หมากล้อมกับความเปลี่ยนแปลง
หมากล้อมเป็นหมากกระดานจีนโบราณ มีอายุเก่าแก่หลายพันปี เป็นหมากกระดานที่มีคุณค่าแฝงหลักปรัชญาแนวคิดไว้มากมาย ทั้งสามารถฝึกฝนด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้เล่นได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั้วโลก ส่วนในประเทศไทยก็มีการแข่งขันกันทุกระดับ ตั้งแต่กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กีฬาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ฯลฯ
ส่วนการแข่งขันระดับนานาชาติ มีตั้งแต่ กีฬา SEA Games, Asian Games ที่แข่งขันต่อเนื่องจากกีฬา Olympic สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้เล็งเห็นความสำคัญของกีฬาหมากล้อม จึงได้บรรจุเข้าไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี มีตั้งแต่ 1 หน่วยกิต จนถึง 3 หน่วยกิต เช่น มหาวิทยาบัยเกษตรศาสร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพรพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยหอการค้าฯ
หลักปรัญญาสำคัญที่แฝงอยู่ในเกม
หมากล้อมอย่างหนึ่งคือ หลักของความเปลี่ยนแปลง หมากทุกๆ เม็ดตลอดเกมการเล่นจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทภกครั้งที่วางลงบนกระดาน เพราะจะทำให้พื้นที่ๆ เคยเป็นของเรากลับกลายเป็นของคู่ต่อสู้ สถาพความได้เปรียบ กลับกลายเป็นเสียเปรียบ เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่ภายในมุมกับอิทธพลกลางกระดาน ฯลฯ
ซึ่งผู้เล่นจะต้องสามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ แม้บางครั้งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำความเสียหายมาสู่ตน ต้องไม่ยึดติดกับสภาวะเดิมๆ ปรับตัวให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้ ไม่พยายามฝืนต่อต้านความเปลี่ยนแปลง เพราะมักจะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงตามมาเสมอ ผู้เล่นจะเกิดความคุ้นชินกับความเปลี่ยนแปลง มีทัศนคติที่จะโอนอ่อนผ่อนตาม ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะใหม่ ไม่มีแนวคิดที่จะยึดติดกับสภาพเดิมๆ หรือใช้ความพยายามที่จะต่อต้านให้กลับไปสู่สภาพเดิม
และเมื่อเล่นหมากล้อมบ่อยๆ เข้า ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านทัศนคติวิธีคิด ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง ถือว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปรกติธรรมดาทีจะต้องเกิดขึ้น เราควรปรับตัวให้สอดคล้องอยู่ร่วมกับสภาวะใหม่ ไม่ควรยึดติดพยายามต่อต้านความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เพราะจะต้องทุ่มเททรัพยากรอย่างมากมาย และก็ไม่แน่ว่าจะสามารถต่อต้านไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งตรงกับคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่า อย่าหวั่นไหวในโลกธรรม 8 ที่แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
ก. ฝ่ายที่คนทั่วไปอยากได้คือ ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ได้สุขทั้ง 4 อย่างนี้เป็นเรื่องที่คนทั่วไปชอบ ยังไม่ได้ก็คิดหา ครั้นหาได้แล้ว ก็คิดหวง หวงมากๆ เข้าก็หึงการที่จิตมีอาการหา หวง ห่วง หึง นี่และเรียกว่า จิตไหว
ข. ฝ่ายที่ทุกคนกลัวว่าจะเกิดกับตนคือ เสื่อมภาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ตกทุกข์ ทั้ง 4 ประการนี้เป็นเรื่องที่คนเราไม่ชอบ ไม่ปราถนาให้เกิดขึ้นกับตัว เมื่อยังมาไม่ถึง จิตก็หวั่นว่ามันจะมา เมื่อมันมาแล้วก็ภาวนาว่าเมื่อไหร่จะไปเสียที ไปแล้วก็ยังหวั่นกลัวว่ามันจะกลับมาอีก นี่เรียกว่า จิตหวั่น
ผู้ที่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ดี ย่อมมีชีวิตที่มีความสุขมีเรื่องที่น่ายินดีเกิดขึ้นก็ไม่ดีใจจนเกินไป มีเรื่องที่น่าเศร้าใจเกิดขึ้นก็ไม่เสียใจ ถือเป็นธรรมดาของโลกนี้ ไม่มีใครห้อมได้
หมากล้อมกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง
หมากล้อมเป็นหมากกระดานจีนโบราณ มีอายุเก่าแก่หลายพันปี เป็นหมากกระดานที่มีคุณค่าแฝงหลักปรัชญาแนวคิดไว้มากมาย ทั้งสามารถฝึกฝนด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้เล่นได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั้วโลก ส่วนในประเทศไทยก็มีการแข่งขันกันทุกระดับ ตั้งแต่กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กีฬาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ฯลฯ
ส่วนการแข่งขันระดับนานาชาติ มีตั้งแต่ กีฬา SEA Games, Asian Games ที่แข่งขันต่อเนื่องจากกีฬา Olympic สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้เล็งเห็นความสำคัญของกีฬาหมากล้อม จึงได้บรรจุเข้าไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี มีตั้งแต่ 1 หน่วยกิต จนถึง 3 หน่วยกิต เช่น มหาวิทยาบัยเกษตรศาสร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพรพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยหอการค้าฯ
หลักปรัญญาสำคัญที่แฝงอยู่ในเกมหมากล้อมอย่างหนึ่งคือ หลักของความเปลี่ยนแปลง หมากทุกๆ เม็ดตลอดเกมการเล่นจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทภกครั้งที่วางลงบนกระดาน เพราะจะทำให้พื้นที่ๆ เคยเป็นของเรากลับกลายเป็นของคู่ต่อสู้ สถาพความได้เปรียบ กลับกลายเป็นเสียเปรียบ เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่ภายในมุมกับอิทธพลกลางกระดาน ฯลฯ
ซึ่งผู้เล่นจะต้องสามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ แม้บางครั้งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำความเสียหายมาสู่ตน ต้องไม่ยึดติดกับสภาวะเดิมๆ ปรับตัวให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้ ไม่พยายามฝืนต่อต้านความเปลี่ยนแปลง เพราะมักจะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงตามมาเสมอ ผู้เล่นจะเกิดความคุ้นชินกับความเปลี่ยนแปลง มีทัศนคติที่จะโอนอ่อนผ่อนตาม ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะใหม่ ไม่มีแนวคิดที่จะยึดติดกับสภาพเดิมๆ หรือใช้ความพยายามที่จะต่อต้านให้กลับไปสู่สภาพเดิม
และเมื่อเล่นหมากล้อมบ่อยๆ เข้า ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านทัศนคติวิธีคิด ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง ถือว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปรกติธรรมดาทีจะต้องเกิดขึ้น เราควรปรับตัวให้สอดคล้องอยู่ร่วมกับสภาวะใหม่ ไม่ควรยึดติดพยายามต่อต้านความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เพราะจะต้องทุ่มเททรัพยากรอย่างมากมาย และก็ไม่แน่ว่าจะสามารถต่อต้านไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งตรงกับคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่า อย่าหวั่นไหวในโลกธรรม 8 ที่แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
ก. ฝ่ายที่คนทั่วไปอยากได้คือ ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ได้สุขทั้ง 4 อย่างนี้เป็นเรื่องที่คนทั่วไปชอบ ยังไม่ได้ก็คิดหา ครั้นหาได้แล้ว ก็คิดหวง หวงมากๆ เข้าก็หึงการที่จิตมีอาการหา หวง ห่วง หึง นี่และเรียกว่า จิตไหว
ข. ฝ่ายที่ทุกคนกลัวว่าจะเกิดกับตนคือ เสื่อมภาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ตกทุกข์ ทั้ง 4 ประการนี้เป็นเรื่องที่คนเราไม่ชอบ ไม่ปราถนาให้เกิดขึ้นกับตัว เมื่อยังมาไม่ถึง จิตก็หวั่นว่ามันจะมา เมื่อมันมาแล้วก็ภาวนาว่าเมื่อไหร่จะไปเสียที ไปแล้วก็ยังหวั่นกลัวว่ามันจะกลับมาอีก นี่เรียกว่า จิตหวั่น
ผู้ที่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ดี ย่อมมีชีวิตที่มีความสุขมีเรื่องที่น่ายินดีเกิดขึ้นก็ไม่ดีใจจนเกินไป มีเรื่องที่น่าเศร้าใจเกิดขึ้นก็ไม่เสียใจ ถือเป็นธรรมดาของโลกนี้ ไม่มีใครห้อมได้