ถาม : ข้อ ๑๕๓๔. เรื่อง "การทำบุญ"
กราบนมัสการหลวงพ่อที่ศรัทธายิ่ง หนูรบกวนถามหลวงพ่อเรื่องการทำบุญเจ้าค่ะ
๑. การทำบุญ ปกติหนูจะทำในสิ่งที่พอใจที่อยากทำ ทำตามกำลัง แต่หนูได้เจอเพื่อนคนหนึ่งเธอบอกบุญแทบไม่พัก ทั้งการเรี่ยไรทางอินเตอร์เน็ต เจอหน้าทุกครั้งบอกบุญทุกครั้ง และตามส่งข้อความมาทางอินเตอร์เน็ตอีก หนูก็ทำค่ะ แต่พอบ่อยๆ เข้าเริ่มรู้สึกว่านั้นเป็นการเบียดเบียนหรือเปล่าเจ้าคะ บางแห่งบุญที่บอกหนูไม่รู้จัก และไม่ศรัทธา แต่เพื่อนบอกว่าท่านสำเร็จแล้ว ทำกับพระอรหันต์นี้บุญมาก ด้วยสภาพเศรษฐกิจและภาวะทางบ้านยังมี หนูสงสัยว่าการสละทรัพย์เพื่อทำบุญในโลกนี้ ทำไปได้รับแน่ๆ แต่การดำรงชีพก็ต้องมีค่าใช้จ่ายอยู่ หนูควรปฏิเสธบุญได้หรือไม่ เพื่อนบางคนบอกว่าทำไปเถอะ อย่างไรก็ได้บุญ แต่หนูรู้สึกเบียดเบียนตัวเอง ทำให้ต้องประหยัดมากขึ้น และไม่ค่อยเต็มใจทำเจ้าค่ะ แต่เสียไม่ได้ ขอถามหลวงพ่อค่ะ การเรี่ยไรบอกบุญในอินเตอร์เน็ตควรหรือไม่อย่างไรเจ้าคะ บางครั้งเพื่อนบอกให้หนูลงประกาศกระจายข่าวค่ะ
ข้อที่ ๑ เรื่องการทำบุญ เรื่องการทำบุญ การทำบุญ เห็นไหม นี่เราบอกว่าถ้าเป็นบุญนะ เป็นบุญ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนไว้ก่อน สอนว่าพวกเราหาเงินมาได้ให้แบ่งเป็น ๔ ส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้ใช้จ่าย ใช้สอย ส่วนหนึ่งเอาไว้ลงทุน ส่วนหนึ่งเอาไว้เลี้ยงพ่อ เลี้ยงแม่ ส่วนที่เหลือค่อยทำบุญ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ชัดเจนมาก
๑. เราต้องดำรงชีวิตอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งเราต้องดำรงชีวิตของเราก่อน
๒. เราต้องทำธุรกิจของเรา เราทำมาค้าขายของเราเอาไว้ลงทุน
๓. เราแบ่งส่วนหนึ่งไว้เลี้ยงพ่อ เลี้ยงแม่ของเรา ดูแลพ่อแม่ของเรา เพราะพ่อแม่ของเราให้ชีวิตเรามา
๔.ส่วนที่เหลือเราถึงทำบุญ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกอย่างนี้เลยนะ นี่พูดถึงการทำบุญนะ
ฉะนั้น เพียงแต่ว่า เวลาว่าปกติหนูก็ทำที่พอใจอยู่แล้ว ถูกต้อง เราทำที่พอใจ เราทำที่เข้าใจ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดอย่างนี้ เพราะเทวดามาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเลยบอกว่า
ควรทำบุญที่ใด?
ควรทำบุญที่เธอพอใจ
ที่เธอพอใจ อย่างเช่นเราศรัทธาที่ไหน เราเข้าใจที่ไหนเราทำที่นั่น ทำที่เธอพอใจ แล้วถ้าไม่พอใจล่ะ? ไม่พอใจเราไม่ทำไง เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้เท่าทันกิเลสไง กิเลสนี่มันร้ายนัก ถ้าเราพอใจคือว่ามันพอใจ มันเปิดโอกาสให้เราได้ทำ ถ้าไม่พอใจกิเลสมันปิด มันไม่พอใจ มันไม่พอใจไม่อยากทำ นี่เธอทำที่เธอพอใจ นี่ก็เหมือนกัน ปกติหนูทำบุญสิ่งที่เราพอใจ พอใจที่ไหนทำที่นั่น นี่ดีมากเลย ทำที่ไหน พอใจทำที่นั่น ถ้าไม่พอใจกิเลสมันจะแย่งชิง กิเลสมันจะโต้แย้งในใจของเรา ทีนี้เทวดาก็ถามต่อ แล้วถ้าเอาเหตุผลล่ะ? เอาผลตอบแทนล่ะ?
ถ้าผลตอบแทน ทำบุญเอาผลตอบแทนใช่ไหม ผลตอบแทน พระพุทธเจ้าบอกว่าถ้าเนื้อนาบุญ ทำที่พอใจนั้นส่วนหนึ่ง เพราะพอใจ เราพอใจเราไม่รู้หรอกเราพอใจนี่ถูกหรือผิด เราพอใจกับพระองค์นี้ พระองค์นี้จริงหรือไม่จริง นี่ความพอใจ แต่ถ้าเอาข้อเท็จจริงล่ะ? ข้อเท็จจริงมันก็ตามวิทยาศาสตร์ หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง สองบวกสองเป็นสี่ ทำตามข้อเท็จจริงเลย ถ้าข้อเท็จจริง อย่างนั้นมันถึงจะได้บุญมาก ได้บุญน้อยที่ตรงนั้น ที่ตรงนั้นนะ อันนี้โดยข้อเท็จจริง แต่ข้อเท็จจริงแล้ว เราทำแล้ว เห็นไหม นี่มันปัญญาอ่อน ถ้าปัญญาอ่อนเราก็ต้องให้เขาลากไปอย่างนี้ใช่ไหม
ในสมัยพุทธกาลนะ ในสมัยพุทธกาลมันมีพระออกเรี่ยไรมาก พอเรี่ยไรมากปั๊บ เวลาโยมเขาเข็ดไง เขาอยู่ในชุมชนของเขา เห็นวัวผ่านมา นี่อยู่ในธรรมบทนะ ในพระไตรปิฎกเลย เห็นวัวผ่านมา วัวมันสีเหลืองๆ เหมือนพระใช่ไหม วิ่งหนีเลยล่ะ จนกลัวขนาดนั้น กรรมฐานขี้ขอ ไอ้พวกขี้ขอจนเขากลัวนะ ในพระไตรปิฎกก็มี มีพระหรือฤๅษีจำไม่ได้ ฤๅษีไปอยู่ในป่า ไปอยู่ในป่านะแล้วไปเจอพญานาค ไปเจอพวกพญานาคเขาอยากได้บุญเขามาแผ่พังพาน กลัวมาก พอกลัวมาก กลัวมากก็ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกว่ากลัวสิ่งนี้มาก พระพุทธเจ้าจะแก้นะบอกให้ไปที่นั่น ให้ขอ ให้ขอ ขอไปหมด
มันมีเครื่องประดับของเขาไง ขอ ขอทีแรก พญานาครักนะขอ พญานาคมาแผ่พังพานช่วยไง ขอ พอขอไปขอสร้อยสังวาลย์ สุดท้ายขอ ขอจนพญานาคเขาให้ พญานาครักมากเลยเพราะจะมาแผ่พังพานให้ร่มเย็นเป็นสุข แผ่พังพาน มาคุ้มครอง ทีนี้ไอ้คนที่เราคุ้มครองกลัวไง กลัวก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ให้พระพุทธเจ้าแก้ พระพุทธเจ้าบอกว่าให้ไปอยู่ที่เดิมนะ ไปอยู่ที่เดิมนะ ถ้าเขามาแล้วให้ขอ ได้อาหารมาก็ขอเขา ได้อะไรมาก็ขอเขา ขอไปขอมาขอจนขอสร้อยสังวาล พญานาครักนะ ให้ของรักมันก็สะเทือนใจ ให้ได้ก็ให้เรื่อยๆ จนถึงที่สุดนะไม่เอาแล้ว
โอ๋ย ขอจนสร้อยสังวาล ขอของรักเท่าชีวิต พญานาคเลยบอกว่าสมณะขี้ขอ ไปแล้ว ไม่มาคุ้มครอง ไม่มาดูแล ทั้งๆ ที่รักนะ รักมากอยากมาคุ้มครองดูแล แต่ไปขอๆ ขอจนพญานาค คิดดูสิเหมือนเรารักมากเลย แต่ทำให้เราเสียใจ ทำให้เราไป นี่ความเสียใจคือการเบียดเบียนกัน การขอกัน การแย่งชิงกัน สิ่งนี้ไม่ดีเลย นี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเองมันเป็นข้อเท็จจริงในเรื่องกิเลส ในเรื่องความรู้สึกของคน
ถ้าความรู้สึกของคนมันเป็นแบบนี้ปั๊บ สิ่งที่เราทำ ถ้าเราไม่ปัญญาอ่อน ไม่ปัญญาอ่อนไม่ปัญญาอ่อนตรงไหนล่ะ? ไม่ปัญญาอ่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน อย่างที่ว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน กษัตริย์กุฎุมพีต่างๆ มาบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายเลย พระพุทธเจ้าบอกให้พระอานนท์สั่งไว้เลย บอกให้บอกเขานะให้ปฏิบัติบูชาเถิด อย่างที่เรามาทำกันนี่เรามาปฏิบัติบูชา
การปฏิบัติบูชานะ มีทานร้อยหนพันหนไม่เท่าถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง มีศีลร้อยหนพันหนไม่เท่ากับทำสมาธิได้หนหนึ่ง ทำสมาธิร้อยหนพันหนไม่เท่ากับเกิดปัญญาหนหนึ่ง แล้วเรามาฝึกอะไรกันนี่ มีทานร้อยหนพันหนนะ ถ้าเราทำสมาธิได้หนหนึ่ง ทำสมาธิได้หนหนึ่ง มีทานร้อยหนพันหนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ศีลบริสุทธิ์ ศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับทำสมาธิหนหนึ่ง แล้วเรามาทำอะไรกัน ถ้าเราทำได้นะ ถ้าเราทำได้เท่ากับเราเสียสละทานเป็นหมื่นๆ ครั้งเลย สิ่งที่เป็นหมื่นๆ ครั้ง นี้เราปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าเราไม่ปัญญาอ่อน เราแสวงหาบุญของเรา เราแสวงหาสัจจะความจริงของเรา
เราเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะหาสัจจะความจริงของเราใช่ไหม ไอ้เรื่องการเสียสละมันเป็นปัญหาสังคม เป็นสังคมที่ความเป็นอยู่ของเรา ถ้าความเป็นอยู่ของเรา เราให้อภัยต่อกัน เราเสียสละกัน สิ่งนั้นมันเป็นปัญหาสังคม ปัญหาที่สังคมร่มเย็นเป็นสุขใช่ไหม แต่หัวใจเราล่ะ? หัวใจเราล่ะ? ถ้าหัวใจเรายังมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่ แล้วทำอย่างไรล่ะ? นี่เรามีศีล ศีลคือความปกติของใจ คือเราบังคับตัวเราเอง เราบังคับตัวเราเองด้วยศีลของเรา ด้วยความที่เราไม่ผิดพลาดของเรา แล้วถ้าเกิดทำสมาธิได้ขึ้นมา มันเกี่ยวอะไรกับบุญข้างนอกล่ะ?
การทำบุญกุศล บุญกุศลอย่างที่ว่ามันเป็นบุญกุศลที่ให้เขา เขาเรียกบารมี เวลาอ้างพระไตรปิฎกต่างคนต่างอ้างมุมที่ตัวเองชอบ การที่ว่าการสร้างบารมี การบอกบุญต่อกันเขาว่าการสร้างบารมี ไปอยู่บนสวรรค์แล้วจะได้มีพรรคพวก มีพวกเพื่อนฝูงห้อมล้อม ไม่ใช่ไปอยู่เทวดา อยู่คนเดียวไม่มีพรรคไม่มีพวก ทำบุญคนเดียวไง อันนี้มันก็มีส่วน มันก็เป็น เทวดาที่ไปอยู่บนสรรค์เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ว่าอย่างนี้ เราก็บอกว่าจะต้องบอกบุญกันตลอดไป การบอกบุญโดยความเจตนาบริสุทธิ์ เพื่อน เพื่อนบอกกัน เพื่อนชักจูงกันเป็นสิ่งที่ดีก็มี แต่คำว่า
นี่เขาบอกเลยนะ โดยปกติหนูทำตามที่พอใจ ทำตามกำลัง แต่หนูไปเจอเพื่อนคนหนึ่งเธอมักบอกบุญแทบไม่พักเลย เรี่ยไรทางอินเตอร์เน็ตด้วย เจอหน้าก็บอกบุญ ยังไลน์มาบอกให้ทำบุญอีก แล้วยังสั่งให้ตัวเองไปเข้าอินเตอร์เน็ตมาบอกคนอื่นอีก อย่างที่ว่า แม้แต่กรรมฐานขี้ขอเขาก็กลัวแล้ว แล้วเราไปบอกบุญๆ บอกบุญ เห็นไหม นี่เขาบอกว่าเราก็ต้องมีความเป็นอยู่ของเรา มันเหมือนการเบียดเบียนกัน การเบียดเบียนกันก็บอกที่พระพุทธเจ้าพูดไว้แล้ว เราแสวงหาสิ่งใดมาเราต้องใช้จ่ายของเรา คือเราต้องดำรงชีวิตของเราหนึ่ง เก็บไว้เพื่อประกอบการธุรกิจของเราหนึ่ง เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ของเราหนึ่ง สุดท้ายที่เหลือฝังดินไว้ คือทำบุญกุศลไว้
นี่เราทำบุญเขาไม่ได้วัดกันที่จำนวนตัวเลขว่าใครมากใครน้อย เขาวัดกันที่ค่าน้ำใจ ถ้าเราทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ ของเล็กน้อยก็มีค่ามาก เราทำ ทางโลกเขาเราทำ เห็นไหม เขาเจอทีไรก็บอกบุญทุกทีเลย เจอทีไรก็บอกบุญทุกทีเลย เจอทีไรก็บอกตลอดเลย นี่ถ้าทำบุญเอาหน้ามันจะได้อะไรล่ะ? นี่เพราะกรณีนี้ที่บอกทำบุญทิ้งเหว โยนทิ้งเหวไปเลยเพราะเราเสียสละไปแล้วเราไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น คนที่เขามีน้ำใจสูงนะ ดูสิเขาช่วยเหลือเจือจานสังคมเขาไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ เลย นั่นล่ะบุญร้อยเปอร์เซ็นต์ แหม ทำบุญแล้วประกาศชื่อแล้วประกาศชื่ออีก ต้องประกาศชื่อผมนะ เดี๋ยวผมไม่ได้ทำบุญนะ
อ๋อ บุญนี่มันอยู่ที่ประกาศเนาะ อ้าว กูประกาศเอ็งเท่าไรก็ได้ แต่เอ็งไม่มีตัวเงินเลยเอ็งได้อะไรขึ้นมา แต่โลกเขาเป็นกันแบบนั้น ถ้าเป็นแบบนั้น เราไม่ทำแบบนั้นเราไม่ปัญญาอ่อนไง เราไม่ปัญญาอ่อนของเรา ถ้าเราเป็นชาวพุทธแท้ เราทำของเราด้วยความเป็นจริงของเรา เราทำของเราด้วยน้ำใจของเรา เราทำเพื่อประโยชน์กับเรา นั้นทำบุญนะ ทำบุญนี่มันมีการเสียสละ มันเป็นการแสดงออกของน้ำใจ บุญในพุทธกาลนะในพระไตรปิฎก แม้แต่เราหลีกทางให้กัน เราให้ทางกันนี่ก็เป็นบุญ เราให้ทาง เราเดินสวนทางมา เราหลีกให้เขาซะให้เขาไปก่อน นี่บุญเกิดแล้ว
เราไม่ต้องเสียสละอะไรเลยนะ ไม่ใช่เสียสละให้ตระหนี่นะ คือว่าบางทีเรามีความจำเป็น เราไปไม่ทัน อนุโมทนาไปกับเขาก็ได้บุญแล้ว เห็นเขาทำคุณงามความดีกัน เห็นเขาทำบุญนะ อนุโมทนา เออ ดีใจ เออ เราขออนุโมทนาด้วย เราเห็นชอบด้วย นี่ก็บุญนะ อนุโมทนาทาน เห็นเขาทำดีแล้วเรามีความดีใจกับเขา แค่นี้ บุญแค่นี้ต้องไปเสียอะไรอีก ให้อภัยต่อกันก็เป็นบุญ อภัยทาน เห็นไหม คนนั้นทำผิดพลาดๆ เราให้อภัยเขา แต่ให้อภัยยาก ให้อภัยทาน โอ้โฮ มันค้างใจนะ มันติดใจ เห็นไหม เขตอภัยทาน เขาไม่เบียดเบียนกัน เขาไม่ทำร้ายกันเขตอภัยทาน แค่นี้มันก็ได้บุญแล้ว แต่ถ้าบอกบุญกันทุกทีเลย เข้าอินเตอร์เน็ตบอกเลย
กรณีนี้เราเห็นเป็นอย่างนี้ เพราะเราอ่านพระไตรปิฎกมา ฉะนั้น โดยที่ว่ามันจะมีคำถามมาบ่อยมากเลย หลวงพ่อ เลขบัญชีเท่าไร วัดนี้เลขบัญชีเท่าไร เลขบัญชีหลวงพ่อเท่าไร โทษนะเราบอกว่า
เพราะว่าค่าใช้จ่ายในวัดนี้เราเป็นคนจัดการเอง กู
หาเรื่องใส่ตัวกูเอง กูทำขึ้นมาเอง กูต้องรักษาของกูเอง แต่ถ้าใครจะมีแค่น้ำใจต่างๆ นั่นอีกเรื่องหนึ่ง โอ๋ย จะเอาเลขบัญชีไปลงอินเตอร์เน็ตไง เขาก็ขอ มีคนขอมาเยอะมาก แต่เราเห็นถึงกรณีอย่างนี้ กรณีที่ว่าคนมองในแง่ดี เขาก็มองในแง่ดี คนมองในแง่ลบ เขาก็มองในแง่ลบ
ฉะนั้น เราเป็นศากยบุตร เราเป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราพยายามทำตามเนื้อผ้า ทำดีที่สุด แต่สิ่งใดถ้ามันเป็นการเปิดทางให้เขาติเตียนก็ได้ ถ้าคนที่เขามีน้ำใจเขาก็ เออ หลวงพ่อมีภาระเนาะ ช่วยหลวงพ่อหน่อยๆ แล้วไอ้คนที่บอกว่าก็หลวงพ่อหาเรื่องเองแล้วมันจะกวนกูทำไมล่ะ? เวลาเขาไปบอกบุญใช่ไหม นี่เขาไปบอกบุญบอกว่านี่ไงหลวงพ่อเขาทำอย่างนั้นต้องมีค่าใช้จ่ายนะ เขาจะถามว่า หลวงพ่อเวลาว่างมากเกินไปใช่ไหม? หลวงพ่อไม่มีเรื่องทำใช่ไหมถึงทำให้มันเดือดร้อน แล้วก็มาเดือดร้อนกูด้วย นี่ไปเรี่ยไรเขาไง เราถึงไม่ให้
( อ่านต่อด้านล่าง)
การทำบุญบ่อยๆ ถือว่าเป็นพวกบุญปัญญาอ่อน
กราบนมัสการหลวงพ่อที่ศรัทธายิ่ง หนูรบกวนถามหลวงพ่อเรื่องการทำบุญเจ้าค่ะ
๑. การทำบุญ ปกติหนูจะทำในสิ่งที่พอใจที่อยากทำ ทำตามกำลัง แต่หนูได้เจอเพื่อนคนหนึ่งเธอบอกบุญแทบไม่พัก ทั้งการเรี่ยไรทางอินเตอร์เน็ต เจอหน้าทุกครั้งบอกบุญทุกครั้ง และตามส่งข้อความมาทางอินเตอร์เน็ตอีก หนูก็ทำค่ะ แต่พอบ่อยๆ เข้าเริ่มรู้สึกว่านั้นเป็นการเบียดเบียนหรือเปล่าเจ้าคะ บางแห่งบุญที่บอกหนูไม่รู้จัก และไม่ศรัทธา แต่เพื่อนบอกว่าท่านสำเร็จแล้ว ทำกับพระอรหันต์นี้บุญมาก ด้วยสภาพเศรษฐกิจและภาวะทางบ้านยังมี หนูสงสัยว่าการสละทรัพย์เพื่อทำบุญในโลกนี้ ทำไปได้รับแน่ๆ แต่การดำรงชีพก็ต้องมีค่าใช้จ่ายอยู่ หนูควรปฏิเสธบุญได้หรือไม่ เพื่อนบางคนบอกว่าทำไปเถอะ อย่างไรก็ได้บุญ แต่หนูรู้สึกเบียดเบียนตัวเอง ทำให้ต้องประหยัดมากขึ้น และไม่ค่อยเต็มใจทำเจ้าค่ะ แต่เสียไม่ได้ ขอถามหลวงพ่อค่ะ การเรี่ยไรบอกบุญในอินเตอร์เน็ตควรหรือไม่อย่างไรเจ้าคะ บางครั้งเพื่อนบอกให้หนูลงประกาศกระจายข่าวค่ะ
ข้อที่ ๑ เรื่องการทำบุญ เรื่องการทำบุญ การทำบุญ เห็นไหม นี่เราบอกว่าถ้าเป็นบุญนะ เป็นบุญ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนไว้ก่อน สอนว่าพวกเราหาเงินมาได้ให้แบ่งเป็น ๔ ส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้ใช้จ่าย ใช้สอย ส่วนหนึ่งเอาไว้ลงทุน ส่วนหนึ่งเอาไว้เลี้ยงพ่อ เลี้ยงแม่ ส่วนที่เหลือค่อยทำบุญ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ชัดเจนมาก
๑. เราต้องดำรงชีวิตอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งเราต้องดำรงชีวิตของเราก่อน
๒. เราต้องทำธุรกิจของเรา เราทำมาค้าขายของเราเอาไว้ลงทุน
๓. เราแบ่งส่วนหนึ่งไว้เลี้ยงพ่อ เลี้ยงแม่ของเรา ดูแลพ่อแม่ของเรา เพราะพ่อแม่ของเราให้ชีวิตเรามา
๔.ส่วนที่เหลือเราถึงทำบุญ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกอย่างนี้เลยนะ นี่พูดถึงการทำบุญนะ
ฉะนั้น เพียงแต่ว่า เวลาว่าปกติหนูก็ทำที่พอใจอยู่แล้ว ถูกต้อง เราทำที่พอใจ เราทำที่เข้าใจ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดอย่างนี้ เพราะเทวดามาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเลยบอกว่า
ควรทำบุญที่ใด?
ควรทำบุญที่เธอพอใจ
ที่เธอพอใจ อย่างเช่นเราศรัทธาที่ไหน เราเข้าใจที่ไหนเราทำที่นั่น ทำที่เธอพอใจ แล้วถ้าไม่พอใจล่ะ? ไม่พอใจเราไม่ทำไง เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้เท่าทันกิเลสไง กิเลสนี่มันร้ายนัก ถ้าเราพอใจคือว่ามันพอใจ มันเปิดโอกาสให้เราได้ทำ ถ้าไม่พอใจกิเลสมันปิด มันไม่พอใจ มันไม่พอใจไม่อยากทำ นี่เธอทำที่เธอพอใจ นี่ก็เหมือนกัน ปกติหนูทำบุญสิ่งที่เราพอใจ พอใจที่ไหนทำที่นั่น นี่ดีมากเลย ทำที่ไหน พอใจทำที่นั่น ถ้าไม่พอใจกิเลสมันจะแย่งชิง กิเลสมันจะโต้แย้งในใจของเรา ทีนี้เทวดาก็ถามต่อ แล้วถ้าเอาเหตุผลล่ะ? เอาผลตอบแทนล่ะ?
ถ้าผลตอบแทน ทำบุญเอาผลตอบแทนใช่ไหม ผลตอบแทน พระพุทธเจ้าบอกว่าถ้าเนื้อนาบุญ ทำที่พอใจนั้นส่วนหนึ่ง เพราะพอใจ เราพอใจเราไม่รู้หรอกเราพอใจนี่ถูกหรือผิด เราพอใจกับพระองค์นี้ พระองค์นี้จริงหรือไม่จริง นี่ความพอใจ แต่ถ้าเอาข้อเท็จจริงล่ะ? ข้อเท็จจริงมันก็ตามวิทยาศาสตร์ หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง สองบวกสองเป็นสี่ ทำตามข้อเท็จจริงเลย ถ้าข้อเท็จจริง อย่างนั้นมันถึงจะได้บุญมาก ได้บุญน้อยที่ตรงนั้น ที่ตรงนั้นนะ อันนี้โดยข้อเท็จจริง แต่ข้อเท็จจริงแล้ว เราทำแล้ว เห็นไหม นี่มันปัญญาอ่อน ถ้าปัญญาอ่อนเราก็ต้องให้เขาลากไปอย่างนี้ใช่ไหม
ในสมัยพุทธกาลนะ ในสมัยพุทธกาลมันมีพระออกเรี่ยไรมาก พอเรี่ยไรมากปั๊บ เวลาโยมเขาเข็ดไง เขาอยู่ในชุมชนของเขา เห็นวัวผ่านมา นี่อยู่ในธรรมบทนะ ในพระไตรปิฎกเลย เห็นวัวผ่านมา วัวมันสีเหลืองๆ เหมือนพระใช่ไหม วิ่งหนีเลยล่ะ จนกลัวขนาดนั้น กรรมฐานขี้ขอ ไอ้พวกขี้ขอจนเขากลัวนะ ในพระไตรปิฎกก็มี มีพระหรือฤๅษีจำไม่ได้ ฤๅษีไปอยู่ในป่า ไปอยู่ในป่านะแล้วไปเจอพญานาค ไปเจอพวกพญานาคเขาอยากได้บุญเขามาแผ่พังพาน กลัวมาก พอกลัวมาก กลัวมากก็ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกว่ากลัวสิ่งนี้มาก พระพุทธเจ้าจะแก้นะบอกให้ไปที่นั่น ให้ขอ ให้ขอ ขอไปหมด
มันมีเครื่องประดับของเขาไง ขอ ขอทีแรก พญานาครักนะขอ พญานาคมาแผ่พังพานช่วยไง ขอ พอขอไปขอสร้อยสังวาลย์ สุดท้ายขอ ขอจนพญานาคเขาให้ พญานาครักมากเลยเพราะจะมาแผ่พังพานให้ร่มเย็นเป็นสุข แผ่พังพาน มาคุ้มครอง ทีนี้ไอ้คนที่เราคุ้มครองกลัวไง กลัวก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ให้พระพุทธเจ้าแก้ พระพุทธเจ้าบอกว่าให้ไปอยู่ที่เดิมนะ ไปอยู่ที่เดิมนะ ถ้าเขามาแล้วให้ขอ ได้อาหารมาก็ขอเขา ได้อะไรมาก็ขอเขา ขอไปขอมาขอจนขอสร้อยสังวาล พญานาครักนะ ให้ของรักมันก็สะเทือนใจ ให้ได้ก็ให้เรื่อยๆ จนถึงที่สุดนะไม่เอาแล้ว
โอ๋ย ขอจนสร้อยสังวาล ขอของรักเท่าชีวิต พญานาคเลยบอกว่าสมณะขี้ขอ ไปแล้ว ไม่มาคุ้มครอง ไม่มาดูแล ทั้งๆ ที่รักนะ รักมากอยากมาคุ้มครองดูแล แต่ไปขอๆ ขอจนพญานาค คิดดูสิเหมือนเรารักมากเลย แต่ทำให้เราเสียใจ ทำให้เราไป นี่ความเสียใจคือการเบียดเบียนกัน การขอกัน การแย่งชิงกัน สิ่งนี้ไม่ดีเลย นี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเองมันเป็นข้อเท็จจริงในเรื่องกิเลส ในเรื่องความรู้สึกของคน
ถ้าความรู้สึกของคนมันเป็นแบบนี้ปั๊บ สิ่งที่เราทำ ถ้าเราไม่ปัญญาอ่อน ไม่ปัญญาอ่อนไม่ปัญญาอ่อนตรงไหนล่ะ? ไม่ปัญญาอ่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน อย่างที่ว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน กษัตริย์กุฎุมพีต่างๆ มาบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายเลย พระพุทธเจ้าบอกให้พระอานนท์สั่งไว้เลย บอกให้บอกเขานะให้ปฏิบัติบูชาเถิด อย่างที่เรามาทำกันนี่เรามาปฏิบัติบูชา
การปฏิบัติบูชานะ มีทานร้อยหนพันหนไม่เท่าถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง มีศีลร้อยหนพันหนไม่เท่ากับทำสมาธิได้หนหนึ่ง ทำสมาธิร้อยหนพันหนไม่เท่ากับเกิดปัญญาหนหนึ่ง แล้วเรามาฝึกอะไรกันนี่ มีทานร้อยหนพันหนนะ ถ้าเราทำสมาธิได้หนหนึ่ง ทำสมาธิได้หนหนึ่ง มีทานร้อยหนพันหนไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ศีลบริสุทธิ์ ศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับทำสมาธิหนหนึ่ง แล้วเรามาทำอะไรกัน ถ้าเราทำได้นะ ถ้าเราทำได้เท่ากับเราเสียสละทานเป็นหมื่นๆ ครั้งเลย สิ่งที่เป็นหมื่นๆ ครั้ง นี้เราปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าเราไม่ปัญญาอ่อน เราแสวงหาบุญของเรา เราแสวงหาสัจจะความจริงของเรา
เราเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะหาสัจจะความจริงของเราใช่ไหม ไอ้เรื่องการเสียสละมันเป็นปัญหาสังคม เป็นสังคมที่ความเป็นอยู่ของเรา ถ้าความเป็นอยู่ของเรา เราให้อภัยต่อกัน เราเสียสละกัน สิ่งนั้นมันเป็นปัญหาสังคม ปัญหาที่สังคมร่มเย็นเป็นสุขใช่ไหม แต่หัวใจเราล่ะ? หัวใจเราล่ะ? ถ้าหัวใจเรายังมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่ แล้วทำอย่างไรล่ะ? นี่เรามีศีล ศีลคือความปกติของใจ คือเราบังคับตัวเราเอง เราบังคับตัวเราเองด้วยศีลของเรา ด้วยความที่เราไม่ผิดพลาดของเรา แล้วถ้าเกิดทำสมาธิได้ขึ้นมา มันเกี่ยวอะไรกับบุญข้างนอกล่ะ?
การทำบุญกุศล บุญกุศลอย่างที่ว่ามันเป็นบุญกุศลที่ให้เขา เขาเรียกบารมี เวลาอ้างพระไตรปิฎกต่างคนต่างอ้างมุมที่ตัวเองชอบ การที่ว่าการสร้างบารมี การบอกบุญต่อกันเขาว่าการสร้างบารมี ไปอยู่บนสวรรค์แล้วจะได้มีพรรคพวก มีพวกเพื่อนฝูงห้อมล้อม ไม่ใช่ไปอยู่เทวดา อยู่คนเดียวไม่มีพรรคไม่มีพวก ทำบุญคนเดียวไง อันนี้มันก็มีส่วน มันก็เป็น เทวดาที่ไปอยู่บนสรรค์เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ว่าอย่างนี้ เราก็บอกว่าจะต้องบอกบุญกันตลอดไป การบอกบุญโดยความเจตนาบริสุทธิ์ เพื่อน เพื่อนบอกกัน เพื่อนชักจูงกันเป็นสิ่งที่ดีก็มี แต่คำว่า
นี่เขาบอกเลยนะ โดยปกติหนูทำตามที่พอใจ ทำตามกำลัง แต่หนูไปเจอเพื่อนคนหนึ่งเธอมักบอกบุญแทบไม่พักเลย เรี่ยไรทางอินเตอร์เน็ตด้วย เจอหน้าก็บอกบุญ ยังไลน์มาบอกให้ทำบุญอีก แล้วยังสั่งให้ตัวเองไปเข้าอินเตอร์เน็ตมาบอกคนอื่นอีก อย่างที่ว่า แม้แต่กรรมฐานขี้ขอเขาก็กลัวแล้ว แล้วเราไปบอกบุญๆ บอกบุญ เห็นไหม นี่เขาบอกว่าเราก็ต้องมีความเป็นอยู่ของเรา มันเหมือนการเบียดเบียนกัน การเบียดเบียนกันก็บอกที่พระพุทธเจ้าพูดไว้แล้ว เราแสวงหาสิ่งใดมาเราต้องใช้จ่ายของเรา คือเราต้องดำรงชีวิตของเราหนึ่ง เก็บไว้เพื่อประกอบการธุรกิจของเราหนึ่ง เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ของเราหนึ่ง สุดท้ายที่เหลือฝังดินไว้ คือทำบุญกุศลไว้
นี่เราทำบุญเขาไม่ได้วัดกันที่จำนวนตัวเลขว่าใครมากใครน้อย เขาวัดกันที่ค่าน้ำใจ ถ้าเราทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ ของเล็กน้อยก็มีค่ามาก เราทำ ทางโลกเขาเราทำ เห็นไหม เขาเจอทีไรก็บอกบุญทุกทีเลย เจอทีไรก็บอกบุญทุกทีเลย เจอทีไรก็บอกตลอดเลย นี่ถ้าทำบุญเอาหน้ามันจะได้อะไรล่ะ? นี่เพราะกรณีนี้ที่บอกทำบุญทิ้งเหว โยนทิ้งเหวไปเลยเพราะเราเสียสละไปแล้วเราไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น คนที่เขามีน้ำใจสูงนะ ดูสิเขาช่วยเหลือเจือจานสังคมเขาไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ เลย นั่นล่ะบุญร้อยเปอร์เซ็นต์ แหม ทำบุญแล้วประกาศชื่อแล้วประกาศชื่ออีก ต้องประกาศชื่อผมนะ เดี๋ยวผมไม่ได้ทำบุญนะ
อ๋อ บุญนี่มันอยู่ที่ประกาศเนาะ อ้าว กูประกาศเอ็งเท่าไรก็ได้ แต่เอ็งไม่มีตัวเงินเลยเอ็งได้อะไรขึ้นมา แต่โลกเขาเป็นกันแบบนั้น ถ้าเป็นแบบนั้น เราไม่ทำแบบนั้นเราไม่ปัญญาอ่อนไง เราไม่ปัญญาอ่อนของเรา ถ้าเราเป็นชาวพุทธแท้ เราทำของเราด้วยความเป็นจริงของเรา เราทำของเราด้วยน้ำใจของเรา เราทำเพื่อประโยชน์กับเรา นั้นทำบุญนะ ทำบุญนี่มันมีการเสียสละ มันเป็นการแสดงออกของน้ำใจ บุญในพุทธกาลนะในพระไตรปิฎก แม้แต่เราหลีกทางให้กัน เราให้ทางกันนี่ก็เป็นบุญ เราให้ทาง เราเดินสวนทางมา เราหลีกให้เขาซะให้เขาไปก่อน นี่บุญเกิดแล้ว
เราไม่ต้องเสียสละอะไรเลยนะ ไม่ใช่เสียสละให้ตระหนี่นะ คือว่าบางทีเรามีความจำเป็น เราไปไม่ทัน อนุโมทนาไปกับเขาก็ได้บุญแล้ว เห็นเขาทำคุณงามความดีกัน เห็นเขาทำบุญนะ อนุโมทนา เออ ดีใจ เออ เราขออนุโมทนาด้วย เราเห็นชอบด้วย นี่ก็บุญนะ อนุโมทนาทาน เห็นเขาทำดีแล้วเรามีความดีใจกับเขา แค่นี้ บุญแค่นี้ต้องไปเสียอะไรอีก ให้อภัยต่อกันก็เป็นบุญ อภัยทาน เห็นไหม คนนั้นทำผิดพลาดๆ เราให้อภัยเขา แต่ให้อภัยยาก ให้อภัยทาน โอ้โฮ มันค้างใจนะ มันติดใจ เห็นไหม เขตอภัยทาน เขาไม่เบียดเบียนกัน เขาไม่ทำร้ายกันเขตอภัยทาน แค่นี้มันก็ได้บุญแล้ว แต่ถ้าบอกบุญกันทุกทีเลย เข้าอินเตอร์เน็ตบอกเลย
กรณีนี้เราเห็นเป็นอย่างนี้ เพราะเราอ่านพระไตรปิฎกมา ฉะนั้น โดยที่ว่ามันจะมีคำถามมาบ่อยมากเลย หลวงพ่อ เลขบัญชีเท่าไร วัดนี้เลขบัญชีเท่าไร เลขบัญชีหลวงพ่อเท่าไร โทษนะเราบอกว่า เพราะว่าค่าใช้จ่ายในวัดนี้เราเป็นคนจัดการเอง กูหาเรื่องใส่ตัวกูเอง กูทำขึ้นมาเอง กูต้องรักษาของกูเอง แต่ถ้าใครจะมีแค่น้ำใจต่างๆ นั่นอีกเรื่องหนึ่ง โอ๋ย จะเอาเลขบัญชีไปลงอินเตอร์เน็ตไง เขาก็ขอ มีคนขอมาเยอะมาก แต่เราเห็นถึงกรณีอย่างนี้ กรณีที่ว่าคนมองในแง่ดี เขาก็มองในแง่ดี คนมองในแง่ลบ เขาก็มองในแง่ลบ
ฉะนั้น เราเป็นศากยบุตร เราเป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราพยายามทำตามเนื้อผ้า ทำดีที่สุด แต่สิ่งใดถ้ามันเป็นการเปิดทางให้เขาติเตียนก็ได้ ถ้าคนที่เขามีน้ำใจเขาก็ เออ หลวงพ่อมีภาระเนาะ ช่วยหลวงพ่อหน่อยๆ แล้วไอ้คนที่บอกว่าก็หลวงพ่อหาเรื่องเองแล้วมันจะกวนกูทำไมล่ะ? เวลาเขาไปบอกบุญใช่ไหม นี่เขาไปบอกบุญบอกว่านี่ไงหลวงพ่อเขาทำอย่างนั้นต้องมีค่าใช้จ่ายนะ เขาจะถามว่า หลวงพ่อเวลาว่างมากเกินไปใช่ไหม? หลวงพ่อไม่มีเรื่องทำใช่ไหมถึงทำให้มันเดือดร้อน แล้วก็มาเดือดร้อนกูด้วย นี่ไปเรี่ยไรเขาไง เราถึงไม่ให้
( อ่านต่อด้านล่าง)