สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาบอกเล่าเรื่องราวของ 3 สิ่งตามหัวข้อเลยครับ
จากการสังเกตุ ผมพบว่าผู้ใช้รถจักรยานยนต์ "จำนวนมาก" ใช้เบรกและเกียร์ไม่ถูกต้อง
วันนี้ผมเลยจะมาอธิบายแต่ละอย่างแบบละเอียดเลยนะครับ
1.engine brake
engine brake คือการฉุดของเครื่องยนต์เนื่องจากการ "คืนคันเร่ง" จะเห็นได้ชัดในเกียร์ 1 ลองทดสอบ
ดูก็ได้ครับ ลองขับเกียร์ 1 เร่งให้สุด พอคืนคันเร่งให้สุดจะรู้สึกได้ถึงแรงต้านของเครื่องยนต์ดังวืดๆๆๆ
นั่นแหละครับ engine brake
บางคนเข้าใจผิดว่า engine brake คือการลดเกียร์ "ไม่ใช่นะครับ" การลดเกียร์ที่ไม่สัมพันธ์กับความเร็วมี
จะทำให้ล้อหลังล๊อค ในระยะยาวจะมีผลเสียต่อชุดเกียร์ โซ่ สเตอร์ ของท่านๆ
2. การเบรกฉุกเฉิน
-สิ้งที่ควรทำ
1. คืนคันเร่งให้สุดเพื่อเรียก engine brake มาใช้
2. กดเบรกหลังก่อน เสียววินาทีต่อมาจึงกดเบรกหน้า เพิ่มน้ำหนักจากน้อยไปมาก
3. เมื่อรถใกล้หยุดจึงบีบครัชเพื่อป้องกันเครื่องยนต์ดับ หรือจะปล่อยให้ดับเลยก็ไม่เป็นไร (เราเบรก "ฉุกเฉิน" นะครับ ดับๆไปก็ได้)
-สิ่งที่พบประจำ "บีบเบรกหน้า-หลัง เปลี่ยนเกียร์ลงอย่างรวดเร็ว ล้อลากเอี๊ยดดดดด ล้อหลังดังพรืดๆๆๆๆๆ หยุด"
การลดเกียร์ลดอย่างรวดเร็วนั้นจะทำให้รอบเครื่องพุ่งสูงขึ้นมาก ถ้าลดเกียร์ลงมากๆ ล้อหลังจะล็อค
กรณีนี้ ABS ช่วยอะไรไม่ได้ (slipper crush ช่วยได้บ้าง) ท้ายจะปัด สูญเสียการควบคุม หรือ คนขับอาจกระเด็นข้ามหน้ารถไป
ในระยะยาวรอบเครื่องที่สูงไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์ โซ่ สเตอร์ ชุดเกียร์รับภาระจากแรงกระชาก
3. การเชนเกียร์
การเชนเกียร์จะใช้ก็ต่อเมื่อเรา "ตั้งใจ" ลดความเร็วลง เช่น จะกลับรถ ข้างหน้ามีทางโค้งอันตราย ข้างหน้าเป็นโค้งที่ยาวมากๆ
จนเราต้องการเลี้ยงคันเร่งเพื่อผ่านโค้งไป "ไม่ใช่" เพื่อ "เบรกฉุกเฉิน"
-สิ่งที่ควรทำ
1.คืนคันเร่งให้สุด
2. ใช้ "เบรก" เพื่อลดความเร็ว ย้ำว่าใช้ "เบรก" นะครับ
3. เมื่อความเร็วลดลงจะถึงระดับหนึ่ง ตับเกียร์ลง " 1 " เกียร์ ไม่ต้องเปิดคันเร่งนะครับ เราต้องการดำ engine brake มาช่วยด้วย
ไม่แนะนำให้ตบลง 2 เกียร์นะครับ ไม่งั้นผลอาจเป็นเหมือนกับการเชนเกียร์ลงตอนเบรกฉุกเฉินคือ ล้อหลังล็อค ปลิวข้ามรถ
4. ทำข้อ 1-3 ซ้ำไปเรื่อยๆจนได้เกียร์ที่ต้องการ
-สิ่งที่พบประจำ
"มาด้วยความเร็วสูง ตบเกียร์ลง ล้อหลังดังพรืดๆๆๆๆๆ"
การทำแบบนั้นคุณมีโอกาสล้อหลังล็อคมากครับ อาจจะปลิวข้ามรถเลยก็ได้ ในระยะยาวบอกลาชุดเกียร์
เตรียมเปลี่ยนโซ่ สเตอร์ ได้เลยครับ พังแน่ๆครับ
เบรกฉุกเฉิน engine brake การเชนเกียร์
จากการสังเกตุ ผมพบว่าผู้ใช้รถจักรยานยนต์ "จำนวนมาก" ใช้เบรกและเกียร์ไม่ถูกต้อง
วันนี้ผมเลยจะมาอธิบายแต่ละอย่างแบบละเอียดเลยนะครับ
1.engine brake
engine brake คือการฉุดของเครื่องยนต์เนื่องจากการ "คืนคันเร่ง" จะเห็นได้ชัดในเกียร์ 1 ลองทดสอบ
ดูก็ได้ครับ ลองขับเกียร์ 1 เร่งให้สุด พอคืนคันเร่งให้สุดจะรู้สึกได้ถึงแรงต้านของเครื่องยนต์ดังวืดๆๆๆ
นั่นแหละครับ engine brake
บางคนเข้าใจผิดว่า engine brake คือการลดเกียร์ "ไม่ใช่นะครับ" การลดเกียร์ที่ไม่สัมพันธ์กับความเร็วมี
จะทำให้ล้อหลังล๊อค ในระยะยาวจะมีผลเสียต่อชุดเกียร์ โซ่ สเตอร์ ของท่านๆ
2. การเบรกฉุกเฉิน
-สิ้งที่ควรทำ
1. คืนคันเร่งให้สุดเพื่อเรียก engine brake มาใช้
2. กดเบรกหลังก่อน เสียววินาทีต่อมาจึงกดเบรกหน้า เพิ่มน้ำหนักจากน้อยไปมาก
3. เมื่อรถใกล้หยุดจึงบีบครัชเพื่อป้องกันเครื่องยนต์ดับ หรือจะปล่อยให้ดับเลยก็ไม่เป็นไร (เราเบรก "ฉุกเฉิน" นะครับ ดับๆไปก็ได้)
-สิ่งที่พบประจำ "บีบเบรกหน้า-หลัง เปลี่ยนเกียร์ลงอย่างรวดเร็ว ล้อลากเอี๊ยดดดดด ล้อหลังดังพรืดๆๆๆๆๆ หยุด"
การลดเกียร์ลดอย่างรวดเร็วนั้นจะทำให้รอบเครื่องพุ่งสูงขึ้นมาก ถ้าลดเกียร์ลงมากๆ ล้อหลังจะล็อค
กรณีนี้ ABS ช่วยอะไรไม่ได้ (slipper crush ช่วยได้บ้าง) ท้ายจะปัด สูญเสียการควบคุม หรือ คนขับอาจกระเด็นข้ามหน้ารถไป
ในระยะยาวรอบเครื่องที่สูงไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์ โซ่ สเตอร์ ชุดเกียร์รับภาระจากแรงกระชาก
3. การเชนเกียร์
การเชนเกียร์จะใช้ก็ต่อเมื่อเรา "ตั้งใจ" ลดความเร็วลง เช่น จะกลับรถ ข้างหน้ามีทางโค้งอันตราย ข้างหน้าเป็นโค้งที่ยาวมากๆ
จนเราต้องการเลี้ยงคันเร่งเพื่อผ่านโค้งไป "ไม่ใช่" เพื่อ "เบรกฉุกเฉิน"
-สิ่งที่ควรทำ
1.คืนคันเร่งให้สุด
2. ใช้ "เบรก" เพื่อลดความเร็ว ย้ำว่าใช้ "เบรก" นะครับ
3. เมื่อความเร็วลดลงจะถึงระดับหนึ่ง ตับเกียร์ลง " 1 " เกียร์ ไม่ต้องเปิดคันเร่งนะครับ เราต้องการดำ engine brake มาช่วยด้วย
ไม่แนะนำให้ตบลง 2 เกียร์นะครับ ไม่งั้นผลอาจเป็นเหมือนกับการเชนเกียร์ลงตอนเบรกฉุกเฉินคือ ล้อหลังล็อค ปลิวข้ามรถ
4. ทำข้อ 1-3 ซ้ำไปเรื่อยๆจนได้เกียร์ที่ต้องการ
-สิ่งที่พบประจำ
"มาด้วยความเร็วสูง ตบเกียร์ลง ล้อหลังดังพรืดๆๆๆๆๆ"
การทำแบบนั้นคุณมีโอกาสล้อหลังล็อคมากครับ อาจจะปลิวข้ามรถเลยก็ได้ ในระยะยาวบอกลาชุดเกียร์
เตรียมเปลี่ยนโซ่ สเตอร์ ได้เลยครับ พังแน่ๆครับ