“หลักวิชา” ที่กำหนดขึ้นมาจาก “กฎของความจริงแท้” ( Reality Laws) เป็น “สัจธรรม” (Truth) ที่มีหนึ่งเดียวจึงถูกต้องตลอดไป หลักวิชา จึงมิอาจกำหนดขึ้นมาจากความเห็นของบุคคล “อัตวิสัย”(Subjective) ของบุคคลใด เพราะหลักวิชากำหนดขึ้นมาจาก “ภววิสัย” (Objective) อันเป็นกฎของธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้หลักวิชาจึงเป็นเครื่องตัดสินความถูกผิดของ “ทฤษฎี” (Theory) และ “นโยบาย” (Policy) ดังนั้น เมื่อทฤษฎีหรือความเห็นของบุคคล และนโยบายขัดแย้งกับหลักวิชา จะต้องถือเอาหลักวิชาเป็นหลักครับ เพราะทฤษฎีและนโยบายนั้นกำหนดขึ้นมาจากความต้องการของมนุษย์ จึงเปลี่ยนแปลงได้ และไม่แน่นอนว่าจะถูกต้องเสมอไป แต่หลักวิชาถูกต้องเสมอไปครับและยังเอาไปใช้แก้ปัญหาได้อีกด้วย
หลักวิชา กำหนดขึ้นมาจาก กฎของความจริงแท้ (Reality Law) มิใช่กำหนดขึ้นมาจากความ เห็นของบุคคล หลักวิชาจึงกำหนดขึ้นมาจาก ภววิสัย (Objective) ไม่ใช่กำหนดขึ้นมาจาก อัตวิสัย (Subjective)
ภววิสัย คือสิ่งที่ดำรงอยู่จริงของธรรมชาติ ความดำรงอยู่จริงนี้ ตรงกับคำว่า Reality หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ด้วยตนเอง ไม่ต้องขึ้นกับสิ่งอื่น ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่การดำรงอยู่เองก็ดำรง อยู่อย่างมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
กฎเกณฑ์ธรรมชาติเหล่านี้ มีผู้ไปค้นพบแล้ว นำเอามาเปิดเผยเช่นที่เราเรียกกันว่า นักปราชญ์ หรือนักวิชาการ และพระศาสดาทั้งหลาย เรียกสิ่งที่นำมาเปิดเผยนั้นว่า สัจธรรม (Truth) บ้าง หลักการ หลักวิชาบ้าง พระธรรมบ้าง หรือจะเรียกว่าอะไรก็สุดแล้วแต่ ซึ่งหลักวิชาเหล่านั้นจะไม่มีใครเป็นเจ้า ของ เพราะสัจธรรมมีเพียงหนึ่งย่อมไม่มีใครเป็นเจ้าของ ส่วนหลักการที่มาจาก อัตวิสัย นั้น ย่อมมีเจ้า ของเสมอ เพราะอัตวิสัย คือการบอกความเป็นเจ้าของ ดังนั้น ปัญหาวิชาการไม่ว่าวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ หรือ วิทยาศาสตร์สังคม จะตัดสินกันด้วยการขอประชามติมิได้ เพราะวิชาการนั้น ไม่ใช่ ทฤษฎี
“วิชา” คือ ภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ภายในของสรรพสิ่ง ซึ่งมาจาก “หลักวิชา” ที่กำหนด ขึ้นมาจากกฎของความจริงแท้ที่ดำรงอยู่จริง (Existence) ย่อมแน่นอนและถูกต้องตลอดไป จึงเป็น “สัจธรรม” ที่มีเพียงหนึ่งเดียว
ดังนั้น นักวิชาการจริงจะไม่มีจุดการมองที่แตกต่างกัน เพราะความเห็นที่แตกต่างกันเป็น อัตวิสัย จึงเป็นคุณสมบัติของนักทฤษฎี ไม่ใช่คุณสมบัติของนักวิชาการ โดยเฉพาะยังเป็นทฤษฎีที่ ผิดอีกด้วย ซึ่งเรียกทางบาลีว่า “มิจฉาทิฏฐิ” เพราะนักวิชาการจริงต้องเห็นตรงกันหมด แต่นักวิชาการ บ้านเราเป็นนักวิชาการเพียงแต่เปลือก ไม่เข้าใจแม้แต่คำว่า “วิชา” คืออะไร ข้อเสนอของเขาจึงเป็น เรื่องอัตวิสัยทั้งสิ้น การปฏิรูปประเทศโดยอาศัยนักวิชาการจอมปลอมจึงเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งสิ้น เชื่อถือไม่ได้
หลักวิชาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาของชาติ เป็นเครื่องตัดสินความถูกผิดของทฤษฎีและนโยบาย ดังนั้น เมื่อทฤษฎี หรือ “ความเห็น” (Theory) หรือ นโยบาย (Policy) ขัดแย้งกับหลักวิชา จะต้องถือเอา หลักวิชาเป็นหลัก เพราะทฤษฎีและนโยบายนั้น กำหนดขึ้นมาจากความต้องการของมนุษย์จึงเปลี่ยน แปลงได้ และไม่แน่นอนว่าจะถูกต้องเสมอไป แต่หลักวิชากำหนดขึ้นจากกฎของความจริงแท้จึงถูก ต้อง และนำเอาไปแก้ปัญหาใดๆ ของชาติก็ได้ทั้งสิ้น
อ.วันชัย พรหมภา บรรยายเรื่อง หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย
การเมืองคืออะไร
นักปราชญ์สมัยกรีกกล่าวไว้ว่า “คนคือสัตว์การเมือง” คำกล่าวนี้ถูกต้องมาก เพราะเป็นการขีด เส้นแบ่งชัดเจนระหว่าง “คน” กับ “สัตว์”
“การเมือง” (Politics) เป็น “คุณสมบัติพิเศษ” ของคน เพราะคุณสมบัติพิเศษของคนนั่นแหละ ที่ทำให้คนต่างกับสัตว์ กล่าวคือ คนมีการเมือง สัตว์ไม่มีการเมือง คนสามารถสร้างอะไรได้สารพัด แต่สัตว์ไม่สามารถสร้างได้ ทางพุทธศาสนาก็แบ่งคนกับสัตว์ไว้เช่นกัน โดยเรียกคนว่า “เวไนยสัตว์” คือ รู้ธรรมได้
การเมือง มีความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนรวมเป็นใหญ่ ปฏิเสธความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนตัวเป็นใหญ่
คนคือสัตว์การเมือง จึงหมายความว่า คนคือสัตว์ที่มีความมุ่งหมายเพื่อส่วนรวมเป็นใหญ่ ถ้า ใครมีความมุ่งหมายเพื่อส่วนตัวเป็นใหญ่ คนนั้นก็ไม่ใช่สัตว์การเมือง ก็คือไม่ใช่คน ตรงกับคำโบราณ ที่ว่า “คอหยักหยักสักแต่ว่าเป็นคน” การถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่คือ ธรรมชาติที่แท้จริงของ คน และนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า “การเมือง” สื่อมวลชนว่า สภามีแต่ เสือสิงห์กระทิงแรด ก็ หมายความว่า ในสภาไม่มี นักการเมือง
หลักการในการตัดสินปัญหา
ความขัดแย้งทางทฤษฎีและนโยบายทั้งปวง จะแก้ได้ด้วย “หลักวิชา” หลักวิชาเป็นเครื่องตัดสิน ความถูกผิดของทฤษฎีและนโยบาย เมื่อทฤษฎีและนโยบายขัดแย้งกับหลักวิชาจะต้องถือเอา หลักวิชา เป็นหลัก
ทฤษฎีและนโยบาย กำหนดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ จึงเปลี่ยนแปลงได้ และไม่แน่นอน ว่าจะถูกต้องเสมอไป
แต่ “หลักวิชา” กำหนดขึ้นจาก ภววิสัย (Objective) ไม่ใช่อัตวิสัย (Subjective) กำหนดขึ้นจาก “กฎของความจริงแท้” (The Laws of Reality) ที่ดำรงอยู่จริงจึงเป็น “สัจธรรม” (Truth) ที่แน่นอน และถูกต้องตลอดไป
“วิชา” คือ ภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ภายในของสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งมาจาก “หลักวิชา” ที่กำหนดขึ้นจากกฎของความจริงแท้ที่ ดำรงอยู่ (Existence) จึงย่อมถูกต้องแม่นยำตลอดไป และเป็น “ของกลาง” ไม่ว่าทฤษฎีใด นโยบายใด ย่อมนำเอา “วิชา” และ “หลักวิชา” ไปใช้ได้ทั้งสิ้น
วิทยา เป็นรูปศัพท์สันสกฤตคำเดียวกับ วิชา ซึ่งเป็นรูปศัพท์บาลี แปลว่า ความรู้ ความฉลาด ปัญญา
อากร แปลว่า กอง หมู่ หรือ บ่อเกิด “วิทยา” + “อากร” เป็นวิทยากร หรือ วิชากร แปลว่า “บ่อเกิดแห่งความรู้”
อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเป็นได้เพียง นักตำราการ เท่านั้น ไม่ใช่นักวิชาการ
ความผิดทางการเมือง
ความผิดในทางศาสนา และความคิดในทางการเมืองเป็นเรื่อง “ธรรมาธิปไตย” ไม่ใช่เป็นเรื่อง ของ “โลกาธิปไตย” จึงเป็นความผิดในทางธรรม ไม่ใช่เป็นความผิดทางโลก (ยกเว้นในกรณีถูกแจ้ง ความดำเนินคดีตามกฎหมายในข้อหาอื่น)
ความผิดในทางศาสนาและความผิดในทางการเมือง จึงไม่มีกฎหมายทางโลกลงโทษ เพราะ เป็นโทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
โดยเฉพาะกฎธรรมชาตินั้น หนักหนาสาหัสกว่าโทษตามกฎหมาย คือเป็นตราบาปไปตลอด ชีวิต แต่โทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
พระมีความผิดถึงขั้นปาราชิก ต้องพ้นสภาพจากความเป็นพระ เพราะเป็นความผิดพระธรรม วินัย จึงหมดสิทธิ์จะกลับมาบวชใหม่อีกไม่ได้เลยตลอดชีวิต เป็นตราบาปทางจิตใจไปชั่วชีวิต
ในทางการเมืองก็เช่นเดียวกัน เมื่อนักการเมืองมีความผิดทางการเมือง ต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วยการลาออก และถ้ามีความผิดร้ายแรงในทางการเมือง โดยหลักการจะกลับมาเป็นนักการเมืองอีกไม่ได้เลย แต่ระบอบเผด็จการ นักการเมืองมักจะไม่ยอมถือหลักถือเกณฑ์ที่จะต้องรับผิดชอบทางการเมือง ซึ่งผิดหลักจริยธรรมทางการเมือง
ความเห็นผิดทางการเมือง
ที่ว่าบ้านเราปัญหาทฤษฎีเป็นปัญหาเป็นตาย ก็เพราะว่าโดยมากเรื่องจริงๆ ไม่เป็นปัญหา แต่ที่ สับสนอลหม่านเป็นเรื่องใหญ่ เพราะความเห็นผิด หรือความเข้าใจผิดต่อเรื่องนั้นๆ
ความเห็นผิดที่เป็นปัญหาเป็นตายของประเทศเราก็คือ เรามี “การปกครองแบบเผด็จการ” (Dictatorship) และเป็น “ระบอบเผด็จการ” (Dictatorial Regime) มานานกว่า 80 ปีแล้ว เป็นเรื่องง่ายๆ เดี๋ยวนี้ประชาชนธรรมดาก็รู้ เพราะรู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรมเป็นอย่างดี
แต่นักการเมืองและนักวิชาการยังล้าหลัง เข้าใจว่าเป็นประชาธิปไตยแล้ว จึงเกิดความสับสน อลหม่าน กลายเป็นเรื่องใหญ่ขัดแย้งกัน ถึงขนาดว่าไม่รู้ว่าจะสร้างความปรองดองกันได้อย่างไร นี่คือ ความเข้าใจผิด หรือ ความเห็นผิดทางการเมือง ที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของประเทศ ถ้ายังแก้ปัญหา ความเห็นผิดทางการเมืองอันนี้ไม่ตก ปัญหาอื่นๆ ที่สะสมกันมายาวนานในประเทศก็แก้ไม่ตกทั้งสิ้น
ขณะนี้คณะปฏิรูปประเทศไทยเลยเถิดกันไปใหญ่ ถ้าผิดพลาดในสถานการณ์เช่นนี้ ก็ย่อมเกิด มิคสัญญีกลียุคไม่ต้องสงสัย เพราะเป็น ความขัดแย้งทางทฤษฎี คือ เมื่อเกิดความเห็นผิดครอบงำแล้ว ย่อมนำไปสู่ความขัดแย้งที่แก้ไม่ตก เป็นความเห็นที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักวิชาด้วยกันทุกฝ่าย ก็ไม่มีวันที่จะตัดสินปัญหาได้ จะมีได้ก็แต่มหาวินาศเท่านั้น
การทำงานการเมือง
การทำงานการเมือง ไม่เหมือนการทำมาค้าขาย การลงทุนค้าขาย ซึ่งลงทุนผิดก็ล้มละลายแต่ ตัวเองเท่านั้น
แต่การทำงานการเมือง ถ้าทำการเมืองผิด หรือทำโดยปราศจาก ความรู้ทางวิชาการเมือง นั้น ไม่เพียงแต่ตัวเองจะล่มจมคนเดียวเท่านั้น หากแต่ยังทำให้ประเทศชาติและประชาชนวินาศล่มจมตาม ไปด้วย
การเมืองเป็นปรากฏการณ์สังคมอันสูงส่ง สูงส่งเป็นอันดับสองรองจากศาสนา ในขณะที่ ศาสนามีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติสุขของสรรพสัตว์ แต่การเมืองมีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติ สุขของประชาชนและมนุษยชน เรื่องของการเมืองจึงเป็นเรื่องของส่วนรวม เป็นเรื่องของประชาชน ทุกคน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของอาชีพ นักการเมืองอาชีพจึงไม่มี เมื่อนักเลือกตั้งหรือรัฐบาล ถูกตำหนิ ถูกด่าถูกขับไล่ หรือได้รับการดูถูกเหยียดหยามจึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องประชาชน หรือทำร้าย ประชาชน
การเมืองคือลมหายใจ คือเส้นเลือดเส้นชีวิตของมนุษย์ การทำงานการเมืองเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง ทุกคนจึงจำเป็นต้องทำตลอดไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ เป็นอกาลิโก โดยเฉพาะคือ การขับไล่เผด็จการในระบบรัฐสภา ออกไปให้หมดจงได้
ฟังคำบรรยาย หลักวิชา การเมือง การปกครอง โดย อ.วันชัย พรหมภา
หลักวิชา กำหนดขึ้นมาจาก กฎของความจริงแท้ (Reality Law) มิใช่กำหนดขึ้นมาจากความ เห็นของบุคคล หลักวิชาจึงกำหนดขึ้นมาจาก ภววิสัย (Objective) ไม่ใช่กำหนดขึ้นมาจาก อัตวิสัย (Subjective)
ภววิสัย คือสิ่งที่ดำรงอยู่จริงของธรรมชาติ ความดำรงอยู่จริงนี้ ตรงกับคำว่า Reality หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ด้วยตนเอง ไม่ต้องขึ้นกับสิ่งอื่น ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่การดำรงอยู่เองก็ดำรง อยู่อย่างมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
กฎเกณฑ์ธรรมชาติเหล่านี้ มีผู้ไปค้นพบแล้ว นำเอามาเปิดเผยเช่นที่เราเรียกกันว่า นักปราชญ์ หรือนักวิชาการ และพระศาสดาทั้งหลาย เรียกสิ่งที่นำมาเปิดเผยนั้นว่า สัจธรรม (Truth) บ้าง หลักการ หลักวิชาบ้าง พระธรรมบ้าง หรือจะเรียกว่าอะไรก็สุดแล้วแต่ ซึ่งหลักวิชาเหล่านั้นจะไม่มีใครเป็นเจ้า ของ เพราะสัจธรรมมีเพียงหนึ่งย่อมไม่มีใครเป็นเจ้าของ ส่วนหลักการที่มาจาก อัตวิสัย นั้น ย่อมมีเจ้า ของเสมอ เพราะอัตวิสัย คือการบอกความเป็นเจ้าของ ดังนั้น ปัญหาวิชาการไม่ว่าวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ หรือ วิทยาศาสตร์สังคม จะตัดสินกันด้วยการขอประชามติมิได้ เพราะวิชาการนั้น ไม่ใช่ ทฤษฎี
“วิชา” คือ ภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ภายในของสรรพสิ่ง ซึ่งมาจาก “หลักวิชา” ที่กำหนด ขึ้นมาจากกฎของความจริงแท้ที่ดำรงอยู่จริง (Existence) ย่อมแน่นอนและถูกต้องตลอดไป จึงเป็น “สัจธรรม” ที่มีเพียงหนึ่งเดียว
ดังนั้น นักวิชาการจริงจะไม่มีจุดการมองที่แตกต่างกัน เพราะความเห็นที่แตกต่างกันเป็น อัตวิสัย จึงเป็นคุณสมบัติของนักทฤษฎี ไม่ใช่คุณสมบัติของนักวิชาการ โดยเฉพาะยังเป็นทฤษฎีที่ ผิดอีกด้วย ซึ่งเรียกทางบาลีว่า “มิจฉาทิฏฐิ” เพราะนักวิชาการจริงต้องเห็นตรงกันหมด แต่นักวิชาการ บ้านเราเป็นนักวิชาการเพียงแต่เปลือก ไม่เข้าใจแม้แต่คำว่า “วิชา” คืออะไร ข้อเสนอของเขาจึงเป็น เรื่องอัตวิสัยทั้งสิ้น การปฏิรูปประเทศโดยอาศัยนักวิชาการจอมปลอมจึงเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งสิ้น เชื่อถือไม่ได้
หลักวิชาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาของชาติ เป็นเครื่องตัดสินความถูกผิดของทฤษฎีและนโยบาย ดังนั้น เมื่อทฤษฎี หรือ “ความเห็น” (Theory) หรือ นโยบาย (Policy) ขัดแย้งกับหลักวิชา จะต้องถือเอา หลักวิชาเป็นหลัก เพราะทฤษฎีและนโยบายนั้น กำหนดขึ้นมาจากความต้องการของมนุษย์จึงเปลี่ยน แปลงได้ และไม่แน่นอนว่าจะถูกต้องเสมอไป แต่หลักวิชากำหนดขึ้นจากกฎของความจริงแท้จึงถูก ต้อง และนำเอาไปแก้ปัญหาใดๆ ของชาติก็ได้ทั้งสิ้น
ในการสร้างประชาธิปไตยเพื่อจะไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของ
พวกนักการเมืองเผด็จการ อีกต่อไป นะครับ
http://www.lovedemocracy.com/radio.html
การเมืองคืออะไร
นักปราชญ์สมัยกรีกกล่าวไว้ว่า “คนคือสัตว์การเมือง” คำกล่าวนี้ถูกต้องมาก เพราะเป็นการขีด เส้นแบ่งชัดเจนระหว่าง “คน” กับ “สัตว์”
“การเมือง” (Politics) เป็น “คุณสมบัติพิเศษ” ของคน เพราะคุณสมบัติพิเศษของคนนั่นแหละ ที่ทำให้คนต่างกับสัตว์ กล่าวคือ คนมีการเมือง สัตว์ไม่มีการเมือง คนสามารถสร้างอะไรได้สารพัด แต่สัตว์ไม่สามารถสร้างได้ ทางพุทธศาสนาก็แบ่งคนกับสัตว์ไว้เช่นกัน โดยเรียกคนว่า “เวไนยสัตว์” คือ รู้ธรรมได้
การเมือง มีความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนรวมเป็นใหญ่ ปฏิเสธความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนตัวเป็นใหญ่
คนคือสัตว์การเมือง จึงหมายความว่า คนคือสัตว์ที่มีความมุ่งหมายเพื่อส่วนรวมเป็นใหญ่ ถ้า ใครมีความมุ่งหมายเพื่อส่วนตัวเป็นใหญ่ คนนั้นก็ไม่ใช่สัตว์การเมือง ก็คือไม่ใช่คน ตรงกับคำโบราณ ที่ว่า “คอหยักหยักสักแต่ว่าเป็นคน” การถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่คือ ธรรมชาติที่แท้จริงของ คน และนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า “การเมือง” สื่อมวลชนว่า สภามีแต่ เสือสิงห์กระทิงแรด ก็ หมายความว่า ในสภาไม่มี นักการเมือง
หลักการในการตัดสินปัญหา
ความขัดแย้งทางทฤษฎีและนโยบายทั้งปวง จะแก้ได้ด้วย “หลักวิชา” หลักวิชาเป็นเครื่องตัดสิน ความถูกผิดของทฤษฎีและนโยบาย เมื่อทฤษฎีและนโยบายขัดแย้งกับหลักวิชาจะต้องถือเอา หลักวิชา เป็นหลัก
ทฤษฎีและนโยบาย กำหนดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ จึงเปลี่ยนแปลงได้ และไม่แน่นอน ว่าจะถูกต้องเสมอไป
แต่ “หลักวิชา” กำหนดขึ้นจาก ภววิสัย (Objective) ไม่ใช่อัตวิสัย (Subjective) กำหนดขึ้นจาก “กฎของความจริงแท้” (The Laws of Reality) ที่ดำรงอยู่จริงจึงเป็น “สัจธรรม” (Truth) ที่แน่นอน และถูกต้องตลอดไป
“วิชา” คือ ภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ภายในของสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งมาจาก “หลักวิชา” ที่กำหนดขึ้นจากกฎของความจริงแท้ที่ ดำรงอยู่ (Existence) จึงย่อมถูกต้องแม่นยำตลอดไป และเป็น “ของกลาง” ไม่ว่าทฤษฎีใด นโยบายใด ย่อมนำเอา “วิชา” และ “หลักวิชา” ไปใช้ได้ทั้งสิ้น
วิทยา เป็นรูปศัพท์สันสกฤตคำเดียวกับ วิชา ซึ่งเป็นรูปศัพท์บาลี แปลว่า ความรู้ ความฉลาด ปัญญา
อากร แปลว่า กอง หมู่ หรือ บ่อเกิด “วิทยา” + “อากร” เป็นวิทยากร หรือ วิชากร แปลว่า “บ่อเกิดแห่งความรู้”
อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเป็นได้เพียง นักตำราการ เท่านั้น ไม่ใช่นักวิชาการ
ความผิดทางการเมือง
ความผิดในทางศาสนา และความคิดในทางการเมืองเป็นเรื่อง “ธรรมาธิปไตย” ไม่ใช่เป็นเรื่อง ของ “โลกาธิปไตย” จึงเป็นความผิดในทางธรรม ไม่ใช่เป็นความผิดทางโลก (ยกเว้นในกรณีถูกแจ้ง ความดำเนินคดีตามกฎหมายในข้อหาอื่น)
ความผิดในทางศาสนาและความผิดในทางการเมือง จึงไม่มีกฎหมายทางโลกลงโทษ เพราะ เป็นโทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
โดยเฉพาะกฎธรรมชาตินั้น หนักหนาสาหัสกว่าโทษตามกฎหมาย คือเป็นตราบาปไปตลอด ชีวิต แต่โทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
พระมีความผิดถึงขั้นปาราชิก ต้องพ้นสภาพจากความเป็นพระ เพราะเป็นความผิดพระธรรม วินัย จึงหมดสิทธิ์จะกลับมาบวชใหม่อีกไม่ได้เลยตลอดชีวิต เป็นตราบาปทางจิตใจไปชั่วชีวิต
ในทางการเมืองก็เช่นเดียวกัน เมื่อนักการเมืองมีความผิดทางการเมือง ต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วยการลาออก และถ้ามีความผิดร้ายแรงในทางการเมือง โดยหลักการจะกลับมาเป็นนักการเมืองอีกไม่ได้เลย แต่ระบอบเผด็จการ นักการเมืองมักจะไม่ยอมถือหลักถือเกณฑ์ที่จะต้องรับผิดชอบทางการเมือง ซึ่งผิดหลักจริยธรรมทางการเมือง
ความเห็นผิดทางการเมือง
ที่ว่าบ้านเราปัญหาทฤษฎีเป็นปัญหาเป็นตาย ก็เพราะว่าโดยมากเรื่องจริงๆ ไม่เป็นปัญหา แต่ที่ สับสนอลหม่านเป็นเรื่องใหญ่ เพราะความเห็นผิด หรือความเข้าใจผิดต่อเรื่องนั้นๆ
ความเห็นผิดที่เป็นปัญหาเป็นตายของประเทศเราก็คือ เรามี “การปกครองแบบเผด็จการ” (Dictatorship) และเป็น “ระบอบเผด็จการ” (Dictatorial Regime) มานานกว่า 80 ปีแล้ว เป็นเรื่องง่ายๆ เดี๋ยวนี้ประชาชนธรรมดาก็รู้ เพราะรู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรมเป็นอย่างดี
แต่นักการเมืองและนักวิชาการยังล้าหลัง เข้าใจว่าเป็นประชาธิปไตยแล้ว จึงเกิดความสับสน อลหม่าน กลายเป็นเรื่องใหญ่ขัดแย้งกัน ถึงขนาดว่าไม่รู้ว่าจะสร้างความปรองดองกันได้อย่างไร นี่คือ ความเข้าใจผิด หรือ ความเห็นผิดทางการเมือง ที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของประเทศ ถ้ายังแก้ปัญหา ความเห็นผิดทางการเมืองอันนี้ไม่ตก ปัญหาอื่นๆ ที่สะสมกันมายาวนานในประเทศก็แก้ไม่ตกทั้งสิ้น
ขณะนี้คณะปฏิรูปประเทศไทยเลยเถิดกันไปใหญ่ ถ้าผิดพลาดในสถานการณ์เช่นนี้ ก็ย่อมเกิด มิคสัญญีกลียุคไม่ต้องสงสัย เพราะเป็น ความขัดแย้งทางทฤษฎี คือ เมื่อเกิดความเห็นผิดครอบงำแล้ว ย่อมนำไปสู่ความขัดแย้งที่แก้ไม่ตก เป็นความเห็นที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักวิชาด้วยกันทุกฝ่าย ก็ไม่มีวันที่จะตัดสินปัญหาได้ จะมีได้ก็แต่มหาวินาศเท่านั้น
การทำงานการเมือง
การทำงานการเมือง ไม่เหมือนการทำมาค้าขาย การลงทุนค้าขาย ซึ่งลงทุนผิดก็ล้มละลายแต่ ตัวเองเท่านั้น
แต่การทำงานการเมือง ถ้าทำการเมืองผิด หรือทำโดยปราศจาก ความรู้ทางวิชาการเมือง นั้น ไม่เพียงแต่ตัวเองจะล่มจมคนเดียวเท่านั้น หากแต่ยังทำให้ประเทศชาติและประชาชนวินาศล่มจมตาม ไปด้วย
การเมืองเป็นปรากฏการณ์สังคมอันสูงส่ง สูงส่งเป็นอันดับสองรองจากศาสนา ในขณะที่ ศาสนามีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติสุขของสรรพสัตว์ แต่การเมืองมีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติ สุขของประชาชนและมนุษยชน เรื่องของการเมืองจึงเป็นเรื่องของส่วนรวม เป็นเรื่องของประชาชน ทุกคน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของอาชีพ นักการเมืองอาชีพจึงไม่มี เมื่อนักเลือกตั้งหรือรัฐบาล ถูกตำหนิ ถูกด่าถูกขับไล่ หรือได้รับการดูถูกเหยียดหยามจึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องประชาชน หรือทำร้าย ประชาชน
การเมืองคือลมหายใจ คือเส้นเลือดเส้นชีวิตของมนุษย์ การทำงานการเมืองเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง ทุกคนจึงจำเป็นต้องทำตลอดไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ เป็นอกาลิโก โดยเฉพาะคือ การขับไล่เผด็จการในระบบรัฐสภา ออกไปให้หมดจงได้