คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
เห็นว่าไม่ควรฝืนทำในสิ่งที่ขัดกับมโนธรรม ส่วนจะเลือกหลีกหนีหรือต่อสู้เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
เราอาจหลีกหนีไปหางานการที่ชอบธรรมสุจริต ในความเป็นจริงบางยุคบางสมัย องค์กรที่เราทำอยู่เกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือผิดกฎหมาย บางคนเขาจะย้ายตัวเองหนีออกมา ตัวอย่างมีมากมายที่ตามน้ำ หรือเต้นไปตามเกมส์ แล้วมาเดือดร้อนกันภายหลัง
การจะร้องเรียนนั้น ถ้ามีช่องทางและจังหวะสุกงอมสมควรทำ หาไม่แล้ว อาจลำบากตัว แต่เจ้าตัวยินดี เช่น Edward Snowden เปิดเผยเรื่อง NSA กับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเรื่องการดักตรวจสอบ อี-เมล์ ส่วนมากในเมืองไทยมักจะสงบปากสงบคำกลัวเรื่องเดือดร้อนถึงตัว เพราะว่าวัฒนธรรมการทำงาน อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ เกรงกลัวอำนาจ และอื่นๆ
ในส่วนที่ว่าจะปฏิวัติบริษัท เห็นว่าต้องดูให้รอบคอบเพราะเป็นเรื่องผู้ถือหุ้นเขา ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมองภาพผู้เปิดโปงอย่างไร ส่วนมากบริษัทสนใจผลกำไร อาจหันมาเล่นงานพนักงาน มองว่าเป็นตัวป่วนก็ได้
ส่วนในระดับใหญ่ๆ เป็นเรื่องฝังรากลึก ถ้าจะเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องใหญ่ ในปัจจุบันที่ชูประเด็นปราบคอรัปชั่นเป็นเพียงวาทะทางการเมือง การปราบคอร์รัปชั่นนั้นต้องถูกวิธีตามหลักกฎหมาย แม้การเรียกร้องปฎิรูปประเทศในตัวของวิธีการเองยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กฎหมายรัฐธรรมนูญ) เพื่อบังหน้าวัตถุประสงค์แท้จริงคือทำลายคู่แข่งทางการเมือง จึงเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องพูดง่ายๆ เพราะทำยากหรือแม้แต่ทำไม่ได้เลย
เช่น เมื่อต้องการผ่าทางตันที่กฎหมายไม่เปิดช่อง จำต้องทำลายรัฐธรรมนูญเก่าทิ้งเสียก่อน นอกจากฝืนมติประชา ทำลายระบอบประชาธิปไตย ในตัวการกระทำเองยังส่อว่า ไม่เคารพเทอดทูนต่อสถาบันใดๆ ที่กล่าวอ้างมาทั้งสิ้น หากว่าเมื่อทำการไปแล้วสำเร็จดังใจ พวกพ้องที่ต้องการให้เข้ามาเพื่อกุมอำนาจเบ็ดเสร็จหวังดำเนินการต่อไปยังต้องอาจให้อยู่ยั่งยืนยาวนานเพื่อใช้อำนาจเกาะกุมโครงสร้างที่ตนต้องการนั้นไว้ ยังผลให้ทุจริตคอร์รัปชั่นยิ่งกว่าเดิม ไม่นับถึงอาจทำลายศัตรูทางการเมืองอย่างผิดกฎหมายดังที่เคยปรากฎมาในประวัติศาสตร์ไทยและนานาชาติ ผลก็คือเป็นการซ้ำเติมบ้านเมืองให้แตกแยกเสียหายกว่าเดิม
ตามอมตะวาจาที่ท่านตักเตือนไว้ว่า" Power corrupts; absolute power corrupts absolutely" นี่อาจกล่าวได้ว่าเมื่อคิดผิดมาแต่ต้น ท่ามกลาง และบั้นปลาย คงให้ถูกให้ควรนั้นไม่ได้ การที่คิดจะแก้ไขเรื่องทุจริตซึ่งตามความจริงมีหลายมิติ นอกจากตัวระบบราชการ
น่าจะมีพื้นฐานมาจากระบบความคิดของพลเมืองที่เข้าใจกันถ่องแท้ก่อนถ่ายทอดสู่ตัวแทนตามลำดับ สู่การแก้ไขกฎหมายตามระบบประชาธิปไตย แล้วจึงผลักดันไปให้ไปถูกทิศทาง
หากปัญหาสะสมมานาน คงเลี่ยงไม่ได้ที่ฝ่ายเสียผลประโยชน์ออกมาต่อต้านในทุกรูปแบบ นอกจากทำโดยถูกต้องแล้วสิ่งที่ควรระวังคือให้การเปลี่ยนผ่านกระทบต่อบ้านเมืองน้อยที่สุดเกิดความแตกแยกน้อยที่สุด ไม่สมควรใช้ความเจนจัดทางการเมือง ใช้วาทะศิลป์จูงใจ ชักนำให้คนเห็นผิดเป็นชอบเป็นกำลังให้ตนกล่าวอ้างความชอบธรรม เมื่อพลวัตรที่ประกอบกันหลายภาคส่วนนี้ หมุนเวียนและโคจรไปตามครรลอง สิ่งต่างๆ ควรคลี่คลายและดีขึ้นตามลำดับ
เราอาจหลีกหนีไปหางานการที่ชอบธรรมสุจริต ในความเป็นจริงบางยุคบางสมัย องค์กรที่เราทำอยู่เกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือผิดกฎหมาย บางคนเขาจะย้ายตัวเองหนีออกมา ตัวอย่างมีมากมายที่ตามน้ำ หรือเต้นไปตามเกมส์ แล้วมาเดือดร้อนกันภายหลัง
การจะร้องเรียนนั้น ถ้ามีช่องทางและจังหวะสุกงอมสมควรทำ หาไม่แล้ว อาจลำบากตัว แต่เจ้าตัวยินดี เช่น Edward Snowden เปิดเผยเรื่อง NSA กับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเรื่องการดักตรวจสอบ อี-เมล์ ส่วนมากในเมืองไทยมักจะสงบปากสงบคำกลัวเรื่องเดือดร้อนถึงตัว เพราะว่าวัฒนธรรมการทำงาน อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ เกรงกลัวอำนาจ และอื่นๆ
ในส่วนที่ว่าจะปฏิวัติบริษัท เห็นว่าต้องดูให้รอบคอบเพราะเป็นเรื่องผู้ถือหุ้นเขา ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมองภาพผู้เปิดโปงอย่างไร ส่วนมากบริษัทสนใจผลกำไร อาจหันมาเล่นงานพนักงาน มองว่าเป็นตัวป่วนก็ได้
ส่วนในระดับใหญ่ๆ เป็นเรื่องฝังรากลึก ถ้าจะเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องใหญ่ ในปัจจุบันที่ชูประเด็นปราบคอรัปชั่นเป็นเพียงวาทะทางการเมือง การปราบคอร์รัปชั่นนั้นต้องถูกวิธีตามหลักกฎหมาย แม้การเรียกร้องปฎิรูปประเทศในตัวของวิธีการเองยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กฎหมายรัฐธรรมนูญ) เพื่อบังหน้าวัตถุประสงค์แท้จริงคือทำลายคู่แข่งทางการเมือง จึงเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องพูดง่ายๆ เพราะทำยากหรือแม้แต่ทำไม่ได้เลย
เช่น เมื่อต้องการผ่าทางตันที่กฎหมายไม่เปิดช่อง จำต้องทำลายรัฐธรรมนูญเก่าทิ้งเสียก่อน นอกจากฝืนมติประชา ทำลายระบอบประชาธิปไตย ในตัวการกระทำเองยังส่อว่า ไม่เคารพเทอดทูนต่อสถาบันใดๆ ที่กล่าวอ้างมาทั้งสิ้น หากว่าเมื่อทำการไปแล้วสำเร็จดังใจ พวกพ้องที่ต้องการให้เข้ามาเพื่อกุมอำนาจเบ็ดเสร็จหวังดำเนินการต่อไปยังต้องอาจให้อยู่ยั่งยืนยาวนานเพื่อใช้อำนาจเกาะกุมโครงสร้างที่ตนต้องการนั้นไว้ ยังผลให้ทุจริตคอร์รัปชั่นยิ่งกว่าเดิม ไม่นับถึงอาจทำลายศัตรูทางการเมืองอย่างผิดกฎหมายดังที่เคยปรากฎมาในประวัติศาสตร์ไทยและนานาชาติ ผลก็คือเป็นการซ้ำเติมบ้านเมืองให้แตกแยกเสียหายกว่าเดิม
ตามอมตะวาจาที่ท่านตักเตือนไว้ว่า" Power corrupts; absolute power corrupts absolutely" นี่อาจกล่าวได้ว่าเมื่อคิดผิดมาแต่ต้น ท่ามกลาง และบั้นปลาย คงให้ถูกให้ควรนั้นไม่ได้ การที่คิดจะแก้ไขเรื่องทุจริตซึ่งตามความจริงมีหลายมิติ นอกจากตัวระบบราชการ
น่าจะมีพื้นฐานมาจากระบบความคิดของพลเมืองที่เข้าใจกันถ่องแท้ก่อนถ่ายทอดสู่ตัวแทนตามลำดับ สู่การแก้ไขกฎหมายตามระบบประชาธิปไตย แล้วจึงผลักดันไปให้ไปถูกทิศทาง
หากปัญหาสะสมมานาน คงเลี่ยงไม่ได้ที่ฝ่ายเสียผลประโยชน์ออกมาต่อต้านในทุกรูปแบบ นอกจากทำโดยถูกต้องแล้วสิ่งที่ควรระวังคือให้การเปลี่ยนผ่านกระทบต่อบ้านเมืองน้อยที่สุดเกิดความแตกแยกน้อยที่สุด ไม่สมควรใช้ความเจนจัดทางการเมือง ใช้วาทะศิลป์จูงใจ ชักนำให้คนเห็นผิดเป็นชอบเป็นกำลังให้ตนกล่าวอ้างความชอบธรรม เมื่อพลวัตรที่ประกอบกันหลายภาคส่วนนี้ หมุนเวียนและโคจรไปตามครรลอง สิ่งต่างๆ ควรคลี่คลายและดีขึ้นตามลำดับ
ผู้ตอบมีสติปัญญาน้อยนิด มิบังอาจเสี้ยมสอนอาวุโสในแวดวงทางการเมือง สาธุชนอ่านแล้วพึงไคร่ครวญ
แสดงความคิดเห็น
ถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นจริง เราควรทำตัวอย่างไร?
สรุปก็คือถ้าเราเจ้าของบริษัทเป็นคนโกงและคอรัปชันเก่ง แต่ก็ทำให้องค์กรอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าได้ เราควรทำอย่างไร เช่น เราควรลาออกจากบริษัทนี้เพื่อไปหาทำงานอยู่กับบริษัทที่มีเจ้าของเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตดีมั๊ย หรือเราควรเปิดโปงการทุจริตคอรัปชันของเค้า แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือ DSI หรือ ปปง. ให้ดำเนินการตรวจสอบเอาผิดกับเจ้าของบริษัทดี แล้วสมมติว่าเราลาออกแล้วไปทำงานที่ใหม่ล่ะปรากฏว่าเราก็เจอเจ้าของที่ทุจริตคอรัปชันเหมือนกัน จะทำอย่างไร เราจะต้องลาออกจากบริษัทเดิมเพื่อไปทำงานที่บริษัทใหม่เรื่อยๆเลยหรือ ในขณะที่เราเองก็ยังไม่มีทุนในการออกไปประกอบอาชีพอิสระส่วนตัวเลย หรือเราควรรวมตัวกับพนักงานในบริษัททำการปฏิรูปบริษัทใหม่แล้วขับไล่เจ้าของบริษัทออกไปดี
ปล. ลืมบอกไปว่านี่แค่องค์กรเล็กๆเองและก็คงมีในองค์กรใหญ่ในหลายๆองค์กร ถ้าเปรียบเทียบไปเป็นองค์กรระดับประเทศล่ะ เช่น พรรคการเมืองหรือรัฐบาล ข้าราชการ กระทรวงทบวงกรมต่างๆล่ะ