อ้ายซินเจว๋หลอ ไจ้เฟิง หรือ สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอฉุนที่2 (ฉุนหวังที่ 2 ชั้น 1) เป็นพระราชบุตรของ อ้ายซินเจว๋หลอ อี้ซวน หรือ ฉุนหวังที่ 1 ชั้น 1 กับเจ้าหลิงจียา และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของจักรพรรดิกวังซวี่ด้วย
ทรงพระราชสมภพเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ ปี 1983 ตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิกวังซวี่ ภายหลังปี 1891 พระราชบิดาทรงสิ้นพระชนม์ ไจ้เฟิงจึงได้ขึ้นเป็นฉุนหวังเมื่อพระชนมายุเพียง 8 พรรษา เมื่อปี 1900 ขณะเกิดกบฏนักมวย และพันธมิตรแปดชาติบุกกรุงปักกิ่ง พระคู่หมั้นได้กระทำอัศวัตินิบาตกรรมเพื่อรักษาพระองค์ไม่ให้ถูกกองทหารต่างชาติรุมย่ำยี
ระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม 1901 ไจ้เฟิงทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจทหาร เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตพิเศษ เพื่อไปเป็นตัวแทนราชสำนัก แสดงความเสียพระหฤทัยที่ บารอน แวน เกทเทเลอร์ ทูตชาวเยอรมัน ถูกสังหารระหว่างกบฏ และเดือนกรกฎาคม ทรงเดินทางไปที่เบอร์ลิน และพบกับพระเจ้าไกเซอร์ที่เบอร์ลินในเดือนกันยายน และทรงเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป นับเป็นเชื้อพระวงศ์ชิงพระองค์หนึ่งที่ได้ไปต่างประเทศ ซึ่งพระนางซูสีทรงพอพระทัยกับไจ้เฟิงมาก จากการที่เขา"ไม่ยอมคุกเข่า"ให้กับไกเซอร์ ซึ่งตามธรรมเนียม ทูตต้องคุกเข่าให้กับจักรพรรดิ ถึงกระนั้นพระองค์ต้องกังวลกับไจ้เฟิงที่อาจจะ"ทรงรู้เยอะเกินไป"
หลังจากที่จักรพรรดิกวังซวี่สวรรคต พระนางซูสีก็ได้นำพระราชบุตรของพระองค์ ผู่อี๋ ขึนครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง ส่วนพระนางก็สิ้นพระชนม์ในวันถัดมา โดยที่พระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการ แต่พระองค์ก็ถูกพระนางหลงหยู่คานอำนาจมาตลอด และถอดพระองค์จากการเป็นผู้สำเร็จราชการ โดยทรงตรัสว่า "ฉันกลับมาแล้ว ฉันจะกลับมาดูแลลูก"
หลังจากการเปลี่ยนระบอบแล้ว ทรงดำเนินชีวิตของพระองค์อย่างสงบโดยซุนยัตเซ็นได้เข้ามาเยี่ยมพระองค์ และได้มีพระปฏิสันธารกัน แต่พระองค์เองกลับไม่มีโอกาสพบเลย เพราะซุนนั้นเสียชีวิตไปก่อน
ปี 1928 ทรงย้ายไปพำนักที่เทียนจิน ภายใต้การดูแลจากอังกฤษและญี่ปุ่น แต่ปี 1939 ทรงย้ายกลับมาที่วังของพระองค์ในปักกิ่งระหว่างที่เทียนจินเกิดอุทกภัย และทรงไม่พอพระทัยที่พระราชบุตรของพระองค์ต้องเป็นหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในรัฐแมนจูกัว ผู่อี๋แม้ต้องการให้พระราชบิดาย้ายมาที่แมนจูกัว แต่พระราชบิดาทรงไม่ยอมรับเลย
หลังจากสงครามกลางเมืองสิ้นสุดโดยพรรคคอมมิวนิสต์ชนะ พระองค์ได้รับการดูแลจากทางพรรค บั้นปลายพระชนม์ชีพ ทรงทุ่มเทพระวรกายบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชน รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแม่น้ำฮุยด้วย
ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 1951 ในวังของพระองค์ที่ปักกิ่ง ผู้สืบสกุลพระองค์ได้เปลี่ยนนามสกุลอย่างจีนเป็น "จิน" แทน "อ้ายซินเจว๋หลอ" ซึ่งเป็นนามสกุลแมนจู (สองคำมีความหมายถึง "ทอง")
พระบรมฉายาลักษณ์ของไจ้เฟิง
ประวัติพระราชบิดาของจักรพรรดิผู๋อี๋
ทรงพระราชสมภพเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ ปี 1983 ตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิกวังซวี่ ภายหลังปี 1891 พระราชบิดาทรงสิ้นพระชนม์ ไจ้เฟิงจึงได้ขึ้นเป็นฉุนหวังเมื่อพระชนมายุเพียง 8 พรรษา เมื่อปี 1900 ขณะเกิดกบฏนักมวย และพันธมิตรแปดชาติบุกกรุงปักกิ่ง พระคู่หมั้นได้กระทำอัศวัตินิบาตกรรมเพื่อรักษาพระองค์ไม่ให้ถูกกองทหารต่างชาติรุมย่ำยี
ระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม 1901 ไจ้เฟิงทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจทหาร เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตพิเศษ เพื่อไปเป็นตัวแทนราชสำนัก แสดงความเสียพระหฤทัยที่ บารอน แวน เกทเทเลอร์ ทูตชาวเยอรมัน ถูกสังหารระหว่างกบฏ และเดือนกรกฎาคม ทรงเดินทางไปที่เบอร์ลิน และพบกับพระเจ้าไกเซอร์ที่เบอร์ลินในเดือนกันยายน และทรงเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป นับเป็นเชื้อพระวงศ์ชิงพระองค์หนึ่งที่ได้ไปต่างประเทศ ซึ่งพระนางซูสีทรงพอพระทัยกับไจ้เฟิงมาก จากการที่เขา"ไม่ยอมคุกเข่า"ให้กับไกเซอร์ ซึ่งตามธรรมเนียม ทูตต้องคุกเข่าให้กับจักรพรรดิ ถึงกระนั้นพระองค์ต้องกังวลกับไจ้เฟิงที่อาจจะ"ทรงรู้เยอะเกินไป"
หลังจากที่จักรพรรดิกวังซวี่สวรรคต พระนางซูสีก็ได้นำพระราชบุตรของพระองค์ ผู่อี๋ ขึนครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง ส่วนพระนางก็สิ้นพระชนม์ในวันถัดมา โดยที่พระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการ แต่พระองค์ก็ถูกพระนางหลงหยู่คานอำนาจมาตลอด และถอดพระองค์จากการเป็นผู้สำเร็จราชการ โดยทรงตรัสว่า "ฉันกลับมาแล้ว ฉันจะกลับมาดูแลลูก"
หลังจากการเปลี่ยนระบอบแล้ว ทรงดำเนินชีวิตของพระองค์อย่างสงบโดยซุนยัตเซ็นได้เข้ามาเยี่ยมพระองค์ และได้มีพระปฏิสันธารกัน แต่พระองค์เองกลับไม่มีโอกาสพบเลย เพราะซุนนั้นเสียชีวิตไปก่อน
ปี 1928 ทรงย้ายไปพำนักที่เทียนจิน ภายใต้การดูแลจากอังกฤษและญี่ปุ่น แต่ปี 1939 ทรงย้ายกลับมาที่วังของพระองค์ในปักกิ่งระหว่างที่เทียนจินเกิดอุทกภัย และทรงไม่พอพระทัยที่พระราชบุตรของพระองค์ต้องเป็นหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในรัฐแมนจูกัว ผู่อี๋แม้ต้องการให้พระราชบิดาย้ายมาที่แมนจูกัว แต่พระราชบิดาทรงไม่ยอมรับเลย
หลังจากสงครามกลางเมืองสิ้นสุดโดยพรรคคอมมิวนิสต์ชนะ พระองค์ได้รับการดูแลจากทางพรรค บั้นปลายพระชนม์ชีพ ทรงทุ่มเทพระวรกายบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชน รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแม่น้ำฮุยด้วย
ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 1951 ในวังของพระองค์ที่ปักกิ่ง ผู้สืบสกุลพระองค์ได้เปลี่ยนนามสกุลอย่างจีนเป็น "จิน" แทน "อ้ายซินเจว๋หลอ" ซึ่งเป็นนามสกุลแมนจู (สองคำมีความหมายถึง "ทอง")
พระบรมฉายาลักษณ์ของไจ้เฟิง