สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
"หยก" Jade ตามหลักสากลมีสองประเภท คือ
-หยกเนื้อแข็ง Jadeite กลุ่มธาตุ Sodium aluminium silicate เช่นหยกพม่า (หยกเหมืองเก่า) ค่าความแข็งอยู่ที่ 6.5 - 7
ส่วนหยกเหมืองใหม่ค่าความแข็งมีข้อแตกต่าง
-หยกเนื้ออ่อน Nephrite กลุ่มธาตุ Calcium magnesium silicate เช่น หยกจีน รวมถึง หยกซินเจียงเหอเถียน หยกเกาหลี หยกรัสเซีย หยกแคนาดา
ค่าความแข็งอยู่ที่ 6 - 6.5
"สิ่งสำคัญในการเลือกหยก 5 ประการ ตามหลักของจีน"
สี (色 se) โปร่งใส (透 tou) รูปร่าง (形 xing) ลาย (匀 yun) เคาะ (敲 qiao)
1. สี (色 se) ความงามของหยกขึ้นอยู่กับสี และสีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ สีเขียว
-หยกจักรพรรดิ สีเขียว翡翠fei cui. สีต้องเขียวสดใส ไม่มืดแม้ในที่ร่ม สีไม่อมฟ้าหรือเทา
เนื้อใสแวววาวไม่มีรอยร้าวจะมีราคาดี เนื้อขุ่นแต่สีหวานก็เป็นที่นิยม ไม่ควรมีลายขาวหรือดำปน
-หยกที่มีหลากสีในชิ้นเดียว เช่น หยกห้าสี. หยกสามสี. ที่เราเรียกว่า ฮกลกซิ่ว福禄寿
ควรเลือกที่สีสดใส มีการแบ่งตัวของสีชัดเจน เนื้อใสหรือขุ่นก็ได้ มีความแวววาว
-หยกสีม่วง紫色翡翠zi se fei cui. นิยมสีม่วงสว่าง สีหวาน อาจใสหรือขุ่นก็ได้ ไม่ออก
เหลือบฟ้าหรือแดงจนมากเกินไป มีความแวววาว
-สีน้ำหมึก墨翠mo cui. เป็นหยกหายาก สีต้องดำสนิท นิยมเนื้อแก้ว เมื่อส่องไฟเป็นสีเขียวมรกต
-สีแดงส้ม红翡翠hong fei cui. มีตั้งแต่สีน้ำผึ้งอ่อน จนถึงแดงสด สีแดงสดเรียก หยกเลือด
นิยมเนื้อใสปานกลางถึงเนื้อแก้ว มีความแวววาว
พระพุทธหยกห้าสี ขนาดใหญ่หาพบยากมาก พระโพธิสัตว์หยกสีน้ำหมึก ส่องไฟแล้วเขียวสด
หยกเขียวจักรพรรดิ หยกสีม่วง หยกแดง
2. ความโปร่งใส (透 tou) ความใสสูงสุดของหยกเรียกว่า หยกเนื้อแก้ว
-หยกเนื้อแก้ว 玻璃种 bo li zhong. ใสมาก สามารถมองเห็นตัวหนังสือ ถัดลงมาคือ
-เนื้อน้ำแข็ง 冰种 bing zhong. ใสปานกลางถึงใสมาก แต่อ่านตัวหนังสือไม่ได้
-เนื้อน้ำมัน 油清种 you qing zhong. ใสปานกลางถึงใสมาก ผิวมันวาวเหมือนทาน้ำมัน
-เนื้อดอกไม้เขียว 花青种 hua qing zhong. ใสปานกลางถึงใสมาก
-เนื้อถั่วเขียว 豆青种 dou qing zhong. ขุ่นถึงใสปานกลาง
-เนื้อแห้ง 干青种 gan qing zhong. ไม่ใส มันวาวเป็นบางส่วน ขัดเงายาก
ส่วนที่คนไทยเรียก เนื้อแพร, เนื้อเทียน, นั้นเป็นคำเรียกที่ใช้เฉพาะในไทย
เนื้อแก้ว เนื้อน้ำแข็ง เนื้อน้ำมัน
เนื้อดอกไม้เขียว เนื้อถั่วเขียว เนื้อแห้ง
3. รูปร่าง (形 xing) คือ รูปทรงของชิ้นงาน ความสมดุล ความปราณีตในการแกะสลัก เช่น
ถ้าเป็นเม็ดหัวแหวน(หลังเบี้ย) ควรเลือกที่มีความโหนกหนาเพราะหายากกว่าแบบบาง
ดูเส้นผ่านศูนย์กลางว่าเม็ดหยกเบี้ยวหรือไม่ ผิวต้องเรียบเพราะมีผลต่อการเล่นแสง
แต่ถ้าเป็นงานแกะสลัก ก็ต้องดูให้ดีว่าแกะสลักจริง หรือเป็นงานอัดแบบโดยดูจากความ
คมชัดของเส้น ร่องที่แกะลงไปจะต้องมีความลึกและขนาดที่แตกต่างกัน และที่สำคัญ
คือ "สีของเนื้อหยก สัมพันธ์กับลวดลายที่แกะสลัก" ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สลัก
พึงระลึกไว้เสมอว่า หยกเนื้อดีศิลปินส์ผู้แกะสลัก จะออกแบบลายเพียงเพื่อเน้นความงาม
เท่านั้น จะไม่แกะลายลงไปเพื่อกลบร่องรอยติหนิต่างๆถ้าไม่จำเป็น
แกะเพื่อเน้นลายหยก แกะเพื่อเน้นตำแหน่งสี งานอัดแบบ
4. ลาย (匀 yun) รูปแบบของลวดลายในเนื้อหยกมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการยืนยัน
ถึงความเป็นหยกแท้ และชนิดของเนื้อหยก เช่น
-หยกเนื้อแก้ว ถึงแม้จะใสสะอาดบริสุทธิ์ แต่ก็ยังต้องมีส่วนของริ้วรอยที่แตกต่างปนอยู่
บางส่วนอาจขุ่นกว่า อาจมีจุดสีขาวคล้ายเมล็ดข้าวสุก หรือ มีริ้วลายของสีต่างๆปนอยู่
-หยกเนื้อน้ำแข็ง มีความใสรองจากหยกเนื้อแก้ว อาจมีบางส่วนใสเทียบเท่าหยกเนื้อแก้ว
แต่เนื่องจากมีลายจุดขาวคล้ายฟองอากาศ และเส้นใยขาวๆกระจายอยู่ทั่วไป มีหลายสี
-หยกเนื้อน้ำมัน คล้ายกับน้ำมันกำลังเริ่มจะเป็นไข สีเทาอมฟ้า ใสปานกลาง ผิวมันวาวมาก
-หยกเนื้อดอกไม้เขียว ลายสีขาวคล้ายเมฆปนกับสีเขียวและดำกระจายอยู่ทั่ว ใสปานกลาง
-หยกเนื้อถั่วเขียว หยกสีเขียวอ่อน เนื้อใสปานกลางถึงมาก มีลายเมฆสีขาวปนอยู่กับเขียว
-หยกเนื้อแห้ง พบมากในไทย มีรอยร้าวมาก ผิวแห้งขัดเงายาก มีเส้นขาวเป็นริ้วๆกระจาย
ตามรอยร้าวลักษณะคล้ายหินปูน มีลายเมฆสีขาว มีจุดสีน้ำตาลถึงดำลึกลงไปในเนื้อ
มีหลายสี
หยกเนื้อแก้ว หยกเนื้อน้ำแข็ง หยกเนื้อน้ำมัน
หยกเนื้อดอกไม้เขียว หยกเนื้อถั่วเขียว หยกเนื้อแห้ง
5. การเคาะ (敲 qiao) เป็นการฟังเสียงของเนื้อหยก แต่คุณต้องรู้วิธีเคาะเพราะไม่เช่นนั้นอาจ
ต้องเสียเงินชดใช้ถ้าทำสินค้าแตกชำรุด และวีธีนี้ใช้ได้กับหยกประเภทกำไลข้อมือเป็นหลัก
ไม่เหมาะกับหยกชิ้นเล็กๆ และหยกที่แกะสลักลาย วิธีการคือ ใช้เส้นด้ายสอดผ่านวงกำไล
ยกแค่พอลอยขึ้น ใช้หยกก้อนเคาะเบาๆแล้วหยุดฟัง ถ้าเสียงดัง กิ้งๆๆ กังวานใสเหมือน
แก้วไวน์คริสตัล แสดงว่าหยกเนื้อดี ไม่ร้าว เป็นหยกเก่า(หยกเหมืองเก่า) แต่ถ่าเสียงดัง
แกร็ง สั้นๆ นั่นคือหยกที่อาจมีรอยร้าวมาก หรือหยกเนื้อไม่สมบูรณ์(หยกเหมืองใหม่)
หรือแย่ไปกว่านั้น คือหยกกัดย้อมสี (หยกอาบน้ำ)
หยก B-C และหยกปลอม
-หยกที่ผ่านการปรับปรุงสี เรียกว่าหยกย้อม หรือ หยก C
-หยกที่ปรับปรุงความใส เรียกว่าหยกอาบน้ำ หรือหยก B
ซึ่งทั้งสองกรรมวิธีนี้ล้วนทำลายความเป็นธรรมชาติของหยก และผลที่ได้ทำให้เสียงเคาะ
หยกเปลี่ยนไป ไม่กังวาน
- หยก c -
หยกB หยกB+C
ปัจจุบันวิธีการปรับปรุงสี และความใสได้พัฒนาไปมากจนดูแทบไม่แตกต่างหากไม่คลุกคลี
กับหยกเป็นประจำ อีกทั้งชาวจีนยังเชื่อว่าการปรับปรุงคุณภาพจะทำให้หยกหมดพลัง
ตามธรรมชาติที่มีไว้คุ้มครองผู้เป็นเจ้าของ ปัจจุบันมีการนำเข้ามาจำหน่ายอย่างแพร่
หลายในไทย
-หยกปลอม (ทำจากเศษผงหยกผสมเรซิ่นอัดแบบ) มีวางขายตามท้องตลาดมากขึ้น
คุณสมบัติ ไม่ทนไฟ มีกลิ่นเปรี้ยว
หยกปลอม มีชนิดผสมเศษผงหยก ผงหินอ่อน และเรซิ่นล้วน
การประเมินราคา
ราคาของหยกขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ เนื่องจากหยกไม่มีเพดานราคาที่แน่ชัด มีตั้งแต่ราคา
หลักร้อยบาท ขึ้นไปถึงหลักพันล้านบาท ขึ้นอยู่กับ เนื้อ สี การแกะสลัก ความหายาก อายุ
และสถานที่จำหน่าย อย่างไรก็ตามการซื้อหยกควรเลือกตามกำลังทรัพย์เป็นหลัก เพราะ
บางครั้งราคาถูกไม่ได้หมายถึงของไม่ดี เพียงแต่ สี หรือ เนื้อ อาจยังไม่ถึงระดับที่หายาก
Mr.Nanthara Koontanasinchai
นันทระ คูณธนสินชัย
01/10/2009
-หยกเนื้อแข็ง Jadeite กลุ่มธาตุ Sodium aluminium silicate เช่นหยกพม่า (หยกเหมืองเก่า) ค่าความแข็งอยู่ที่ 6.5 - 7
ส่วนหยกเหมืองใหม่ค่าความแข็งมีข้อแตกต่าง
-หยกเนื้ออ่อน Nephrite กลุ่มธาตุ Calcium magnesium silicate เช่น หยกจีน รวมถึง หยกซินเจียงเหอเถียน หยกเกาหลี หยกรัสเซีย หยกแคนาดา
ค่าความแข็งอยู่ที่ 6 - 6.5
"สิ่งสำคัญในการเลือกหยก 5 ประการ ตามหลักของจีน"
สี (色 se) โปร่งใส (透 tou) รูปร่าง (形 xing) ลาย (匀 yun) เคาะ (敲 qiao)
1. สี (色 se) ความงามของหยกขึ้นอยู่กับสี และสีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ สีเขียว
-หยกจักรพรรดิ สีเขียว翡翠fei cui. สีต้องเขียวสดใส ไม่มืดแม้ในที่ร่ม สีไม่อมฟ้าหรือเทา
เนื้อใสแวววาวไม่มีรอยร้าวจะมีราคาดี เนื้อขุ่นแต่สีหวานก็เป็นที่นิยม ไม่ควรมีลายขาวหรือดำปน
-หยกที่มีหลากสีในชิ้นเดียว เช่น หยกห้าสี. หยกสามสี. ที่เราเรียกว่า ฮกลกซิ่ว福禄寿
ควรเลือกที่สีสดใส มีการแบ่งตัวของสีชัดเจน เนื้อใสหรือขุ่นก็ได้ มีความแวววาว
-หยกสีม่วง紫色翡翠zi se fei cui. นิยมสีม่วงสว่าง สีหวาน อาจใสหรือขุ่นก็ได้ ไม่ออก
เหลือบฟ้าหรือแดงจนมากเกินไป มีความแวววาว
-สีน้ำหมึก墨翠mo cui. เป็นหยกหายาก สีต้องดำสนิท นิยมเนื้อแก้ว เมื่อส่องไฟเป็นสีเขียวมรกต
-สีแดงส้ม红翡翠hong fei cui. มีตั้งแต่สีน้ำผึ้งอ่อน จนถึงแดงสด สีแดงสดเรียก หยกเลือด
นิยมเนื้อใสปานกลางถึงเนื้อแก้ว มีความแวววาว
พระพุทธหยกห้าสี ขนาดใหญ่หาพบยากมาก พระโพธิสัตว์หยกสีน้ำหมึก ส่องไฟแล้วเขียวสด
หยกเขียวจักรพรรดิ หยกสีม่วง หยกแดง
2. ความโปร่งใส (透 tou) ความใสสูงสุดของหยกเรียกว่า หยกเนื้อแก้ว
-หยกเนื้อแก้ว 玻璃种 bo li zhong. ใสมาก สามารถมองเห็นตัวหนังสือ ถัดลงมาคือ
-เนื้อน้ำแข็ง 冰种 bing zhong. ใสปานกลางถึงใสมาก แต่อ่านตัวหนังสือไม่ได้
-เนื้อน้ำมัน 油清种 you qing zhong. ใสปานกลางถึงใสมาก ผิวมันวาวเหมือนทาน้ำมัน
-เนื้อดอกไม้เขียว 花青种 hua qing zhong. ใสปานกลางถึงใสมาก
-เนื้อถั่วเขียว 豆青种 dou qing zhong. ขุ่นถึงใสปานกลาง
-เนื้อแห้ง 干青种 gan qing zhong. ไม่ใส มันวาวเป็นบางส่วน ขัดเงายาก
ส่วนที่คนไทยเรียก เนื้อแพร, เนื้อเทียน, นั้นเป็นคำเรียกที่ใช้เฉพาะในไทย
เนื้อแก้ว เนื้อน้ำแข็ง เนื้อน้ำมัน
เนื้อดอกไม้เขียว เนื้อถั่วเขียว เนื้อแห้ง
3. รูปร่าง (形 xing) คือ รูปทรงของชิ้นงาน ความสมดุล ความปราณีตในการแกะสลัก เช่น
ถ้าเป็นเม็ดหัวแหวน(หลังเบี้ย) ควรเลือกที่มีความโหนกหนาเพราะหายากกว่าแบบบาง
ดูเส้นผ่านศูนย์กลางว่าเม็ดหยกเบี้ยวหรือไม่ ผิวต้องเรียบเพราะมีผลต่อการเล่นแสง
แต่ถ้าเป็นงานแกะสลัก ก็ต้องดูให้ดีว่าแกะสลักจริง หรือเป็นงานอัดแบบโดยดูจากความ
คมชัดของเส้น ร่องที่แกะลงไปจะต้องมีความลึกและขนาดที่แตกต่างกัน และที่สำคัญ
คือ "สีของเนื้อหยก สัมพันธ์กับลวดลายที่แกะสลัก" ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สลัก
พึงระลึกไว้เสมอว่า หยกเนื้อดีศิลปินส์ผู้แกะสลัก จะออกแบบลายเพียงเพื่อเน้นความงาม
เท่านั้น จะไม่แกะลายลงไปเพื่อกลบร่องรอยติหนิต่างๆถ้าไม่จำเป็น
แกะเพื่อเน้นลายหยก แกะเพื่อเน้นตำแหน่งสี งานอัดแบบ
4. ลาย (匀 yun) รูปแบบของลวดลายในเนื้อหยกมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการยืนยัน
ถึงความเป็นหยกแท้ และชนิดของเนื้อหยก เช่น
-หยกเนื้อแก้ว ถึงแม้จะใสสะอาดบริสุทธิ์ แต่ก็ยังต้องมีส่วนของริ้วรอยที่แตกต่างปนอยู่
บางส่วนอาจขุ่นกว่า อาจมีจุดสีขาวคล้ายเมล็ดข้าวสุก หรือ มีริ้วลายของสีต่างๆปนอยู่
-หยกเนื้อน้ำแข็ง มีความใสรองจากหยกเนื้อแก้ว อาจมีบางส่วนใสเทียบเท่าหยกเนื้อแก้ว
แต่เนื่องจากมีลายจุดขาวคล้ายฟองอากาศ และเส้นใยขาวๆกระจายอยู่ทั่วไป มีหลายสี
-หยกเนื้อน้ำมัน คล้ายกับน้ำมันกำลังเริ่มจะเป็นไข สีเทาอมฟ้า ใสปานกลาง ผิวมันวาวมาก
-หยกเนื้อดอกไม้เขียว ลายสีขาวคล้ายเมฆปนกับสีเขียวและดำกระจายอยู่ทั่ว ใสปานกลาง
-หยกเนื้อถั่วเขียว หยกสีเขียวอ่อน เนื้อใสปานกลางถึงมาก มีลายเมฆสีขาวปนอยู่กับเขียว
-หยกเนื้อแห้ง พบมากในไทย มีรอยร้าวมาก ผิวแห้งขัดเงายาก มีเส้นขาวเป็นริ้วๆกระจาย
ตามรอยร้าวลักษณะคล้ายหินปูน มีลายเมฆสีขาว มีจุดสีน้ำตาลถึงดำลึกลงไปในเนื้อ
มีหลายสี
หยกเนื้อแก้ว หยกเนื้อน้ำแข็ง หยกเนื้อน้ำมัน
หยกเนื้อดอกไม้เขียว หยกเนื้อถั่วเขียว หยกเนื้อแห้ง
5. การเคาะ (敲 qiao) เป็นการฟังเสียงของเนื้อหยก แต่คุณต้องรู้วิธีเคาะเพราะไม่เช่นนั้นอาจ
ต้องเสียเงินชดใช้ถ้าทำสินค้าแตกชำรุด และวีธีนี้ใช้ได้กับหยกประเภทกำไลข้อมือเป็นหลัก
ไม่เหมาะกับหยกชิ้นเล็กๆ และหยกที่แกะสลักลาย วิธีการคือ ใช้เส้นด้ายสอดผ่านวงกำไล
ยกแค่พอลอยขึ้น ใช้หยกก้อนเคาะเบาๆแล้วหยุดฟัง ถ้าเสียงดัง กิ้งๆๆ กังวานใสเหมือน
แก้วไวน์คริสตัล แสดงว่าหยกเนื้อดี ไม่ร้าว เป็นหยกเก่า(หยกเหมืองเก่า) แต่ถ่าเสียงดัง
แกร็ง สั้นๆ นั่นคือหยกที่อาจมีรอยร้าวมาก หรือหยกเนื้อไม่สมบูรณ์(หยกเหมืองใหม่)
หรือแย่ไปกว่านั้น คือหยกกัดย้อมสี (หยกอาบน้ำ)
หยก B-C และหยกปลอม
-หยกที่ผ่านการปรับปรุงสี เรียกว่าหยกย้อม หรือ หยก C
-หยกที่ปรับปรุงความใส เรียกว่าหยกอาบน้ำ หรือหยก B
ซึ่งทั้งสองกรรมวิธีนี้ล้วนทำลายความเป็นธรรมชาติของหยก และผลที่ได้ทำให้เสียงเคาะ
หยกเปลี่ยนไป ไม่กังวาน
- หยก c -
หยกB หยกB+C
ปัจจุบันวิธีการปรับปรุงสี และความใสได้พัฒนาไปมากจนดูแทบไม่แตกต่างหากไม่คลุกคลี
กับหยกเป็นประจำ อีกทั้งชาวจีนยังเชื่อว่าการปรับปรุงคุณภาพจะทำให้หยกหมดพลัง
ตามธรรมชาติที่มีไว้คุ้มครองผู้เป็นเจ้าของ ปัจจุบันมีการนำเข้ามาจำหน่ายอย่างแพร่
หลายในไทย
-หยกปลอม (ทำจากเศษผงหยกผสมเรซิ่นอัดแบบ) มีวางขายตามท้องตลาดมากขึ้น
คุณสมบัติ ไม่ทนไฟ มีกลิ่นเปรี้ยว
หยกปลอม มีชนิดผสมเศษผงหยก ผงหินอ่อน และเรซิ่นล้วน
การประเมินราคา
ราคาของหยกขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ เนื่องจากหยกไม่มีเพดานราคาที่แน่ชัด มีตั้งแต่ราคา
หลักร้อยบาท ขึ้นไปถึงหลักพันล้านบาท ขึ้นอยู่กับ เนื้อ สี การแกะสลัก ความหายาก อายุ
และสถานที่จำหน่าย อย่างไรก็ตามการซื้อหยกควรเลือกตามกำลังทรัพย์เป็นหลัก เพราะ
บางครั้งราคาถูกไม่ได้หมายถึงของไม่ดี เพียงแต่ สี หรือ เนื้อ อาจยังไม่ถึงระดับที่หายาก
Mr.Nanthara Koontanasinchai
นันทระ คูณธนสินชัย
01/10/2009
แสดงความคิดเห็น
ขอคำแนะนำเรื่องหยก
1.หยกจีน หยกพม่าต่างกันตรงไหน
2.ราคาหยกแท้ จีน,พม่า
3.หยกชนิดไหนนิยมใช้
4.หาซื้อได้จากที่ไหน
5.วิธีดูหยกแท้
6.อื่นๆ
ขอบคุณครับ