สวัดดีครับ ถึงฤดูเกณฑ์ทหาร แล้ว มาทำความรู้จักทำเนียมทหารกัน ที่ผมจะเล่าให้ฟัง เป็นธรรมเนียม
ทหารเรือ ซึ่งยังคงรักษาขนบดั่งเดิมเอาใว้อย่างเหนียวแน้น มีอะไรบ้าง เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง
ส่วน ท่านใดอยากเสริม ทำเนียมทหารเหล่าไหนอย่างไร เสริมได้เลยครับ
ธรรมเนียมทหารเรือ + สาระน่ารู้เกี่ยวกับทหารเรือ
ธงราชนาวี ไม่ใช่ธงชาติ!
หลายคนอาจตั่งข้อสังเกตว่าตามหน่วยงานราชการ หรือ บนเรือของกองทัพเรือ จะใช้ ธงที่มีลักษณะ
เหมือน ธงไตรรงค์ แต่มีรูปช้างเผือกอยู่ใจกลาง มีความเป็นมาอย่างไร มาดูกันครับ
ธงราชนาวี
ธงราชนาวีไทยเริ่มมีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมธงราชนาวีมีลักษณะเป็นผ้าผืนสีแดงโดยไม่มีลวดลายหรือภาพใดๆ
ในผืนธง ซึ่งธงดังกล่าวนั้นมีใช้ทั้งราชการและราษฎรโดยทั่วไป
ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของธงราชนาวีตามลำดับ ดังนี้
สมัย รัชการที่หนึ่ง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของธงโดยเพิ่มวงจักรสีขาวบนพื้นธงสีแดงเพื่อบ่งบอกว่าเป็นธงราชนาวี
สำหรับราษฎรทั่วไปยังคงใช้ธงผืนสีแดงเหมือนเดิม
สมัย สมัยรัชการที่สองได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มรูปช้างเผือก ไม่ทรงเครื่อง ไว้ภายในวงจักรสีขาว
สมัยรัชการที่สี่มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำภาพวงจักรสีขาวออก คงเหลือแต่ภาพช้างเผือก (ไม่ทรงเครื่อง) ตรงกลางพื้นธงสีแดง และอนุญาตให้ราษฎรทั่วไปใช้ธงลักษณะดังกล่าวได้ด้วย
สมัยรัชการที่ห้า เกิดพระราชบัญญัติธงขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ.๑๑๐” ทรงมีพระราชดำริให้เปลี่ยนแปลงลักษณะของธงราชนาวี และเปลี่ยนชื่อเป็น “ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น” ใช้ชักที่ท้ายเรือพระที่นั่งและเรือรบหลวง และในสมัยของพระองค์ มีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติธงที่สำคัญอีก ๒ ครั้ง ได้แก่ “พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖” เปลี่ยนชื่อจากธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นเป็น “ธงเรือหลวง” และต่อมามีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยเปลี่ยนชื่อจากธงเรือหลวงเป็น “ธงทหารเรือ” ใช้ชักท้ายเรือและสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าเรือและสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอยู่กับกระทรวงทหารเรือ
สมัยรัชการที่หกได้มีการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนชื่อจากธงทหารเรือ เป็น “ธงราชนาวี” ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ เหมือนธงไตรรงค์ ตรงกลางมีวงกลมสีแดง ภายในวงกลมมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสา นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นต้นมา
บทความโดย กรมพลาธิการทหารเรือ
ทำไม ส่วนราชการทหารเรือ ที่อยู่บนบก ถึงมีเสาธงแปลกๆ
เสาธงของส่วนราชการทหารเรือ อย่างเช่น กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ข้างๆวัดพระแก้ว หรือที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ สัตหีบ
โดยเสาแปลกๆเสาจำลองมาจากเรือ เรียกว่า
เสากราฟ โดยมีแนวคิดว่า ส่วนราชการคือเรือลำหนึ่งของกองทัพเรือจึงจำลอง
เสากราฟ มาใว้บนบก เช่นเดียวกับภายในอาคารจะถูก แบ่งออกเป็น กราบซ้ายขวาเช่นเดียวกับบนเรือ
เสากราฟ
ธรรมเนียมเกียวกับธงราชนาวี
-เวลา ชักธงขึ้น 8.00 น.
เวลาธงลง คือเวลาพระอาทิตตกดิน
-พิธีย่ำพระสุริย์ศรี
เชิงอรรถรส พิธีย่ำพระสุริย์ศรี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มาวิกิพีเดี่ย
พิธีย่ำพระสุริย์ศรี เป็นพิธีการของทหารเรือไทยพิธีหนึ่ง คล้ายกับการสวนสนามเพื่ออำลาชีวิตราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง เช่น ผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการหน่วยนาวิกโยธิน เป็นต้น กระทำในเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำ มีความสวยงามจากดวงไฟที่ประดับและลำแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ก่อนที่จะลับขอบฟ้า
พิธีย่ำพระสุริย์ศรี มีขึ้นครั้งแรกที่บริเวณที่บริเวณสนามหน้ากองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ในโอกาสที่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ฉลองพระเกียรติ เรือโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และได้จัดให้มีพิธีเช่นเดียวกันนี้ต่อเนื่องอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งพิธีนี้นั้นจะเริ่มกระทำในเวลาที่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าพอดี (ประมาณ 18.00 น.) ถือเป็นขนบธรรมเนียมของทหารหน่วยนาวิกโยธิน โดยมีการอัญเชิญธงราชนาวีลงจากยอดเสา โดยทั่วไปที่ถือเอาเวลาพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นหลัก จึงได้ชื่อว่า "พิธีย่ำพระสุริย์ศรี" ซึ่งเรียกตามชื่อ "เพลงพระสุริย์ศรี" ซึ่งเป็นเพลงที่เกิดจากภูมิปัญญาทหารเรือไทยที่พัฒนาจากจังหวะเพลงย่ำค่ำ มาเป็นเพลงบรรเลงรูปจบกระบวนของการแสดงดนตรีสยาม หรือเพลง ฟีนาเล่ และด้วยเหตุผลที่ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ เมื่อเชิญธงราชนาวีลงจากยอดเสา พลแตรเดี่ยวจะเป่าเพลง ย่ำค่ำ อันเป็นตำนานเก่าแก่สืบมาช้านาน จึงน่าอนุโลมใช้คำ ย่ำพระสุริย์ศรี กับพิธีการเช่นนี้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษนัก แต่มีความหมายในภาษาไทยว่า การจบ สิ้นสุด หรือยุติลงอย่างสง่างาม ซึ่งสอดรับกับพิธีการของการอำลาชีวิตราชการอย่างกลมกลืน ดังนั้น พิธีย่ำพระสุริย์ศรี จึงมีความเป็นมาด้วยประการเช่นนี้ โดยพิธีการนี้ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน มิได้ลอกเลียนแบบมาจากหน่วยทหารสวนสนามของนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใดเพียงแต่อาศัยเค้าโครงมาสอดแทรกการแสดงทางทหารประกอบวงโยธวาทิต ซึ่งทั้งสิ้นจะกระทำอยู่ท่ามกลางความสว่างจากดวงไฟที่จัดไว้อย่างเหมาะสม โดยมีลำแสงของพระอาทิตย์ที่ทาบทาท้องฟ้ายามเย็นย่ำเป็นฉากหลังที่สวยงามตามธรรมชาติ และปิดท้ายด้วยการจุดพลุดอกไม้ไฟอันงดงามตระการตา หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จะจัดพิธีเช่นนี้ขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ หรือเทิดเกียรติ หรือเทิดเกียรติบุคคลสำคัญของกองทัพเรือเท่านั้น พิธีดังกล่าว จะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่ลำแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์จะค่อย ๆ เลือนลับไปกับความมืด และเหมาะสมสำหรับการต่อด้วยงานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นพิธีการ ที่สามารถจัดขึ้นในเวลาถัดไปในสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน
จนถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2554) พิธีย่ำพระสุริย์ศรีมีมาแล้วทั้งสิ้น 18 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายมีขึ้นในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 เนื่องในโอกาสที่ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือจะเกษียณอายุราชการ
พิธีย่ำพระสุริย์ศรี โดยนักเรียนจ่าทหารเรือ ณ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ
ไกล้ฤดู เกณฑ์ทหาร มาทำความรู้จักธรรมเนียมทหารกัน
ทหารเรือ ซึ่งยังคงรักษาขนบดั่งเดิมเอาใว้อย่างเหนียวแน้น มีอะไรบ้าง เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง
ส่วน ท่านใดอยากเสริม ทำเนียมทหารเหล่าไหนอย่างไร เสริมได้เลยครับ
ธรรมเนียมทหารเรือ + สาระน่ารู้เกี่ยวกับทหารเรือ
ธงราชนาวี ไม่ใช่ธงชาติ!
หลายคนอาจตั่งข้อสังเกตว่าตามหน่วยงานราชการ หรือ บนเรือของกองทัพเรือ จะใช้ ธงที่มีลักษณะ
เหมือน ธงไตรรงค์ แต่มีรูปช้างเผือกอยู่ใจกลาง มีความเป็นมาอย่างไร มาดูกันครับ
ธงราชนาวี
ธงราชนาวีไทยเริ่มมีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมธงราชนาวีมีลักษณะเป็นผ้าผืนสีแดงโดยไม่มีลวดลายหรือภาพใดๆ
ในผืนธง ซึ่งธงดังกล่าวนั้นมีใช้ทั้งราชการและราษฎรโดยทั่วไป
ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของธงราชนาวีตามลำดับ ดังนี้
สมัย รัชการที่หนึ่ง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของธงโดยเพิ่มวงจักรสีขาวบนพื้นธงสีแดงเพื่อบ่งบอกว่าเป็นธงราชนาวี
สำหรับราษฎรทั่วไปยังคงใช้ธงผืนสีแดงเหมือนเดิม
สมัย สมัยรัชการที่สองได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มรูปช้างเผือก ไม่ทรงเครื่อง ไว้ภายในวงจักรสีขาว
สมัยรัชการที่สี่มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำภาพวงจักรสีขาวออก คงเหลือแต่ภาพช้างเผือก (ไม่ทรงเครื่อง) ตรงกลางพื้นธงสีแดง และอนุญาตให้ราษฎรทั่วไปใช้ธงลักษณะดังกล่าวได้ด้วย
สมัยรัชการที่ห้า เกิดพระราชบัญญัติธงขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ.๑๑๐” ทรงมีพระราชดำริให้เปลี่ยนแปลงลักษณะของธงราชนาวี และเปลี่ยนชื่อเป็น “ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น” ใช้ชักที่ท้ายเรือพระที่นั่งและเรือรบหลวง และในสมัยของพระองค์ มีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติธงที่สำคัญอีก ๒ ครั้ง ได้แก่ “พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖” เปลี่ยนชื่อจากธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นเป็น “ธงเรือหลวง” และต่อมามีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยเปลี่ยนชื่อจากธงเรือหลวงเป็น “ธงทหารเรือ” ใช้ชักท้ายเรือและสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าเรือและสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอยู่กับกระทรวงทหารเรือ
สมัยรัชการที่หกได้มีการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนชื่อจากธงทหารเรือ เป็น “ธงราชนาวี” ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ เหมือนธงไตรรงค์ ตรงกลางมีวงกลมสีแดง ภายในวงกลมมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสา นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นต้นมา
บทความโดย กรมพลาธิการทหารเรือ
ทำไม ส่วนราชการทหารเรือ ที่อยู่บนบก ถึงมีเสาธงแปลกๆ
เสาธงของส่วนราชการทหารเรือ อย่างเช่น กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ข้างๆวัดพระแก้ว หรือที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ สัตหีบ
โดยเสาแปลกๆเสาจำลองมาจากเรือ เรียกว่า เสากราฟ โดยมีแนวคิดว่า ส่วนราชการคือเรือลำหนึ่งของกองทัพเรือจึงจำลอง
เสากราฟ มาใว้บนบก เช่นเดียวกับภายในอาคารจะถูก แบ่งออกเป็น กราบซ้ายขวาเช่นเดียวกับบนเรือ
เสากราฟ
ธรรมเนียมเกียวกับธงราชนาวี
-เวลา ชักธงขึ้น 8.00 น. เวลาธงลง คือเวลาพระอาทิตตกดิน
-พิธีย่ำพระสุริย์ศรี
เชิงอรรถรส พิธีย่ำพระสุริย์ศรี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พิธีย่ำพระสุริย์ศรี โดยนักเรียนจ่าทหารเรือ ณ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ