ถ้าหากจะกล่าวถึงเรื่องราวของความทรงจำ หนังอีกหนึ่งเรื่องที่หยิบยกเอาประเด็นที่แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้ว และไม่อาจเอื้อมถึงได้ แต่ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ กลับสรรค์สร้างบรรยากศที่เอื้ออำนวยให้เราร่อนเร่พเนจรไปกับเส้นทางชีวิตของตัวละครได้อย่างงดงาม
ทราย นักหาโล (เคชั่น) ให้กับกองถ่ายภาพยนต์ เมื่อปี 2008 (เรารับรู้ได้จากฮาร์ดดิสกที่เธอเขียนไว้) เธอได้รู้จักกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง อุ้ม ชายที่ทรายเองก็บอกว่าชื่อคล้ายกับผู้หญิง เขาอยู่ฝ่ายอาร์ต ด้วยความที่ทรายอยู่ฝ่ายจัดหาสถานที่สำหรับถ่ายหนัง เธอจึงมีนิสัยส่วนตัวที่ชอบจะรัวชัตเตอร์อยากไม่บันยะบันยัง ต่างกับอุ้มที่ชอบจะถ่ายรูปโดยใช้ฟิล์มซึ่งจะต้องพินิจพิเคราะห์อย่างดีก่อนที่จะลงมือถ่ายสักครั้ง แถมเขายังไม่ชอบให้ถูกถ่ายรูปอีกด้วย
การเวลาผ่านไปทั้งสองแยกจากกัน แต่ความทรงจำระหว่างทั้งสองยังคงอยู่ มีก็เพียงรูปถ่ายที่หลงเหลืออยู่ไม่กี่ภาพที่คอยแทนช่วงเวลาที่ไม่อาจย้อนหวนกลับมาได้อีก ตัวเรื่องผูกโยงกับความทรงจำของผู้คนรอบข้างตัวทรายไม่ว่าจะเป็น พี่กานต์ ผู้กำกับที่ทรายทำงานให้ เขามอบหมายให้ทรายไปตามหาและติดต่อเจ้าของสถานที่แห่งหนึ่ง ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นคลินิก แต่เมื่อทรายไปถึงมันถูกทุบทิ้งและแปลงสภาพไปเป็นไซต์งานก่อสร้างมหึมา จะเหลือก็เพียงเม็ดวิตามินซีที่ยังคงตกอยู่ให้ย้ำเตือนถึงวันเวลาเก่าๆ และแจ๋ม เพื่อนของทรายผู้ที่ยังจดจำเบอร์ของเพื่อนชายที่เธอแอบชอบได้ และติดต่อให้ทรายเอาฮาร์ดดิสก์ที่พังไปซ่อมกับเพื่อนคนนั้น
หนังเลือกที่จะใช้ลักษณะลองเทค หลายๆชอต ร้อยเรียงด้วยคำโปรยเปรียบเสมือนคำบรรยายของแต่ละภาพที่ปรากฎ ผู้เขียนต้องขอชื่นชมผู้กำกับที่สามารถกำหนดจัดวางองค์ประกอบภาพได้อย่างลงตัว และด้วยประเด็นของความทรงจำที่มนุษย์เรามักจะฝากฝังให้วัตถุต่างๆ เป็นเสมือนเครื่องแทนความทรงจำเหล่านั้น และถ้าหากวันหนึ่ง วัตถุต่างๆ ได้แตกหักดับสูญไป ความทรงจำเหล่านั้นก็ก็เสื่อมสลายหายไปด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่ยังคงเหลือก็คือ ความทรงจำที่ผู้ภายในจิตวิญญาณของเรานั่นเอง ที่แม้จะเลือนราง (ภาพยนตร์ไม่เปิดเผยใบหน้าของอุ้ม เปรียบเสมือนความทรงจำของทรายที่มีต่ออุ้ม) แต่ก็ยังคงสดใหม่เสมอ เมื่อก็ตามนึกถึง
วิจารณ์หนัง: 36 {นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์}, 2012
ทราย นักหาโล (เคชั่น) ให้กับกองถ่ายภาพยนต์ เมื่อปี 2008 (เรารับรู้ได้จากฮาร์ดดิสกที่เธอเขียนไว้) เธอได้รู้จักกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง อุ้ม ชายที่ทรายเองก็บอกว่าชื่อคล้ายกับผู้หญิง เขาอยู่ฝ่ายอาร์ต ด้วยความที่ทรายอยู่ฝ่ายจัดหาสถานที่สำหรับถ่ายหนัง เธอจึงมีนิสัยส่วนตัวที่ชอบจะรัวชัตเตอร์อยากไม่บันยะบันยัง ต่างกับอุ้มที่ชอบจะถ่ายรูปโดยใช้ฟิล์มซึ่งจะต้องพินิจพิเคราะห์อย่างดีก่อนที่จะลงมือถ่ายสักครั้ง แถมเขายังไม่ชอบให้ถูกถ่ายรูปอีกด้วย
การเวลาผ่านไปทั้งสองแยกจากกัน แต่ความทรงจำระหว่างทั้งสองยังคงอยู่ มีก็เพียงรูปถ่ายที่หลงเหลืออยู่ไม่กี่ภาพที่คอยแทนช่วงเวลาที่ไม่อาจย้อนหวนกลับมาได้อีก ตัวเรื่องผูกโยงกับความทรงจำของผู้คนรอบข้างตัวทรายไม่ว่าจะเป็น พี่กานต์ ผู้กำกับที่ทรายทำงานให้ เขามอบหมายให้ทรายไปตามหาและติดต่อเจ้าของสถานที่แห่งหนึ่ง ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นคลินิก แต่เมื่อทรายไปถึงมันถูกทุบทิ้งและแปลงสภาพไปเป็นไซต์งานก่อสร้างมหึมา จะเหลือก็เพียงเม็ดวิตามินซีที่ยังคงตกอยู่ให้ย้ำเตือนถึงวันเวลาเก่าๆ และแจ๋ม เพื่อนของทรายผู้ที่ยังจดจำเบอร์ของเพื่อนชายที่เธอแอบชอบได้ และติดต่อให้ทรายเอาฮาร์ดดิสก์ที่พังไปซ่อมกับเพื่อนคนนั้น
หนังเลือกที่จะใช้ลักษณะลองเทค หลายๆชอต ร้อยเรียงด้วยคำโปรยเปรียบเสมือนคำบรรยายของแต่ละภาพที่ปรากฎ ผู้เขียนต้องขอชื่นชมผู้กำกับที่สามารถกำหนดจัดวางองค์ประกอบภาพได้อย่างลงตัว และด้วยประเด็นของความทรงจำที่มนุษย์เรามักจะฝากฝังให้วัตถุต่างๆ เป็นเสมือนเครื่องแทนความทรงจำเหล่านั้น และถ้าหากวันหนึ่ง วัตถุต่างๆ ได้แตกหักดับสูญไป ความทรงจำเหล่านั้นก็ก็เสื่อมสลายหายไปด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่ยังคงเหลือก็คือ ความทรงจำที่ผู้ภายในจิตวิญญาณของเรานั่นเอง ที่แม้จะเลือนราง (ภาพยนตร์ไม่เปิดเผยใบหน้าของอุ้ม เปรียบเสมือนความทรงจำของทรายที่มีต่ออุ้ม) แต่ก็ยังคงสดใหม่เสมอ เมื่อก็ตามนึกถึง