกทางหนึ่งหากมีรัฐประหารจริงๆ
แต่ทางพรรคเพื่อไทยกับตระกูลชินวัตรมักจะเล่นเกมประนีประนอมเสมอมา
เขายังหวังว่าจะต่อรองได้หวังจะเกี้ยเซี้ย ซึ่งเป็นนิสัยก็ให้เขาทำไป แต่คราวนี้เขาจะเล่นงานตระกูลชินวัตรอย่างหนัก จะไม่ใช่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ คนเดียวที่โดน อย่างน้อย น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคนอื่นๆ ด้วย ถ้ามีรัฐบาลใหม่ได้ ก็จะตั้ง คตส.ใหม่ขึ้นมาเพื่อสอบสวนตระกูลชินวัตรทั้งหมด จะมีการจำคุกยึดทรัพย์กันอย่างถ้วนหน้า และถ้ายังอยู่ในเมืองไทยก็ต้องเข้าคุก ดังนั้น จึงต้องไปรวมตัวกันอยู่ที่ประเทศดูไบหมด อยู่นานแค่ไหนก็ไม่รู้ จากประวัติศาสตร์นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกฯ และลูกๆ แต่ละคนกว่าจะกลับได้บางคนก็แก่แล้ว ส่วนนายปรีดีก็กลับมาแต่กระดูก ที่พูดแบบนี้ก็หมายความว่า เขาจะเล่นงานคุณ แต่คุณไม่สู้ หวังจะมีการต่อรองกัน โดยให้คุณออกจากการเมืองไปก่อนแล้วมีเคลียร์กันได้ เชื่อได้เลยว่าสุดท้ายเขาจะเล่นงานคุณอีกแน่นอน เพราะจาก 8 ปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นแล้วว่า ถ้ามันเกี้ยเซี้ยกันได้คงจบไปนานแล้ว
จะได้เห็น "พลังที่ 3" ที่จะลุกขึ้นมาต้านถ้ามีการชะลอการเลือกตั้งออกไปแล้วหรือไม่
ถ้ามีการล้มระบอบเลือกตั้งไปเลย แล้วนำนายกฯที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง พลังที่ 3 เหล่านี้ก็จะมารวมตัวกัน จะกลายเป็นกลุ่มต่อต้านที่ไม่เอานายกฯคนกลางแน่นอน แล้วจะไม่ได้มีแต่คนเสื้อแดงด้วย เพราะคนทั่วไปที่ไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เขาก็ไม่เอารัฐประหารและระบบการแต่งตั้งมีเยอะมาก เพราะจุดยืนคนเหล่านี้ต้องการการเลือกตั้ง
พลังที่ 3 จะมีพลังพอที่จะหยุดหรือชะลอนายกฯม.7 ได้หรือไม่
รัฐประหารมีแน่ แล้วคงมีความพยายามที่จะตั้งนายกฯคนกลางที่ไม่ใช่คนกลางจริง และจะต้องมีแรงต่อต้าน ส่วนวิธีการขึ้นอยู่กับฝ่ายตรงข้าม อาจจะเป็นแรงต่อต้านที่ซึมลึก อย่างใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่รัฐบาลใหม่อาจจะปกครองโดยมีการก่อกวนอยู่เสมอๆ ขณะเดียวกันต่างชาติจะไม่ยอมรับด้วย หรือ อีกรูปแบบหนึ่งก็อาจจะมีกองกำลังอย่างเปิดเผยก็เป็นได้ กล่าวคือเกิด "สงครามกลางเมือง" นั่นเอง ซึ่งขณะนี้มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เพราะดูจากการเคลื่อนไหวจาก 4-5 เดือนที่ผ่านมา มีการใช้อาวุธกันมากมาย ตำรวจตรวจจับได้เป็นจำนวนมาก แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ยังออกมาพูดอยู่เสมอๆ ว่ามีอาวุธอยู่ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายด้วยตัวเอง เพียงแต่ที่ผ่านมายังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด
มองสถานการณ์ทางการเมืองและแนวทางของการต่อสู้ต่อจากนี้อย่างไร
มองในลักษณะ2 ซีเนริโอ คือ "ซีเนริโอแรก" ถ้าพรรคเพื่อไทยกับตระกูลชินวัตรไม่สู้ ยอมออกจากการเมืองไป แล้วหวังว่าจะมีเลือกตั้งในอนาคตแล้วค่อยกลับมา หรืออาจจะมีการเกี้ยเซี้ยกัน โดยสัญญาว่าถ้าออกไปจากการเมืองดีๆ จะไม่เอาคดีมาให้ แล้วจะจบ ซึ่งตระกูลชินวัตรก็อาจจะยอมก็เป็นได้ ขนาด พ.ร.บ.นิรโทษกรรมยังเชื่อเลย จากนั้นก็ปล่อยให้รัฐบาลใหม่ที่มีทหารเป็นแบ๊กอัพเข้ามาบริหารได้อย่างราบรื่น แต่ที่สุดก็จะย้อนเกล็ดกลับมาเล่นงานตระกูลชินวัตรอยู่ดี เขาไม่ปล่อยไว้หรอก เป็นการจัดการให้ชินวัตรไม่กลับมายุ่งอีก จากนั้นก็ให้อำนาจทหารกวาดจับกุมแกนนำคนเสื้อแดงทั้งหมดทั่วประเทศ เพราะขณะนี้ในพื้นที่ต่างๆ มีสายของ กอ.รมน.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแล้ว เพราะเขาเชื่อว่าถ้าจับหัวแล้วหางจะไม่ส่าย แต่ไม่จริงหรอก ต่อให้กวาดล้างอย่างไรก็จะมีตัวแทนในที่สุด เพราะมวลชนยังอยู่ ความไม่พอใจยังอยู่ รากฐานของปัญหาคือความอยุติธรรมยังไม่หายไป ที่สุดถ้าเป็นซิเนริโอแรกก็จะมีมวลชนคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวใต้ดินก่อกวนต่อไป แต่ถ้าเป็น ซีเนริโอที่สอง ถ้ามีการใช้ช่องทางวุฒิสภาเสนอชื่อนายกฯคนกลาง หลังการรัฐประหาร แล้วพรรคเพื่อไทยและตระกูลชินวัตรตัดสินใจสู้ ด้วยการออกไปตั้งรัฐบาลอยู่ในต่างจังหวัดท่ามกลางมวลชนที่สนับสนุน สถานการณ์จะแหลมคมกว่ามาก เท่ากับว่าจะมี 2 รัฐบาลเผชิญหน้ากันอย่างชัดเจน
สมมุติว่าถ้าเกิดมี 2 รัฐบาลเผชิญหน้ากัน "ตัวชี้ขาด" จะเป็นปัจจัยใด
ต่างประเทศคือตัวชี้ขาดแรก ตัวชี้ขาดตัวที่สอง คือใครจะมีประชาชนมากกว่ากัน ส่วนกำลังทหารเป็นปัจจัยรอง ต่อให้รัฐบาลในซีเนริโอที่สอง ไม่มีทหารเลยแต่สุดท้ายอาจจะชนะได้ ถ้าต่างชาติกับประชาชนหนุนมากพอ ผมเคยเสนอให้ตั้งอาสาสมัครปกป้องประชาธิปไตย ในรูปแบบที่ทำได้ถูกกฎหมาย คือ อาสาสมัครตำรวจบ้าน ที่ทำแล้วใน จ.พะเยา ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทำได้อย่างถูกต้อง เพราะเป็นหน่วยงานที่มีกฎหมายรองรับ มีตำรวจมาควบคุมอีกที ไม่ใช่กองกำลังอิสระที่ตั้งขึ้นมาเถื่อนๆ เพราะยังอยู่ในระบบ และไม่ได้ติดอาวุธ แต่เป็นอาสาสมัครประชาธิปไตยที่สนับสนุนรัฐบาลในแง่ของสวัสดิการ เศรษฐกิจ กำลังคน ข้อมูลข่าวสาร การรณรงค์ เป็นต้น
ปัจจัย "ภายนอกประเทศ" จะช่วยชะลอกระบวนการ "รัฐประหาร" ได้หรือไม่
ก่อนหน้าที่ปัจจัยทางด้านการต่างประเทศช่วยยื้อได้พอสมควร แต่ในช่วงระยะเวลา 1-2 เดือนที่ผ่านมา ต่อให้มีข้อมูลจากสื่อมวลชนต่างชาติมาตีแผ่กระบวนการในการโค่นล้มประชาธิปไตยแค่ไหน คิดว่าฝ่ายที่จ้องล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเขาไม่สนกระแสแล้ว เพราะมีคำสั่งให้เดินหน้าอย่างเดียว ต่อให้ต่างชาติกดดันอย่างไร คนเสื้อแดงออกมากี่ล้านก็ไม่มีผลแล้ว
ล่าสุดที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกมาจุดกระแสเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบการสลายชุมนุมในปี 53
ขอให้ทำจริงๆ ซึ่งผลที่ออกมาอาจมี 2 ทาง คือ ทางหนึ่ง อาจจะเป็นการต่อรองช่วยให้มีการชะลอการรัฐประหาร แต่อีกทางหนึ่ง ก็อาจจะเป็นตัวเร่งให้มีการทำรัฐประหารโดยเร็วยิ่งขึ้นก็ได้ เพราะรัฐบาลจะได้ลงนามในหนังสือรับรองเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศไม่ทัน เพราะตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่กล้าลงนามในหนังสือรับรองเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้เข้ามาตรวจสอบกรณีดังกล่าว ทั้งๆ ที่มีคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้อง เพราะกลัวจะเป็นตัวเร่งให้มีการล้มรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เร็วขึ้น สำหรับผมรีบทำได้จะดีมาก เพราะเห็นแล้วว่าจะลงนามหรือไม่ ฝ่ายที่จ้องล้มรัฐบาลก็เดินหน้าจัดการคุณอยู่ดี เพราะการลงนามรองรับดังกล่าวจะเป็นการช่วยอำนวยในเรื่องกระบวนการยุติธรรมได้ หากมีการฆ่าประชาชนอีก สุดท้ายคนสั่งจะต้องโดนลงโทษ ทั้งจากกฎหมายภายในประเทศแล้ว และจากกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
(ที่มา:มติชนรายวัน 7 เมษายน 2557)
นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ "มติชน" นายกคนกลางมาแน่
หมายเหตุ - นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ "มติชน" ถึงความพยายามใช้คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอนายกฯคนกลาง ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกมองว่าเป็นการรัฐประหารแบบหนึ่งพร้อมกันนี้ยังประเมินแนวต้านจากคนเสื้อแดง พลังที่ 3 และต่างประเทศต่อกรณีดังกล่าว
มองความพยายามที่จะผลักดัน "นายกฯคนกลาง" ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
เบื้องหลังของความพยายามจากบางฝ่ายที่จะเสนอนายกฯคนกลาง เป็นเพราะสู้ด้วยเกมเลือกตั้งไม่ได้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จึงต้องยกเลิกระบบเลือกตั้งชั่วคราว เพื่อจัดการกับสิ่งที่เขาเรียกว่า "ระบอบทักษิณ" ให้หมดไปก่อน ให้เหลือเพียงแค่พรรคการเมืองที่ไม่เป็นภัยต่อเขา แล้วจึงจะปล่อยให้มีการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น การจะล้มรัฐบาลได้มี 2 วิธี คือ "รัฐประหารโดยกองทัพ" กับ "รัฐประหารโดยตุลาการ" ซึ่งเมื่อปี 49 ใช้ทหารแต่ก็ไม่สามารถจัดการกับระบอบทักษิณได้ พอมาคราวนี้ก็มีความพยายามที่จะใช้ทหารเหมือนกัน แต่ไม่ง่ายเหมือนเมื่อปี 49 เพราะขณะนี้มีเสื้อแดงแล้ว ทหารเองก็ไม่อยากทำด้วย เพราะมีบทเรียนและมีประสบการณ์ที่แย่มากจากปี 53 ถูกกล่าวหาว่าฆ่าประชาชน ขณะเดียวกันก็รู้ว่าหากมีการรัฐประหารจะมีการปะทะกับคนเสื้อแดงอย่างแน่นอน ซึ่งจะหลีกหนีการนองเลือดได้ยาก อีกทั้งต่างชาติก็รู้ชัดและแสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่เอาการรัฐประหาร ดังนั้น การรัฐประหารโดยกองทัพจึงเกิดขึ้นได้ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิด จึงต้องใช้รัฐประหารโดยวิธีอื่นแทน และขณะนี้มี 2 คดีที่เตรียมไว้ คำร้องโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ ซึ่งอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ กับคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งอยู่ที่ ป.ป.ช. สุดท้ายหากมีการชี้มูลก็ต้องส่งให้วุฒิสภาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงปล่อยให้มีการเลือก ส.ว.ได้โดยง่ายเพื่อให้ ส.ว.เข้ามารับลูกต่อ และจากนั้นก็จะมีกระบวนการที่จะทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นไปด้วย ไม่มีใครขึ้นรักษาการต่อได้ ซึ่งธงข้างหน้าค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ภายในเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้คงจะต้องมีคำวินิจฉัยอย่างแน่นอน
ประเมินแนวทางการต่อสู้ของฝ่ายต่อต้านนายกฯคนกลางไว้อย่างไรบ้าง
พรรคเพื่อไทยกับตระกูลชินวัตรจะสู้อย่างไรไม่รู้แต่ที่แน่ๆ คนเสื้อแดงจะต้องออกมาอย่างแน่นอน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า แกนนำ นปช.ยังยึดติดอยู่กับการต่อสู้ในรูปแบบเก่า กล่าวคือ ทำได้เพียงการชุมนุมแสดงพลังระดมคนให้ออกมาชุมนุมให้ได้มากที่สุด เพื่อข่มไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งทำรัฐประหาร ซึ่งวิธีการเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่แล้ว ไม่ว่าจะออกมาชุมนุมที่ถนนอักษะ จำนวนเท่าไรก็ตาม จะไม่สามารถหยุดรัฐประหารได้ เพราะองค์กรเหล่านี้อยู่ใน กทม.ซึ่งขณะนี้มีม็อบ กปปส. มี คปท. ชุมนุมอยู่ ขณะเดียวกันมีพรรคประชาธิปัตย์คอยสนับสนุน และมีทหารออกมาคุ้มครองด้วยการตั้งบังเกอร์เต็มไปหมด เพื่อคอยกดการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงไม่ให้เข้ามาใน กทม. ดังนั้น การเคลื่อนไหวก็ทำได้เพียงรอบนอกเท่านั้น ขณะเดียวกัน มวลชนกลุ่มอื่น อย่าง คปท. กปปส. รู้ว่าเขาเองไม่สามารถระดมมวลชนที่สามารถอยู่ได้ยาวได้ ที่ผ่านมาจึงใช้วิธีตั้งเป็นมวลชนขนาดเล็กแล้วมีการติดอาวุธแทน
การเคลื่อนไหวใหม่ของ นปช.ควรจะเดินไปในแนวทางไหน
ควรเน้นการเคลื่อนไหวในพื้นที่คนเสื้อแดงมีเครือข่ายที่เข้มแข็งอยู่แล้วสนับสนุนให้เขาเคลื่อนไหวในพื้นที่ของเขาเองจะดีกว่า กดดันหน่วยราชการ กดดันทหารในพื้นที่ที่สนับสนุนพวกเผด็จการ สนับสนุนให้มีเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อเตรียมรับมือกับการรัฐประหาร ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ดีกว่าที่ระดมคนมาชุมนุม แล้วก็มีปัญหาเรื่องของการรักษาความปลอดภัย เพราะระหว่างการเดินทางที่อาจจะถูกดักโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามอีก แม้จะมีการ์ดคอยดูแลเท่าไรก็ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ที่สำคัญยังจะไม่สามารถหยุดยั้งการรัฐประหารโดยตุลาการได้ด้วย
วิธีที่ว่าจะมีพลังเพียงพอที่จะถ่วงดุลกับฝ่ายตรงข้ามได้แค่ไหน
การสร้างเครือข่ายในพื้นที่เพื่อรอเวลาจะสามารถเคลื่อนไหวในพื้นที่ได้ทันทีที่มีการรัฐประหารโดยตุลาการส่วนใน กทม.ก็ปล่อยไป แล้วรัฐบาลก็ย้ายตัวเองออกไปอยู่ต่างจังหวัด โดยใช้เครือข่ายที่สร้างขึ้นไว้ล่วงหน้าเหล่านี้เป็นเกราะคุ้มครองรัฐบาล ขณะเดียวกันนายกฯต้องประกาศไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และของ ป.ป.ช.ด้วย และยืนยันว่าตนเองยังเป็นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างชอบธรรม และพร้อมจะออกจากตำแหน่งด้วยกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งการที่รัฐบาลยืนยันว่าไม่ออก ทั้งๆ ที่มีคำวินิจฉัยไปแล้ว จะเป็นปัจจัยให้มีข้ออ้างให้ทหารทำรัฐประหารได้ ดังนั้น หากรัฐบาลไปอยู่ต่างจังหวัดก็จะมีมวลชนเป็นผนังคุ้มกันได้อีกทางหนึ่งหากมีรัฐประหารจริงๆ
แต่ทางพรรคเพื่อไทยกับตระกูลชินวัตรมักจะเล่นเกมประนีประนอมเสมอมา
เขายังหวังว่าจะต่อรองได้หวังจะเกี้ยเซี้ย ซึ่งเป็นนิสัยก็ให้เขาทำไป แต่คราวนี้เขาจะเล่นงานตระกูลชินวัตรอย่างหนัก จะไม่ใช่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ คนเดียวที่โดน อย่างน้อย น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคนอื่นๆ ด้วย ถ้ามีรัฐบาลใหม่ได้ ก็จะตั้ง คตส.ใหม่ขึ้นมาเพื่อสอบสวนตระกูลชินวัตรทั้งหมด จะมีการจำคุกยึดทรัพย์กันอย่างถ้วนหน้า และถ้ายังอยู่ในเมืองไทยก็ต้องเข้าคุก ดังนั้น จึงต้องไปรวมตัวกันอยู่ที่ประเทศดูไบหมด อยู่นานแค่ไหนก็ไม่รู้ จากประวัติศาสตร์นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกฯ และลูกๆ แต่ละคนกว่าจะกลับได้บางคนก็แก่แล้ว ส่วนนายปรีดีก็กลับมาแต่กระดูก ที่พูดแบบนี้ก็หมายความว่า เขาจะเล่นงานคุณ แต่คุณไม่สู้ หวังจะมีการต่อรองกัน โดยให้คุณออกจากการเมืองไปก่อนแล้วมีเคลียร์กันได้ เชื่อได้เลยว่าสุดท้ายเขาจะเล่นงานคุณอีกแน่นอน เพราะจาก 8 ปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นแล้วว่า ถ้ามันเกี้ยเซี้ยกันได้คงจบไปนานแล้ว
จะได้เห็น "พลังที่ 3" ที่จะลุกขึ้นมาต้านถ้ามีการชะลอการเลือกตั้งออกไปแล้วหรือไม่
ถ้ามีการล้มระบอบเลือกตั้งไปเลย แล้วนำนายกฯที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง พลังที่ 3 เหล่านี้ก็จะมารวมตัวกัน จะกลายเป็นกลุ่มต่อต้านที่ไม่เอานายกฯคนกลางแน่นอน แล้วจะไม่ได้มีแต่คนเสื้อแดงด้วย เพราะคนทั่วไปที่ไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เขาก็ไม่เอารัฐประหารและระบบการแต่งตั้งมีเยอะมาก เพราะจุดยืนคนเหล่านี้ต้องการการเลือกตั้ง
พลังที่ 3 จะมีพลังพอที่จะหยุดหรือชะลอนายกฯม.7 ได้หรือไม่
รัฐประหารมีแน่ แล้วคงมีความพยายามที่จะตั้งนายกฯคนกลางที่ไม่ใช่คนกลางจริง และจะต้องมีแรงต่อต้าน ส่วนวิธีการขึ้นอยู่กับฝ่ายตรงข้าม อาจจะเป็นแรงต่อต้านที่ซึมลึก อย่างใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่รัฐบาลใหม่อาจจะปกครองโดยมีการก่อกวนอยู่เสมอๆ ขณะเดียวกันต่างชาติจะไม่ยอมรับด้วย หรือ อีกรูปแบบหนึ่งก็อาจจะมีกองกำลังอย่างเปิดเผยก็เป็นได้ กล่าวคือเกิด "สงครามกลางเมือง" นั่นเอง ซึ่งขณะนี้มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เพราะดูจากการเคลื่อนไหวจาก 4-5 เดือนที่ผ่านมา มีการใช้อาวุธกันมากมาย ตำรวจตรวจจับได้เป็นจำนวนมาก แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ยังออกมาพูดอยู่เสมอๆ ว่ามีอาวุธอยู่ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายด้วยตัวเอง เพียงแต่ที่ผ่านมายังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด
มองสถานการณ์ทางการเมืองและแนวทางของการต่อสู้ต่อจากนี้อย่างไร
มองในลักษณะ2 ซีเนริโอ คือ "ซีเนริโอแรก" ถ้าพรรคเพื่อไทยกับตระกูลชินวัตรไม่สู้ ยอมออกจากการเมืองไป แล้วหวังว่าจะมีเลือกตั้งในอนาคตแล้วค่อยกลับมา หรืออาจจะมีการเกี้ยเซี้ยกัน โดยสัญญาว่าถ้าออกไปจากการเมืองดีๆ จะไม่เอาคดีมาให้ แล้วจะจบ ซึ่งตระกูลชินวัตรก็อาจจะยอมก็เป็นได้ ขนาด พ.ร.บ.นิรโทษกรรมยังเชื่อเลย จากนั้นก็ปล่อยให้รัฐบาลใหม่ที่มีทหารเป็นแบ๊กอัพเข้ามาบริหารได้อย่างราบรื่น แต่ที่สุดก็จะย้อนเกล็ดกลับมาเล่นงานตระกูลชินวัตรอยู่ดี เขาไม่ปล่อยไว้หรอก เป็นการจัดการให้ชินวัตรไม่กลับมายุ่งอีก จากนั้นก็ให้อำนาจทหารกวาดจับกุมแกนนำคนเสื้อแดงทั้งหมดทั่วประเทศ เพราะขณะนี้ในพื้นที่ต่างๆ มีสายของ กอ.รมน.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแล้ว เพราะเขาเชื่อว่าถ้าจับหัวแล้วหางจะไม่ส่าย แต่ไม่จริงหรอก ต่อให้กวาดล้างอย่างไรก็จะมีตัวแทนในที่สุด เพราะมวลชนยังอยู่ ความไม่พอใจยังอยู่ รากฐานของปัญหาคือความอยุติธรรมยังไม่หายไป ที่สุดถ้าเป็นซิเนริโอแรกก็จะมีมวลชนคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวใต้ดินก่อกวนต่อไป แต่ถ้าเป็น ซีเนริโอที่สอง ถ้ามีการใช้ช่องทางวุฒิสภาเสนอชื่อนายกฯคนกลาง หลังการรัฐประหาร แล้วพรรคเพื่อไทยและตระกูลชินวัตรตัดสินใจสู้ ด้วยการออกไปตั้งรัฐบาลอยู่ในต่างจังหวัดท่ามกลางมวลชนที่สนับสนุน สถานการณ์จะแหลมคมกว่ามาก เท่ากับว่าจะมี 2 รัฐบาลเผชิญหน้ากันอย่างชัดเจน
สมมุติว่าถ้าเกิดมี 2 รัฐบาลเผชิญหน้ากัน "ตัวชี้ขาด" จะเป็นปัจจัยใด
ต่างประเทศคือตัวชี้ขาดแรก ตัวชี้ขาดตัวที่สอง คือใครจะมีประชาชนมากกว่ากัน ส่วนกำลังทหารเป็นปัจจัยรอง ต่อให้รัฐบาลในซีเนริโอที่สอง ไม่มีทหารเลยแต่สุดท้ายอาจจะชนะได้ ถ้าต่างชาติกับประชาชนหนุนมากพอ ผมเคยเสนอให้ตั้งอาสาสมัครปกป้องประชาธิปไตย ในรูปแบบที่ทำได้ถูกกฎหมาย คือ อาสาสมัครตำรวจบ้าน ที่ทำแล้วใน จ.พะเยา ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทำได้อย่างถูกต้อง เพราะเป็นหน่วยงานที่มีกฎหมายรองรับ มีตำรวจมาควบคุมอีกที ไม่ใช่กองกำลังอิสระที่ตั้งขึ้นมาเถื่อนๆ เพราะยังอยู่ในระบบ และไม่ได้ติดอาวุธ แต่เป็นอาสาสมัครประชาธิปไตยที่สนับสนุนรัฐบาลในแง่ของสวัสดิการ เศรษฐกิจ กำลังคน ข้อมูลข่าวสาร การรณรงค์ เป็นต้น
ปัจจัย "ภายนอกประเทศ" จะช่วยชะลอกระบวนการ "รัฐประหาร" ได้หรือไม่
ก่อนหน้าที่ปัจจัยทางด้านการต่างประเทศช่วยยื้อได้พอสมควร แต่ในช่วงระยะเวลา 1-2 เดือนที่ผ่านมา ต่อให้มีข้อมูลจากสื่อมวลชนต่างชาติมาตีแผ่กระบวนการในการโค่นล้มประชาธิปไตยแค่ไหน คิดว่าฝ่ายที่จ้องล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเขาไม่สนกระแสแล้ว เพราะมีคำสั่งให้เดินหน้าอย่างเดียว ต่อให้ต่างชาติกดดันอย่างไร คนเสื้อแดงออกมากี่ล้านก็ไม่มีผลแล้ว
ล่าสุดที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกมาจุดกระแสเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบการสลายชุมนุมในปี 53
ขอให้ทำจริงๆ ซึ่งผลที่ออกมาอาจมี 2 ทาง คือ ทางหนึ่ง อาจจะเป็นการต่อรองช่วยให้มีการชะลอการรัฐประหาร แต่อีกทางหนึ่ง ก็อาจจะเป็นตัวเร่งให้มีการทำรัฐประหารโดยเร็วยิ่งขึ้นก็ได้ เพราะรัฐบาลจะได้ลงนามในหนังสือรับรองเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศไม่ทัน เพราะตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่กล้าลงนามในหนังสือรับรองเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้เข้ามาตรวจสอบกรณีดังกล่าว ทั้งๆ ที่มีคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้อง เพราะกลัวจะเป็นตัวเร่งให้มีการล้มรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เร็วขึ้น สำหรับผมรีบทำได้จะดีมาก เพราะเห็นแล้วว่าจะลงนามหรือไม่ ฝ่ายที่จ้องล้มรัฐบาลก็เดินหน้าจัดการคุณอยู่ดี เพราะการลงนามรองรับดังกล่าวจะเป็นการช่วยอำนวยในเรื่องกระบวนการยุติธรรมได้ หากมีการฆ่าประชาชนอีก สุดท้ายคนสั่งจะต้องโดนลงโทษ ทั้งจากกฎหมายภายในประเทศแล้ว และจากกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
(ที่มา:มติชนรายวัน 7 เมษายน 2557)