ผมลองไล่ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ ปปช.ออกหนังสือเรียกในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ให้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เวลา 14.00 น.
http://thaipublica.org/2014/02/nacc-to-charge-pm-yingluck-shinawatra/
แล้วเมื่อวันที่ 4 มีนาคม นายกฯ ได้ทำหนังสือ ขอให้ทนายผู้รับมอบอำนาจ เข้าไปตรวจหลักฐาน ซึ่ง ปปช.ก็ได้อนุญาตตามนั้น
ซึ่งเป็นที่มาของการได้เอกสาร 49 แผ่น ที่เป็นข่าว
จริง ๆ ประเด็นเรื่องนี้ ควรเริ่มต้นจากการพิจารณาว่า ข้อกล่าวหาที่นายกฯได้รับมีประเด็นอะไรอย่างไร ซึ่งจริง ๆ แล้ว ปปช.ก็อธิบายอยู่แล้วว่า การแจ้งข้อกล่าวหานั้น ใช้หลักฐานอะไรในการพิจารณาอยู่แล้ว
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394968066
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395035501
ดังนั้นในการจะแก้ข้อกล่าวหา ก็มองในเอกสารเหล่านี้เป็นหลักก่อน น่าจะเป็นแนวทางสู้คดีทีเหมาะสม แล้วค่อยขยายหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง มาหักล้างประเด็นที่ ปปช.อาจจะยกมากล่าวหา ที่มีอยู่ในเอกสารต่าง ๆ ที่อ้างถึง น่าจะทำให้การดำเนินการมีแนวทางที่ชัดเจน
ไม่ใช่หาเรื่องติว่า เอกสารมีน้อย ต้องมีเยอะ ๆ เพื่อเป็นข้ออ้างในลำดับต่อไป ในการขอยืดเวลาออกไปเรื่อย ๆ เท่านั้น
เพราะเมื่อได้เอกสารล็อตแรกมาแล้ว ก็ติว่ามีไม่ครบ ก็มีการขอเพิ่มเติมไป และก็เป็นที่มาของเอกสารจำนวน 280 แผ่น ที่ได้มาในตอนหลัง
http://m.posttoday.com/articlestory.php?id=285851
ซึ่งดูจากรายการเอกสารที่ได้มา ก็ต้องเข้าใจว่า มันเป็นเอกสารที่นายกฯ ต้องเคยอ่าน เคยฟังอยู่แล้ว
และเมื่อบอกว่า ไม่ตรงกับที่ขอไป น่าจะมีการแถลงข่าวให้ชัดเจนเลยว่า ที่ขอเอกสาร 19 รายการนั้นคืออะไร เพื่อให้สาธารณชน ช่วยตรวจสอบความโปร่งใส ของปปช.ไปด้วยกัน
ไม่ใช่เอาแต่พูดลอย ๆ เหมือนว่า ปปช.กั๊กข้อมูล หรือไม่มีข้อมูลนั้นจริง
เพราะทางปปช.ก็ยังไม่รู้เลยว่า เอกสารที่ขอ 19 รายการนั้นคืออะไร
ถึงตอนนี้ ก็คงต้องรอดูว่า พรุ่งนี้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์จะเข้าชี้แจงกับ ปปช.เอง หรือ ส่งเป็นเอกสารไป หรือไม่ชี้แจงใด ๆ เลย ด้วยข้ออ้างว่าเอกสารไม่ครบ
แต่เรื่องนี้จริง ๆ การแจ้งข้อกล่าวหาครั้งนี้ เป็นการกล่าวหาว่า นายกฯ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียหายกับรัฐ ซึ่งตรงนี้ ถ้ามองกันตรงไปตรงมา รัฐเกิดความเสียหายจริง และนายกฯ ก็ไม่ได้ยับยั้งจริง
ดังนั้น ข้อหานี้ เป็นข้อหาที่แก้ตัวได้ลำบาก ถึงมีหลักฐานมากมายขนาดไหน ก็คงแก้ข้อกล่าวหาได้ยาก
ก็คงเหลือทางรอดเพียงทางเดียว ก็คือการกล่าวหา ปปช.ว่า ไม่ยุติธรรม เร่งรัดคดี จ้องหาเรื่อง
เพื่อสร้างความชอบธรรม ในการไม่ไปชี้แจงข้อกล่าวหา และสามารถใช้ได้ต่อเนื่อง เมื่อมีการตัดสินออกมาแล้ว ยังบอกได้ว่า เพราะไม่มีโอกาสไปชี้แจง
ยิ่งลักษณ์กับประเด็นเรื่องเอกสาร
http://thaipublica.org/2014/02/nacc-to-charge-pm-yingluck-shinawatra/
แล้วเมื่อวันที่ 4 มีนาคม นายกฯ ได้ทำหนังสือ ขอให้ทนายผู้รับมอบอำนาจ เข้าไปตรวจหลักฐาน ซึ่ง ปปช.ก็ได้อนุญาตตามนั้น
ซึ่งเป็นที่มาของการได้เอกสาร 49 แผ่น ที่เป็นข่าว
จริง ๆ ประเด็นเรื่องนี้ ควรเริ่มต้นจากการพิจารณาว่า ข้อกล่าวหาที่นายกฯได้รับมีประเด็นอะไรอย่างไร ซึ่งจริง ๆ แล้ว ปปช.ก็อธิบายอยู่แล้วว่า การแจ้งข้อกล่าวหานั้น ใช้หลักฐานอะไรในการพิจารณาอยู่แล้ว
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394968066
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395035501
ดังนั้นในการจะแก้ข้อกล่าวหา ก็มองในเอกสารเหล่านี้เป็นหลักก่อน น่าจะเป็นแนวทางสู้คดีทีเหมาะสม แล้วค่อยขยายหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง มาหักล้างประเด็นที่ ปปช.อาจจะยกมากล่าวหา ที่มีอยู่ในเอกสารต่าง ๆ ที่อ้างถึง น่าจะทำให้การดำเนินการมีแนวทางที่ชัดเจน
ไม่ใช่หาเรื่องติว่า เอกสารมีน้อย ต้องมีเยอะ ๆ เพื่อเป็นข้ออ้างในลำดับต่อไป ในการขอยืดเวลาออกไปเรื่อย ๆ เท่านั้น
เพราะเมื่อได้เอกสารล็อตแรกมาแล้ว ก็ติว่ามีไม่ครบ ก็มีการขอเพิ่มเติมไป และก็เป็นที่มาของเอกสารจำนวน 280 แผ่น ที่ได้มาในตอนหลัง
http://m.posttoday.com/articlestory.php?id=285851
ซึ่งดูจากรายการเอกสารที่ได้มา ก็ต้องเข้าใจว่า มันเป็นเอกสารที่นายกฯ ต้องเคยอ่าน เคยฟังอยู่แล้ว
และเมื่อบอกว่า ไม่ตรงกับที่ขอไป น่าจะมีการแถลงข่าวให้ชัดเจนเลยว่า ที่ขอเอกสาร 19 รายการนั้นคืออะไร เพื่อให้สาธารณชน ช่วยตรวจสอบความโปร่งใส ของปปช.ไปด้วยกัน
ไม่ใช่เอาแต่พูดลอย ๆ เหมือนว่า ปปช.กั๊กข้อมูล หรือไม่มีข้อมูลนั้นจริง
เพราะทางปปช.ก็ยังไม่รู้เลยว่า เอกสารที่ขอ 19 รายการนั้นคืออะไร
ถึงตอนนี้ ก็คงต้องรอดูว่า พรุ่งนี้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์จะเข้าชี้แจงกับ ปปช.เอง หรือ ส่งเป็นเอกสารไป หรือไม่ชี้แจงใด ๆ เลย ด้วยข้ออ้างว่าเอกสารไม่ครบ
แต่เรื่องนี้จริง ๆ การแจ้งข้อกล่าวหาครั้งนี้ เป็นการกล่าวหาว่า นายกฯ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียหายกับรัฐ ซึ่งตรงนี้ ถ้ามองกันตรงไปตรงมา รัฐเกิดความเสียหายจริง และนายกฯ ก็ไม่ได้ยับยั้งจริง
ดังนั้น ข้อหานี้ เป็นข้อหาที่แก้ตัวได้ลำบาก ถึงมีหลักฐานมากมายขนาดไหน ก็คงแก้ข้อกล่าวหาได้ยาก
ก็คงเหลือทางรอดเพียงทางเดียว ก็คือการกล่าวหา ปปช.ว่า ไม่ยุติธรรม เร่งรัดคดี จ้องหาเรื่อง
เพื่อสร้างความชอบธรรม ในการไม่ไปชี้แจงข้อกล่าวหา และสามารถใช้ได้ต่อเนื่อง เมื่อมีการตัดสินออกมาแล้ว ยังบอกได้ว่า เพราะไม่มีโอกาสไปชี้แจง