รบกวนสอบถามเรื่องการทดสอบ Drop Test ของซองพลาสติกแบบมีก้นบรรจุครีมอาบน้ำค่ะ เผอิญลูกค้าถามมาแต่ไม่แน่ใจว่าคำตอบที่ให้จะถูกต้องค่ะ
โจทย์: ลูกค้านำซองพลาสติกมาบรรจุครีมอาบน้ำ โดยใช้ซองที่มีเนื้อพลาสติกแบบเดียวกันแต่ขนาดและปริมาณบรรจุแตกต่างกัน ต่อมานำซองทั้ง 2 ไปทดสอบ Drop Test (ปล่อยลงมาจากเครื่องหนีบให้ตกกระแทกพื้น) ที่ความสูงเดียวกันและทิศทางการตกเดียวกัน (ตกแบบก้นกระแทก)
คำถาม:
1. การทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบการทนหรือความต้านทานต่อ "แรง" ของซองถูกต้องหรือไม่คะ
2. ปริมาณน้ำยาที่บรรจุและขนาดซองที่แตกต่างกัน มีผลต่อผลการทดสอบหรือไม่ ถ้าปริมาณครีมและขนาดซองไม่ได้เป็นสัดส่วนกัน (คือซองใหญ่ไม่ได้เป็นสองเท่าของซองเล็ก) รายละเอียดเผื่อต้องใช้ค่ะ
ซองเล็ก บรรจุครีม 250 มล. ขนาด กว้าง x สูง X ความลึกก้นซอง = (12 X 20 X 2.5 ซม.)
ซองใหญ่ บรรจุครีม 450 มล. ขนาด กว้าง x สูง X ความลึกก้นซอง = (15 X 25 X 4.0 ซม.)
3. ผลทดสอบออกมาซองเล็กแตก ซองใหญ่ไม่แตก (ทดสอบ 3 ซ้ำ ได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง) ผลที่ออกมาลูกค้าสามารถสรุปได้หรือไม่ว่าซองเล็กมีความผิดปกติ (ในมุมของลูกค้าคือซองเล็กกว่าบรรจุน้อยกว่าน่าจะทนกว่าซองใหญ่ที่ดูจะบรรจุแน่นกว่า --- ไม่ได้คำนวณพื้นที่เปรียบเทียบเป๊ะๆ)
4. การทดสอบในแนวดิ่งคือทิ้งก้นซองอย่างเดียว พื้นที่ที่ต้องสนใจคือพื้นที่รวมหรือแค่พื้นที่ก้นซองอย่างเดียวคะ
*** เป็นคำถามแนวหลักการไม่เชิงคำนวณค่ะต้องขอโทษด้วยที่มีหลายคำถาม เนื่องจากเจ้าของกระทู้ไม่เห็นการทดลองจริง ไม่เห็นซองจริง และลูกค้าเองมีประสบการณ์สูง แต่มีหลายประเด็นที่เจ้าของกระทู้ยังงงๆ เลยต้องรบกวนท่านผู้รู้ด้วยค่ะ
การทดสอบ Drop Test ของซองพลาสติกค่ะ
โจทย์: ลูกค้านำซองพลาสติกมาบรรจุครีมอาบน้ำ โดยใช้ซองที่มีเนื้อพลาสติกแบบเดียวกันแต่ขนาดและปริมาณบรรจุแตกต่างกัน ต่อมานำซองทั้ง 2 ไปทดสอบ Drop Test (ปล่อยลงมาจากเครื่องหนีบให้ตกกระแทกพื้น) ที่ความสูงเดียวกันและทิศทางการตกเดียวกัน (ตกแบบก้นกระแทก)
คำถาม:
1. การทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบการทนหรือความต้านทานต่อ "แรง" ของซองถูกต้องหรือไม่คะ
2. ปริมาณน้ำยาที่บรรจุและขนาดซองที่แตกต่างกัน มีผลต่อผลการทดสอบหรือไม่ ถ้าปริมาณครีมและขนาดซองไม่ได้เป็นสัดส่วนกัน (คือซองใหญ่ไม่ได้เป็นสองเท่าของซองเล็ก) รายละเอียดเผื่อต้องใช้ค่ะ
ซองเล็ก บรรจุครีม 250 มล. ขนาด กว้าง x สูง X ความลึกก้นซอง = (12 X 20 X 2.5 ซม.)
ซองใหญ่ บรรจุครีม 450 มล. ขนาด กว้าง x สูง X ความลึกก้นซอง = (15 X 25 X 4.0 ซม.)
3. ผลทดสอบออกมาซองเล็กแตก ซองใหญ่ไม่แตก (ทดสอบ 3 ซ้ำ ได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง) ผลที่ออกมาลูกค้าสามารถสรุปได้หรือไม่ว่าซองเล็กมีความผิดปกติ (ในมุมของลูกค้าคือซองเล็กกว่าบรรจุน้อยกว่าน่าจะทนกว่าซองใหญ่ที่ดูจะบรรจุแน่นกว่า --- ไม่ได้คำนวณพื้นที่เปรียบเทียบเป๊ะๆ)
4. การทดสอบในแนวดิ่งคือทิ้งก้นซองอย่างเดียว พื้นที่ที่ต้องสนใจคือพื้นที่รวมหรือแค่พื้นที่ก้นซองอย่างเดียวคะ
*** เป็นคำถามแนวหลักการไม่เชิงคำนวณค่ะต้องขอโทษด้วยที่มีหลายคำถาม เนื่องจากเจ้าของกระทู้ไม่เห็นการทดลองจริง ไม่เห็นซองจริง และลูกค้าเองมีประสบการณ์สูง แต่มีหลายประเด็นที่เจ้าของกระทู้ยังงงๆ เลยต้องรบกวนท่านผู้รู้ด้วยค่ะ