วิกฤติการเมืองยูเครนกับรัสเซีย-ไครเมีย ยุทธศาตร์และประวัติศาตร์

อรัมภบท
                     จากวิกฤติการทางการเมืองในยูเครน ที่เริ่มต้นพร้อมๆกับไทย เวลานี้ขณะที่วิกฤติการเมืองไทยยังหาทางออกไม่เจอ แต่วิกฤติการเมืองยูเครนใกล้จะใด้ข้อยุติแล้ว คืออีกไม่นาน แคว้นไครเมียซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองเขตหนึ่งในประเทศยูเครน ก็จะแยกตัวออกมา แล้วเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเชียแน่นอน

                     การที่ไครเมียเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียนี้ ใด้รับการคัดค้านและต่อต้านจากชาติตะวันตกอย่างหนัก มีการออกมาตราการคว่ำบาตทางการค้าต่างๆโดยชาติที่เป็นพันธมิตรนาโต้ ที่นำโดยอเมริกา งัดออกมาใช้เล่นงานรัสเซีย และนานาชาติมองว่างานนี้รัสเซียแทรกแซงทางการเมืองต่อยูเครนด้วยการส่งกำลังทหารเข้าไป ในระหว่างที่แคว้นไครเมียจะมีการขอลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชจากยูแครน แต่รัสเชียก็อ้างว่า ที่ส่งกำลังทหารเข้าไปนี่ ก็เพื่อคุ้มครองพลเมืองไครเมีย(มีเชื่อสายรัสเซียเป็นส่วนใหญ่)จากการถูกทำร้ายของ จทน. รัฐบาลยูเครน ชึ่งถูกอเมริกาชักใยอยู่เบื่องหลังอีกที่


                   ถึงแม้ว่าจะมีการต่อต้านจากนานาชาติอย่างหนัก แต่ประธานาธิปดี  วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเชียก็ไม่ใด้สนใจและนิ่งเฉยต่อมาตราการคว่ำบาตเหล่านี้ ทั้งยังประกาศรับรองการเป็นรัฐเอกราชของไครเมียอย่างรวดเร็วหลังมีการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชจายูแครน และล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญรัสเซีย ยังประกาศรับรองการผนวกดินแดนไครเมียเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียแล้วอย่ารวดเร็ว อีกเช่นกัน
              
                ทำไม่ถึงเป็นอย่างนี้ นักวิเคราะห์หลายคนพยายามอธิบายท่าที่ ที่เย็นชา และแข็งกร้าวของ ปูตีน ต่อมาตราการคว่ำบาตของชาติตะวันตก นักวิเคระห์การเมืองของอเมริกาหลายคนมองว่า ปูตีน ทะเยอทะยาน ต้องการที่จะสถาปนา สหภาพโชเวียตที่ 2 ขึ้นมาในชื่อ "สหภาพยูเรเชีย" บางคนวิเคราะห์ไปใกลถึงขนาดว่า ปูตีน รับเอาแนวคิดทำลายความมั่นคงของยุโรปตะวันตกมาจากฮิตเลอร์ เพื่อต้องการที่จะจัดระเบียบโลกใหม่

                     แต่ก็ยังมีคนที่มองอย่างเป็นเหตุเป็นผล อย่างนายยูจีน รูเมอร์(อดีต CIA ที่ดูแลเรือง รัสเซีย-สหภาพยูเรเซีย และงานการข่าว)มองว่าถ้าจะเข้าใจ ปูตีน ต้องมองไปที่ประวัติศาตร์ของไครเมียและรัสเชีย ที่ผูกพันกันมายาวนาน และแทนที่จะสร้าง สหภาพยูเรเซีย ขึ้นมาสิ่งที่ปูตีนต้องการน่าจะเป็นการมี รัฐกันชน เพื่อป้องกันการปิดล้อมทางยุทธ์ศาตร์ของชาติพันธมิตรนาโต้มากกว่า

                      ดังจะเห็นใด้ว่าช่วงหลังจากการล้มสลายของสหภาพโชเวียต อเมริกาและชาติตะวันตกต่างก็เข้ามามีบทบาทต่อประเทศลูก ที่แยกตัวออกมาจากโชเวียต อิทธิพลของอเมริกานั้น มีทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านการทหาร โดยด้านการทหารนั้นอเมริกา มีการส่งกองกำลังเข้ามาประจำการในหลายประเทศอดีตสหภาพโชเวียต ทั้งยังจะมีการสร้างฐานทัพ ฐานยิงจรวดมิสไซส์ ซึ่ง ปธน. ปูตีน มองว่าสิ่งนี้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัสเซีย และเป็นความพยายามที่จะปิดล้อมรัสเซียทางยุทธศาตร์

ดังนั้นรัสเซียจึงมองว่าเป็นความชอบธรรมแล้วที่จะส่งกำลังทหารเข้าไปในยึดครองเอาไครเมีย อีกทั้งประชาชนชาวไครเมียซึ่งส่วนใหญมีเชื่อสายรัสเชียก็ต้องการจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอยู่แล้ว(ทำประชามติชนะด้วยคะแนน97%) และที่สำคัญไครเมียเป็นจุดยุทธ์ศาตร์สำคัญทางทหารของรัสเชีย ในอดีตรัสเชียก็เคยทำสงครามอาบเลือด ที่แหลมไครเมียนี้มาแล้วสองครั้ง

ความสำคัญทางยุทธศาตร์ของแหลมไครเมีย
                         
                         แหลมไครเมีย ( Crimea ) เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนเหนือของทะเลดำ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่แปลกตาล้อมรอบไปด้วยเทือกเขาหินปูน เรียบชายฝั่งเป็นระยะทางยาว มองดูแล้วสวยงามยิ่งนัก  สภาพอากาศส่วนใหญ่เป็นภูมิอากาศแบบ เมดิเตอร์เรเนียน เป็นลักษณะภูมิอากาศอบอุ่นในฤดูหนาวและร้อนจัดในฤดูร้อนมีปริมาณฝนปานกลางและตกในฤดูหนาว ด้วยสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยจึงทำให้มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นภายในประเทศ

              แหลมนี้มีเมืองท่าสำคัญคือเมือง เซวัสโตปอล ( Sevastopol ) และ ยัลตา(ัyalta) สองเมืองนี้เป็นแหลงท่องเทียวที่มีชื่อเสียงมีรีสอร์ทหรู และเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตแล้ว โดยเฉพาะเมือง เซวัสโตปอล นั้นชาวรัสเซียถึงกับขนานนามให้ว่า"เมืองแห่งความรุ่งโรจน์แห่งชนรัสเซียน"Žเพราะประเทศมีประวัติศาตร์ที่พูกพันกันเมืองนี้มาก

                
               ด้วยความที่เป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ในภายหลังจากการล้มสลายของสหภาพโชเวียตแล้ว รัสเซียก็ยังคงกองเรือทะเลดำเอาใว้ที่เมืองนี้ โดยการขอเช่ายูเครนสร้างฐานทัพเรือ เซวัสโตปอลจึงเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่กองทัพเรือยูเครนและกองเรือทะเลดำของรัสเซีย ความสำคัญด้านการค้าและการต่อเรือของท่าเรือเซวัสโตปอล จึงเติบโตขึ้นภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายแล้วเป็นอย่างมาก แม้จะประสบความยากลำบากที่มาจากการควบคุมท่าเรือและสะพานเทียบเรือร่วมกันของทหารทั้งสองฝ่าย แต่ต่อไปจะไม่มีอีกแล้ว
              
             เพราะการที่รัสเซียยึดเอาไครเมียมาใด้ ก็เท่ากับยึดครองเส้นทางเดินเรือและน่านฟ้า เหนือทะเลดำเอาใว้ใด้ทั้งหมด ทำให้แผนการปิดล้อมรัสเซียของชาติพันธมิตรนาโต้ต้องล้มสลายลงไปทันที่ อีกทั้งด้วยแสนยานุภาพของกองทัพรัสเซีย อเมริการและชาติพันธ์มิตรนาโต้(North Atlantic Treaty Organzation : NATO) ก็อาจมองว่าการยึดตรองไครเมียนี้ เป็นคุกคามต่อความมั่นคงของนาโต้ก็ใด้ มาดูกันว่าแสนยานุภาพอะไรของรัสเชียที่นาโต้หวั่นเกรง

แสนยานุภาพกองทัพรัสเซีย

  -ระบบจรวดมิสไซส์ป้องกันจากพื้นสู่อากาศระยะใกล S-400 Triumf ระบบนี้คล้ายๆ ระบบแพทริออตของอเมริการ แต่มีความแม่นยำสูงกว่ามาก(แพทริออต บางที่ก็ยิงพวกเดียวกันอยู่บ่อยๆ) แน่นอนว่าเพื่อการต่อต้านอากาศยานสมัยใหม่ต้องมีระบบการจับเครื่องบินที่สามารถล่องหนหลบหลีกเรดาห์ได้ ซึ่ง S-400 Triumf ก็สามารถทำได้ ซึ่งสามรถตรวจจับและยิงเป้าหมายในระยถึง400กิโลเมตร รวมทั้งยิงจรวดร่อนในระยะทางได้ถึง3500 กิโลเมตร  ระบบมิสไซส์นี้พี่งจะพัฒนาสำเร็จใหม่ๆดังนั้นจึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก( รุ่นก่อนหน้ามันเรียกว่า S-300 )ล่าสุดมีคนเห็นมันอยู่ที่เมือง เซวัสโตปอล
ของในรถนี้ว่ากันว่ามันคือเรดาร์ 96L6E ของ S-400

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอมาดูอนุภาพของมันจากคลิปนี้

      
    -ระบบมิสไซส์โจมตีจากพื้นสู่อากาศระยะกลาง แบบจรยุทธ์ " CLUB-K คอนเทนเนอร์ " มันสามารถที่จะทำลายทั้งเป้าหมายภาคพื้นดินและเรือรบทุกแบบได้ในระยะทางถึง 300 กิโลเมตร ในวงการทหารขนานนามให้มันว่า"มือสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน"

ถ้าหากมันเข้ามาอยู่ในไครเมียจริง มันจะสามารถโจมตีอย่างร้ายแรงต่อเป้าหมายใดๆก็ตามที่อยู่ในระยะ 300 กิโลเมตรภายในไม่กี่นาที คุณสมบัติของระบบขีปนาวุธนี้คือเคลื่อนย้ายและบำรุงรักษาได้ง่าย สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถยิงจากที่ใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นบนกระดานเรือสินค้าหรือจากรถรางหรือบนพื้นดินหรือแม้กระทั่งจากรถบรรทุกธรรมดาซึ่งนอกจากการใช้ง่ายที่แสนสะดวกมันยังเป็นอุปกรณ์ที่มีระบบที่ทันสมัยมาก สามารถโจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิปแสดงการทำงานของ Club-k

   -ระบบขีปนาวุธต่อต้านเรือรบระยะไกล Bastion-P  ภาพถ่ายจากเมืองเซวัสโตปอล

ชุดเต็มมันจะเป็นแบบนี้
ระบบป้องกันชายฝั่ง Bastion-P นี้จะติดตั้งอยู่บนรถบรรทุกทำให้มีความคล่องตัวในการใช้งาน และสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งไปยังจุดป้องกันได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ระบบป้องกันชายฝั่ง Bastion-P ใช้ขีปนาวุธ P-800 Yakhont (SS-N-26) Supersonic Anti-Ship Cruise Missile มีระยะยิง 300 กิโลเมตร ติดหัวรบน้ำหนัก 200 กิโลกรัม ความเร็วประมาณ 2.5 มัค และที่สำคัญมีความสามารถในการลอยตัวเหนือผิวน้ำในระยะต่ำเพียง 2-3 เมตร จึงยากต่อการตรวจจับด้วยเรดาห์ และทำลายมัน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
รัศมีทำการของBastion-P เมื่อประจำการในไครเมีย


ระบบจรวดต่อต้านอากาศยานภาคพื่นดินระยะใกล้ Pantsir-S1 หรือ SA-22 Greyhound.
ภาพนี้ก็ถ่ายใด้ที่เมืองเซวัลโตปอล

ดูชัดๆมันจะเป็นแบบนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
และที่ขาดไม่ใด้เลยคือทหารรัสเซีย ซึ่งในวันที่จะมีการลงประชามติแยกตัวของไครเมีย รัสเซียก็ใด้ส่งทหารเข้าไปประจำการในไครเมียอยู่ก่อนแล้ว โดยอ้างว่าเป็นกองกำลังป้องกันตัวเองของรัฐบาลไครเมีย(ซึ่งแต่งตั้งตัวเองขึ้นมาเอง)ดังรูป
รูปด้านบนคือทหารรัสเซียในเครืองแบบการรบสมัยใหม่ ด้านล่างคือกองกำลัง(แอบอ้าง)ของไครเมีย


นี้คือหน่วยรบพิเศษ New Spetsnaz uniforms.ของรัสเซีย

สองภาพนี้แสดงการรบของทหารรัสเซียยุคใหม่ที่ใช้วิทยุสือสารแบบเข้าระหัสซับช้อนR-168E "Aqueduct"

ภาพนี้อธิบายการทำงานของมัน


ยังมีเรือรบ รถถัง รถยานเกราะ เครื่องบิน ฯลฯ..อีกมากที่ไม่ใด้เอามาโพสลง แต่ขอย้ำว่าอาวุธต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นของใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ยังไม่ถึงสิบปีเลย บางอย่างพึ่งจะสร้างเสร็จรัสเซียก็ส่งเข้าประจำการ ที่แหลมไครเมียเลย นั้นแสดงให้เห็นถึงความ "เอาจริง"ของรัสเชียที่ต้องการผนวกดินแดนไครเมียมาเป็นของตนให้ใด้

แต่มองอีกด้านนี้ก็เป็นความอ่อนแอของยุโรป ที่กองทัพนาโต้ไม่สามารถยับยั้งการรุกรานไครเมียในครั้งนี้ใด้ แสดงว่าดุลภาพทางการทหารของดินแดนละแวกทะเลดำนี้ใด้เปลียนไปแล้ว.......


ขอบคุณข้อมูลจาก
wikipedia.com
https://www.facebook.com/MatichonOnline
https://www.facebook.com/R.U.MilitaryFanclub
และเวปอืนๆขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่เข้ามาอ่าน กระทู้นี้ยังไม่จบยังเหลือในส่วนประวัติศาตร์และแรงจุงใจ อะไรที่ทำให้รีสเซียอยากใด้ดินแดนไครเมียขนาดนี้ เดียวจะมาเขียนต่ออีก

แก่ใขคำผิดและเพิ่มเติมข้อมูลอาวุธใหม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่