http://www.god-so-loved-the-world.org/thai/why_does_god_allow_suffering_(thai).htm
ความทุกข์เป็นปัญหาหนึ่งของชีวิตที่ติดตามเราทุกคนอยู่เสมอ เมื่อเห็นเด็กที่เกิดมาตาบอด พิการหรือปัญญาอ่อน ก็เกิดคำถามขึ้นว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ในเมื่อเด็กคนนั้นไม่ได้ทำอะไรผิดแม้แต่น้อย
ชายหญิงที่มีลักษณะท่าทางดี กำลังมีชีวิตที่สดใสสวยงาม กลับต้องมาทนทรมานกับความเจ็บปวดจากโรคร้ายที่ไม่มีทางรักษา ท้ายที่สุดต้องนอนรอความตายเพียงอย่างเดียว เหตุใดต้องเป็นเขาหรือเธอ คนเหล่านี้คือคนที่ไม่ควรต้องมานั่งกังวลถึงเรื่องความตายเลยแม้แต่น้อย
คนนับล้านๆในโลกกำลังทนทุกข์กับความอดอยากและโรคภัยอยู่ในประเทศต่างๆที่มีประชากรหนาแน่นแต่กลับมีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อีกมากมายต้องเสียชีวิต ไม่ก็ไร้ที่อยู่อาศัยเพราะภัยจากน้ำท่วมและแผ่นดินไหว เหตุใดพวกเขาต้องมาพบเจอเรื่องร้ายเช่นนั้นด้วย
ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานและความตายถูกยัดเยียดให้กับคนนับล้านๆที่ไร้ที่พึ่ง อันเนื่องมาจากการปกครองอันกดขี่ของมนุษย์ด้วยกันเองและการทำลายล้างอันเป็นผลพวงของสงครามสมัยใหม่ ชีวิตนับไม่ถ้วนต้องสูญสิ้นไปในพริบตาโดยฝีมือของผู้ก่อการร้าย บางคนต้องรับทุกข์ทรมานจากการกระทำอันโหดเหี้ยมและการจี้เครื่องบินของสลัดอากาศ อีกทั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ในขณะที่ระดับของหายนะและภัยพิบัติทางธรรมชาติมักจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เครื่องบินโดยสารพาณิชย์ตก ท่อส่งน้ำมันรั่ว ไฟไหม้รถไฟใต้ดินทำให้มีคนติดอยู่นับร้อย ผู้คนต่างถามกันว่า “พระเจ้าทรงยอมให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร”
คำถามหลายประการที่เกิดขึ้นฟังดูสมเหตุสมผลดี แต่เมื่อมาพิจารณาคำถามเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมาโดยปราศจากอคติแล้ว เราจะพบความนัยบางอย่างแฝงอยู่ คำถามเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าความทุกข์ในชีวิตมนุษย์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจหรือความรักของพระเจ้าแต่อย่างใด กล่าวคือ ไม่ได้หมายความว่าพระองค์เป็นพระเจ้าแห่งความรักแล้ว แต่กลับไม่มีอำนาจที่จะห้ามปรามเรื่องร้ายต่างๆได้ และไม่ได้แปลว่าพระองค์ทรงมีอำนาจที่จะทำได้แต่ไม่ทรงประสงค์จะช่วยเรา พระองค์จึงไม่ใช่พระเจ้าแห่งความรัก ดูเหมือนผู้คนจะสรุปเอาว่าเป็นหน้าที่ของพระเจ้าแห่งความรักซึ่งก็เป็นพระเจ้าจอมโยธาด้วย ที่จะต้องปกป้องคุ้มครองเหล่าผู้ที่ไร้ความผิดให้พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา ข้อสรุปเช่นนี้ถูกต้องเป็นจริงหรือ
สัจธรรมแห่งชีวิต
ก่อนที่เราจะลงความเห็นใดๆ เราจำเป็นต้องพิจารณาความเป็นจริงบางประการเกี่ยวกับชีวิตเสียก่อน
1. มนุษย์เราอาศัยอยู่ในจักรวาลแห่งเหตุและผล และผลลัพธ์ของเหตุบางประการก็ไม่ใช่สิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น เพลิงก็เผาผลาญสิ่งที่อยู่ต่อหน้ามัน น้ำก็ดูดกลืนชีวิต เชื้อโรคร้ายก็ทำลายชีวิต ความจริงเหล่านี้ล้วนสอนใจเราทั้งสิ้น มนุษย์เราอยู่ในจักรวาลที่ซึ่งผลของการกระทำที่พวกเขาก่อไว้เป็นสิ่งที่พวกเขาเองไม่อาจหลบเลี่ยงได้ ฉะนั้นความรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาก่อขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยงได้เช่นกัน หากไม่มีสิ่งที่คอยถ่วงดุลอย่างเช่น “กฏเกณฑ์ธรรมชาติ” นี้ มนุษย์คงกระทำตามอำเภอใจได้โดยไม่ถูกลงโทษและไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดๆ พระเจ้าทรงสร้างจักรวาลให้เป็นเช่นนี้เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งความรู้สึกผิดชอบผู้สร้างมนุษย์ให้เป็นสิ่งสร้างที่มีความรับผิดชอบ ประกอบด้วยเสรีภาพในการเลือกว่าจะทำอย่างไรดีกับสิ่งต่างๆรอบๆตัว
2. การที่มนุษย์ปล่อยชีวิตให้ตกต่ำและใช้ชีวิตไปในทางที่ผิดก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีแห่งชีวิตของพวกเขาเอง และยังสร้างความลำบากให้กับคนรุ่นหลังแบบเลี่ยงไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นไปตามกฏของธรรมชาติได้สำแดงตัวเองออกมาเป็นความอ่อนแอต่างๆที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงความเสี่ยงที่จะได้รับโรคต่างๆมา ชีวิตต่างๆล้วนต้องแบกรับความอ่อนแอที่ถูกส่งต่อมาจากรุ่นต่อรุ่นอย่างเลี่ยงไม่ได้
3. ผลแห่งการกระทำของมนุษย์ไม่ใช่มีเพียงผลที่เป็นวัตถุเท่านั้น ความชั่วร้ายทางสังคมและทางการเมืองที่มนุษย์ได้ก่อขึ้นในประวัติศาสตร์ได้ทิ้งภาระผูกพันไว้ให้แก่ชนรุ่นหลังด้วย คนรุ่นปัจจุบันต่างก็ตกอยู่ในบ่วงแร้วแห่งผลของการกระทำในอดีต และแม้ว่าพวกเขาจะพยายามแก้ไขความชั่วร้ายอย่างหนึ่ง แต่กลับกลายเป็นว่ามีความชั่วร้ายอีกอย่างมาให้พวกเขาต้องแบกรับแทน “เรารู้อยู่ว่าบรรดาสรรพสิ่งที่ทรงสร้างนั้นกำลังคร่ำครวญและผจญความทุกข์ยากด้วยกันมาจนทุกวันนี้” (โรม 8:22)
ควรหรือที่มนุษย์จะได้รับการช่วยเหลือให้พ้นจากผลแห่งการกระทำของเขาเอง
เมื่อลองเอาความจริงเหล่านี้มาพิจารณาดู ก็ต้องถามว่า เรากำลังทำอะไรกันอยู่เมื่อเราเรียกร้องให้พระเจ้าขจัดความทุกข์ออกไปจากชีวิตเรา นี่เรากำลังขอให้พระเจ้า 1. ยกเว้นเราจากกฏธรรมชาติ หรือ 2. เปลี่ยนแปลงผลแห่งพันธุกรรม หรือ 3. มองข้ามผลของความโหดร้ายที่มนุษย์เรากระทำต่อกันหรือไร เรามีสิทธิเช่นนั้นหรือที่จะคาดหวังว่าพระเจ้าจะทรงช่วยมนุษย์จากผลแห่งการกระทำของตัวเขาเอง จักรวาลนี้จะเป็นสถานที่แห่งศีลธธรรมได้หรือถ้าพระองค์กระทำเช่นนั้น
คำถามเหล่านี้อาจเหมาะสมที่จะถามหากอยู่ในสถานการณ์ที่น้ำมือของมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แผ่นดินไหว พายุ ความอดอยากและอุทกภัย ล้วนแล้วแต่ถูกขนานนามว่าเป็น “ฝีพระหัตถ์ของพระเจ้า” เพราะปกติแล้วเราไม่อาจ อธิบายสาเหตุที่ต้องเกิดสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้นหากเรามองลึกลงไปจากการกระทำของมนุษย์สู่เรื่องของภัยพิบัติทางธรรมชาติ เราจะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งผู้บริสุทธิ์และผู้ร้ายไม่ต่างกัน ทันทีที่เราเริ่มตั้งคำถามถึงความทุกข์ที่บรรดาเหยื่อผู้บริสุทธิ์ต้องพบเจอในเหตุการณ์ภัยพิบัติเหล่านั้นก็นำไปสู่ข้อข้องใจประการใหม่ นี่เราคิดว่าภัยพิบัติดังกล่าวน่าจะเกิดเฉพาะกับคนบางกลุ่มที่สมควรจะรับเคราะห์เช่นนั้นหรือ
เป็นความชั่วร้ายหรืออาการของโรคกันแน่
มีสมมติฐานที่สำคัญแฝงอยู่ในแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ตามที่เคยสำรวจมา นั่นคือ การทนทุกข์เป็นสิ่งชั่วร้ายในตัวของมันเอง เป็นความเชื่อนี้เองที่สอนว่าการที่ต้องทนทุกข์เป็นส่วนสำคัญของบาปกรรมชั่วที่คนเราเคยทำไว้ เป็นความเชื่อพื้นฐานของพุทธศาสนา แต่มุมมองของพระคัมภีร์กลับคิดเห็นต่างไปตั้งแต่ในเรื่องความเชื่อพื้นฐาน กล่าวคือ การทนทุกข์มิใช่บาปกรรมในตัวมันเอง แต่เป็นอาการที่ส่อถึงสิ่งชั่วร้ายที่อยู่ลึกลงไปอีก พระคัมภีร์ให้ภาพการทนทุกข์ว่าเป็นผลของความบาป ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นบาปที่เจ้าตัวก่อไว้แล้วมารับทุกข์ทรมานในภายหลัง แต่อาจเป็นความบาปชั่วที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติและความบาปที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ ที่มาของมันได้รับการกล่าวถึงโดยอัครสาวกเปาโลว่าเป็นดังนี้
“เหตุฉะนั้นเช่นเดียวกับที่บาปได้เข้ามาในโลกเพราะคนๆเดียวและความตายก็เกิดมาเพราะบาปนั้นและความตายก็ได้แผ่ไปถึงมวลมนุษย์ทุกคนเพราะมนุษย์ทุกคนทำบาป” (โรม 5:12)
คำตัดสินโทษที่พระเจ้าทรงประทานแก่หญิงนั้นหลังจากที่นางไม่เชื่อฟังพระองค์ในสวนเอเดน คือ
“เราจะเพิ่มความทุกข์ลำบากขึ้นมากมายในเมื่อเจ้ามีครรภ์และคลอดบุตร ถึงกระนั้นเจ้ายังปรารถนาสามีและเขาจะปกครองตัวเจ้า”
และพระเจ้าตรัสแก่ชายนั้นว่า
“เจ้าจะต้องหากินด้วยเหงื่ออาบหน้าจนเจ้ากลับเป็นดินไปเพราะเราสร้างเจ้ามาจากดินเจ้าเป็นผงคลีดินและจะต้องกลับเป็นผงคลีดินดังเดิม” (ปฐมกาล 3:16-19)
คำสอนนั้นช่างเรียบง่าย เพราะการไม่เชื่อฟังของมนุษย์ สิ่งสร้างของพระเจ้าจึงต้องพรากจากองค์พระผู้สร้างของพวกเขา ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์จึงขาดจากกัน ความบาปแรกทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อทุกชีวิตโดยอาศัยการทำบาปซึ่งมนุษย์คุ้นเคยดีเป็นเครื่องมือ ความตายจึงเกิดขึ้นกับคนทั้งโลก พระเจ้าไม่ได้ทรงแก้ไขสิ่งนี้เพื่อผู้หนึ่งผู้ใด พระคัมภีร์สอนว่ามนุษย์ถูกปล่อยให้กระทำตามหนทางที่เขาเห็นควรและให้เป็นไปตามกฏธรรมชาติ แม้จะมีบางครั้งที่พระเจ้าบันดาลให้เกิดมหันตภัยแก่มนุษย์เพื่อเป็นการลงโทษพวกเขาและชำระล้างผืนโลกให้สะอาด ตัวอย่างที่สำคัญคือน้ำท่วมโลกในสมัยของโนอาห์
ในขณะเดียวกัน ความจริงอีกประการที่ปรากฏในพระคัมภีร์ก็คือ สำหรับผู้ที่อุทิศชีวิตรับใช้พระเจ้า การทนทุกข์กลับมีความหมายใหม่ นั่นคือ พวกเขากลับมามีความสัมพันธ์ใหม่กลับพระผู้สร้างของพวกเขา และเรียนรู้ที่จะ มองโศกนาฏกรรมด้วยมุมมองใหม่ๆ แล้วมันเป็นอย่างไรนะหรือ
ประสบการณ์ของผู้ที่รักพระเจ้าคนหนึ่ง
คำตอบของคำถามข้างต้นปรากฏชัดในชีวิตของโยบเพราะเขาเป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อพระเจ้าแต่กลับต้องมาพบเจอกับภัยพิบัติที่ทำให้เขาต้องสูญเสียฝูงสัตว์มากมายอันเป็นแหล่งของความมั่งคั่งของเขาไป เขาสูญเสียบุตรชายหญิงทั้งหมดไปพร้อมกัน และซ้ำร้ายต้องมาทนทุกข์กับโรคร้ายที่สร้างความทรมานให้เขาอย่างมาก เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เขาต้องแยกตัวออกจากสังคม แต่กระนั้น เขากลับกล่าวว่า “แต่ท่านตอบนางว่า “เราจะรับสิ่งดีจากพระหัตถ์ของพระเจ้า และจะไม่รับของไม่ดีบ้างหรือ” (โยบ 2:10) เขาระลึกได้ถึงหลักสำคัญที่ว่าเขาไม่มีสิทธิหวังแต่สิ่งที่ดีจากพระเจ้าเพียงอย่างเดียว เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเขาที่จะมาตัดสินว่าพระเจ้าจะต้องทรงทำสิ่งใดบ้าง
ปัญหาที่สร้างความเจ็บปวด
แล้วเวลานั้นก็มาถึง เมื่อความทุกข์นั้นสาหัสจนเกินจะทานทนไหว ความตายกลับกลายเป็นสิ่งหอมหวาน ด้วยความเจ็บปวดและสับสน เขาถามว่า จะมีชีวิตอยู่ไปทำไมหากจะต้องอยู่เพียงเพื่อทนทุกข์ พระเจ้าผู้ทรงสร้างเขาขึ้นมาสามารถทำลายเขาลงเสียเหมือนอย่างของเล่นที่เราโยนทิ้งมิได้หรือ
บรรดามิตรสหายของโยบต่างให้เหตุผลว่าจะต้องมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงระหว่างความบาปของคนเรากับการที่คนเราต้องมาทนทุกข์อย่างแน่นอน ดังนั้นพวกเขาจึงสรุปว่าโยบต้องทำบาปที่ร้ายแรงเป็นแน่จึงต้องประสบกับเรื่องร้ายมากมายกายกองถึงเพียงนี้ โยบมั่นใจในความซื่อสัตย์ของตัวเขาเอง แม้เขาจะเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง แต่เขาก็รู้ดีว่าตัวเขาไม่ผิดตามที่มิตรสหายพยายามจะโยงเขาเข้าไปผูกกับเรื่องความบาปร้ายแรงนั้น เขาไม่จำเป็นต้องมาเจอกับปรัชญาจากบรรดามิตรสหายเยี่ยงนี้อีกเพื่อที่จะรู้สึกทนทุกข์ทรมานเพราะความไม่เป็นธรรมมากขึ้นไปกว่านี้ พระเจ้าได้ทรงเลือกเขามาเป็นเป้าไว้ซ้อมยิงหรือไรกัน เพราะเมื่อเทียบกับคนอื่นๆแล้ว ความทุกข์ของเขาดูช่างไม่ได้สัดส่วนกับความผิดใดๆที่เขาได้ทำ สำหรับเขาแล้ว ความทุกข์ของเขามีความหมายเพียงว่าพระเจ้าทรงเป็นศัตรูกับเขาเสียแล้ว และปัญหาเรื่องความดีความชั่วนี้ยิ่งทำให้เขาขมขื่นมากขึ้นไปอีก “เต็นท์ของโจร”ก็อยู่อย่างสงบสุข เหตุใดผู้ชอบธรรมกลับต้องทนทุกข์ หากพระเจ้าจะตัดสินเขา ถูกหรือที่จะใช้มาตรฐานที่มนุษย์เองยังไม่อาจทำได้มาตัดสินเขา
เหล่ามิตรสหายไม่อาจทำให้ความชอบธรรมของโยบสั่นคลอนได้ และท้ายที่สุดพวกเขาก็ยุติการถกเถียงนั้นลง จากการถกเถียงนั้นเราจะเห็นสิ่งที่อยู่ในใจโยบลึกๆ นั่นคือ ความเชื่อในพระเจ้า ทั้งๆที่ถูกเพื่อนรุมถามด้วยคำถามที่ท้าทายความเชื่อของเขา แต่ด้วยความเชื่อในพระยุติธรรมของพระเจ้า โยบจึงมีความหวังว่าในอีกชีวิตหนึ่ง หากมิใช่ขณะนี้ พระเจ้าในฐานะพระผู้ไถ่จะทรงแก้ต่างให้เขาและอยู่ฝ่ายเขา ดังนั้นเขาจึงได้พาเราไปพบกับองค์ประกอบใหม่ในการอภิปรายเมื่อเขามองข้ามความตายไปยังการเป็นขึ้นมาจากความตายและการกลับคืนดีกับพระเจ้า ความเชื่อนั้นซึ่งเผยเป็นนัยผ่านชีวิตของโยบได้รับการเปิดเผยอย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้นในข้อพระธรรมตอนอื่นๆทั้งในภาคพันธสัญญาเดิมและภาคพันธสัญญาใหม่ ก่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆแก่ปัญหานี้ แต่กระนั้นมันก็ไม่ได้อธิบายว่าเหตุใดทั้งชายและหญิงต้องพบเจอกับความทุกข์ในชีวิตด้วย
เหตุใดพระเจ้าจึงยอมให้เกิดความทุกข์ยากขึ้นกับเรา คำตอบของพระคัมภีร์ต่อความทุกข์ของมนุษย์ Why does God allow suffering?
ความทุกข์เป็นปัญหาหนึ่งของชีวิตที่ติดตามเราทุกคนอยู่เสมอ เมื่อเห็นเด็กที่เกิดมาตาบอด พิการหรือปัญญาอ่อน ก็เกิดคำถามขึ้นว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ในเมื่อเด็กคนนั้นไม่ได้ทำอะไรผิดแม้แต่น้อย
ชายหญิงที่มีลักษณะท่าทางดี กำลังมีชีวิตที่สดใสสวยงาม กลับต้องมาทนทรมานกับความเจ็บปวดจากโรคร้ายที่ไม่มีทางรักษา ท้ายที่สุดต้องนอนรอความตายเพียงอย่างเดียว เหตุใดต้องเป็นเขาหรือเธอ คนเหล่านี้คือคนที่ไม่ควรต้องมานั่งกังวลถึงเรื่องความตายเลยแม้แต่น้อย
คนนับล้านๆในโลกกำลังทนทุกข์กับความอดอยากและโรคภัยอยู่ในประเทศต่างๆที่มีประชากรหนาแน่นแต่กลับมีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อีกมากมายต้องเสียชีวิต ไม่ก็ไร้ที่อยู่อาศัยเพราะภัยจากน้ำท่วมและแผ่นดินไหว เหตุใดพวกเขาต้องมาพบเจอเรื่องร้ายเช่นนั้นด้วย
ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานและความตายถูกยัดเยียดให้กับคนนับล้านๆที่ไร้ที่พึ่ง อันเนื่องมาจากการปกครองอันกดขี่ของมนุษย์ด้วยกันเองและการทำลายล้างอันเป็นผลพวงของสงครามสมัยใหม่ ชีวิตนับไม่ถ้วนต้องสูญสิ้นไปในพริบตาโดยฝีมือของผู้ก่อการร้าย บางคนต้องรับทุกข์ทรมานจากการกระทำอันโหดเหี้ยมและการจี้เครื่องบินของสลัดอากาศ อีกทั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ในขณะที่ระดับของหายนะและภัยพิบัติทางธรรมชาติมักจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เครื่องบินโดยสารพาณิชย์ตก ท่อส่งน้ำมันรั่ว ไฟไหม้รถไฟใต้ดินทำให้มีคนติดอยู่นับร้อย ผู้คนต่างถามกันว่า “พระเจ้าทรงยอมให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร”
คำถามหลายประการที่เกิดขึ้นฟังดูสมเหตุสมผลดี แต่เมื่อมาพิจารณาคำถามเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมาโดยปราศจากอคติแล้ว เราจะพบความนัยบางอย่างแฝงอยู่ คำถามเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าความทุกข์ในชีวิตมนุษย์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจหรือความรักของพระเจ้าแต่อย่างใด กล่าวคือ ไม่ได้หมายความว่าพระองค์เป็นพระเจ้าแห่งความรักแล้ว แต่กลับไม่มีอำนาจที่จะห้ามปรามเรื่องร้ายต่างๆได้ และไม่ได้แปลว่าพระองค์ทรงมีอำนาจที่จะทำได้แต่ไม่ทรงประสงค์จะช่วยเรา พระองค์จึงไม่ใช่พระเจ้าแห่งความรัก ดูเหมือนผู้คนจะสรุปเอาว่าเป็นหน้าที่ของพระเจ้าแห่งความรักซึ่งก็เป็นพระเจ้าจอมโยธาด้วย ที่จะต้องปกป้องคุ้มครองเหล่าผู้ที่ไร้ความผิดให้พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา ข้อสรุปเช่นนี้ถูกต้องเป็นจริงหรือ
สัจธรรมแห่งชีวิต
ก่อนที่เราจะลงความเห็นใดๆ เราจำเป็นต้องพิจารณาความเป็นจริงบางประการเกี่ยวกับชีวิตเสียก่อน
1. มนุษย์เราอาศัยอยู่ในจักรวาลแห่งเหตุและผล และผลลัพธ์ของเหตุบางประการก็ไม่ใช่สิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น เพลิงก็เผาผลาญสิ่งที่อยู่ต่อหน้ามัน น้ำก็ดูดกลืนชีวิต เชื้อโรคร้ายก็ทำลายชีวิต ความจริงเหล่านี้ล้วนสอนใจเราทั้งสิ้น มนุษย์เราอยู่ในจักรวาลที่ซึ่งผลของการกระทำที่พวกเขาก่อไว้เป็นสิ่งที่พวกเขาเองไม่อาจหลบเลี่ยงได้ ฉะนั้นความรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาก่อขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยงได้เช่นกัน หากไม่มีสิ่งที่คอยถ่วงดุลอย่างเช่น “กฏเกณฑ์ธรรมชาติ” นี้ มนุษย์คงกระทำตามอำเภอใจได้โดยไม่ถูกลงโทษและไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดๆ พระเจ้าทรงสร้างจักรวาลให้เป็นเช่นนี้เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งความรู้สึกผิดชอบผู้สร้างมนุษย์ให้เป็นสิ่งสร้างที่มีความรับผิดชอบ ประกอบด้วยเสรีภาพในการเลือกว่าจะทำอย่างไรดีกับสิ่งต่างๆรอบๆตัว
2. การที่มนุษย์ปล่อยชีวิตให้ตกต่ำและใช้ชีวิตไปในทางที่ผิดก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีแห่งชีวิตของพวกเขาเอง และยังสร้างความลำบากให้กับคนรุ่นหลังแบบเลี่ยงไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นไปตามกฏของธรรมชาติได้สำแดงตัวเองออกมาเป็นความอ่อนแอต่างๆที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงความเสี่ยงที่จะได้รับโรคต่างๆมา ชีวิตต่างๆล้วนต้องแบกรับความอ่อนแอที่ถูกส่งต่อมาจากรุ่นต่อรุ่นอย่างเลี่ยงไม่ได้
3. ผลแห่งการกระทำของมนุษย์ไม่ใช่มีเพียงผลที่เป็นวัตถุเท่านั้น ความชั่วร้ายทางสังคมและทางการเมืองที่มนุษย์ได้ก่อขึ้นในประวัติศาสตร์ได้ทิ้งภาระผูกพันไว้ให้แก่ชนรุ่นหลังด้วย คนรุ่นปัจจุบันต่างก็ตกอยู่ในบ่วงแร้วแห่งผลของการกระทำในอดีต และแม้ว่าพวกเขาจะพยายามแก้ไขความชั่วร้ายอย่างหนึ่ง แต่กลับกลายเป็นว่ามีความชั่วร้ายอีกอย่างมาให้พวกเขาต้องแบกรับแทน “เรารู้อยู่ว่าบรรดาสรรพสิ่งที่ทรงสร้างนั้นกำลังคร่ำครวญและผจญความทุกข์ยากด้วยกันมาจนทุกวันนี้” (โรม 8:22)
ควรหรือที่มนุษย์จะได้รับการช่วยเหลือให้พ้นจากผลแห่งการกระทำของเขาเอง
เมื่อลองเอาความจริงเหล่านี้มาพิจารณาดู ก็ต้องถามว่า เรากำลังทำอะไรกันอยู่เมื่อเราเรียกร้องให้พระเจ้าขจัดความทุกข์ออกไปจากชีวิตเรา นี่เรากำลังขอให้พระเจ้า 1. ยกเว้นเราจากกฏธรรมชาติ หรือ 2. เปลี่ยนแปลงผลแห่งพันธุกรรม หรือ 3. มองข้ามผลของความโหดร้ายที่มนุษย์เรากระทำต่อกันหรือไร เรามีสิทธิเช่นนั้นหรือที่จะคาดหวังว่าพระเจ้าจะทรงช่วยมนุษย์จากผลแห่งการกระทำของตัวเขาเอง จักรวาลนี้จะเป็นสถานที่แห่งศีลธธรรมได้หรือถ้าพระองค์กระทำเช่นนั้น
คำถามเหล่านี้อาจเหมาะสมที่จะถามหากอยู่ในสถานการณ์ที่น้ำมือของมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แผ่นดินไหว พายุ ความอดอยากและอุทกภัย ล้วนแล้วแต่ถูกขนานนามว่าเป็น “ฝีพระหัตถ์ของพระเจ้า” เพราะปกติแล้วเราไม่อาจ อธิบายสาเหตุที่ต้องเกิดสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้นหากเรามองลึกลงไปจากการกระทำของมนุษย์สู่เรื่องของภัยพิบัติทางธรรมชาติ เราจะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งผู้บริสุทธิ์และผู้ร้ายไม่ต่างกัน ทันทีที่เราเริ่มตั้งคำถามถึงความทุกข์ที่บรรดาเหยื่อผู้บริสุทธิ์ต้องพบเจอในเหตุการณ์ภัยพิบัติเหล่านั้นก็นำไปสู่ข้อข้องใจประการใหม่ นี่เราคิดว่าภัยพิบัติดังกล่าวน่าจะเกิดเฉพาะกับคนบางกลุ่มที่สมควรจะรับเคราะห์เช่นนั้นหรือ
เป็นความชั่วร้ายหรืออาการของโรคกันแน่
มีสมมติฐานที่สำคัญแฝงอยู่ในแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ตามที่เคยสำรวจมา นั่นคือ การทนทุกข์เป็นสิ่งชั่วร้ายในตัวของมันเอง เป็นความเชื่อนี้เองที่สอนว่าการที่ต้องทนทุกข์เป็นส่วนสำคัญของบาปกรรมชั่วที่คนเราเคยทำไว้ เป็นความเชื่อพื้นฐานของพุทธศาสนา แต่มุมมองของพระคัมภีร์กลับคิดเห็นต่างไปตั้งแต่ในเรื่องความเชื่อพื้นฐาน กล่าวคือ การทนทุกข์มิใช่บาปกรรมในตัวมันเอง แต่เป็นอาการที่ส่อถึงสิ่งชั่วร้ายที่อยู่ลึกลงไปอีก พระคัมภีร์ให้ภาพการทนทุกข์ว่าเป็นผลของความบาป ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นบาปที่เจ้าตัวก่อไว้แล้วมารับทุกข์ทรมานในภายหลัง แต่อาจเป็นความบาปชั่วที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติและความบาปที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ ที่มาของมันได้รับการกล่าวถึงโดยอัครสาวกเปาโลว่าเป็นดังนี้
“เหตุฉะนั้นเช่นเดียวกับที่บาปได้เข้ามาในโลกเพราะคนๆเดียวและความตายก็เกิดมาเพราะบาปนั้นและความตายก็ได้แผ่ไปถึงมวลมนุษย์ทุกคนเพราะมนุษย์ทุกคนทำบาป” (โรม 5:12)
คำตัดสินโทษที่พระเจ้าทรงประทานแก่หญิงนั้นหลังจากที่นางไม่เชื่อฟังพระองค์ในสวนเอเดน คือ
“เราจะเพิ่มความทุกข์ลำบากขึ้นมากมายในเมื่อเจ้ามีครรภ์และคลอดบุตร ถึงกระนั้นเจ้ายังปรารถนาสามีและเขาจะปกครองตัวเจ้า”
และพระเจ้าตรัสแก่ชายนั้นว่า
“เจ้าจะต้องหากินด้วยเหงื่ออาบหน้าจนเจ้ากลับเป็นดินไปเพราะเราสร้างเจ้ามาจากดินเจ้าเป็นผงคลีดินและจะต้องกลับเป็นผงคลีดินดังเดิม” (ปฐมกาล 3:16-19)
คำสอนนั้นช่างเรียบง่าย เพราะการไม่เชื่อฟังของมนุษย์ สิ่งสร้างของพระเจ้าจึงต้องพรากจากองค์พระผู้สร้างของพวกเขา ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์จึงขาดจากกัน ความบาปแรกทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อทุกชีวิตโดยอาศัยการทำบาปซึ่งมนุษย์คุ้นเคยดีเป็นเครื่องมือ ความตายจึงเกิดขึ้นกับคนทั้งโลก พระเจ้าไม่ได้ทรงแก้ไขสิ่งนี้เพื่อผู้หนึ่งผู้ใด พระคัมภีร์สอนว่ามนุษย์ถูกปล่อยให้กระทำตามหนทางที่เขาเห็นควรและให้เป็นไปตามกฏธรรมชาติ แม้จะมีบางครั้งที่พระเจ้าบันดาลให้เกิดมหันตภัยแก่มนุษย์เพื่อเป็นการลงโทษพวกเขาและชำระล้างผืนโลกให้สะอาด ตัวอย่างที่สำคัญคือน้ำท่วมโลกในสมัยของโนอาห์
ในขณะเดียวกัน ความจริงอีกประการที่ปรากฏในพระคัมภีร์ก็คือ สำหรับผู้ที่อุทิศชีวิตรับใช้พระเจ้า การทนทุกข์กลับมีความหมายใหม่ นั่นคือ พวกเขากลับมามีความสัมพันธ์ใหม่กลับพระผู้สร้างของพวกเขา และเรียนรู้ที่จะ มองโศกนาฏกรรมด้วยมุมมองใหม่ๆ แล้วมันเป็นอย่างไรนะหรือ
ประสบการณ์ของผู้ที่รักพระเจ้าคนหนึ่ง
คำตอบของคำถามข้างต้นปรากฏชัดในชีวิตของโยบเพราะเขาเป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อพระเจ้าแต่กลับต้องมาพบเจอกับภัยพิบัติที่ทำให้เขาต้องสูญเสียฝูงสัตว์มากมายอันเป็นแหล่งของความมั่งคั่งของเขาไป เขาสูญเสียบุตรชายหญิงทั้งหมดไปพร้อมกัน และซ้ำร้ายต้องมาทนทุกข์กับโรคร้ายที่สร้างความทรมานให้เขาอย่างมาก เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เขาต้องแยกตัวออกจากสังคม แต่กระนั้น เขากลับกล่าวว่า “แต่ท่านตอบนางว่า “เราจะรับสิ่งดีจากพระหัตถ์ของพระเจ้า และจะไม่รับของไม่ดีบ้างหรือ” (โยบ 2:10) เขาระลึกได้ถึงหลักสำคัญที่ว่าเขาไม่มีสิทธิหวังแต่สิ่งที่ดีจากพระเจ้าเพียงอย่างเดียว เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเขาที่จะมาตัดสินว่าพระเจ้าจะต้องทรงทำสิ่งใดบ้าง
ปัญหาที่สร้างความเจ็บปวด
แล้วเวลานั้นก็มาถึง เมื่อความทุกข์นั้นสาหัสจนเกินจะทานทนไหว ความตายกลับกลายเป็นสิ่งหอมหวาน ด้วยความเจ็บปวดและสับสน เขาถามว่า จะมีชีวิตอยู่ไปทำไมหากจะต้องอยู่เพียงเพื่อทนทุกข์ พระเจ้าผู้ทรงสร้างเขาขึ้นมาสามารถทำลายเขาลงเสียเหมือนอย่างของเล่นที่เราโยนทิ้งมิได้หรือ
บรรดามิตรสหายของโยบต่างให้เหตุผลว่าจะต้องมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงระหว่างความบาปของคนเรากับการที่คนเราต้องมาทนทุกข์อย่างแน่นอน ดังนั้นพวกเขาจึงสรุปว่าโยบต้องทำบาปที่ร้ายแรงเป็นแน่จึงต้องประสบกับเรื่องร้ายมากมายกายกองถึงเพียงนี้ โยบมั่นใจในความซื่อสัตย์ของตัวเขาเอง แม้เขาจะเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง แต่เขาก็รู้ดีว่าตัวเขาไม่ผิดตามที่มิตรสหายพยายามจะโยงเขาเข้าไปผูกกับเรื่องความบาปร้ายแรงนั้น เขาไม่จำเป็นต้องมาเจอกับปรัชญาจากบรรดามิตรสหายเยี่ยงนี้อีกเพื่อที่จะรู้สึกทนทุกข์ทรมานเพราะความไม่เป็นธรรมมากขึ้นไปกว่านี้ พระเจ้าได้ทรงเลือกเขามาเป็นเป้าไว้ซ้อมยิงหรือไรกัน เพราะเมื่อเทียบกับคนอื่นๆแล้ว ความทุกข์ของเขาดูช่างไม่ได้สัดส่วนกับความผิดใดๆที่เขาได้ทำ สำหรับเขาแล้ว ความทุกข์ของเขามีความหมายเพียงว่าพระเจ้าทรงเป็นศัตรูกับเขาเสียแล้ว และปัญหาเรื่องความดีความชั่วนี้ยิ่งทำให้เขาขมขื่นมากขึ้นไปอีก “เต็นท์ของโจร”ก็อยู่อย่างสงบสุข เหตุใดผู้ชอบธรรมกลับต้องทนทุกข์ หากพระเจ้าจะตัดสินเขา ถูกหรือที่จะใช้มาตรฐานที่มนุษย์เองยังไม่อาจทำได้มาตัดสินเขา
เหล่ามิตรสหายไม่อาจทำให้ความชอบธรรมของโยบสั่นคลอนได้ และท้ายที่สุดพวกเขาก็ยุติการถกเถียงนั้นลง จากการถกเถียงนั้นเราจะเห็นสิ่งที่อยู่ในใจโยบลึกๆ นั่นคือ ความเชื่อในพระเจ้า ทั้งๆที่ถูกเพื่อนรุมถามด้วยคำถามที่ท้าทายความเชื่อของเขา แต่ด้วยความเชื่อในพระยุติธรรมของพระเจ้า โยบจึงมีความหวังว่าในอีกชีวิตหนึ่ง หากมิใช่ขณะนี้ พระเจ้าในฐานะพระผู้ไถ่จะทรงแก้ต่างให้เขาและอยู่ฝ่ายเขา ดังนั้นเขาจึงได้พาเราไปพบกับองค์ประกอบใหม่ในการอภิปรายเมื่อเขามองข้ามความตายไปยังการเป็นขึ้นมาจากความตายและการกลับคืนดีกับพระเจ้า ความเชื่อนั้นซึ่งเผยเป็นนัยผ่านชีวิตของโยบได้รับการเปิดเผยอย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้นในข้อพระธรรมตอนอื่นๆทั้งในภาคพันธสัญญาเดิมและภาคพันธสัญญาใหม่ ก่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆแก่ปัญหานี้ แต่กระนั้นมันก็ไม่ได้อธิบายว่าเหตุใดทั้งชายและหญิงต้องพบเจอกับความทุกข์ในชีวิตด้วย