How do we get there : ตอนที่ 1 Head Hunter
How do we get there : ตอนที่ 1 Head Hunter “ผมจะเรียนอะไรดีครับ” “หนูจะเลือกเมเจอร์อะไรถึงจะเวิร์คคะ” และอีกสารพันคำถามที่มีใจความคล้ายๆกัน คงจะเป็นคำถามที่น่าปวดหัวสำหรับนักศึกษาที่กำลังจะไปเรียนต่อ หรือนักศึกษาที่กำลังจะเลือกวิชาเอกกับการตัดสินใจที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในชีวิต ซึ่งสำหรับคำถามนี้ บางทีผู้ถามอาจจะต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า จบแล้วตั้งใจจะทำอะไร อยากทำอาชีพแนวไหน ชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง ซึ่งบางครั้งสำหรับหลายๆคน มันก็ไม่ง่ายเลยที่จะตอบคำถามที่ดูเหมือนจะง่ายๆเหล่านี้ อันที่จริงต้นเหตุของปัญหาโดยส่วนใหญ่แล้วน่าจะมาจากการที่นักศึกษาอาจจะยังไม่มีไอเดียว่าอาชีพไหน เนื้อหางานเป็นอย่างไร สภาพการทำงานเป็นแบบไหน ทำงานนั้นแล้วจะต้องเจอกับอะไรบ้าง
นั่นจึงเป็นที่มาของไอเดียในการเขียนคอลัมน์นี้
จากการปรึกษากันของทีมงาน เรามีความเห็นร่วมกันว่า เราอยากจะใช้พื้นที่ตรงนี้ในการแนะนำอาชีพต่างๆที่อยู่ในกระแส และตรงกับความนิยมของเด็กรุ่นใหม่ เราจะไปพูดถึงว่าหน้าที่การงานที่พวกเขาและเธอต้องเจอในแต่ละวันคืออะไร และลองไปดูซิว่า เพื่อที่จะก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพในแต่ละสาขานั้น เราควรจะเตรียมพร้อมเรื่องการเลือกเรียนอย่างไรบ้าง
เอาล่ะ ฉบับแรกนี้ผมขอเกาะกระแสไปกับละครที่เพิ่งจบไปเมื่อไม่นานนี้นะครับ คือเรื่องอันโกะ กลรักสตรอว์เบอร์รี่ ถ้าหากผู้อ่านไม่ได้ติดตาม เรื่องย่อๆก็คือนางเอกพยายามที่จะตามไล่ล่าให้พระเอกยอมไปรับงานที่ตัวเองเตรียมเอาไว้ให้ในบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยที่ตัวเองจะได้รับทั้งเงินและตำแหน่งถ้าพระเอกยอมไปทำงานในบริษัทนั้น ซึ่งท้ายที่สุดนางเอกก็กลับไปตกหลุมรักพระเอก งานที่ตั้งใจไว้ก็เลยไม่สำเร็จซะนี่ โอเค พักเรื่องละครไว้เท่านั้นก่อนนะครับ ประเด็นที่ต้องการจะพูดถึงอยู่ตรงนี้ครับก็คือ นางเอกในเรื่องคืออันโกะนั้นทำงานอยู่ในบริษัทตัวกลางที่มีงานหลักในการที่จะหาคนให้กับบริษัทผู้ว่าจ้างอีกที โดยบริษัทตัวกลางที่ว่านี่ เราจะเรียกกันว่าบริษัทจัดหางานนี่แหละครับ แต่หลายๆทีเค้าก็จะเรียกชื่อกันเท่ๆว่า HR Agency หรือ Head Hunter ครับ ในที่นี้ผมขอเรียกบริษัทตัวกลางนี้ว่า Head Hunter ละกัน เพราะมันดูเท่ดี
เรามาพูดถึงเรื่องหน้าที่การทำงานของบริษัท Head Hunter ซักหน่อย ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ตามปกติบริษัทต่างๆก็มีแผนกบุคคลเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ทำไมจึงต้องไปว่าจ้างบริษัท Head Hunter อีกทอดนึงให้ดูวุ่นวาย เหตุผลหลักๆที่แต่ละบริษัทยอมจะลงทุนเพิ่มตรงนี้ก็จะเป็นเพราะว่าโดยทั่วๆไปแล้ว บริษัท Head Hunter จะมีความเป็นมืออาชีพสูงในการหาคนให้เหมาะกับงาน บริษัทเหล่านี้จะมีข้อมูลบุคคล (candidate) ทั้งที่คนหางานเอามาฝากไว้ด้วยตัวเอง หรือรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ แล้ว Head Hunter จะทำหน้าที่คัดสรรคนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะกับตำแหน่ง แล้วส่งประวัติไปให้บริษัทผู้ว่าจ้างดูว่าถูกใจหรือเปล่า ถ้าถูกใจก็จะเรียกสัมภาษณ์และบรรจุเป็นพนักงานต่อไป นอกจากนี้ด้วยความเป็นมืออาชีพในด้านการหาคน ความรวดเร็วในการทำงานก็จะสูงกว่าพนักงานฝ่ายบุคคลในบริษัททั่วๆไปที่ต้องจับงานหลายอย่าง ซึ่งไม่ใช่แค่การสรรหาคนเพียงอย่างเดียว ลองนึกดูง่ายๆว่า พนักงานฝ่ายบุคคลในบริษัททั่วๆไป มีงานในมือตั้งแต่ ทำค่าจ้างเงินเดือน จัดการสวัสดิการ จัดอบรม จัดกีฬาสี ปีใหม่ ใบลาป่วย แล้วก็อีกสารพัด เพราะฉะนั้นความคล่องตัวในการที่จะโฟกัสไปที่การสรรหาบุคคลก็อาจจะสู้บริษัทเฉพาะทางไม่ได้
ผู้อ่านคงจะพอมองเห็นภาพคร่าวๆของงาน Head Hunter แล้ว ทีนี้เราจะมาพูดถึงความน่าสนใจของงาน Head Hunter กัน งานนี้อันที่จริงแล้วเหมาะมากสำหรับคนที่ชอบทำความเข้าใจและการวิเคราะห์คน คนที่ชอบ mix & match วิเคราะห์ว่าคนนี้เหมาะกับงานแบบนี้ในบริษัทนั้น นอกจากนั้นงาน Head Hunter จะเป็นงานที่จะได้ติดต่อกับคนอยู่ตลอดเวลา บ่อยครั้งผมจะได้ยินความต้องการอย่างหนึ่งของเด็กรุ่นใหม่เวลาหางาน คือว่างานไหนที่จะได้มีการติดต่อพูดคุยกับคน อยากทำงานที่ได้ติดต่อสื่อสาร ซึ่งบอกได้เลยว่างานนี้เป็นหนึ่งในงานเหล่านั้น คนที่ทำงานนี้ควรจะมีทักษะการเจรจาอยู่พอสมควรในการที่จะโน้มน้าว ชักจูง แสดงให้เห็นว่างานที่ตัวเองกำลังนำเสนอมีความน่าสนใจอย่างไร นอกจากนั้นยังอาจจะต้องต่อรองเงื่อนไขกับฝ่ายของบริษัทผู้ว่าจ้างด้วย
นอกจากในส่วนของเนื้องานแล้ว ค่าตอบแทนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เพิ่มความน่าสนใจให้กับงานสายนี้ ตามปกติบริษัท Head Hunter จะได้รับค่าตอบแทนในกรณีที่หาคนให้บริษัทผู้ว่าจ้างได้ถูกใจ ส่วนตัวพนักงานที่ทำหน้าที่หาคน (recruiter) ก็จะได้รับค่า commission จากการหาคนได้ตรงกับความต้องการของบริษัทผู้ว่าจ้าง ยิ่งหาคนไปในตำแหน่งสำคัญ เงินเดือนสูงเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้ค่า commission สูงขึ้นเท่านั้น ว่ากันว่าเดือนๆนึง recruiter สามารถทำเงินได้หลายหมื่นจนถึงหลักแสนเลยทีเดียว
เป็นอย่างไรบ้างครับ เริ่มสนใจอาชีพนี้กันขึ้นมาบ้างรึยัง ถ้าสนใจเรามาดูกันครับว่ามีหลักสูตรการเรียนการสอนในด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ไหนบ้างที่น่าสนใจ
มาเริ่มกันที่โปรแกรมจากฝั่งอเมริกานะครับ โปรแกรมปริญญาโท
Master of Professional Studies in Human Resources Management (การบริหารทรัพยากรบุคคล) ของมหาวิทยาลัย
Georgetown University ทำไมต้องเป็นที่นี่น่ะเหรอครับ ก็เพราะว่ามหาวิทยาลัยนี้มักจะอยู่ในลำดับต้นๆในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของความเข้าใจในบริบทธุรกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยจากผลการจัดอันดับของ Financial Times สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ทำการเรียนการสอนด้านธุรกิจซึ่งได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ได้จัดอันดับให้ Georgetown University อยู่ใน 5 อันดับแรกของสาขาธุรกิจระหว่างประเทศมา 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งก็จะตรงกับจุดประสงค์ของตัวหลักสูตรที่นอกจากจะมุ่งสร้างความเข้าใจในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในทุกมิติแล้ว ก็ยังจะเน้นถึงความสำคัญของกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลในยุคปัจจุบัน
นอกจากความโดดเด่นในเรื่องของวิชาการแล้ว มหาวิทยาลัย Georgetown University ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีบรรยากาศดีมากๆ ตัวแคมปัสหลักจะมีลักษณะเหมือนเป็นปราสาทสลับกับแม่น้ำและแนวต้นไม้ ตึกต่างๆถูกออกแบบมาอย่างร่มรื่นและกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ในขณะที่แคมปัสของหลักสูตรนี้จะอยู่ภายในตัวเมือง ซึ่งจะมีความทันสมัยและสะดวกกับการเดินทาง
หลักสูตร Professional Studies in Human Resources Management นี้จะให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของระบบการบริหารองค์กร และมองว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่เข้าใจกลยุทธ์การบริหารบุคคลซึ่งจะมีความแตกต่างทั้งในด้านบุคลิก ความต้องการ และวัฒนธรรมการทำงาน เราจะเห็นได้จากรายวิชาบังคับอย่าง Human Capital Analytics (การวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์) และ Strategic Thinking in Human Resources (การมองทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์) ซึ่งพุ่งเป้าไปในการวิเคราะห์ ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความแตกต่างกันของพนักงานแต่ละคนและวิธีที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้เกิดขึ้นสูงสุด นอกจากนี้ ในรายวิชาหลังยังมีการพูดถึงการช่วงชิงแรงงานที่มีคุณภาพสูงจากคู่แข่งในตลาดอีกด้วย
เมื่อผ่านรายวิชาบังคับแล้ว ในโปรแกรมนี้ยังมีสาขาย่อยให้นักศึกษาเลือกตามความสนใจของตนเอง ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเด่นหลักอีกจุดนึงของหลักสูตรจาก Georgetown University เพราะโดยปกติแล้ว หลักสูตรที่คล้ายกันในมหาวิทยาลัยอื่นๆจะไม่มีรายวิชาให้นักศึกษาเลือกตามความสนใจสักเท่าไหร่ แต่ในหลักสูตรนี้นักศึกษาสามารถเลือกสาขาย่อยที่ตนเองสนใจจาก 3 สาขาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ได้แก่
-Diversity and Inclusion Management (การจัดการกับความหลากหลาย) สาขานี้จะเน้นหนักไปในด้านของการทำความเข้าใจกับกลุ่มพนักงานที่มีความแตกต่างกัน เช่น เชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างนี้จะนำไปสู่ความไม่ร่วมมือ และความแตกแยกกันในการทำงาน การเรียนการสอนในสาขาจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และวิธีในการประสานความแตกต่างที่เกิดขึ้น
-International Human Resources Management (การบริหารทรัพยากรมนุษย์ข้ามชาติ) ในสาขานี้จะเน้นไปในเรื่องของการกำหนดนโยบายด้านบุคคลสำหรับบริษัทที่มีการลงทุนข้ามชาติ ซึ่งสาขานี้จะเหมาะมากสำหรับนักศึกษาที่มองเห็นภาพตัวเองเป็นนักทรัพยากรบุคคลอยู่ในองค์กรและบริษัทข้ามชาติ
-Strategic Human Capital Management (การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์) สาขานี้เหมาะสำหรับนักวางแผนครับ เป็นการพูดถึงการกำหนดนโยบายจากส่วนกลาง มองภาพรวมขององค์กร และปรับตัวอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ธุรกิจที่ไม่เคยแน่นอน
ข้ามมาที่มหาวิทยาลัยจากฝั่งอังกฤษ เราไปกันที่ London School of Economics and Political Science หรือเรียกสั้นๆว่า LSE กับหลักสูตรปริญญาโท Master of Science in Management and Human Resources (การจัดการและทรัพยากรบุคคล) กันครับ โดยจากการจัดอันดับของ QS World University Ranking ซึ่งมีการแยกสาขาวิชาในการจัดอันดับอย่างละเอียดนั้น ในปีล่าสุดได้จัดอันดับให้การเรียนการสอนสายสังคมศาสตร์ของ LSE เป็นอันดับ 1 ของอังกฤษ ซึ่งวิชาด้านบริหารธุรกิจนั้น ก็จัดอยู่ในวิชาสายสังคมศาสตร์เช่นเดียวกัน
LSE เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงลอนดอน ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีความรู้สึกถึงพลวัตของความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งในทุกๆวัน กล่าวกันว่าพื้นที่ที่จำกัดตามลักษณะของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองมีส่วนทำให้นักศึกษารู้สึกถึงความใกล้ชิด และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมและความเคลื่อนไหวต่างๆของมหาวิทยาลัย
มาที่ตัวหลักสูตรของ Master of Science in Management and Human Resources กันบ้าง หลักสูตรนี้เป็นการบูรณาการความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจกับโลกธุรกิจ เราจะได้เห็นรายวิชาหลักอย่าง Foundations of Business and Management for Human Resources (พื้นฐานทางธุรกิจและการจัดการทรัพยากรบุคคล) และ Organisational Behavior (พฤติกรรมองค์กร) ซึ่งในเนื้อหาจะมีการรวมเอาหลักจิตวิทยา สังคมวิทยา และเศรษฐศาสตร์มาทำความเข้าใจกับหลักการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของหลักสูตรนี้ คือการที่หลักสูตรได้รับการรับรองจาก CIPD (Chartered Institute of Personnel and Development) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่คอยดูแลเรื่องคุณภาพของพนักงานในสายวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลในอังกฤษ หากนักศึกษาได้ศึกษาครบตามรายวิชาที่หลักสูตรกำหนดไว้ เมื่อจบการศึกษาแล้วก็จะได้รับการรับรองจาก CIPD โดยอัตโนมัติ
เอาล่ะครับ เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับคอลัมน์แรก หวังว่าผู้อ่านที่สนใจในสายงานการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า HR จะได้รับความกระจ่างมากขึ้น มองเห็นภาพชัดเจนว่าเรียน HR เรียนอะไร เรียนแล้วจะทำงานแบบไหนนะครับ ถ้ามีคำถาม ข้อสงสัยเพิ่มเติม มีสาขาอาชีพไหนที่สนใจเป็นพิเศษ หรืออยากติชมยังไงก็เขียนฝากไว้ในคอมเมนท์ด้านล่างได้เลยนะครับ ฉบับนี้ลาไปก่อน ไว้เจอกันฉบับหน้าครับ
ที่มา:
http://kbeautifullife.askkbank.com/education/Pages/education_events_detail.aspx?TID=107
http://scs.georgetown.edu/
http://www.lse.ac.uk/management/home.aspx
http://rankings.ft.com/businessschoolrankings/rankings
http://www.topuniversities.com/university-rankings
http://goo.gl/YYR4i7
How do we get there : ตอนที่ 1 Head Hunter
How do we get there : ตอนที่ 1 Head Hunter “ผมจะเรียนอะไรดีครับ” “หนูจะเลือกเมเจอร์อะไรถึงจะเวิร์คคะ” และอีกสารพันคำถามที่มีใจความคล้ายๆกัน คงจะเป็นคำถามที่น่าปวดหัวสำหรับนักศึกษาที่กำลังจะไปเรียนต่อ หรือนักศึกษาที่กำลังจะเลือกวิชาเอกกับการตัดสินใจที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในชีวิต ซึ่งสำหรับคำถามนี้ บางทีผู้ถามอาจจะต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า จบแล้วตั้งใจจะทำอะไร อยากทำอาชีพแนวไหน ชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง ซึ่งบางครั้งสำหรับหลายๆคน มันก็ไม่ง่ายเลยที่จะตอบคำถามที่ดูเหมือนจะง่ายๆเหล่านี้ อันที่จริงต้นเหตุของปัญหาโดยส่วนใหญ่แล้วน่าจะมาจากการที่นักศึกษาอาจจะยังไม่มีไอเดียว่าอาชีพไหน เนื้อหางานเป็นอย่างไร สภาพการทำงานเป็นแบบไหน ทำงานนั้นแล้วจะต้องเจอกับอะไรบ้าง
นั่นจึงเป็นที่มาของไอเดียในการเขียนคอลัมน์นี้
จากการปรึกษากันของทีมงาน เรามีความเห็นร่วมกันว่า เราอยากจะใช้พื้นที่ตรงนี้ในการแนะนำอาชีพต่างๆที่อยู่ในกระแส และตรงกับความนิยมของเด็กรุ่นใหม่ เราจะไปพูดถึงว่าหน้าที่การงานที่พวกเขาและเธอต้องเจอในแต่ละวันคืออะไร และลองไปดูซิว่า เพื่อที่จะก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพในแต่ละสาขานั้น เราควรจะเตรียมพร้อมเรื่องการเลือกเรียนอย่างไรบ้าง
เอาล่ะ ฉบับแรกนี้ผมขอเกาะกระแสไปกับละครที่เพิ่งจบไปเมื่อไม่นานนี้นะครับ คือเรื่องอันโกะ กลรักสตรอว์เบอร์รี่ ถ้าหากผู้อ่านไม่ได้ติดตาม เรื่องย่อๆก็คือนางเอกพยายามที่จะตามไล่ล่าให้พระเอกยอมไปรับงานที่ตัวเองเตรียมเอาไว้ให้ในบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยที่ตัวเองจะได้รับทั้งเงินและตำแหน่งถ้าพระเอกยอมไปทำงานในบริษัทนั้น ซึ่งท้ายที่สุดนางเอกก็กลับไปตกหลุมรักพระเอก งานที่ตั้งใจไว้ก็เลยไม่สำเร็จซะนี่ โอเค พักเรื่องละครไว้เท่านั้นก่อนนะครับ ประเด็นที่ต้องการจะพูดถึงอยู่ตรงนี้ครับก็คือ นางเอกในเรื่องคืออันโกะนั้นทำงานอยู่ในบริษัทตัวกลางที่มีงานหลักในการที่จะหาคนให้กับบริษัทผู้ว่าจ้างอีกที โดยบริษัทตัวกลางที่ว่านี่ เราจะเรียกกันว่าบริษัทจัดหางานนี่แหละครับ แต่หลายๆทีเค้าก็จะเรียกชื่อกันเท่ๆว่า HR Agency หรือ Head Hunter ครับ ในที่นี้ผมขอเรียกบริษัทตัวกลางนี้ว่า Head Hunter ละกัน เพราะมันดูเท่ดี
เรามาพูดถึงเรื่องหน้าที่การทำงานของบริษัท Head Hunter ซักหน่อย ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ตามปกติบริษัทต่างๆก็มีแผนกบุคคลเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ทำไมจึงต้องไปว่าจ้างบริษัท Head Hunter อีกทอดนึงให้ดูวุ่นวาย เหตุผลหลักๆที่แต่ละบริษัทยอมจะลงทุนเพิ่มตรงนี้ก็จะเป็นเพราะว่าโดยทั่วๆไปแล้ว บริษัท Head Hunter จะมีความเป็นมืออาชีพสูงในการหาคนให้เหมาะกับงาน บริษัทเหล่านี้จะมีข้อมูลบุคคล (candidate) ทั้งที่คนหางานเอามาฝากไว้ด้วยตัวเอง หรือรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ แล้ว Head Hunter จะทำหน้าที่คัดสรรคนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะกับตำแหน่ง แล้วส่งประวัติไปให้บริษัทผู้ว่าจ้างดูว่าถูกใจหรือเปล่า ถ้าถูกใจก็จะเรียกสัมภาษณ์และบรรจุเป็นพนักงานต่อไป นอกจากนี้ด้วยความเป็นมืออาชีพในด้านการหาคน ความรวดเร็วในการทำงานก็จะสูงกว่าพนักงานฝ่ายบุคคลในบริษัททั่วๆไปที่ต้องจับงานหลายอย่าง ซึ่งไม่ใช่แค่การสรรหาคนเพียงอย่างเดียว ลองนึกดูง่ายๆว่า พนักงานฝ่ายบุคคลในบริษัททั่วๆไป มีงานในมือตั้งแต่ ทำค่าจ้างเงินเดือน จัดการสวัสดิการ จัดอบรม จัดกีฬาสี ปีใหม่ ใบลาป่วย แล้วก็อีกสารพัด เพราะฉะนั้นความคล่องตัวในการที่จะโฟกัสไปที่การสรรหาบุคคลก็อาจจะสู้บริษัทเฉพาะทางไม่ได้
ผู้อ่านคงจะพอมองเห็นภาพคร่าวๆของงาน Head Hunter แล้ว ทีนี้เราจะมาพูดถึงความน่าสนใจของงาน Head Hunter กัน งานนี้อันที่จริงแล้วเหมาะมากสำหรับคนที่ชอบทำความเข้าใจและการวิเคราะห์คน คนที่ชอบ mix & match วิเคราะห์ว่าคนนี้เหมาะกับงานแบบนี้ในบริษัทนั้น นอกจากนั้นงาน Head Hunter จะเป็นงานที่จะได้ติดต่อกับคนอยู่ตลอดเวลา บ่อยครั้งผมจะได้ยินความต้องการอย่างหนึ่งของเด็กรุ่นใหม่เวลาหางาน คือว่างานไหนที่จะได้มีการติดต่อพูดคุยกับคน อยากทำงานที่ได้ติดต่อสื่อสาร ซึ่งบอกได้เลยว่างานนี้เป็นหนึ่งในงานเหล่านั้น คนที่ทำงานนี้ควรจะมีทักษะการเจรจาอยู่พอสมควรในการที่จะโน้มน้าว ชักจูง แสดงให้เห็นว่างานที่ตัวเองกำลังนำเสนอมีความน่าสนใจอย่างไร นอกจากนั้นยังอาจจะต้องต่อรองเงื่อนไขกับฝ่ายของบริษัทผู้ว่าจ้างด้วย
นอกจากในส่วนของเนื้องานแล้ว ค่าตอบแทนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เพิ่มความน่าสนใจให้กับงานสายนี้ ตามปกติบริษัท Head Hunter จะได้รับค่าตอบแทนในกรณีที่หาคนให้บริษัทผู้ว่าจ้างได้ถูกใจ ส่วนตัวพนักงานที่ทำหน้าที่หาคน (recruiter) ก็จะได้รับค่า commission จากการหาคนได้ตรงกับความต้องการของบริษัทผู้ว่าจ้าง ยิ่งหาคนไปในตำแหน่งสำคัญ เงินเดือนสูงเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้ค่า commission สูงขึ้นเท่านั้น ว่ากันว่าเดือนๆนึง recruiter สามารถทำเงินได้หลายหมื่นจนถึงหลักแสนเลยทีเดียว
เป็นอย่างไรบ้างครับ เริ่มสนใจอาชีพนี้กันขึ้นมาบ้างรึยัง ถ้าสนใจเรามาดูกันครับว่ามีหลักสูตรการเรียนการสอนในด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ไหนบ้างที่น่าสนใจ
มาเริ่มกันที่โปรแกรมจากฝั่งอเมริกานะครับ โปรแกรมปริญญาโท Master of Professional Studies in Human Resources Management (การบริหารทรัพยากรบุคคล) ของมหาวิทยาลัย Georgetown University ทำไมต้องเป็นที่นี่น่ะเหรอครับ ก็เพราะว่ามหาวิทยาลัยนี้มักจะอยู่ในลำดับต้นๆในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของความเข้าใจในบริบทธุรกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยจากผลการจัดอันดับของ Financial Times สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ทำการเรียนการสอนด้านธุรกิจซึ่งได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ได้จัดอันดับให้ Georgetown University อยู่ใน 5 อันดับแรกของสาขาธุรกิจระหว่างประเทศมา 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งก็จะตรงกับจุดประสงค์ของตัวหลักสูตรที่นอกจากจะมุ่งสร้างความเข้าใจในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในทุกมิติแล้ว ก็ยังจะเน้นถึงความสำคัญของกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลในยุคปัจจุบัน
นอกจากความโดดเด่นในเรื่องของวิชาการแล้ว มหาวิทยาลัย Georgetown University ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีบรรยากาศดีมากๆ ตัวแคมปัสหลักจะมีลักษณะเหมือนเป็นปราสาทสลับกับแม่น้ำและแนวต้นไม้ ตึกต่างๆถูกออกแบบมาอย่างร่มรื่นและกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ในขณะที่แคมปัสของหลักสูตรนี้จะอยู่ภายในตัวเมือง ซึ่งจะมีความทันสมัยและสะดวกกับการเดินทาง
หลักสูตร Professional Studies in Human Resources Management นี้จะให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของระบบการบริหารองค์กร และมองว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่เข้าใจกลยุทธ์การบริหารบุคคลซึ่งจะมีความแตกต่างทั้งในด้านบุคลิก ความต้องการ และวัฒนธรรมการทำงาน เราจะเห็นได้จากรายวิชาบังคับอย่าง Human Capital Analytics (การวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์) และ Strategic Thinking in Human Resources (การมองทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์) ซึ่งพุ่งเป้าไปในการวิเคราะห์ ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความแตกต่างกันของพนักงานแต่ละคนและวิธีที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้เกิดขึ้นสูงสุด นอกจากนี้ ในรายวิชาหลังยังมีการพูดถึงการช่วงชิงแรงงานที่มีคุณภาพสูงจากคู่แข่งในตลาดอีกด้วย
เมื่อผ่านรายวิชาบังคับแล้ว ในโปรแกรมนี้ยังมีสาขาย่อยให้นักศึกษาเลือกตามความสนใจของตนเอง ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเด่นหลักอีกจุดนึงของหลักสูตรจาก Georgetown University เพราะโดยปกติแล้ว หลักสูตรที่คล้ายกันในมหาวิทยาลัยอื่นๆจะไม่มีรายวิชาให้นักศึกษาเลือกตามความสนใจสักเท่าไหร่ แต่ในหลักสูตรนี้นักศึกษาสามารถเลือกสาขาย่อยที่ตนเองสนใจจาก 3 สาขาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ได้แก่
-Diversity and Inclusion Management (การจัดการกับความหลากหลาย) สาขานี้จะเน้นหนักไปในด้านของการทำความเข้าใจกับกลุ่มพนักงานที่มีความแตกต่างกัน เช่น เชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างนี้จะนำไปสู่ความไม่ร่วมมือ และความแตกแยกกันในการทำงาน การเรียนการสอนในสาขาจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และวิธีในการประสานความแตกต่างที่เกิดขึ้น
-International Human Resources Management (การบริหารทรัพยากรมนุษย์ข้ามชาติ) ในสาขานี้จะเน้นไปในเรื่องของการกำหนดนโยบายด้านบุคคลสำหรับบริษัทที่มีการลงทุนข้ามชาติ ซึ่งสาขานี้จะเหมาะมากสำหรับนักศึกษาที่มองเห็นภาพตัวเองเป็นนักทรัพยากรบุคคลอยู่ในองค์กรและบริษัทข้ามชาติ
-Strategic Human Capital Management (การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์) สาขานี้เหมาะสำหรับนักวางแผนครับ เป็นการพูดถึงการกำหนดนโยบายจากส่วนกลาง มองภาพรวมขององค์กร และปรับตัวอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ธุรกิจที่ไม่เคยแน่นอน
ข้ามมาที่มหาวิทยาลัยจากฝั่งอังกฤษ เราไปกันที่ London School of Economics and Political Science หรือเรียกสั้นๆว่า LSE กับหลักสูตรปริญญาโท Master of Science in Management and Human Resources (การจัดการและทรัพยากรบุคคล) กันครับ โดยจากการจัดอันดับของ QS World University Ranking ซึ่งมีการแยกสาขาวิชาในการจัดอันดับอย่างละเอียดนั้น ในปีล่าสุดได้จัดอันดับให้การเรียนการสอนสายสังคมศาสตร์ของ LSE เป็นอันดับ 1 ของอังกฤษ ซึ่งวิชาด้านบริหารธุรกิจนั้น ก็จัดอยู่ในวิชาสายสังคมศาสตร์เช่นเดียวกัน
LSE เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงลอนดอน ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีความรู้สึกถึงพลวัตของความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งในทุกๆวัน กล่าวกันว่าพื้นที่ที่จำกัดตามลักษณะของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองมีส่วนทำให้นักศึกษารู้สึกถึงความใกล้ชิด และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมและความเคลื่อนไหวต่างๆของมหาวิทยาลัย
มาที่ตัวหลักสูตรของ Master of Science in Management and Human Resources กันบ้าง หลักสูตรนี้เป็นการบูรณาการความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจกับโลกธุรกิจ เราจะได้เห็นรายวิชาหลักอย่าง Foundations of Business and Management for Human Resources (พื้นฐานทางธุรกิจและการจัดการทรัพยากรบุคคล) และ Organisational Behavior (พฤติกรรมองค์กร) ซึ่งในเนื้อหาจะมีการรวมเอาหลักจิตวิทยา สังคมวิทยา และเศรษฐศาสตร์มาทำความเข้าใจกับหลักการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของหลักสูตรนี้ คือการที่หลักสูตรได้รับการรับรองจาก CIPD (Chartered Institute of Personnel and Development) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่คอยดูแลเรื่องคุณภาพของพนักงานในสายวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลในอังกฤษ หากนักศึกษาได้ศึกษาครบตามรายวิชาที่หลักสูตรกำหนดไว้ เมื่อจบการศึกษาแล้วก็จะได้รับการรับรองจาก CIPD โดยอัตโนมัติ
เอาล่ะครับ เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับคอลัมน์แรก หวังว่าผู้อ่านที่สนใจในสายงานการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า HR จะได้รับความกระจ่างมากขึ้น มองเห็นภาพชัดเจนว่าเรียน HR เรียนอะไร เรียนแล้วจะทำงานแบบไหนนะครับ ถ้ามีคำถาม ข้อสงสัยเพิ่มเติม มีสาขาอาชีพไหนที่สนใจเป็นพิเศษ หรืออยากติชมยังไงก็เขียนฝากไว้ในคอมเมนท์ด้านล่างได้เลยนะครับ ฉบับนี้ลาไปก่อน ไว้เจอกันฉบับหน้าครับ
ที่มา: http://kbeautifullife.askkbank.com/education/Pages/education_events_detail.aspx?TID=107
http://scs.georgetown.edu/
http://www.lse.ac.uk/management/home.aspx
http://rankings.ft.com/businessschoolrankings/rankings
http://www.topuniversities.com/university-rankings
http://goo.gl/YYR4i7