ผมขออธิบายในหลักการนะครับ แล้วพวกท่านก็พิจารณาเอง
อะไรคือหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติในการเข้ามาจัดการในกิจการต่างๆในประเทศเป้าหมาย ตรงนี้มันมีกฏของมันอยู่ไม่ใช่นึกอยากจะเข้าก็เข้ามาได้เลย หรือใครเชิญก็เข้ามาได้ทันที
- กฏบัตรสหประชาชาติ ( Charter Of United Nation)
- ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงการต่างประเทศถึงคุณสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล (เป็นข้อเสนอของผมเอง)
- จดหมายเปิดผนึกของข้าราชการ ก.การต่างประเทศ
.............................................
แนวคิดการเชิญ UN เข้ามาแทรกแซงนั้นเป็นของรมต. สุรพงษ์ โดยคุณสุรพงษ์บอกว่าเชิญบันคีมูนเข้ามาเสนอแนะ (ไม่ได้ใช้คำว่าแทรกแซง) จริงๆคุณสุรพงษ์เชิญบันคีมูนมานานแล้วแต่ยังไมไ่ด้รับการตอบรับ นั่นหมายความว่าถ้าจริงๆแล้วตามเกณฑ์มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่ UN จะเข้ามาในไทย ส่วนตัวมองว่ามันจะไม่เกิดขึ้น UN จะไม่เข้ามายุ่งแน่นอน
....ทำไม UN ถึงไม่เข้ามาทั้งที่รัฐบาลเพื่อไทยเชิญมานานแล้ว(โดยผ่าน ก.การต่างประเทศ) เพราะมันมีกฏบัตรสหประชาชาติเป็นหลักใหญ่หรือจะเรียกว่ารัฐธรรมนูญของนานาชาติก็ได้
1. กฏบัตรสหประชาติ : Charter Of united Nations
มันคือกฏและข้อปฏิบัติของชาติสมาชิกที่จะเข้าไปยุติความขัดแย้งของชาติต่างๆทั่วโลก มีทั้งหมด 19 หมวด จำนวน 111 ข้อ อะไรที่ทำได้อะไรที่ทำไม่ได้อยู่ในนี้ทั้งหมด เอาที่จำได้คร่าวๆ หลักใหญ่เลยคือ การแทรกแซงกิจการของ UN ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นต้องส่งผลต่อภูมิภาค ตอนนี้ความขัดแย้งในไทยคือ กปปส.กับรัฐบาล เป็นความขัดแย้งภายใน มิได้ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นโดยตรงในภูมิภาคอาเซียนหรือประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว กัมพูชา พม่า ซึ่งตรงนี้ถือว่าชัดเจน ดังนั้น UN จึงเข้ามาแทรกแซงไม่ได้เพราะมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชาติอื่น แต่ถ้าสมมุติลากเอากัมพูชา ลาว พม่า เข้ามาเกี่ยวโดยตรง อันนี้ UN จะพิจารณาทันที สังเกตุตอนระเบิดลงที่ตราดและบิ๊กซี มีเด้กตาย UN ออกแถลงการณ์ทันที แต่ก็ไม่เข้ามาเพราะกฏข้อแรกนั้นก็ไม่สามารถทำให้ UN เข้ามาในไทยได้อย่างง่ายดาย (3 จว.ภาคใต้ยังดูน่าเข้าเกณฑ์มากกว่า)
ดูหมวด 1 ข้อ 1 ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการ
ข้อ 1
ความมุ่งประสงค์ของสหประชาชาติ คือ
1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และเพื่อจุดหมายปลายทางนั้น จะได้ดำเนินมาตร การร่วมกันอันมีผลจริงจังเพื่อการป้องกันและการขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ และเพื่อปราบปรามการกระทำ การรุกรานหรือการละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ และนำมาซึ่งการแก้ไข หรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่าง ประเทศอันอาจนำไปสู่การละเมิดสันติภาพ โดยสันติวิธีและสอดคล้องกับหลักการแห่งความยุติธรรมและกฎหมาย ระหว่างประเทศ
..ส่วนอเมริกาก็สามารถเข้ามาจัดการได้ครับ ถ้า ความขัดแย้งหรือความรุนแรงนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาพิจารณาแล้วว่าเป็นภัยต่อสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯสามารถเข้าไปจัดการได้ (ตรงนี้ไม่ต้องอธิบาย มีตัวอย่างมากมายที่อเมริกาทำให้เราดูในการบุกตะวันออกกลาง)
...........................................................................
...
หมวด 6 การระงับข้อพิพาทโดยสันติ ( อ่านข้อ 33-1 / 33-2 และข้อ 34 )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อ 33
1. ผู้เป็นฝ่ายในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไปน่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความ มั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจะต้องแสวงหาทางแก้ไขโดยการเจรจา การไต่สวน การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การอาศัยทบวงการตัวแทนส่วนภูมิภาคหรือข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธี อื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก
2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่นว่านั้น
ข้อ 34
คณะมนตรีความมั่นคงอาจสืบสวนกรณีพิพาทใด ๆ หรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบ กระทั่งระหว่างประเทศ หรือก่อให้เกิดกรณีพิพาท เพื่อกำหนดลงไปว่าการดำเนินอยู่ต่อไปของกรณีพิพาทหรือสถาน การณ์นั้น ๆ น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศหรือไม่
ข้อ 35
1. สมาชิกใด ๆ ของสหประชาชาติอาจนำกรณีพิพาทใด ๆ หรือสถานการณ์ใด ๆ อันมีลักษณะตามที่กล่าวถึงใน ข้อ 34 มาเสนอคณะมนตรีความมั่นคงหรือสมัชชาได้
2. รัฐที่มิได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติอาจนำกรณีพิพาทใด ๆซึ่งตนเป็นฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทมาเสนอ คณะมนตรีความมั่นคงหรือสมัชชาได้ ถ้ารัฐนั้นยอมรับล่วงหน้าซึ่งข้อผูกพันเกี่ยวกับการระงับกรณีพิพาทโดยสันติตาม ที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน เพื่อความมุ่งประสงค์ในการระงับกรณีพิพาท
3. การดำเนินการพิจารณาของสมัชชา ในเรื่องที่เสนอขึ้นมาตามข้อนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของ ข้อ 11 และ 12
ข้อ 36
1. คณะมนตรีความมั่นคงอาจแนะนำวิธีดำเนินการ หรือวิธีการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสมได้ ไม่ว่าในระยะใด ๆ แห่งการพิพาทอันมีลักษณะตามที่กล่าวถึงใน ข้อ 33 หรือแห่งสถานการณ์อันมีลักษณะทำนองเดียวกันนั้น
2. คณะมนตรีความมั่นคงควรพิจารณาวิธีดำเนินการใด ๆ เพื่อระงับกรณีพิพาทซึ่งคู่พิพาทได้รับปฏิบัติแล้ว
3. ในการทำคำแนะนำตามข้อนี้ คณะมนตรีความมั่นคงควรพิจารณาด้วยว่า กรณีพิพาทในทางกฎหมายนั้นตามหลักทั่วไป ควรให้คู่พิพาทเสนอต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของศาลนั้น
ข้อ 37
1. หากผู้เป็นฝ่ายในกรณีพิพาทอันมีลักษณะตามที่กล่าวถึงใน ข้อ 33 ไม่สามารถระงับกรณีพิพาทได้โดยวิธีระบุ ไว้ในข้อนั้นแล้ว ให้เสนอเรื่องนั้นต่อคณะมนตรีความมั่นคง
2. ถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่า โดยพฤติการณ์การดำเนินต่อไปแห่งกรณีพิพาทน่าจะเป็นอันตรายต่อการ ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแล้ว ก็ให้วินิจฉัยว่าจะดำเนินการตาม ข้อ 36 หรือจะแนะนำข้อ กำหนดในการระงับกรณีพิพาทเช่นที่อาจพิจารณาเห็นเหมาะสม
ข้อ 38
โดยไม่กระทบกระเทือนต่อบทบัญญัติแห่ง ข้อ 33 ถึง 37 คณะมนตรีความมั่นคงอาจทำคำแนะนำแก่คู่ พิพาทด้วยความมุ่งหมายในการระงับกรณีพิพาทโดยสันติ หากผู้เป็นฝ่ายทั้งปวง ในกรณีพิพาทใด ๆ ร้องขอเช่นนั้น
....กฏบัตรสหประชาติหลักๆก็ตามที่เสนอครับ สิ่งที่เห็นคือ UN จะเข้ามาต่อเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่ถ้าความขัดแย้งภายในมันลุกลามเป็นสงครามกลางเมือง UN ก็จะพิจารณาสถานการณ์เป็นข้อๆเป็นประเทศไปครับ แต่ ณ สถานกาณณ์ตอนนี้ รัฐบาลและ กปปส. ยังไม่ได้น่าเป็นห่วงขนาดนั้นที่ UN จะลงมาจัดการ ต้องบอกว่า UN ก็ระวังตัวเองเป็นอย่างมากที่จะไม่สุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปร่วมวงขัดแย้งกับคู่กรณีทั้งสองเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่บันคีมูนจะเข้ามาครับ สังเกตุเขาระวังตัวเองมากทั้งที่รัฐบาลเชิญไปหลายครั้ง
............................................................
-
ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงการต่างประเทศถึงคุณสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
จากที่ผมกล่าวไว้ด้านบน ผมเชื่อว่าบันคีมูนจะไม่เข้ามาแทรกแซงกิจการในไทย ดังนั้นคุณสุรพงษ์ควรเปลี่ยนวิธีการใหม่ ถ้าคุณสุรพงษ์อยากแก้ไขความขัดแย้งจริงๆ ผมเสนอคร่าวๆ 2 ข้อ ดังนี้
1. เชิญบันคีมูนมาให้ความรู้ในนามส่วนตัว ไม่ใช่ในนามเลขาธิการ UN ---- แต่ตรงนี้ก็ถือว่ายากเพราะบันคีมูนยังอยู่ในตำแหน่งเลขาธิการ UN สถานะมันจึงดูซ้อนกันอยู่
2. เชิญ โคฟี่ อันนัน เข้ามาแทนบันคีมูน ซึ่งจะง่ายกว่ามาก โคฟี่ อันนัน เพิ่งพ้นจากตำแหน่ง ผมมองว่าการเชิญโคฟี่ อันนัน เนื้อหาสาระไม่เปลี่ยนแปลงแน่นอน เป้าหมายยังคงเดิมครับ การเชิญโคฟี่จะง่ายกว่ามาก เหมือนที่รัฐบาลเคยเชิญโทนี่ แบลร์มาเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง
อ่านความเห็นของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศผ่านจดหมายเปิดผนึก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ในฐานะข้าราชการที่สำนึกถึงหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ พวกเราไม่เคยคิดว่าจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่การตีความผลประโยชน์ของประเทศนั้นแตกต่างจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้สนับสนุนรัฐบาลต่างๆ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศในแนวทางที่สอดคล้องต่อผลประโยชน์ของประเทศ ข้าราชการ ในฐานะนักการทูตมืออาชีพ ได้สานต่อผลประโยชน์ของชาติผ่านรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวทีระหว่างประเทศที่ผลประโยชน์ของประเทศไทยอยู่เหนือเกมการเมืองภายในประเทศ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนเป้าหมายของทุกพรรคการเมืองที่นำไปสู่นโยบายการต่างประเทศที่เสริมสร้างประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและนำผลประโยชน์มาสู่ประชาชนไทย
ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน อำนาจหน้าที่ของรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ) จำกัดอยู่ที่การรักษาความต่อเนื่องของงานราชการเพื่อดำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของประเทศไทย รวมทั้งปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่แล้วในเวทีระหว่างประเทศ โดยไม่สร้างพันธกรณีใหม่
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะเชิญเลขาธิการสหประชาชาติเยือนไทยเพื่อพิจารณาหนทางในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันนั้น ยังขาดการพิจารณาถึงผลประโยชน์ของประเทศอย่างถี่ถ้วน รวมทั้ง ควรมีการหารือ สอบถาม และพิจารณาร่วมกับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวอย่างเหมาะสม
เพื่อให้ได้รับข้อคิดเห็นที่สะท้อนมุมมองอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงการขาดความรับผิดชอบ และข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศขอตั้งคำถามเกี่ยวกับความชอบธรรมของการกระทำดังกล่าว
ไม่ว่าเลขาธิการสหประชาชาติจะเยือนไทยด้วยตนเอง หรือส่งผู้แทน หรือผู้แทนพิเศษ ในท้ายที่สุด ตามคำเชิญที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นล้วนเป็นการเยือนตามคำเชิญของรัฐบาลไทย ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการติดตามผลในกรอบสหประชาชาติและการมีข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์ในไทย
ซึ่งข้อเสนอแนะอาจมิได้ถูกร่างโดยผู้ที่ยึดมั่นต่อผลประโยชน์ของไทยหรือมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับสถานการณ์ในไทย รวมทั้งไทยอาจตกอยู่ภายใต้การประเมินความพึงพอใจในการอนุวัติข้อเสนอแนะดังกล่าวโดยฝ่ายเลขานุการของสหประชาติหรือประเทศสมาชิกอื่น ซึ่งอาจนำไปสู่แรงกดดันและการดำเนินมาตรการอื่นๆ ต่อไทยในภายหลัง
นอกจากนี้ การดึงสหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในสถานการณ์การเมืองภายในประเทศดังกล่าวอาจบั่นทอนแนวทางที่ไทยยึดถือมาตลอดในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยกระบวนการภายในประเทศ รวมทั้งเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า คำเชิญลักษณะดังกล่าวอาจนำไปสู่การดึงประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการและกรอบการหารือใหม่ที่ไทยอาจไม่สามารถควบคุมทิศทางหรือปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยได้
โดยที่คำเชิญจากรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศถึงเลขาธิการสหประชาชาติจะทำให้เกิดพันธกรณีและผลกระทบต่อประเทศชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงควรถอนคำเชิญดังกล่าวในทันที และพิจารณาอย่างถ้วนถี่หากจะกระทำการใดๆ ต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ด้วยความตระหนักว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้รักษาการหรือไม่ เป็นผู้แทนของประเทศไทย สามารถกระทำการใดๆ ในนามประเทศ รวมทั้งการสร้างพันธกรณีต่อประเทศไทย ดังนั้น การตัดสินใจหรือการกระทำใดๆ ควรกระทำด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศไทยในภาพรวม
หรือลิงค์นี้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=718544188169147&set=a.719446908078875.1073741834.668614186495481&type=1&theater
..........................................................
UN สามารถเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของไทยได้หรือไม่ พร้อมข้อเสนอแนะถึงคุณสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล [วิเคราะห์ ]
อะไรคือหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติในการเข้ามาจัดการในกิจการต่างๆในประเทศเป้าหมาย ตรงนี้มันมีกฏของมันอยู่ไม่ใช่นึกอยากจะเข้าก็เข้ามาได้เลย หรือใครเชิญก็เข้ามาได้ทันที
- กฏบัตรสหประชาชาติ ( Charter Of United Nation)
- ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงการต่างประเทศถึงคุณสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล (เป็นข้อเสนอของผมเอง)
- จดหมายเปิดผนึกของข้าราชการ ก.การต่างประเทศ
.............................................
แนวคิดการเชิญ UN เข้ามาแทรกแซงนั้นเป็นของรมต. สุรพงษ์ โดยคุณสุรพงษ์บอกว่าเชิญบันคีมูนเข้ามาเสนอแนะ (ไม่ได้ใช้คำว่าแทรกแซง) จริงๆคุณสุรพงษ์เชิญบันคีมูนมานานแล้วแต่ยังไมไ่ด้รับการตอบรับ นั่นหมายความว่าถ้าจริงๆแล้วตามเกณฑ์มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่ UN จะเข้ามาในไทย ส่วนตัวมองว่ามันจะไม่เกิดขึ้น UN จะไม่เข้ามายุ่งแน่นอน
....ทำไม UN ถึงไม่เข้ามาทั้งที่รัฐบาลเพื่อไทยเชิญมานานแล้ว(โดยผ่าน ก.การต่างประเทศ) เพราะมันมีกฏบัตรสหประชาชาติเป็นหลักใหญ่หรือจะเรียกว่ารัฐธรรมนูญของนานาชาติก็ได้
1. กฏบัตรสหประชาติ : Charter Of united Nations
มันคือกฏและข้อปฏิบัติของชาติสมาชิกที่จะเข้าไปยุติความขัดแย้งของชาติต่างๆทั่วโลก มีทั้งหมด 19 หมวด จำนวน 111 ข้อ อะไรที่ทำได้อะไรที่ทำไม่ได้อยู่ในนี้ทั้งหมด เอาที่จำได้คร่าวๆ หลักใหญ่เลยคือ การแทรกแซงกิจการของ UN ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นต้องส่งผลต่อภูมิภาค ตอนนี้ความขัดแย้งในไทยคือ กปปส.กับรัฐบาล เป็นความขัดแย้งภายใน มิได้ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นโดยตรงในภูมิภาคอาเซียนหรือประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว กัมพูชา พม่า ซึ่งตรงนี้ถือว่าชัดเจน ดังนั้น UN จึงเข้ามาแทรกแซงไม่ได้เพราะมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชาติอื่น แต่ถ้าสมมุติลากเอากัมพูชา ลาว พม่า เข้ามาเกี่ยวโดยตรง อันนี้ UN จะพิจารณาทันที สังเกตุตอนระเบิดลงที่ตราดและบิ๊กซี มีเด้กตาย UN ออกแถลงการณ์ทันที แต่ก็ไม่เข้ามาเพราะกฏข้อแรกนั้นก็ไม่สามารถทำให้ UN เข้ามาในไทยได้อย่างง่ายดาย (3 จว.ภาคใต้ยังดูน่าเข้าเกณฑ์มากกว่า)
ดูหมวด 1 ข้อ 1 ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
..ส่วนอเมริกาก็สามารถเข้ามาจัดการได้ครับ ถ้า ความขัดแย้งหรือความรุนแรงนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาพิจารณาแล้วว่าเป็นภัยต่อสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯสามารถเข้าไปจัดการได้ (ตรงนี้ไม่ต้องอธิบาย มีตัวอย่างมากมายที่อเมริกาทำให้เราดูในการบุกตะวันออกกลาง)
...........................................................................
...หมวด 6 การระงับข้อพิพาทโดยสันติ ( อ่านข้อ 33-1 / 33-2 และข้อ 34 )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
....กฏบัตรสหประชาติหลักๆก็ตามที่เสนอครับ สิ่งที่เห็นคือ UN จะเข้ามาต่อเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่ถ้าความขัดแย้งภายในมันลุกลามเป็นสงครามกลางเมือง UN ก็จะพิจารณาสถานการณ์เป็นข้อๆเป็นประเทศไปครับ แต่ ณ สถานกาณณ์ตอนนี้ รัฐบาลและ กปปส. ยังไม่ได้น่าเป็นห่วงขนาดนั้นที่ UN จะลงมาจัดการ ต้องบอกว่า UN ก็ระวังตัวเองเป็นอย่างมากที่จะไม่สุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปร่วมวงขัดแย้งกับคู่กรณีทั้งสองเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่บันคีมูนจะเข้ามาครับ สังเกตุเขาระวังตัวเองมากทั้งที่รัฐบาลเชิญไปหลายครั้ง
............................................................
- ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงการต่างประเทศถึงคุณสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
จากที่ผมกล่าวไว้ด้านบน ผมเชื่อว่าบันคีมูนจะไม่เข้ามาแทรกแซงกิจการในไทย ดังนั้นคุณสุรพงษ์ควรเปลี่ยนวิธีการใหม่ ถ้าคุณสุรพงษ์อยากแก้ไขความขัดแย้งจริงๆ ผมเสนอคร่าวๆ 2 ข้อ ดังนี้
1. เชิญบันคีมูนมาให้ความรู้ในนามส่วนตัว ไม่ใช่ในนามเลขาธิการ UN ---- แต่ตรงนี้ก็ถือว่ายากเพราะบันคีมูนยังอยู่ในตำแหน่งเลขาธิการ UN สถานะมันจึงดูซ้อนกันอยู่
2. เชิญ โคฟี่ อันนัน เข้ามาแทนบันคีมูน ซึ่งจะง่ายกว่ามาก โคฟี่ อันนัน เพิ่งพ้นจากตำแหน่ง ผมมองว่าการเชิญโคฟี่ อันนัน เนื้อหาสาระไม่เปลี่ยนแปลงแน่นอน เป้าหมายยังคงเดิมครับ การเชิญโคฟี่จะง่ายกว่ามาก เหมือนที่รัฐบาลเคยเชิญโทนี่ แบลร์มาเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง
อ่านความเห็นของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศผ่านจดหมายเปิดผนึก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หรือลิงค์นี้ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=718544188169147&set=a.719446908078875.1073741834.668614186495481&type=1&theater
..........................................................