กระทู้นี้ผมแปลจากบทความ
http://livelifeunited.com/david-moyes-tactics-philosophies-analysing/ เว็บนี้มีบทความวิเคราะห์เกี่ยวกับแท็คติกฟุตบอลที่น่าสนใจหลายเรื่องเลยครับ สำหรับแฟนแมนยูหรือผู้ที่สนใจน่าจะลองไปอ่านกันครับ...
เดิมทีตั้งใจว่าจะแปลเอาลงตั้งแต่เมื่อวานแล้ว แต่เกรงว่าจะเป็นลางไม่ดีต่อแมตช์สำคัญของทีมก็เลยยั้งไว้ก่อน แต่เมื่อเราได้รับผลการแข่งขันนี่น่าพอใจแล้ว ก็มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ...
ตีแผ่ความจริง !!! วิเคราะห์แท็คติกของเดวิด มอยส์
เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อมีผู้จัดการทีมคนใหม่ เขาก็จะมีชุดความคิดของปรัชญาฟุตบอลว่าทีมของเขาควรจะเล่นอย่างไร ในการทำทีมให้ซึมซับปรัชญาของเขาให้ได้นั้น สิ่งแรกที่เขาต้องทำคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือทรงบอลของทีม ทรงบอลไม่ได้มีค่าเท่ากับแผนการเล่น เช่น 4-4-2 4-2-3-1 อะไรแบบนั้น เพราะแผนการเล่นนั้นเป็นแค่พิมพ์เขียวของบทบาทผู้เล่นเป็นเพียงแค่จุดอ้างอิงในการยืนตำแหน่งเท่านั้น แต่ทรงบอลเป็นผลโดยตรงจากการยืนตำแหน่ง การเคลื่อนไหวของผู้เล่นในทีมที่สัมพันธ์กับลูกบอล เพื่อนร่วมทีม ที่ว่าง และฝ่ายตรงข้ามในทุกๆจังหวะของเกม ดังนั้นทรงบอลของทีมจะเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่มันก็จะมีทรงบอลทั่วไปสำหรับการบุก การครองบอล และการตั้งรับ
ทรงบอลนั้นเป็นแบบแผนปรัชญาการเล่นของทีม ตัวอย่าง เช่น เอฟเวอร์ตัน ภายใต้การคุมทีมของ โรแบร์โต้ มาร์ติเนซ พวกเขาเปลี่ยนจากการเล่นบอลไดเร็กต์ของเดวิด มอยส์ เมื่อฤดูกาลก่อนมาเป็นการเล่นเพื่อเน้นครองบอล ทั้งๆที่ใช้ผู้เล่นชุดเดียวกัน ความสามารถของผู้เล่นนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ภายใต้การคุมทีมของมาร์ติเนซ เขาได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของทีมเพื่อสร้างแบบแผนที่เหมาะกับการเล่นเพื่อครองบอลขึ้นมาแทน
มอยส์ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรกับทรงบอลของยูไนเต็ด ???
ในการที่จะตอบคำถามนี้ เราต้องวกกลับไปยังปรัชญาการทำทีมของเฟอร์กี้เสียก่อนเพื่อที่จะเปรียบเทียบความแตกต่างได้
"แนวทางของพวกเราที่ยูไนเต็ดคือ เมื่อมีผู้เล่นของเราคนหนึ่งได้บอล เราจะเคลื่อนที่ และผู้เล่นคนอื่นจะมาช่วยสนับสนุนการเล่น"
จากหนังสืออัตชีวประวัติของเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
ปรัชญาการเล่นของยูไนเต็ดภายใต้การคุมทีมของเซอร์อเล็กซ์นั้นจะเน้นเกมเร็ว มีการผ่านบอลและเคลื่อนไหวที่รวดเร็วจากทุกๆทิศทางเพื่อเอาชนะคู่แข่ง ในการที่จะทำแบบนี้ การเคลื่อนไหวของผู้เล่นจะต้องคล่องแคล่วและรวดเร็วเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่จากพื้นที่หนึ่งสู่อีกพื้นที่ จากคำกล่าวของเฟอร์กี้ เมื่อมีผู้เล่นได้บอล คนอื่นๆจะต้องเข้ามาสนับสนุนผู้เล่นคนนั้นจากทุกทิศทาง เพื่อการผ่านบอลสั้น-ยาว และจากด้านกว้าง-ตรงกลาง เพื่อที่จะทำให้เกมดำเนินต่อไป
ด้านล่างนี้เป็นภาพแสดงการเล่นของยูไนเต็ดจากฤดูกาลที่แล้ว ดูที่ทรงบอลของทีม จะเห็นว่าผู้เล่นของยูไนเต็ดจะเคลื่อนที่อย่างพร้อมเพรียงกันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากรับเป็นรุก เพื่อที่จะสนับสนุนผู้เล่นที่มีบอลในการสร้างสรรค์เกมบุก
นี่คือคลิปของการฝึกซ้อมของยูไนเต็ดช่วงที่เฟอร์กี้คุมทีมอยู่ ข้ามไปยังการฝึกซ้อมการจ่ายบอลและซ้อมเกมครึ่งสนาม คุณก็จะเห็นปรัชญาของทีมที่ป๋าพยายามทำให้ลูกทีมซึมซับและให้ความสำคัญกับการเคลื่อนที่ของผู้เล่น
"เดวิด มอยส์ เป็นคนที่นิยมแผนการเล่นแบบ "แบ่งส่วน" ในการฝึกซ้อมของเขาจะเน้นให้ผู้เล่นคุมพื้นที่ของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ในรูปแบบนี้จะแบ่งพื้นที่ในการเล่นออกเป็นตารางสี่เหลี่ยม 24 ส่วนเท่าๆกัน ดังนั้นผู้เล่นเกมรับก็จะดันขึ้นสูง ผู้เล่นด้านกว้างก็จะถ่างออกไปริมเส้น และผู้เล่นในเกมรุกหมุนเปลี่ยนตำแหน่งกัน"
ไมเคิล ค็อกซ์
จากคำอธิบายของไมเคิล ค็อกซ์ เดวิด มอยส์ นั้นวางแผนให้ผู้เล่นคุมพื้นที่ด้านกว้างของสนาม และถ่างแนวป้องกันของฝ่ายตรงข้ามเพื่อที่จะสร้างพื้นที่สำให้ตัวเอง รูปด้านล่างนำมาจากแมตช์ที่ยูไนเต็ดไปเยือนโอลิมเปียกอส ตำแหน่งของผู้เล่นนั้นมีไว้เพื่อคุมพื้นที่ โดยที่แต่ละคนจะคุมพื้นที่หนึ่งๆในสนามเพื่อถ่างพื้นที่การเล่นออกไป
ด้านล่างนี้เป็นคลิปการฝึกซ้อมของมอยส์สมัยที่เขายังคุมเอฟเวอร์ตัน ข้ามไปยังการฝึกซ้อมการจ่ายบอลและซ้อมเกมครึ่งสนาม เปรียบเทียบกับการซ้อมของเฟอร์กี้ดู ก็จะเห็นความแตกต่างของปรัชญาการเล่นระหว่าง เฟอร์กี้ และ มอยส์ ได้ชัดเจน เฟอร์กี้นั้นจะเน้นที่การสนับสนุนการเล่น ส่วนมอยส์นั้นจะเน้นที่การคุมพื้นที่
แทคติกของมอยส์ ทำให้ทีมของเขาถ่างแนวการเล่นเพื่อที่จะสร้างพื้นที่ว่างโดยที่ให้แต่ละคนคุมพื้นที่ทั้งหมดในสนาม แต่ปัญหาเกิดขึ้นกับแทคติกแบบนี้คือ
"ระยะห่างระหว่างผู้เล่นนั้นมีมากเกินไป" ดังนั้นการเล่นแบบเน้นครองบอลและผ่านบอลสั้นผสมผสานกันจึงทำได้ยากมาก ผลจากระยะทางทำให้แต่ละเพลย์ต้องใช้บอลไดเร็กต์มากขึ้น และนี่จึงอธิบายว่าทำไมยูไนเต็ดถึงเล่นบอลยาวและลูกครอสมากเหลือเกินในฤดูกาลนี้
เมื่อผู้เล่นต้องคุมพื้นที่ของตัวเอง มันก็จึงขาดความยืดหยุ่นและคล่องตัว นี่จึงเป็นผลให้ว่าทำไมทรงบอลของทีมจึงแข็งทื่อ ซึ่งทำให้คู่แข่งเดาทางได้ง่ายมาก เนื่องจากขาดการเคลื่อนที่และเปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นเพื่อที่จะสร้างความสับสนให้แนวรับของคู่แข่ง คู่แข่งสามารถอ่านทางเกมบุกและรับมือได้อย่างง่ายดาย
นี่จึงอธิบายว่า ทำไมยูไนเต็ดปีนี้ถึงต้องกระเสือกระสนอย่างหนักในการผ่านบอล ก็เพราะว่าผู้เล่นที่ครองบอลนั้นไม่มีตัวเลือกที่จะผ่านบอลออกไป เนื่องจากเพื่อนร่วมทีมนั้นอยู่กันไกลมาก มันก็เลยทำให้ความสามารถในการเจาะแนวรับตรงกลางน้อยลงไปด้วย เพราะในการที่จะเจาะตรงกลางผู้เล่นแต่ละคนจะต้องอยู่ใกล้กันเพื่อที่จะจ่ายบอลผสมผสานอย่างรวดเร็วในการทะลุแนวรับที่แน่นหนาของคู่แข่ง
จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมปีนี้ยูไนเต็ดถึงเล่นบอลยาวและครอสบอลมากกว่าเดิมเยอะมาก เกมบุกเน้นที่ทางกว้างเป็นหลัก และต้องดิ้นรนอย่างมากในการสร้างเกมและครองบอล
( ถึงตรงนี้มี Q&A เล็กน้อย ขอข้ามไปที่สรุปเลยละกันนะครับ เพื่อความรวดเร็ว ใครอยากอ่านคำถามอ่านได้จากลิงก์ด้านบนเลย )
สรุป มันไม่มีหรอกแท็คติกที่ดีหรือแย่ ถ้าแท็คติกนั้นมันเวิร์ค มันก็คือแท็คติกที่ถูก ซึ่งมันชัดเจนว่าปรัชญามอยส์ในเวลานี้นั้นไม่เวิร์ค และมันยากที่จะเดาว่าปรัชญาของเขาจะได้ผลเมื่อไหร่
แต่ในเวลาเดียวกันมันก็ยากที่จินตนาการว่าการเล่นแบบนี้มันจะประสบความสำเร็จในการเล่นฟุตบอลสมัยใหม่ในปัจจุบันได้อย่างไร ในเมื่อทุกวันนี้เกมรับของแต่ละทีมนั้นหนาแน่นมากขึ้น นี่จึงอธิบายว่าทีมระดับท็อปในปัจจุบันนิยมการผ่านบอลสั้นผสมผสานกันอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะเจาะแนวรับในปัจจุบันที่มีพื้นที่ว่างให้น้อย ในการที่จะทำอย่างนั้นผู้เล่นแต่ละคนจะต้องอยู่ใกล้ๆกัน มีการเคลื่อนที่มากและมีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะเจาะทะลวงแนวรับในฟุตบอลสมัยใหม่ที่มีการจัดการมาอย่างดีนั่นเอง
ตีแผ่ความจริง !!! วิเคราะห์แท็คติกของเดวิด มอยส์ ในฤดูกาลที่ผ่านมา
เดิมทีตั้งใจว่าจะแปลเอาลงตั้งแต่เมื่อวานแล้ว แต่เกรงว่าจะเป็นลางไม่ดีต่อแมตช์สำคัญของทีมก็เลยยั้งไว้ก่อน แต่เมื่อเราได้รับผลการแข่งขันนี่น่าพอใจแล้ว ก็มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ...
ตีแผ่ความจริง !!! วิเคราะห์แท็คติกของเดวิด มอยส์
เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อมีผู้จัดการทีมคนใหม่ เขาก็จะมีชุดความคิดของปรัชญาฟุตบอลว่าทีมของเขาควรจะเล่นอย่างไร ในการทำทีมให้ซึมซับปรัชญาของเขาให้ได้นั้น สิ่งแรกที่เขาต้องทำคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือทรงบอลของทีม ทรงบอลไม่ได้มีค่าเท่ากับแผนการเล่น เช่น 4-4-2 4-2-3-1 อะไรแบบนั้น เพราะแผนการเล่นนั้นเป็นแค่พิมพ์เขียวของบทบาทผู้เล่นเป็นเพียงแค่จุดอ้างอิงในการยืนตำแหน่งเท่านั้น แต่ทรงบอลเป็นผลโดยตรงจากการยืนตำแหน่ง การเคลื่อนไหวของผู้เล่นในทีมที่สัมพันธ์กับลูกบอล เพื่อนร่วมทีม ที่ว่าง และฝ่ายตรงข้ามในทุกๆจังหวะของเกม ดังนั้นทรงบอลของทีมจะเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่มันก็จะมีทรงบอลทั่วไปสำหรับการบุก การครองบอล และการตั้งรับ
ทรงบอลนั้นเป็นแบบแผนปรัชญาการเล่นของทีม ตัวอย่าง เช่น เอฟเวอร์ตัน ภายใต้การคุมทีมของ โรแบร์โต้ มาร์ติเนซ พวกเขาเปลี่ยนจากการเล่นบอลไดเร็กต์ของเดวิด มอยส์ เมื่อฤดูกาลก่อนมาเป็นการเล่นเพื่อเน้นครองบอล ทั้งๆที่ใช้ผู้เล่นชุดเดียวกัน ความสามารถของผู้เล่นนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ภายใต้การคุมทีมของมาร์ติเนซ เขาได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของทีมเพื่อสร้างแบบแผนที่เหมาะกับการเล่นเพื่อครองบอลขึ้นมาแทน
มอยส์ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรกับทรงบอลของยูไนเต็ด ???
ในการที่จะตอบคำถามนี้ เราต้องวกกลับไปยังปรัชญาการทำทีมของเฟอร์กี้เสียก่อนเพื่อที่จะเปรียบเทียบความแตกต่างได้
"แนวทางของพวกเราที่ยูไนเต็ดคือ เมื่อมีผู้เล่นของเราคนหนึ่งได้บอล เราจะเคลื่อนที่ และผู้เล่นคนอื่นจะมาช่วยสนับสนุนการเล่น"
จากหนังสืออัตชีวประวัติของเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
ปรัชญาการเล่นของยูไนเต็ดภายใต้การคุมทีมของเซอร์อเล็กซ์นั้นจะเน้นเกมเร็ว มีการผ่านบอลและเคลื่อนไหวที่รวดเร็วจากทุกๆทิศทางเพื่อเอาชนะคู่แข่ง ในการที่จะทำแบบนี้ การเคลื่อนไหวของผู้เล่นจะต้องคล่องแคล่วและรวดเร็วเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่จากพื้นที่หนึ่งสู่อีกพื้นที่ จากคำกล่าวของเฟอร์กี้ เมื่อมีผู้เล่นได้บอล คนอื่นๆจะต้องเข้ามาสนับสนุนผู้เล่นคนนั้นจากทุกทิศทาง เพื่อการผ่านบอลสั้น-ยาว และจากด้านกว้าง-ตรงกลาง เพื่อที่จะทำให้เกมดำเนินต่อไป
ด้านล่างนี้เป็นภาพแสดงการเล่นของยูไนเต็ดจากฤดูกาลที่แล้ว ดูที่ทรงบอลของทีม จะเห็นว่าผู้เล่นของยูไนเต็ดจะเคลื่อนที่อย่างพร้อมเพรียงกันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากรับเป็นรุก เพื่อที่จะสนับสนุนผู้เล่นที่มีบอลในการสร้างสรรค์เกมบุก
นี่คือคลิปของการฝึกซ้อมของยูไนเต็ดช่วงที่เฟอร์กี้คุมทีมอยู่ ข้ามไปยังการฝึกซ้อมการจ่ายบอลและซ้อมเกมครึ่งสนาม คุณก็จะเห็นปรัชญาของทีมที่ป๋าพยายามทำให้ลูกทีมซึมซับและให้ความสำคัญกับการเคลื่อนที่ของผู้เล่น
"เดวิด มอยส์ เป็นคนที่นิยมแผนการเล่นแบบ "แบ่งส่วน" ในการฝึกซ้อมของเขาจะเน้นให้ผู้เล่นคุมพื้นที่ของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ในรูปแบบนี้จะแบ่งพื้นที่ในการเล่นออกเป็นตารางสี่เหลี่ยม 24 ส่วนเท่าๆกัน ดังนั้นผู้เล่นเกมรับก็จะดันขึ้นสูง ผู้เล่นด้านกว้างก็จะถ่างออกไปริมเส้น และผู้เล่นในเกมรุกหมุนเปลี่ยนตำแหน่งกัน"
ไมเคิล ค็อกซ์
จากคำอธิบายของไมเคิล ค็อกซ์ เดวิด มอยส์ นั้นวางแผนให้ผู้เล่นคุมพื้นที่ด้านกว้างของสนาม และถ่างแนวป้องกันของฝ่ายตรงข้ามเพื่อที่จะสร้างพื้นที่สำให้ตัวเอง รูปด้านล่างนำมาจากแมตช์ที่ยูไนเต็ดไปเยือนโอลิมเปียกอส ตำแหน่งของผู้เล่นนั้นมีไว้เพื่อคุมพื้นที่ โดยที่แต่ละคนจะคุมพื้นที่หนึ่งๆในสนามเพื่อถ่างพื้นที่การเล่นออกไป
ด้านล่างนี้เป็นคลิปการฝึกซ้อมของมอยส์สมัยที่เขายังคุมเอฟเวอร์ตัน ข้ามไปยังการฝึกซ้อมการจ่ายบอลและซ้อมเกมครึ่งสนาม เปรียบเทียบกับการซ้อมของเฟอร์กี้ดู ก็จะเห็นความแตกต่างของปรัชญาการเล่นระหว่าง เฟอร์กี้ และ มอยส์ ได้ชัดเจน เฟอร์กี้นั้นจะเน้นที่การสนับสนุนการเล่น ส่วนมอยส์นั้นจะเน้นที่การคุมพื้นที่
แทคติกของมอยส์ ทำให้ทีมของเขาถ่างแนวการเล่นเพื่อที่จะสร้างพื้นที่ว่างโดยที่ให้แต่ละคนคุมพื้นที่ทั้งหมดในสนาม แต่ปัญหาเกิดขึ้นกับแทคติกแบบนี้คือ "ระยะห่างระหว่างผู้เล่นนั้นมีมากเกินไป" ดังนั้นการเล่นแบบเน้นครองบอลและผ่านบอลสั้นผสมผสานกันจึงทำได้ยากมาก ผลจากระยะทางทำให้แต่ละเพลย์ต้องใช้บอลไดเร็กต์มากขึ้น และนี่จึงอธิบายว่าทำไมยูไนเต็ดถึงเล่นบอลยาวและลูกครอสมากเหลือเกินในฤดูกาลนี้
เมื่อผู้เล่นต้องคุมพื้นที่ของตัวเอง มันก็จึงขาดความยืดหยุ่นและคล่องตัว นี่จึงเป็นผลให้ว่าทำไมทรงบอลของทีมจึงแข็งทื่อ ซึ่งทำให้คู่แข่งเดาทางได้ง่ายมาก เนื่องจากขาดการเคลื่อนที่และเปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นเพื่อที่จะสร้างความสับสนให้แนวรับของคู่แข่ง คู่แข่งสามารถอ่านทางเกมบุกและรับมือได้อย่างง่ายดาย
นี่จึงอธิบายว่า ทำไมยูไนเต็ดปีนี้ถึงต้องกระเสือกระสนอย่างหนักในการผ่านบอล ก็เพราะว่าผู้เล่นที่ครองบอลนั้นไม่มีตัวเลือกที่จะผ่านบอลออกไป เนื่องจากเพื่อนร่วมทีมนั้นอยู่กันไกลมาก มันก็เลยทำให้ความสามารถในการเจาะแนวรับตรงกลางน้อยลงไปด้วย เพราะในการที่จะเจาะตรงกลางผู้เล่นแต่ละคนจะต้องอยู่ใกล้กันเพื่อที่จะจ่ายบอลผสมผสานอย่างรวดเร็วในการทะลุแนวรับที่แน่นหนาของคู่แข่ง
จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมปีนี้ยูไนเต็ดถึงเล่นบอลยาวและครอสบอลมากกว่าเดิมเยอะมาก เกมบุกเน้นที่ทางกว้างเป็นหลัก และต้องดิ้นรนอย่างมากในการสร้างเกมและครองบอล
( ถึงตรงนี้มี Q&A เล็กน้อย ขอข้ามไปที่สรุปเลยละกันนะครับ เพื่อความรวดเร็ว ใครอยากอ่านคำถามอ่านได้จากลิงก์ด้านบนเลย )
สรุป มันไม่มีหรอกแท็คติกที่ดีหรือแย่ ถ้าแท็คติกนั้นมันเวิร์ค มันก็คือแท็คติกที่ถูก ซึ่งมันชัดเจนว่าปรัชญามอยส์ในเวลานี้นั้นไม่เวิร์ค และมันยากที่จะเดาว่าปรัชญาของเขาจะได้ผลเมื่อไหร่ แต่ในเวลาเดียวกันมันก็ยากที่จินตนาการว่าการเล่นแบบนี้มันจะประสบความสำเร็จในการเล่นฟุตบอลสมัยใหม่ในปัจจุบันได้อย่างไร ในเมื่อทุกวันนี้เกมรับของแต่ละทีมนั้นหนาแน่นมากขึ้น นี่จึงอธิบายว่าทีมระดับท็อปในปัจจุบันนิยมการผ่านบอลสั้นผสมผสานกันอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะเจาะแนวรับในปัจจุบันที่มีพื้นที่ว่างให้น้อย ในการที่จะทำอย่างนั้นผู้เล่นแต่ละคนจะต้องอยู่ใกล้ๆกัน มีการเคลื่อนที่มากและมีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะเจาะทะลวงแนวรับในฟุตบอลสมัยใหม่ที่มีการจัดการมาอย่างดีนั่นเอง