ราชอาณาจักร หมายความว่าอย่างไร?

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับบัญญัติไว้ในมาตรา 1. ว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้”

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

    
การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติข้อความที่ว่านี้ไว้เป็น “มาตราแรก” ทุกฉบับ ย่อมแสดงว่ามาตรานี้สำคัญที่สุด แต่ถ้าหากมีคำถามว่า มาตรานี้สำคัญอย่างไร หรือหมายความว่าอย่างไร กลับเป็นเรื่องประหลาดที่สุดเช่นกันที่คนไทยส่วนมากไม่รู้ อย่าว่าแต่ประชาชนคนไทยทั่วๆไปเลยที่ไม่รู้ แม้แต่นักรัฐศาสตร์หรือนักวิชาการซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะส่วนมากจะเข้าใจว่า ประเทศไทยจะแบ่งแยกดินแดนมิได้ ซึ่งเห็นได้จากปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านมักจะพูดผ่านทางหนังสือพิมพ์ว่า ประเทศไทยจะแบ่งแยกดินแดนไม่ได้ เพราะมัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 1. ความจริงรัฐธรรมนูญมาตรา 1. พูดถึง “ราชอาณาจักร” ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้    มิใช่พูดถึง “ประเทศไทย” แบ่งแยกมิได้ เพราะเขียนว่า “ประเทศไทย เป็นราชอาณาจักร” ดังนั้นตัวราชอาณาจักรจึงต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวแบ่งแยกมิได้ ไม่ใช่ตัวประเทศไทย โดยเฉพาะคนไทยทุกคนก็รู้เป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า ประเทศไทยจะแบ่งแยกดินแดนไม่ได้ เป็นความรู้ที่สืบทอดมาแต่ชั้นบรรพชนแล้วว่าคนไทยไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของใคร ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญอีกว่าประเทศไทยแบ่งแยกมิได้  
    
คำว่า “ราชอาณาจักร” ( KINGDOM )  หมายถึงอะไร? และหมายความว่าอย่างไร? ราชอาณาจักร หมายถึง รูปอันเป็นลักษณะของประเทศ หรือ รูปแบบของรัฐ ( FORM OF STATE ) ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งได้มีการรวมประเทศเป็นรัฐสมัยใหม่ เรียกว่า “รัฐประชาชาติ” ( NATIONAL  STATE ) ซึ่งมี 2 แบบคือ 1.รัฐเดียว ( UNITARY  STATE ) 2. หลายรัฐ ( MULTI- STATE  ) รัฐเดียว เรียกว่า ราชอาณาจักร( KINGDOM ) บ้าง ราชรัฐ                  ( KINGDOM  STATE ) บ้าง สหราชอาณาจักร ( UNITED KINGDOM ) บ้าง หรือ จักรวรรดิ ( EMPIRE ) บ้าง ส่วนการรวมประเทศแบบหลายรัฐ อาจจะเรียกว่า “สาธารณรัฐ” หรือ “สหรัฐ” หรือ รัฐบาลสหพันธ์ ( FEDERAL GOVERNMENT  ) หรือ รัฐบาลมลรัฐ  ( STATE  GOVERNMENT  )  
    สำหรับประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5  ทรงเปลี่ยนรัฐเจ้าครองนคร ( FEDERAL   STATE ) มาเป็นรัฐประชาชาติ เมื่อ พ.ศ.2435 ในรูปของ “ราชอาณาจักร” รัฐธรรมนูญจึงเขียนไว้ว่า “ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร” ซึ่งหมายถึง ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว มิใช่เป็นประเทศหลายรัฐ เป็นราชอาณาจักรซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ไม่ใช่เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุข  ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงรวมชาติที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชารัฐศาสตร์ และสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไทย ด้วยพระปรีชาญาณอันยอดเยี่ยม เพราะทรงมีความเข้าใจในหลักวิชารัฐศาสตร์เป็นอย่างดี

    ตามหลักวิชารัฐศาสตร์ของการรวมชาติแบบรัฐเดียว ต้องใช้หลัก “รวมศูนย์อำนาจจากการปกครอง”(CENTRALIZATION  OF ADMINISTRATIVE  POWER)  จึงจะรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของราชอาณาจักรไว้ได้ และประเทศแบบหลายรัฐ ต้องใช้หลัก “การกระจายอำนาจการปกครอง” (DECENTRALIZATION  OF ADMINISTRATIVE  POWER)  จึงจะรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของประเทศหลายรัฐไว้ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่