NOKIA.ญาณธน ระบุ ตอนนี้โนเกียยังไม่มีแผนที่จะพัฒนา Nokia X ให้กลายเป็นสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์อย่างแน่นอน

NOKIA.ญาณธน ระบุ ตอนนี้โนเกียยังไม่มีแผนที่จะพัฒนา Nokia X ให้กลายเป็นสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์อย่างแน่นอน

ประเด็นหลัก



    
     ญาณธน กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่ออกมาในตอนนี้โนเกียยังไม่มีแผนที่จะพัฒนา Nokia X ให้กลายเป็นสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์อย่างแน่นอน เนื่องมาจากความสัมพันธ์กับไมโครซอฟท์ ที่มีอยู่ทำให้ยังต้องให้ความสำคัญกับระบบปฏิบัติการหลักที่โนเกียเลือกใช้
    
     ขณะที่ในมุมของนักพัฒนา ซึ่งต้องถือว่าโนเกียวางระบบนิเวศน์ในส่วนนี้ไว้ค่อนข้างดี ด้วยการที่โนเกียมี สโตร์เป็นของตนเอง ทำให้นักพัฒนาสามารถนำแอปพลิเคชั่นที่ส่งขึ้นไปอยู่ในเพลย์สโตร์ ส่งเข้ามาอยู่ในโนเกียสโตร์ได้ทันที โดยแอปราว 75% ที่อยู่ในเพลย์สโตร์สามารถนำมาใช้งานได้ทันที ส่วนอีก 25% ที่เหลือ อาจจะต้องมีการปรับแต่งเล็กน้อย เนื่องมาจากเป็นแอปที่ผูกความสามารถเข้ากับกูเกิลเซอร์วิส
    


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032104




______________________________________



โอกาสของแพลตฟอร์ม 'Nokia X’ (Cyber Weekend)



ท่ามกลางกระแสจากผู้บริโภคที่เรียกร้องให้โนเกียผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่จัดเต็มความสามารถขั้นสูงระดับเดียวกับ Lumia รุ่นไฮเอนด์ของโนเกียเอง แต่สิ่งที่โนเกียนำเสนอแก่คนใช้งานกลับเป็นสมาร์ทโฟนในระดับกลางล่าง ที่จะเข้ามาช่วยขยายฐานลูกค้าของโนเกียให้มากขึ้นเท่านั้นเอง
    
     สิ่งที่เกิดขึ้นคือ โนเกีย ได้ริเริ่มผลักดันแพลตฟอร์ม Nokia X เข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟน โดยมีพื้นฐานของโอเอสมาจากแอนดรอยด์ เพียงแต่นำมาปรุงแต่งใหม่ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นบนพื้นฐานเทคโนโลยีของโนเกีย และไมโครซอฟท์
    
     ญาณธน สิมะวานิชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาไม่ใช่มีเพียงโนเกีย รายเดียวที่นำระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มาปรุงแต่งเพื่อออกสู่ตลาด เพราะแม้แต่อเมซอน ก็นำระบบแอนดรอยด์มาพัฒนาใช้คู่กับเครื่องอ่านอีบุ๊กอย่าง Kindle Fire ออกมาวางจำหน่ายแล้วก่อนหน้านี้
    
     โดยที่โนเกียมองเห็นประโยชน์ของแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ คือ ง่ายต่อการใช้งานยิ่งเมื่อนำมาใช้คู่กับฟังก์ชันเด่นของโนเกียอย่าง Here Maps หรือแม้แต่ระบบ Outlook ของไมโครซอฟท์ก็ทำให้สมาร์ทโฟนบนแพลตฟอร์ม Nokia X มีจุดแข็งที่ชัดเจนมากขึ้นด้วย
    
     'ที่โนเกียเลือกนำ Nokia X เข้าสู่ตลาดในช่วงระดับราคา 3,000 - 5,000 บาท เพราะมองว่าเป็นช่วงระดับราคาที่โนเกียยังไม่มีผลิตภัณฑ์มาต่อสู่กับคู่แข่ง ดังนั้นเมื่อมี Nokia X เข้ามาจะช่วยให้โนเกียสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนในช่วงราคานี้ได้มากขึ้น'
    
     แต่เดิมโนเกียจะมีโทรศัพท์ที่ครอบคลุมตลาดใน 2 ช่วงหลักด้วยกัน คือ Asha ที่กินตลาดในช่วงระดับราคาต่ำกว่า 3,000 บาท ลงไป และ Lumia ที่จับตลาดในช่วง 5,000 บาทขึ้นไปจนถึงระดับ 20,000 บาท ดังนั้นเมื่อ Nokia X เริ่มวางจำหน่ายที่ 3,990 บาท จึงเหมือนเป็นจิกซอว์ที่จะมาเติมเต็มไลน์ผลิตภัณฑ์ของโนเกีย
    
     เนื่องมาจากสมาร์ทโฟนในระดับราคา 3,000 - 5,000 บาท มีสัดส่วนในตลาดค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นเมื่อ Nokia X และ Nokia XL ที่จะทยอยเข้ามาวางจำหน่ายในช่วงต้นไตรมาส 2 ก็จะทำให้โนเกียมีโอกาสชิงส่วนแบ่งตลาดในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นได้
    
     อย่างไรก็ตามในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ว่า ทางโนเกีย จะขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ของ Nokia X ให้กว้างขึ้น ด้วยการกดราคาของ Asha ลง พร้อมๆไปกับการดันราคาของ Lumia ให้สูงขึ้น เพื่อให้การส่ง Nokia X เข้าสู่ตลาดทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
    
     ญาณธน กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่ออกมาในตอนนี้โนเกียยังไม่มีแผนที่จะพัฒนา Nokia X ให้กลายเป็นสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์อย่างแน่นอน เนื่องมาจากความสัมพันธ์กับไมโครซอฟท์ ที่มีอยู่ทำให้ยังต้องให้ความสำคัญกับระบบปฏิบัติการหลักที่โนเกียเลือกใช้
    
     ขณะที่ในมุมของนักพัฒนา ซึ่งต้องถือว่าโนเกียวางระบบนิเวศน์ในส่วนนี้ไว้ค่อนข้างดี ด้วยการที่โนเกียมี สโตร์เป็นของตนเอง ทำให้นักพัฒนาสามารถนำแอปพลิเคชั่นที่ส่งขึ้นไปอยู่ในเพลย์สโตร์ ส่งเข้ามาอยู่ในโนเกียสโตร์ได้ทันที โดยแอปราว 75% ที่อยู่ในเพลย์สโตร์สามารถนำมาใช้งานได้ทันที ส่วนอีก 25% ที่เหลือ อาจจะต้องมีการปรับแต่งเล็กน้อย เนื่องมาจากเป็นแอปที่ผูกความสามารถเข้ากับกูเกิลเซอร์วิส
    
     จิระพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนนักพัฒนา โนเกีย (ประเทศไทย) กล่าวเสริมว่า จุดแข็งของโนเกียในตลาดแอปพลิเคชันคือระบบโอเปอเรเตอร์บิลลิ่ง ที่ถือเป็นรายเดียวที่สามารถหักเงินค่าแอปจากค่าบริการโทรศัพท์มือถือได้ ทันที แตกต่างกับเพลย์สโตร์ หรือแอปสโตร์ ที่จำเป็นต้องหักค่าแอปจากบัตรเดบิต หรือเครดิต ทำให้เชื่อว่าจะเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก
    
     นอกจากนี้ โนเกียสโตร์ในประเทศไทย ยังถูกควบคุมดูแลด้วยทีมงานคนไทยด้วยกันเอง ดังนั้นจึงสามารถมีพื้นที่ในการโปรโมทแอปพลิเคชันได้ง่ายกว่า และในขณะเดียวกันก็สามารถส่งแอปเข้าไปให้บริการในตลาดโลกได้เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการอื่น
    
     อย่างไรก็ตามในกรณีที่ต้องการนำแอปพลิเคชันจากกูเกิลเพลย์มาใช้งานใน Nokia X ก็ยังมีอีกช่องทางคือผ่าน 3rd Party Store อย่าง 1 mobile marketที่เปิดให้ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ทั่วโลก สามารถเข้าถึงแหล่งแอปพลิเคชันผ่านนามสกุลไฟล์ .apk ที่ผู้ใช้สามารถเลือกลงได้เอง
    
     'ที่โนเกียต้องประชาสัมพันธ์ต่อไปคือ ให้ความรู้ถึงการลงแอปผ่านไฟล์ apk ว่าบางแอป อาจจะมีความเสี่ยงได้ ซึ่งในส่วนนี้ผู้ใช้งานจะต้องรับผิดชอบเอง แต่ถ้าต้องการลงแอปแบบปลอดภัยก็สามารถลงจากโนเกียสโตร์ได้'
    
     คำถามที่เกิดขึ้นจึงหนีไม่พ้นว่าท้ายที่สุดแล้วโนเกียจะเลือกทำการตลาดโดยให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มไหนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น Asha ที่พัฒนาขึ้นมากับมือ หรือจะเป็น Nokia X ที่ดึงแอปของแอนดรอยด์มาใช้งาน และ Lumia ที่เป็นของบริษัทแม่อย่างไมโครซอฟท์
    
     ***ไม้เด็ดแพลตฟอร์ม Nokia X ที่มาแทนกูเกิลเซอร์วิส***
    
     ในสมาร์ทโฟน Nokia X แม้ว่าจะนำระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แบบโอเพ่นซอร์สมาใช้ (Android Open Source Project :AOSP) แต่ก็ได้มีการตัดเซอร์วิสของกูเกิลอย่าง กูเกิลเพลย์ ยูทูป กูเกิลแมปส์ และระบบอีเมลออกไป และนำบริการของโนเกียเข้ามาแทนที่
    
     - Here Maps คือระบบนำทางที่โนเกีย นำเข้ามาใส่แทนที่ กูเกิลแมปส์ โดยมีจุดเด่นตรงที่สามารถโหลดแผนที่มาเก็บไว้ใช้งานในตัวเครื่องได้ทันที
    
     - Outlook เป็นแอปจัดการอีเมลจากไมโครซอฟท์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงอีเมลได้อย่างง่าย
    
     - Fast Lane ถือเป็นอินเทอร์เฟสที่โนเกียคิดค้นขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
    
     - Nokia Mix Radio เป็นสถานีเพลงส่วนตัว ที่ใช้งานได้ฟรีสำหรับลูกค้าโนเกีย
    
     - Skype ให้สิทธิพิเศษโทร.เข้าเบอร์บ้านหรือโทรศัพท์มือถือทั่วโลกฟรี 1 เดือน
    
     แต่อย่างไรก็ตาม ล่าสุดได้มีนักพัฒนา คิดค้นวิธีการที่ทำให้ Nokia X สามารถใช้งานกูเกิลเซอร์วิสได้แล้ว เพียงแต่ต้องทำการปรับแต่งเครื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้เครื่องหมดประกัน แต่ก็แลกมาด้วยการเข้าถึงแอปพลิเคชันจากกูเกิลได้ 100%


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032104
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่