เรื่อง การลดทุนของ IEC เป็น unfair treatment
เรียน สำนักงาน กลต. และ เลขาธิการ กลต
ด้วยตามที่บริษัท IEC โดยที่ประชุมคณะกรรมการประกาศจะลดทุนลง โดยผู้ถือหุ้นปัจจุบันที่ถืออยู่ทุกๆ 8.10 หุ้น จะเหลือ 1 หุ้น โดยลดแล้วจะเพิ่มทุนขาย PP ต่อไป โดยให้เหตุผลในการลดทุนว่าเพื่อล้างขาดทุนสะสม และจะขอความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในปลายเดือน เมษายนนี้
ผมเป็นผู้ถือหุ้นและไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวและมีข้อเท็จจริงดังนี้
1. บริษัทสามารถเลือกวิธีการลดทุนโดยลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ แทน วิธีการลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งลงได้ โดยผลทางบัญชีจะมีค่าเท่ากัน การลดทุนโดยลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จะยังผลให้ผู้ถือหุ้นปัจจุบันมีจำนวนหุ้นเท่าเดิมมีสัดส่วนมีเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นเท่าเดิม แต่การลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งย่อมมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทุนใหม่ในภายหลัง และผู้ถือหุ้นที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนรายใหม่จากการขายเฉพาะเจาะจง (Private Placement) แม้ซื้อในสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นในปัจจุบันก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้เมื่อเทียบกับทุนภายหลังลดทุน(โดยตัดจำนวนหุ้นทิ้ง) อันจะส่งผลให้มีการขายกิจการ หรือมีเจ้าของบริษัทรายใหม่เข้ามาโดยไม่ยาก ดูแล้วเป็นการวางแผนเล่นแร่แปลธาตุ และส่งผลให้สิทธิการออกเสียงของผู้ถือหุ้นปัจจุบันหายไปเป็นสัดส่วนมากถึง 88% ดังนั้นเหตุผลที่อ้างในการลดทุนจึงฟังไม่ขึ้นและเป็นการไม่ชอบ การลดทุนทำได้ทั้งสองวิธีโดยถูกกฎหมายทั้งสองอย่างแต่เหตุใด IEC ไม่เลือกวิธีที่ไม่เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งที่ผลในทางบัญชีก็มีค่าเท่ากันถ้าลดทุนโดยลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ปัจจุบัน 10 สต ก็ลดเหลือ 1 สต ได้) ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยสั่งลดทุนสถาบันการเงินในปี 2540นับสิบๆแห่งให้มูลค่าหุ้นที่ตราไว้เหลือ 1 สต ประเด็นที่ร้องเรียนมานี้จึงไม่ใช่การกระทำผิดกฎหมายหรือไม่ แต่เป็นเรื่องความชอบธรรมหรือไม่
2. ในการลดทุนดังกล่าว ทุนปัจจุบันที่เรียกชำระค่าหุ้นไปแล้วมีอยู่ประมาณ 120,000 ล้านหุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 10 สต เท่ากับมีทุนชำระแล้วประมาณ 12,000 ล้านบาท) จะหายไป 88% และจะเหลือเพียง 14,000 ล้านหุ้น หรือเหลือทุนชำระแล้วเพียง 1,400 ล้านบาท และภายหลังลดทุนแล้ว คณะกรรมการประกาศไว้แล้วว่าจะเพิ่มทุนเข้ามาใหม่โดยขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจง (Private Placement) จำนวน 13,000 ล้านหุ้น นี่จึงเป็นเรื่องซ่อนเร้นเพราะรายใหม่ที่เข้ามาจะกลายเป็นรายใหญ่หรือเจ้าของกิจการที่ถือหุ้นอันดับหนึ่งไปเลย ดังนั้นแม้การลดทุนจะถูกกฎหมาย (Legality) แต่ก็ไม่ชอบธรรม (Ligitimacy) เป็นการเอาพวกมากลากไป ขัดหลักธรรมาภิบาล เพราะแอบแฝงการขายกิจการไว้ให้กับรายใหม่ การที่รายใหม่เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนไม่ว่าราคาที่จ่ายในทางบัญชีจะเป็นเท่าใด ก็ต้องมีการจ่ายเม็ดเงินนอกบัญชีอีกมหาศาล ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะมาลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้ง การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นธรรม (Unfair treatment) ต่อผู้ถือหุ้นปัจจุบัน
3. ในระยะเวลา 2-3 ปีมานี้รวมถึงปีที่แล้วด้วย มีการเพิ่มทุนไป 3 ครั้งแล้ว การจะมาลดทุนโดยตัดหุ้นทิ้งก็คล้ายกับเป็นการไม่สุจริตใจ ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เพิ่งจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนไปเสียหายมาก และในตลาดหลักทรัพย์ไม่เคยมีบริษัทจดทะเบียนใดทำวิธีนี้มาก่อนเพราะเกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย ในการบริหารจัดการที่ถูกต้องถ้าจะลดทุนควรทำไปนานแล้ว ลดให้แทบจะเหลือศูนย์ แล้วก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นไป ผู้ถือหุ้นก็จะเสียหายน้อย แต่นี่มาลดทุนตอนที่ฐานทุนใหญ่โตแล้วโดยมีทุนชำระแล้วถึง 12,000- ล้านบาท การลดทุนแล้วจะมาเพิ่มทีหลังจึงเป็นการบริหารงานผิดพลาดอย่างมาก ในสิ้นปี 2554 ทุนชำระแล้วมีเพียงประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น จึงควรลดทุนตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว
4. หุ้น IEC เดิมตกหล่นถลามาจากราคาสูงมาก 5-7 บาทเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทไม่ดี แต่ กลุ่มเสี่ยสองเข้ามาทำราคา และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แต่คงใช้ nominee แทน และเมื่อความจริงปรากฎว่าบริษัทแทบไม่มีธุรกิจอะไรแล้ว (เดิมขายและให้บริการอุปกรณ์มือถิอ) ราคาก็ลงมาจนถึง 1 สต ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 2-3 สต เป็นที่ทราบกันในตลาดว่าในอดีต บริษัท และ กรรมการล้วนมีส่วนรู้เห็นในการทำราคาหุ้น แต่ปัจจุบันไม่ปรากฎแน่ชัดว่าจะมีใครทำราคาอีกหรือไม่
5. กลต ควรปรึกษาผู้ชำนาญการด้านบัญชีก่อนกระทำการใดๆเพื่อให้รู้ซึ้งก่อนดำเนินการ และ น่าออก กฎไปเลยว่าการลดทุนลักษณะดังกล่าวทำไม่ได้ เว้นแต้เป็นการลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งและหุ้นนั้นๆยังไม่ได้ชำระราคาค่าหุ้นเพราะจะไม่มีความเสียหายต่อผู้ใด
6. การประกาศดังกล่าวของบริษัท ทำให้ผู้ถือหุ้นตื่นตระหนกและขายหุ้นจากราคา 3 สต ลงมาที่ราคา 2 สต ซึ่งเกิดความเสียหายมากต่อราคาหุ้น คือลดลง 33% แต่ก็มีการทำราคาปิดให้ปิดที่ 3 สต
7. สำนักงาน กลต ควรดำเนินการเอาผิดเรื่องจริยธรรมกรรมการ และ ออกกฎหรือสั่งห้ามการลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งเพื่อเหตุการณ์ของบริษัทอื่นในอนาคต หรืออนุญาตให้ลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งได้ภายใต้เงื่อนไงบางประการเช่นลดทุนได้แต่การเพิ่มทุนครั้งล่าสุดต้องเกิดขึ้นเกิน 3 ปีมาแล้ว หรือลดทุนได้ถ้าการเพิ่มทุนที่ผ่านมาล่าสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี เป็นการเพิ่มทุนในสัดส่วนไม่เกิน 20% เป็นต้น หาก กลต เพิกเฉยหรือไม่กระทำ การใดๆ กลต อาจต้องรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวต่อผู้ถือหุ้นในทางกฎหมายด้วย
บริษัทจะชี้แจงว่าไงน๊าาาา
และแล้วก็มีผู้ร้องเรียน กรณีลดทุน iec
เรียน สำนักงาน กลต. และ เลขาธิการ กลต
ด้วยตามที่บริษัท IEC โดยที่ประชุมคณะกรรมการประกาศจะลดทุนลง โดยผู้ถือหุ้นปัจจุบันที่ถืออยู่ทุกๆ 8.10 หุ้น จะเหลือ 1 หุ้น โดยลดแล้วจะเพิ่มทุนขาย PP ต่อไป โดยให้เหตุผลในการลดทุนว่าเพื่อล้างขาดทุนสะสม และจะขอความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในปลายเดือน เมษายนนี้
ผมเป็นผู้ถือหุ้นและไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวและมีข้อเท็จจริงดังนี้
1. บริษัทสามารถเลือกวิธีการลดทุนโดยลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ แทน วิธีการลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งลงได้ โดยผลทางบัญชีจะมีค่าเท่ากัน การลดทุนโดยลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จะยังผลให้ผู้ถือหุ้นปัจจุบันมีจำนวนหุ้นเท่าเดิมมีสัดส่วนมีเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นเท่าเดิม แต่การลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งย่อมมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทุนใหม่ในภายหลัง และผู้ถือหุ้นที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนรายใหม่จากการขายเฉพาะเจาะจง (Private Placement) แม้ซื้อในสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นในปัจจุบันก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้เมื่อเทียบกับทุนภายหลังลดทุน(โดยตัดจำนวนหุ้นทิ้ง) อันจะส่งผลให้มีการขายกิจการ หรือมีเจ้าของบริษัทรายใหม่เข้ามาโดยไม่ยาก ดูแล้วเป็นการวางแผนเล่นแร่แปลธาตุ และส่งผลให้สิทธิการออกเสียงของผู้ถือหุ้นปัจจุบันหายไปเป็นสัดส่วนมากถึง 88% ดังนั้นเหตุผลที่อ้างในการลดทุนจึงฟังไม่ขึ้นและเป็นการไม่ชอบ การลดทุนทำได้ทั้งสองวิธีโดยถูกกฎหมายทั้งสองอย่างแต่เหตุใด IEC ไม่เลือกวิธีที่ไม่เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งที่ผลในทางบัญชีก็มีค่าเท่ากันถ้าลดทุนโดยลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ปัจจุบัน 10 สต ก็ลดเหลือ 1 สต ได้) ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยสั่งลดทุนสถาบันการเงินในปี 2540นับสิบๆแห่งให้มูลค่าหุ้นที่ตราไว้เหลือ 1 สต ประเด็นที่ร้องเรียนมานี้จึงไม่ใช่การกระทำผิดกฎหมายหรือไม่ แต่เป็นเรื่องความชอบธรรมหรือไม่
2. ในการลดทุนดังกล่าว ทุนปัจจุบันที่เรียกชำระค่าหุ้นไปแล้วมีอยู่ประมาณ 120,000 ล้านหุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 10 สต เท่ากับมีทุนชำระแล้วประมาณ 12,000 ล้านบาท) จะหายไป 88% และจะเหลือเพียง 14,000 ล้านหุ้น หรือเหลือทุนชำระแล้วเพียง 1,400 ล้านบาท และภายหลังลดทุนแล้ว คณะกรรมการประกาศไว้แล้วว่าจะเพิ่มทุนเข้ามาใหม่โดยขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจง (Private Placement) จำนวน 13,000 ล้านหุ้น นี่จึงเป็นเรื่องซ่อนเร้นเพราะรายใหม่ที่เข้ามาจะกลายเป็นรายใหญ่หรือเจ้าของกิจการที่ถือหุ้นอันดับหนึ่งไปเลย ดังนั้นแม้การลดทุนจะถูกกฎหมาย (Legality) แต่ก็ไม่ชอบธรรม (Ligitimacy) เป็นการเอาพวกมากลากไป ขัดหลักธรรมาภิบาล เพราะแอบแฝงการขายกิจการไว้ให้กับรายใหม่ การที่รายใหม่เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนไม่ว่าราคาที่จ่ายในทางบัญชีจะเป็นเท่าใด ก็ต้องมีการจ่ายเม็ดเงินนอกบัญชีอีกมหาศาล ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะมาลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้ง การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นธรรม (Unfair treatment) ต่อผู้ถือหุ้นปัจจุบัน
3. ในระยะเวลา 2-3 ปีมานี้รวมถึงปีที่แล้วด้วย มีการเพิ่มทุนไป 3 ครั้งแล้ว การจะมาลดทุนโดยตัดหุ้นทิ้งก็คล้ายกับเป็นการไม่สุจริตใจ ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เพิ่งจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนไปเสียหายมาก และในตลาดหลักทรัพย์ไม่เคยมีบริษัทจดทะเบียนใดทำวิธีนี้มาก่อนเพราะเกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย ในการบริหารจัดการที่ถูกต้องถ้าจะลดทุนควรทำไปนานแล้ว ลดให้แทบจะเหลือศูนย์ แล้วก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นไป ผู้ถือหุ้นก็จะเสียหายน้อย แต่นี่มาลดทุนตอนที่ฐานทุนใหญ่โตแล้วโดยมีทุนชำระแล้วถึง 12,000- ล้านบาท การลดทุนแล้วจะมาเพิ่มทีหลังจึงเป็นการบริหารงานผิดพลาดอย่างมาก ในสิ้นปี 2554 ทุนชำระแล้วมีเพียงประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น จึงควรลดทุนตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว
4. หุ้น IEC เดิมตกหล่นถลามาจากราคาสูงมาก 5-7 บาทเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทไม่ดี แต่ กลุ่มเสี่ยสองเข้ามาทำราคา และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แต่คงใช้ nominee แทน และเมื่อความจริงปรากฎว่าบริษัทแทบไม่มีธุรกิจอะไรแล้ว (เดิมขายและให้บริการอุปกรณ์มือถิอ) ราคาก็ลงมาจนถึง 1 สต ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 2-3 สต เป็นที่ทราบกันในตลาดว่าในอดีต บริษัท และ กรรมการล้วนมีส่วนรู้เห็นในการทำราคาหุ้น แต่ปัจจุบันไม่ปรากฎแน่ชัดว่าจะมีใครทำราคาอีกหรือไม่
5. กลต ควรปรึกษาผู้ชำนาญการด้านบัญชีก่อนกระทำการใดๆเพื่อให้รู้ซึ้งก่อนดำเนินการ และ น่าออก กฎไปเลยว่าการลดทุนลักษณะดังกล่าวทำไม่ได้ เว้นแต้เป็นการลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งและหุ้นนั้นๆยังไม่ได้ชำระราคาค่าหุ้นเพราะจะไม่มีความเสียหายต่อผู้ใด
6. การประกาศดังกล่าวของบริษัท ทำให้ผู้ถือหุ้นตื่นตระหนกและขายหุ้นจากราคา 3 สต ลงมาที่ราคา 2 สต ซึ่งเกิดความเสียหายมากต่อราคาหุ้น คือลดลง 33% แต่ก็มีการทำราคาปิดให้ปิดที่ 3 สต
7. สำนักงาน กลต ควรดำเนินการเอาผิดเรื่องจริยธรรมกรรมการ และ ออกกฎหรือสั่งห้ามการลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งเพื่อเหตุการณ์ของบริษัทอื่นในอนาคต หรืออนุญาตให้ลดทุนโดยตัดจำนวนหุ้นทิ้งได้ภายใต้เงื่อนไงบางประการเช่นลดทุนได้แต่การเพิ่มทุนครั้งล่าสุดต้องเกิดขึ้นเกิน 3 ปีมาแล้ว หรือลดทุนได้ถ้าการเพิ่มทุนที่ผ่านมาล่าสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี เป็นการเพิ่มทุนในสัดส่วนไม่เกิน 20% เป็นต้น หาก กลต เพิกเฉยหรือไม่กระทำ การใดๆ กลต อาจต้องรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวต่อผู้ถือหุ้นในทางกฎหมายด้วย
บริษัทจะชี้แจงว่าไงน๊าาาา