คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ผมเรียน pure math มาครับ
จุดเริ่มต้นการเรียนพิสูจน์อยู่ที่ตอนม. 4 ครับ เรียน math induction ครั้งแรกตอนนั้นเลย
แล้วก็ชอบคณิตศาสตร์แนวพิสูจน์มากขึ้นตอนอยู่ในค่ายสอวน.ครับ
เกิดปัญหาเดียวกันกับคุณตอนเรียนปริญญาโทปีหนึ่ง
(ถ้าให้ระบุคือ ตอนเรียน abstract algebra หัวข้อ Sylow group กับ topology หัวข้อ Compactness)
ตอนเรียนๆอยู่ ผมเริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนมันคือของที่ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับ "ชีวิตนอกวงการวิชาการ" เลยแม้แต่น้อย
แล้วก็เริ่มสับสนว่าจะเอายังไงต่อดี เพราะตัวเองก็ไม่ชอบแนว applied math
มาได้คำตอบเอาตอนปลายๆการเรียนปริญญาโทครับ
จริงๆก่อนหน้านั้นนานแล้ว ตอนม.ปลาย ผมเพียงแค่ "เชื่อ" ว่าคณิตศาสตร์คือศิลปะ
แต่พอเกิดปัญหานี้ขึ้น แล้วมานั่งคิดใคร่ครวญกับมันอยู่ราวปีกว่าๆ
ผมถึงได้ "ตระหนัก" จริงๆว่า pure math มันเป็น "ศิลปะ" จริงๆ
เราสร้างสรรค์งานเพียงเพื่อให้ได้สร้างสรรค์งานนั้นจริงๆ ไม่ได้ทำเพื่อจุดประสงค์จะเอามาใช้งาน
แล้วผมก็มานั่งคิดต่อว่า จะผิดไหมถ้า pure math จะเป็น "แค่" งานศิลปะจริงๆ
เราควรจะรู้สึกผิดไหมที่มานั่งทำอะไรที่ดูไร้ประโยชน์อย่าง pure math????????????
คำตอบคือ ผมพบว่ามันไม่ผิดครับ!
หลังจากจบปริญญาโท ผมก็เฝ้าถามตัวเองมาเรื่อยๆว่า
อะไรคือเป้าหมายของชีวิต(ทุกชีวิต)? อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของการมีชีวิต??
และหลังจากนั้นระยะหนึ่ง ก็ได้คำตอบออกมาเป็นคำอยู่ 4 คำ
คำแรกคือ "survival"
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทุกชีวิตต้องทำคือการเอาชีวิตรอดครับ
คำที่สองคือ "reproduction"
ชีวิตหนึ่งๆ ผมเชื่อว่าจะได้รับคำสั่งมาอย่างแนบเนียน แฝงอยู่ในชีวิต และจะปรากฎคำตอบนี้ออกมาเมื่อถึงวัย
นั่นคือการสืบทอดเผ่าพันธุ์ครับ หรือพูดง่ายๆก็คือการมีลูกนั่นเอง
คำที่สามคือ "development" (หรือ "evolution" ก็ได้)
การพัฒนาตัวเองและสิ่งอื่น จะอยู่ควบคู่กับการมีชีวิตครับ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาทางร่างกายหรือสติปัญญาก็ตาม
สังเกตง่ายๆว่า เวลาที่เรารู้ตัวว่ากำลังพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เราจะได้รับ "รางวัล" เป็นความสุขอยู่ลึกๆในใจครับ
เมื่อธรรมชาติให้รางวัลมาเป็นความสุข นั่นก็คือธรรมชาติต้องการให้เรารู้สึกดีกับการพัฒนา และก็อยากให้เราทำมันต่อไปครับ
เมื่อมีสามคำข้างต้นแล้ว คำสุดท้ายที่ผมคิดว่าสำคัญกับชีวิตที่สุดก็คือคำว่า "การเล่น" ครับ
ลองสังเกตดูก็ได้ สัตว์เกือบทุกชนิด ถ้ามันมีเวลาว่างจากการหาอาหาร การสืบพันธุ์ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ มันก็จะเล่นกัน
หรือว่าเด็ก ถ้าได้กินอิ่มนอนหลับเต็มที่ สิ่งที่พวกเขาจะทำก็คือการเล่น ทุกอย่างคือการเล่น
นั่นก็หมายความว่า การเล่นเป็นสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดมา โปรแกรมมาให้สิ่งมีชีวิตทำอยู่แล้ว
(เราจึงไม่ควรไปรู้สึกผิดกับมัน)
.
พอผมได้คำสี่คำนี้ออกมาแล้ว ผมก็รู้สึกว่า
เราไม่ควรจะ "รู้สึกผิด" ที่ pure math จะเป็นเพียงแค่การละเล่นทางสติปัญญาของมนุษย์
และเราก็มีสิทธิเต็มที่ที่จะเล่นกับ pure math ครับ
แน่นอนว่าการที่ pure math "ไม่มีประโยชน์(โดยตรง)" เราก็ต้องมานั่ง debate กันต่อ
ว่าสังคมควรจะให้ทุนการศึกษากับผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อทาง pure math ไหม
แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่อยากจะตอบในกระทู้นี้ครับ
เพราะฉะนั้น ตอนนี้ผมก็คลายกังวล หายความขุ่นข้องใจไปกับ pure math จนเกือบหมดแล้ว
และก็กำลังวางแผนจะไปเรียนต่อปริญญาเอกทาง pure math อยู่ครับ ;)
ตอนนี้การทำงานทางคณิตศาสตร์ของผม ก็คือการรังสรรค์ผลงานทางศิลปะล้วนๆครับ ^_^
เป็นกำลังใจให้ครับ หวังว่าคงช่วยอะไรได้บ้างกับคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาเดียวกันอยู่
โชคดีกับการเรียนนะครับ
จุดเริ่มต้นการเรียนพิสูจน์อยู่ที่ตอนม. 4 ครับ เรียน math induction ครั้งแรกตอนนั้นเลย
แล้วก็ชอบคณิตศาสตร์แนวพิสูจน์มากขึ้นตอนอยู่ในค่ายสอวน.ครับ
เกิดปัญหาเดียวกันกับคุณตอนเรียนปริญญาโทปีหนึ่ง
(ถ้าให้ระบุคือ ตอนเรียน abstract algebra หัวข้อ Sylow group กับ topology หัวข้อ Compactness)
ตอนเรียนๆอยู่ ผมเริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนมันคือของที่ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับ "ชีวิตนอกวงการวิชาการ" เลยแม้แต่น้อย
แล้วก็เริ่มสับสนว่าจะเอายังไงต่อดี เพราะตัวเองก็ไม่ชอบแนว applied math
มาได้คำตอบเอาตอนปลายๆการเรียนปริญญาโทครับ
จริงๆก่อนหน้านั้นนานแล้ว ตอนม.ปลาย ผมเพียงแค่ "เชื่อ" ว่าคณิตศาสตร์คือศิลปะ
แต่พอเกิดปัญหานี้ขึ้น แล้วมานั่งคิดใคร่ครวญกับมันอยู่ราวปีกว่าๆ
ผมถึงได้ "ตระหนัก" จริงๆว่า pure math มันเป็น "ศิลปะ" จริงๆ
เราสร้างสรรค์งานเพียงเพื่อให้ได้สร้างสรรค์งานนั้นจริงๆ ไม่ได้ทำเพื่อจุดประสงค์จะเอามาใช้งาน
แล้วผมก็มานั่งคิดต่อว่า จะผิดไหมถ้า pure math จะเป็น "แค่" งานศิลปะจริงๆ
เราควรจะรู้สึกผิดไหมที่มานั่งทำอะไรที่ดูไร้ประโยชน์อย่าง pure math????????????
คำตอบคือ ผมพบว่ามันไม่ผิดครับ!
หลังจากจบปริญญาโท ผมก็เฝ้าถามตัวเองมาเรื่อยๆว่า
อะไรคือเป้าหมายของชีวิต(ทุกชีวิต)? อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของการมีชีวิต??
และหลังจากนั้นระยะหนึ่ง ก็ได้คำตอบออกมาเป็นคำอยู่ 4 คำ
คำแรกคือ "survival"
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทุกชีวิตต้องทำคือการเอาชีวิตรอดครับ
คำที่สองคือ "reproduction"
ชีวิตหนึ่งๆ ผมเชื่อว่าจะได้รับคำสั่งมาอย่างแนบเนียน แฝงอยู่ในชีวิต และจะปรากฎคำตอบนี้ออกมาเมื่อถึงวัย
นั่นคือการสืบทอดเผ่าพันธุ์ครับ หรือพูดง่ายๆก็คือการมีลูกนั่นเอง
คำที่สามคือ "development" (หรือ "evolution" ก็ได้)
การพัฒนาตัวเองและสิ่งอื่น จะอยู่ควบคู่กับการมีชีวิตครับ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาทางร่างกายหรือสติปัญญาก็ตาม
สังเกตง่ายๆว่า เวลาที่เรารู้ตัวว่ากำลังพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เราจะได้รับ "รางวัล" เป็นความสุขอยู่ลึกๆในใจครับ
เมื่อธรรมชาติให้รางวัลมาเป็นความสุข นั่นก็คือธรรมชาติต้องการให้เรารู้สึกดีกับการพัฒนา และก็อยากให้เราทำมันต่อไปครับ
เมื่อมีสามคำข้างต้นแล้ว คำสุดท้ายที่ผมคิดว่าสำคัญกับชีวิตที่สุดก็คือคำว่า "การเล่น" ครับ
ลองสังเกตดูก็ได้ สัตว์เกือบทุกชนิด ถ้ามันมีเวลาว่างจากการหาอาหาร การสืบพันธุ์ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ มันก็จะเล่นกัน
หรือว่าเด็ก ถ้าได้กินอิ่มนอนหลับเต็มที่ สิ่งที่พวกเขาจะทำก็คือการเล่น ทุกอย่างคือการเล่น
นั่นก็หมายความว่า การเล่นเป็นสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดมา โปรแกรมมาให้สิ่งมีชีวิตทำอยู่แล้ว
(เราจึงไม่ควรไปรู้สึกผิดกับมัน)
.
พอผมได้คำสี่คำนี้ออกมาแล้ว ผมก็รู้สึกว่า
เราไม่ควรจะ "รู้สึกผิด" ที่ pure math จะเป็นเพียงแค่การละเล่นทางสติปัญญาของมนุษย์
และเราก็มีสิทธิเต็มที่ที่จะเล่นกับ pure math ครับ
แน่นอนว่าการที่ pure math "ไม่มีประโยชน์(โดยตรง)" เราก็ต้องมานั่ง debate กันต่อ
ว่าสังคมควรจะให้ทุนการศึกษากับผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อทาง pure math ไหม
แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่อยากจะตอบในกระทู้นี้ครับ
เพราะฉะนั้น ตอนนี้ผมก็คลายกังวล หายความขุ่นข้องใจไปกับ pure math จนเกือบหมดแล้ว
และก็กำลังวางแผนจะไปเรียนต่อปริญญาเอกทาง pure math อยู่ครับ ;)
ตอนนี้การทำงานทางคณิตศาสตร์ของผม ก็คือการรังสรรค์ผลงานทางศิลปะล้วนๆครับ ^_^
เป็นกำลังใจให้ครับ หวังว่าคงช่วยอะไรได้บ้างกับคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาเดียวกันอยู่
โชคดีกับการเรียนนะครับ
แสดงความคิดเห็น
กำลังสับสนตัวเองครับ (การเรียนPure math)
....แต่ ตอนนี้กำลังใจ ที่จะเรียน มันค่อยๆหายไปครับ ผมพึ่งมารู้สึกตัวว่า สิ่งที่เรียนมา มันเป็นอะไรที่ ... "ค่อนข้าง" Abstract มาก จนผมคิดว่า เราไม่สามารถใช้ในชีวิตจริงได้เลย (แต่ผมไม่ชอบ แนวODE PDE Numer นะครับ ผมชอบพิสูจน์มากกว่า)
ถามว่าประโยชน์ที่ได้จากการเรียนมีมั้ย ผมก็คงตอบได้ว่ามี เพราะ Logic จากการเรียนทำให้ผมคิดได้เป็นระบบมากขึ้น เป็นคนละเอียดมากขึ้น
และก็อีกเช่นเคย สิ่งที่เพียวแมท คิดได้ ไม่ได้เห็นผลในทันที ผมไม่รู้ว่า อีกกี่สิบปี กว่าจะเห็นผล กว่าจะมีคนมาใช้ ...
ก็เลยมาขอคำแนะนำจากเพื่อนๆ พี่ๆ ว่า ผมควรจะมุ่งหน้าเรียน เพียวแต่ไปดีมั้ย เรียนในสิ่งที่ชอบ (ต่อจนถึงเอก) หรือ ผมควรจะหัดไปทาง
applied math ดี? (ส่วนตัว ผมรู้สึกว่า applied math ทางที่จะไปค่อนข้างเยอะ) ขอคำแนะนำด้วยครับ กำลังจะขึ้นปี4แล้ว เตรียมตัวต่อโทน่ะครับ
ขอบคุณ ล่วงหน้าครับ