จาก FB คุณบรรยง พงษ์พานิช
CEO กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน-ภัทร ซึ่งเป็นเมื่อปีหนึ่งในทีม Investment Banking ที่ทำดีล IPO ปตท.
19 มีนาคม 2557
การขายหุ้น ปตท. 2544.....IPO ครั้งสำคัญที่สุด ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย
เล่าเรื่องค้างคาใจชาวประชา....ยาวหน่อยนะครับ เพราะจะเล่าให้หมดเปลือกจริงๆ
(ใครอ่านจบ ขอกราบงามๆหนึ่งทีครับ)
Privatization Series # 6. 14 มีค.
การจัดจำหน่ายหุ้น บมจ. ปตท. หลังจากที่แปรสภาพมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 920,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200,000,000 บาท ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เป็นข้อกังขาคาใจของสังคมตลอดมากว่า 12 ปี
ความจริงผม ทีมภัทรฯ ทีมผู้ร่วมจัดจำหน่ายอื่นๆ และทางปตท. ได้พยายามชี้แจงเรื่องนี้มาหลายครั้ง หลายวาระ หลายเวที ในการชี้แจงทุกครั้งก็มั่นใจว่าได้ตอบคำถามทุกประเด็นไปแล้วอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่พอเวลาผ่านไป ก็มีผู้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาอีก (หลายท่านที่หยิบยกก็เป็นผู้ที่ได้ฟังคำชี้แจงไปแล้ว และก็ดูเหมือนเข้าใจไปแล้ว อยู่ๆก็เหมือนกับมีแรงบันดาลใจให้ลืมเสียกระทันหัน ยกเรื่องเก่ามาด่าใหม่เสียงั้น)
วันนี้นับเป็นครั้งแรกที่ผมจะเขียนชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตนเอง (ความจริงทีมทนายเคยเขียนชี้แจงศาลปกครองไปแล้ว และศาลก็ไม่เคยได้ติดใจประเด็นนี้) และหวังว่า จะได้ชี้แจงโดยละเอียดเป็นครั้งสุดท้าย ไม่ต้องลุกขึ้นมาชี้แจงอีกต่อไป
ประเด็นในกระบวนการจัดจำหน่ายหุ้นปตท. ที่ถูกโจมตีมากมาตลอด มีอยู่ 3 ประเด็น ดังนี้ครับ
1. ราคาที่ขาย หุ้นละ 35 บาทนั้น เป็นราคาที่ถูกเกินไป เป็นการเอาทรัพย์สินของชาติไปขายถูกๆ ให้กับพรรคพวก (ทั้งไทยและเทศ) ถ้าเทียบกับราคาปัจจุบัน 300 บาท เหมือนกับเอาเงินรัฐไปแจกตั้ง เกือบสองแสนล้าน ประมาณว่าควรขายราคาสัก 250 บาท จะทำให้ได้เงินตั้ง 230,000ล้าน เหลือสร้างรถไฟความเร็วสูงได้เกือบหนึ่งสาย
2. ในการจองซื้อ ในส่วนที่ขายให้ประชาชนทั่วไปนั้น ขายหมดใน 1 นาที 17 วินาที มีประชาชนไปเข้าแถวแล้วจองไม่ได้เยอะมาก ทั้งๆที่มีความต้องการได้แบ่ง"สมบัติชาติ"ก้อนนี้ เมื่อรวมกับประเด็นตามข้อ 1 แล้ว ทำให้น่าเชื่อว่า มีการล็อคเอาไว้ให้พรรคพวก เอาไปให้นักการเมือง ให้ผู้มีอำนาจทั้งหลาย
3. ในรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรร มีรายชื่อของผู้ที่เป็นนักการเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นญาติ เป็นพรรคพวกกับผู้มีอำนาจอยู่หลายคน ยิ่งยืนยันข้อกล่าวหา สองข้อเบื้องต้นได้
แถมมีการสร้างมโน จินตนาการไปใหญ่โต ว่าการนำปตท.เข้าตลาดนั้น ก็เพื่อที่จะให้ตระกูลนักการเมืองเข้ายึดครองเอาเป็นของตนเสีย
เหตุผลความจำเป็น ประโยชน์ ข้อดีข้อด้อย ในการที่ปตท.เข้าระดมทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯผมได้เล่าไปหมดแล้ว วันนี้จะเล่าเรื่องขายหุ้นอย่างเดียวนะครับ
ขั้นแรก...ต้องขอย้อนเวลากลับไปดูบริบทสิ่งแวดล้อม ในช่วงเวลานั้น ในปี 2544 ซึ่งเป็นห้วงที่ประเทศไทยยังไม่ฟื้นจากวิกติดี โดยเฉพาะตลาดทุน ตลาดหุ้น
- SET Index ตกตำ่ อย่างมาก เริ่มต้นปีที่ 304 (SET เคยสูงสุด1,700 ตอน 2536 พอ'39 อยู่ที่ 832 สิ้น'40 หลังวิกฤติ ก็ตำ่กว่า 400 มาตลอด) ปี 2544 ก่อนขายหุ้น ปตท.มีวอลุ่มเฉลี่ยแค่ วันละ ~5,000ล้านบาท
Market Cap 1.5 ล้านๆ (สำหรับคนที่อาจไม่คุ้นตลาดหุ้น วันนี้ Index 1,365 ซื้อขายวันละ 30,000 ล้าน Market Cap 12 ล้านๆบาท)
- การขายหุ้นในตลาดแรกซบเซาอย่างมาก หลังจากที่ธนาคารสามแห่งใหญ่ KBANK SCB และ BBL ขายหุ้นเพิ่มทุนหนีตายหลังวิกฤติได้รวม 110,000 ล้านบาท ในปี 2541 แล้ว หุ้นล้วนตก ผู้จอง(ส่วนใหญ่เป็นต่างประเทศ) ต่างขาดทุนถ้วนหน้า หลังจากนั้น หุ้นเพิ่มทุนรวมทั้ง IPO แทบจะขายไม่ได้เลย ครั้งสุดท้ายที่มีการIPO ขนาดใหญ่ก็เป็นหุ้น บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี (RATCH) ที่ขายในเดือนตุลาคม 2543 ก็มีขนาดเพียง 2,275 ล้าน
- ผู้จองซื้อหุ้น ในช่วงเวลานั้นต่างขาดทุนจากการจองซื้อหุ้นกันตลอดมา โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ (หุ้นการบินไทย ขาย 60 บาท ราคาไม่เคยถึงหรือใกล้เคียงเลย)
- คนทั่วไปไม่ซื้อหุ้นจอง ...กลต.เคยบังคับให้แบ่งส่วนIPO 30%มาเปิดจองทั่วไป โดยให้ small lot first หรือ Random Allotment(จับสลากจัดสรร) ปรากฎว่า เปิดศูนย์สิริกิตทั้งวัน มีคนมาจองไม่กี่สิบคน เรียกว่าตลาดตายสนิท กลต.ต้องยกเลิกกฎดังกล่าวไป
ถามว่า... ในเมื่อภาวะแย่อย่างนั้น ทำไมต้องขายหุ้นปตท.ในช่วงเวลานั้น
คำตอบคือ... ตัวปตท.ต้องการเงินทุน เพื่อไปแก้ไขปรับสถานะการเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ประกอบกับ มีโอกาสที่จะได้ลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่น และปิโตรเคมีที่บอบชำ้หนักหลังวิกฤติ ทำให้ราคาถูก กับทั้งรัฐบาลไม่สามารถเจียดงบประมาณมาให้ได้ (ตอนนั้นยังไม่ได้ถีบคุณพ่อ IMF กลับไปเลย) กับทั้งรัฐบาลยังหวังว่าการขายปตท. การมี IPO ขนาดใหญ่ จะปลุกความสนใจในตลาดไทยให้กลับมาได้ อีกอย่าง ในเวลานั้น ไม่มีใครรู้ว่าตลาดจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ไม่มีใครคาดการได้ (ไอ้ประเภทเวลาผ่านไปแล้วมาบอกว่า...รู้งี้ ควรทำนั่นนี่โน่น น่ะขอทีเถอะครับ)
ช่วงเดือนสิงหาคม 2544 เริ่มมีการออกข่าว ปตท.จะเข้าตลาดฯ ผู้ร่วมจัดการจำหน่ายหุ้น ซึ่งได้แก่ 3 บริษัทไทย คือ บล.ภัทร บล.ไทยพาณิชย์ และ บล.ทิสโก้ และ อีก3 Investment Bank ระดับโลก คือ CSFB. Lehman Brothers และ Merrill Lynch เริ่มออก Research โหมโรง Promote ตลาดไทยใหม่ จนIndex ปรับตัวกว่าสิบเปอร์เซ็น จาก 300 ช่วงต้นเดือนสิงหา มาสูงกว่า 340 ในช่วงต้นเดือนกันยา
ทุกอย่างดูดี ...จนวันที่ 11 กันยา (9/11) ก็เกิดเหตุการณ์สะท้านโลก ตลาดหุ้นตกตำ่ทั่วโลก Index เราลงไป 280 ประเมินเหตุการณ์อยู่เกือบเดือน พอ 8 ตุลาคม ก็ตัดสินใจดำเนินการทดสอบตลาด เพื่อประเมินความต้องการเบื้องต้น (ก็อีกแหละ ไม่มีใครบอกได้ว่าสถานการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร)
ถึงตอนนี้ ...อยากอธิบายว่า การขายหุ้นขนาดใหญ่ ทุกครั้งต้องมีการวางแผนการกันอย่างละเอียดทุกขั้นตอน แผนมีความยืดหยุ่นตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาด กับทั้งต้องมีความมั่นใจสูงทุกขั้นตอน เพราะหากล้มเหลว ความเสียหายที่จะเกิดกับผู้ออกหลักทรัพย์ และผู้จัดจำหน่ายจะมีมาก ทั้งที่เป็นตัวเงิน และที่ไม่ใช่เงิน ทุกอย่างเป็นการดำเนินการอย่างมืออาชีพ ไม่ได้ทำง่ายๆชุ่ยๆอย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ
การทดสอบตลาด เราทำทั้ง 4 ทาง เพราะตั้งใจจะแบ่งการขายเป็น 4 ส่วน (Tranches) คือ นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ (เป้าหมายใหญ่สุด) สถาบันไทย ลูกค้าบุคคลที่ซื้อขายหุ้นอยู่แล้ว กับประชาชนทั่วไปที่มีเงินออมซึ่งปกติไม่ได้เล่นหุ้น การทดสอบพวกสถาบันนั้นเรียกว่า Pre-deal marketing คือ Research Analyst ของทั้งหกแห่ง จะออกไปพบนักลงทุนสถาบันทั่วโลกเพื่อรวบรวมความสนใจ ตลอดไปจนถึงการหาช่วงราคา ส่วนลูกค้าตลาดหุ้นก็เป็นหน้าที่ Underwriter ไทยทั้ง 3 แห่ง และสำหรับลูกค้าเงินออม เราขอให้ธนาคารสองแห่ง (กรุงไทย กับ ไทยพาณิชย์) Survey จากลูกค้าเงินฝากกว่า 5,000 ราย ...ผลสำรวจตลาด สถาบันมีอุปสงค์ค่อนข้างดี ลูกค้าbrokerพอใช้ได้ แต่ส่วนลูกค้าธนาคาร มีเพียง 5 % เท่านั้นที่ตอบว่าสนใจจองซื้อ ซึ่งเป็นไปตามภาวะตามที่ได้เล่ามาแล้ว
ทีนี้ก็เลยมาถึงขั้นตอนสำคัญ คือ การตัดสินใจว่า จะดำเนินการต่อหรือไม่ จะกำหนดช่วงราคาขายเท่าใด และ จะแบ่งสัดส่วนใน Tranches ต่างๆอย่างไร
"พี่เตาเล่าเรื่อง" ความหลังครั้งปตท. IPO!! ทำไม 35 บาท ? ขายสมบัติชาติให้คนอื่น ? มีนักการเมืองรวยเละ ?
CEO กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน-ภัทร ซึ่งเป็นเมื่อปีหนึ่งในทีม Investment Banking ที่ทำดีล IPO ปตท.
19 มีนาคม 2557
การขายหุ้น ปตท. 2544.....IPO ครั้งสำคัญที่สุด ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย
เล่าเรื่องค้างคาใจชาวประชา....ยาวหน่อยนะครับ เพราะจะเล่าให้หมดเปลือกจริงๆ
(ใครอ่านจบ ขอกราบงามๆหนึ่งทีครับ)
Privatization Series # 6. 14 มีค.
การจัดจำหน่ายหุ้น บมจ. ปตท. หลังจากที่แปรสภาพมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 920,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200,000,000 บาท ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เป็นข้อกังขาคาใจของสังคมตลอดมากว่า 12 ปี
ความจริงผม ทีมภัทรฯ ทีมผู้ร่วมจัดจำหน่ายอื่นๆ และทางปตท. ได้พยายามชี้แจงเรื่องนี้มาหลายครั้ง หลายวาระ หลายเวที ในการชี้แจงทุกครั้งก็มั่นใจว่าได้ตอบคำถามทุกประเด็นไปแล้วอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่พอเวลาผ่านไป ก็มีผู้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาอีก (หลายท่านที่หยิบยกก็เป็นผู้ที่ได้ฟังคำชี้แจงไปแล้ว และก็ดูเหมือนเข้าใจไปแล้ว อยู่ๆก็เหมือนกับมีแรงบันดาลใจให้ลืมเสียกระทันหัน ยกเรื่องเก่ามาด่าใหม่เสียงั้น)
วันนี้นับเป็นครั้งแรกที่ผมจะเขียนชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตนเอง (ความจริงทีมทนายเคยเขียนชี้แจงศาลปกครองไปแล้ว และศาลก็ไม่เคยได้ติดใจประเด็นนี้) และหวังว่า จะได้ชี้แจงโดยละเอียดเป็นครั้งสุดท้าย ไม่ต้องลุกขึ้นมาชี้แจงอีกต่อไป
ประเด็นในกระบวนการจัดจำหน่ายหุ้นปตท. ที่ถูกโจมตีมากมาตลอด มีอยู่ 3 ประเด็น ดังนี้ครับ
1. ราคาที่ขาย หุ้นละ 35 บาทนั้น เป็นราคาที่ถูกเกินไป เป็นการเอาทรัพย์สินของชาติไปขายถูกๆ ให้กับพรรคพวก (ทั้งไทยและเทศ) ถ้าเทียบกับราคาปัจจุบัน 300 บาท เหมือนกับเอาเงินรัฐไปแจกตั้ง เกือบสองแสนล้าน ประมาณว่าควรขายราคาสัก 250 บาท จะทำให้ได้เงินตั้ง 230,000ล้าน เหลือสร้างรถไฟความเร็วสูงได้เกือบหนึ่งสาย
2. ในการจองซื้อ ในส่วนที่ขายให้ประชาชนทั่วไปนั้น ขายหมดใน 1 นาที 17 วินาที มีประชาชนไปเข้าแถวแล้วจองไม่ได้เยอะมาก ทั้งๆที่มีความต้องการได้แบ่ง"สมบัติชาติ"ก้อนนี้ เมื่อรวมกับประเด็นตามข้อ 1 แล้ว ทำให้น่าเชื่อว่า มีการล็อคเอาไว้ให้พรรคพวก เอาไปให้นักการเมือง ให้ผู้มีอำนาจทั้งหลาย
3. ในรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรร มีรายชื่อของผู้ที่เป็นนักการเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นญาติ เป็นพรรคพวกกับผู้มีอำนาจอยู่หลายคน ยิ่งยืนยันข้อกล่าวหา สองข้อเบื้องต้นได้
แถมมีการสร้างมโน จินตนาการไปใหญ่โต ว่าการนำปตท.เข้าตลาดนั้น ก็เพื่อที่จะให้ตระกูลนักการเมืองเข้ายึดครองเอาเป็นของตนเสีย
เหตุผลความจำเป็น ประโยชน์ ข้อดีข้อด้อย ในการที่ปตท.เข้าระดมทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯผมได้เล่าไปหมดแล้ว วันนี้จะเล่าเรื่องขายหุ้นอย่างเดียวนะครับ
ขั้นแรก...ต้องขอย้อนเวลากลับไปดูบริบทสิ่งแวดล้อม ในช่วงเวลานั้น ในปี 2544 ซึ่งเป็นห้วงที่ประเทศไทยยังไม่ฟื้นจากวิกติดี โดยเฉพาะตลาดทุน ตลาดหุ้น
- SET Index ตกตำ่ อย่างมาก เริ่มต้นปีที่ 304 (SET เคยสูงสุด1,700 ตอน 2536 พอ'39 อยู่ที่ 832 สิ้น'40 หลังวิกฤติ ก็ตำ่กว่า 400 มาตลอด) ปี 2544 ก่อนขายหุ้น ปตท.มีวอลุ่มเฉลี่ยแค่ วันละ ~5,000ล้านบาท
Market Cap 1.5 ล้านๆ (สำหรับคนที่อาจไม่คุ้นตลาดหุ้น วันนี้ Index 1,365 ซื้อขายวันละ 30,000 ล้าน Market Cap 12 ล้านๆบาท)
- การขายหุ้นในตลาดแรกซบเซาอย่างมาก หลังจากที่ธนาคารสามแห่งใหญ่ KBANK SCB และ BBL ขายหุ้นเพิ่มทุนหนีตายหลังวิกฤติได้รวม 110,000 ล้านบาท ในปี 2541 แล้ว หุ้นล้วนตก ผู้จอง(ส่วนใหญ่เป็นต่างประเทศ) ต่างขาดทุนถ้วนหน้า หลังจากนั้น หุ้นเพิ่มทุนรวมทั้ง IPO แทบจะขายไม่ได้เลย ครั้งสุดท้ายที่มีการIPO ขนาดใหญ่ก็เป็นหุ้น บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี (RATCH) ที่ขายในเดือนตุลาคม 2543 ก็มีขนาดเพียง 2,275 ล้าน
- ผู้จองซื้อหุ้น ในช่วงเวลานั้นต่างขาดทุนจากการจองซื้อหุ้นกันตลอดมา โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ (หุ้นการบินไทย ขาย 60 บาท ราคาไม่เคยถึงหรือใกล้เคียงเลย)
- คนทั่วไปไม่ซื้อหุ้นจอง ...กลต.เคยบังคับให้แบ่งส่วนIPO 30%มาเปิดจองทั่วไป โดยให้ small lot first หรือ Random Allotment(จับสลากจัดสรร) ปรากฎว่า เปิดศูนย์สิริกิตทั้งวัน มีคนมาจองไม่กี่สิบคน เรียกว่าตลาดตายสนิท กลต.ต้องยกเลิกกฎดังกล่าวไป
ถามว่า... ในเมื่อภาวะแย่อย่างนั้น ทำไมต้องขายหุ้นปตท.ในช่วงเวลานั้น
คำตอบคือ... ตัวปตท.ต้องการเงินทุน เพื่อไปแก้ไขปรับสถานะการเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ประกอบกับ มีโอกาสที่จะได้ลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่น และปิโตรเคมีที่บอบชำ้หนักหลังวิกฤติ ทำให้ราคาถูก กับทั้งรัฐบาลไม่สามารถเจียดงบประมาณมาให้ได้ (ตอนนั้นยังไม่ได้ถีบคุณพ่อ IMF กลับไปเลย) กับทั้งรัฐบาลยังหวังว่าการขายปตท. การมี IPO ขนาดใหญ่ จะปลุกความสนใจในตลาดไทยให้กลับมาได้ อีกอย่าง ในเวลานั้น ไม่มีใครรู้ว่าตลาดจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ไม่มีใครคาดการได้ (ไอ้ประเภทเวลาผ่านไปแล้วมาบอกว่า...รู้งี้ ควรทำนั่นนี่โน่น น่ะขอทีเถอะครับ)
ช่วงเดือนสิงหาคม 2544 เริ่มมีการออกข่าว ปตท.จะเข้าตลาดฯ ผู้ร่วมจัดการจำหน่ายหุ้น ซึ่งได้แก่ 3 บริษัทไทย คือ บล.ภัทร บล.ไทยพาณิชย์ และ บล.ทิสโก้ และ อีก3 Investment Bank ระดับโลก คือ CSFB. Lehman Brothers และ Merrill Lynch เริ่มออก Research โหมโรง Promote ตลาดไทยใหม่ จนIndex ปรับตัวกว่าสิบเปอร์เซ็น จาก 300 ช่วงต้นเดือนสิงหา มาสูงกว่า 340 ในช่วงต้นเดือนกันยา
ทุกอย่างดูดี ...จนวันที่ 11 กันยา (9/11) ก็เกิดเหตุการณ์สะท้านโลก ตลาดหุ้นตกตำ่ทั่วโลก Index เราลงไป 280 ประเมินเหตุการณ์อยู่เกือบเดือน พอ 8 ตุลาคม ก็ตัดสินใจดำเนินการทดสอบตลาด เพื่อประเมินความต้องการเบื้องต้น (ก็อีกแหละ ไม่มีใครบอกได้ว่าสถานการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร)
ถึงตอนนี้ ...อยากอธิบายว่า การขายหุ้นขนาดใหญ่ ทุกครั้งต้องมีการวางแผนการกันอย่างละเอียดทุกขั้นตอน แผนมีความยืดหยุ่นตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาด กับทั้งต้องมีความมั่นใจสูงทุกขั้นตอน เพราะหากล้มเหลว ความเสียหายที่จะเกิดกับผู้ออกหลักทรัพย์ และผู้จัดจำหน่ายจะมีมาก ทั้งที่เป็นตัวเงิน และที่ไม่ใช่เงิน ทุกอย่างเป็นการดำเนินการอย่างมืออาชีพ ไม่ได้ทำง่ายๆชุ่ยๆอย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ
การทดสอบตลาด เราทำทั้ง 4 ทาง เพราะตั้งใจจะแบ่งการขายเป็น 4 ส่วน (Tranches) คือ นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ (เป้าหมายใหญ่สุด) สถาบันไทย ลูกค้าบุคคลที่ซื้อขายหุ้นอยู่แล้ว กับประชาชนทั่วไปที่มีเงินออมซึ่งปกติไม่ได้เล่นหุ้น การทดสอบพวกสถาบันนั้นเรียกว่า Pre-deal marketing คือ Research Analyst ของทั้งหกแห่ง จะออกไปพบนักลงทุนสถาบันทั่วโลกเพื่อรวบรวมความสนใจ ตลอดไปจนถึงการหาช่วงราคา ส่วนลูกค้าตลาดหุ้นก็เป็นหน้าที่ Underwriter ไทยทั้ง 3 แห่ง และสำหรับลูกค้าเงินออม เราขอให้ธนาคารสองแห่ง (กรุงไทย กับ ไทยพาณิชย์) Survey จากลูกค้าเงินฝากกว่า 5,000 ราย ...ผลสำรวจตลาด สถาบันมีอุปสงค์ค่อนข้างดี ลูกค้าbrokerพอใช้ได้ แต่ส่วนลูกค้าธนาคาร มีเพียง 5 % เท่านั้นที่ตอบว่าสนใจจองซื้อ ซึ่งเป็นไปตามภาวะตามที่ได้เล่ามาแล้ว
ทีนี้ก็เลยมาถึงขั้นตอนสำคัญ คือ การตัดสินใจว่า จะดำเนินการต่อหรือไม่ จะกำหนดช่วงราคาขายเท่าใด และ จะแบ่งสัดส่วนใน Tranches ต่างๆอย่างไร