มารนั้นเป็นตัวชั่วร้ายที่คนดีมิอยากข้องเกี่ยว อีกทั้งเป็นศัตรูของผู้ใฝ่ธรรม แต่ถ้าพิจารณาจากความหมายที่แท้จริงของมาร ตามที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)ได้ แจกแจงไว้ อันได้แก่ “สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือผลที่หมายอันประเสริฐ...ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุผลสำเร็จอันดีงาม” เราทุกคนย่อมไม่อาจหนีมารพ้น เพราะอย่างน้อยความแก่ ความเจ็บป่วย และความตายก็ถือว่าเป็นมารตัวใหญ่ที่คอยขัดขวางมิให้เราทำความดีงามได้อย่างยั่งยืนและอย่างถึงที่สุด ดังพระอรรถกถาจารย์เรียกว่าขันธมาร และ มัจจุมาร มารทั้งสองประการนี้แหละที่ตามรังควานพระพุทธองค์ในช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพจวบจนปรินิพพาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แน่นอนว่าเรา ๆ ท่าน ๆ ที่เป็นปุถุชน ยังต้องเจอมารตัวอื่นอีก โดยเฉพาะกิเลสมาร ซึ่งทำให้เราหมุนวนอยู่ในวัฏฏะแห่งความโลภ โกรธ หลง จนอาจไม่คิดหาทางหลุดพ้นหรือเชื่อว่ามีความหลุดพ้นด้วยซ้ำ มารชนิดนี้แหละที่สามารถ “ฆ่า” บุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือผลที่หมายอันประเสริฐได้อย่างแท้จริง จัดว่าน่ากลัวที่สุด และตราบใดที่ยังไม่มีปัญญาพาให้พ้นจากความหลง เราก็ยังต้องเจอมารชนิดนี้อยู่เรื่อยไปและพลัดติดกับดักของมันอยู่เสมอ
ในเมื่อเรามารหนีมารไม่พ้น เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันชนิดที่ไม่เผลอตกอยู่ในอำนาจของมันจนคลาดเคลื่อนจากทางแห่งความดี ในทัศนะของพุทธศาสนาเครื่องมืออย่างแรกในการต่อต้านอำนาจของมาร ได้แก่ ศีล คือการควบคุมกายและวาจาไม่ให้ทำตามบัญชาของมัน เปรียบเสมือนการสร้างรั้วเพื่อควบคุมตนเองให้อยู่ในขอบเขต แต่ศีลในแง่นี้ยังมีความหมายเชิงลบคือ “ไม่ทำอะไรบางอย่าง” ที่จริงศีลยังมีความหมายเชิงบวก คือ “ทำอะไรบางอย่าง” ได้แก่การทำความดีชนิดที่ทวนกระแสกิเลสหรือสวนทางกับความปรารถนาของมาร เช่น แบ่งปันหรือเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นแทนที่จะเอาเข้าตัว ช่วยเหลือแทนที่จะเอาเปรียบ ชื่นชมแทนที่จะหาช่องตำหนิ
วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจเรามีภูมิต้านทานต่อกิเลสมาร ทำให้มันครอบงำจิตใจของเราลำบาก จะว่าไปวิธีนี้ก็ไม่ต่างจากการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย เชื้อโรคนั้นมีอยู่ในตัวเราตลอดเวลา แต่ที่เราไม่ล้มป่วย ก็เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราเข้มแข็ง สามารถควบคุมให้เชื้อโรคอยู่ในขอบเขต ไม่สามารถแพร่ระบาดจนทำให้ร่างกายปั่นป่วนได้
อย่างไรก็ตาม การที่จิตใจของเราจะมีภูมิต้านทานดีขึ้น นอกจากการฝึกกายวาจาแล้ว จำต้องมีการฝึกฝนจิตใจโดยตรง เช่น ฝึกใจให้ลดความเห็นแก่ตัว นึกถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการแผ่เมตตาและความปรารถนาดี หากทำเช่นนี้แม้กระทั่งกับคนที่มีเรื่องกระทบกระทั่งกับเรา ก็จะช่วยลดความเกลียดชังไปได้ การฝึกใจให้มีสมาธิ ยังช่วยให้จิตใจสงบเย็น ความโลภ ความโกรธ ความว้าวุ่นใจ ก็จะบรรเทาลง
ที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่ง คือการฝึกสติให้ระลึกได้ไวและรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเวลามารเข้ามาก่อกวน มารนั้นเป็นเจ้าแห่งกลอุบาย อุบายนั้นจะได้ผลต่อเมื่อ “เหยื่อ”หลงกล แต่หากเหยื่อรู้เท่าทันในกลอุบายนั้น มารก็ทำอะไรไม่ได้อีกต่อไป ในพระไตรปิฎกเต็มไปด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับมารที่ออกอุบายสารพัดเพื่อขัดขวางพระพุทธเจ้า ภิกษุ และภิกษุณีที่ใฝ่ธรรม เช่น ปลอมตัวเป็นพญาช้าง งูใหญ่ เสือร้าย หรือแกล้งทำแผ่นดินไหว เพื่อหลอกให้กลัว หรือปลอมตัวเป็นมนุษย์ เพื่อยั่วยวนให้สึก หรือหว่านล้อมให้กลับไปหากามสุข บางครั้งก็มาชวนพระพุทธองค์ให้เสด็จกลับไปครองราชย์ หรือแม้แต่เข้าไปสิงในท้องของพระโมคคัลลานะ แต่ทุกครั้งมารก็พ่ายแพ้ และที่พ่ายแพ้ก็เพราะถูกรู้ทัน ไม่ว่าพระพุทธองค์ พระอัครสาวก ภิกษุ หรือภิกษุณี ที่ถูกมารมารังควาน ล้วนใช้วิธีเดียวกันนั่นคือ บอกกับมารว่า “มารผู้มีใจบาป เรารู้จักท่าน อย่าคิดว่าเราไม่รู้จักท่าน” เพียงเท่านี้ มารก็ล่าถอยด้วยความเสียใจที่มันถูกรู้เท่าทัน
เชื้อโรคนั้นไม่ต้องกำจัดมันให้สิ้นซากไปจากร่างกาย (ถึงจะพยายามทำเช่นนั้น ก็ไม่มีวันสำเร็จ) เพียงแต่สร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง โดยที่บางครั้งก็ต้องช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งก็คือเชื้อโรคอย่างอ่อน เพื่อให้เซลล์คุ้มกันจำเชื้อโรคได้ และเมื่อจำได้แล้ว ไม่ว่าเชื้อโรคนั้น ๆ จะเข้าร่างกายทางไหน ก็จะถูกภูมิคุ้มกันบุกไปทำลาย เคล็ดลับของระบบภูมิคุ้มกันคือจำเชื้อโรคได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เคล็ดลับในการสู้กับมารก็คือ ระลึกได้ไวหรือรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเมื่อกิเลสมารเข้ามารังควาน ไม่ว่ามันจะปลอมตัวมาอย่างไร ทันทีที่มันย่างเท้าเข้าประตูใจ สติก็ระลึกได้ทันที เพียงเท่านี้มันก็ต้องล่าถอยไป เปรียบเสมือนหัวขโมยที่ถูกไฟส่องทันทีที่ย่างเท้าเข้าบ้าน ย่อมไม่อาจทนอยู่ต่อไปได
การพยายามกำจัดมารด้วยการกดข่มอารมณ์อกุศล เช่น ตัณหา ราคะ โทสะ นั้นอาจดูเหมือนได้ผล แต่ก็เพียงชั่วคราว เพราะมันไม่ได้ไปไหน หากซุกซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิต และคอยโผล่มารังควานเวลาเราเผลอ หาไม่ก็คอยปั่นป่วนอยู่ลึก ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว สังเกตได้เวลาเราโกรธใครสักคน และพยายามกดความรู้สึกนั้นเอาไว้ มันจะโผล่มาอยู่เรื่อย ๆ ยิ่งกดเท่าไร ก็ยิ่งโผล่มาบ่อยเท่านั้น และหากกดข่มมันอย่างหนัก (หรือพยายาม “กระทืบ”มันให้แดดิ้น) มันก็จะยิ่งหลบลึกขึ้นจนอาจไปฝังตัวอยู่ในจิตไร้สำนึก และแสดงตัวออกมาในอาการที่ผิดเพี้ยนหรือแปลงโฉม เช่น บางคนโกรธและเกลียดพ่อแม่มาก แต่พยายามปฏิเสธและกดข่มความรู้สึกนี้เอาไว้ เพราะรู้ว่ามันไม่ดี เป็นสิ่งที่ลูกไม่ควรทำ แต่ผลก็คือมันไปแสดงออกในรูปอื่น เช่น เกลียดโกรธศาลพระภูมิแทน เห็นศาลพระภูมิที่ไหนเป็นไม่ได้ อยากเข้าไปทำลาย
บางคนทะเลาะกับพ่อ ถูกพ่อด่าอย่างสาดเสียเทเสีย จึงโกรธมาก ถึงกับเงื้อมือจะไปตบพ่อ แต่ยั้งมือได้ทัน กระนั้นก็มีความรู้สึกผิดอย่างแรงที่คิดทำร้ายพ่อ จึงพยายามกดข่มทั้งความรู้สึกไม่ดีกับพ่อและความรู้สึกผิดในตัวเอง แต่ความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน หากหลบลึกและออกมาก่อกวนด้วยการทำให้แขนข้างที่จะตบพ่อนั้นยกไม่ขึ้น รักษาเท่าไรก็ไม่หาย ตรวจเท่าไรก็ไม่พบความผิดปกติทางกาย อาการเหล่านี้จะไม่หายจนกว่าจะดึงความรู้สึกอกุศลดังกล่าวให้โผล่มายังจิตสำนึก สู่การรับรู้ด้วยใจที่เป็นกลาง คือเห็นมันตามที่เป็นจริง ไม่คิดจะเข้าไปทำลายมัน หรือทำตามอำนาจของมัน แม้มันจะโถมถั่งทะลักทะลายออกมาเพียงใดก็ตาม
การเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับมารอย่างรู้เท่าทัน หรืออยู่กับมันชนิดที่มันทำอะไรเราไม่ได้ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตอย่างดีงามและเป็นสุข แต่จะดีกว่านั้นหากเราสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ด้วย นี้ใช่ไหมเป็นวิธีกำจัดมารอย่างได้ผล เพราะการกำจัดศัตรูที่ดีที่สุดก็คือการทำให้เขามาเป็นมิตร ทันทีที่เราทำให้มารเป็นประโยชน์ในทางส่งเสริมความดีงาม มารก็สิ้นสภาพความเป็นมาร และกลายเป็นมิตรแทน
เปลี่ยนมารเป็นมิตร
นิตยสารสารคดี : ฉบับที่ 266 :: เมษายน ๕๐ ปีที่ ๒๓
คอลัมน์รับอรุณ : เปลี่ยนมารเป็นมิตร
พระไพศาล วิสาโล
http://www.visalo.org/article/sarakadee255004.htm
มารนั้นเป็นตัวชั่วร้ายที่คนดีมิอยากข้องเกี่ยว อีกทั้งเป็นศัตรูของผู้ใฝ่ธรรม แต่ถ้าพิจารณาจากความหมายที่แท้จริงของมาร ตามที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)ได้ แจกแจงไว้ อันได้แก่ “สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือผลที่หมายอันประเสริฐ...ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุผลสำเร็จอันดีงาม” เราทุกคนย่อมไม่อาจหนีมารพ้น เพราะอย่างน้อยความแก่ ความเจ็บป่วย และความตายก็ถือว่าเป็นมารตัวใหญ่ที่คอยขัดขวางมิให้เราทำความดีงามได้อย่างยั่งยืนและอย่างถึงที่สุด ดังพระอรรถกถาจารย์เรียกว่าขันธมาร และ มัจจุมาร มารทั้งสองประการนี้แหละที่ตามรังควานพระพุทธองค์ในช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพจวบจนปรินิพพาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แน่นอนว่าเรา ๆ ท่าน ๆ ที่เป็นปุถุชน ยังต้องเจอมารตัวอื่นอีก โดยเฉพาะกิเลสมาร ซึ่งทำให้เราหมุนวนอยู่ในวัฏฏะแห่งความโลภ โกรธ หลง จนอาจไม่คิดหาทางหลุดพ้นหรือเชื่อว่ามีความหลุดพ้นด้วยซ้ำ มารชนิดนี้แหละที่สามารถ “ฆ่า” บุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือผลที่หมายอันประเสริฐได้อย่างแท้จริง จัดว่าน่ากลัวที่สุด และตราบใดที่ยังไม่มีปัญญาพาให้พ้นจากความหลง เราก็ยังต้องเจอมารชนิดนี้อยู่เรื่อยไปและพลัดติดกับดักของมันอยู่เสมอ
ในเมื่อเรามารหนีมารไม่พ้น เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันชนิดที่ไม่เผลอตกอยู่ในอำนาจของมันจนคลาดเคลื่อนจากทางแห่งความดี ในทัศนะของพุทธศาสนาเครื่องมืออย่างแรกในการต่อต้านอำนาจของมาร ได้แก่ ศีล คือการควบคุมกายและวาจาไม่ให้ทำตามบัญชาของมัน เปรียบเสมือนการสร้างรั้วเพื่อควบคุมตนเองให้อยู่ในขอบเขต แต่ศีลในแง่นี้ยังมีความหมายเชิงลบคือ “ไม่ทำอะไรบางอย่าง” ที่จริงศีลยังมีความหมายเชิงบวก คือ “ทำอะไรบางอย่าง” ได้แก่การทำความดีชนิดที่ทวนกระแสกิเลสหรือสวนทางกับความปรารถนาของมาร เช่น แบ่งปันหรือเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นแทนที่จะเอาเข้าตัว ช่วยเหลือแทนที่จะเอาเปรียบ ชื่นชมแทนที่จะหาช่องตำหนิ
วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจเรามีภูมิต้านทานต่อกิเลสมาร ทำให้มันครอบงำจิตใจของเราลำบาก จะว่าไปวิธีนี้ก็ไม่ต่างจากการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย เชื้อโรคนั้นมีอยู่ในตัวเราตลอดเวลา แต่ที่เราไม่ล้มป่วย ก็เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราเข้มแข็ง สามารถควบคุมให้เชื้อโรคอยู่ในขอบเขต ไม่สามารถแพร่ระบาดจนทำให้ร่างกายปั่นป่วนได้
อย่างไรก็ตาม การที่จิตใจของเราจะมีภูมิต้านทานดีขึ้น นอกจากการฝึกกายวาจาแล้ว จำต้องมีการฝึกฝนจิตใจโดยตรง เช่น ฝึกใจให้ลดความเห็นแก่ตัว นึกถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการแผ่เมตตาและความปรารถนาดี หากทำเช่นนี้แม้กระทั่งกับคนที่มีเรื่องกระทบกระทั่งกับเรา ก็จะช่วยลดความเกลียดชังไปได้ การฝึกใจให้มีสมาธิ ยังช่วยให้จิตใจสงบเย็น ความโลภ ความโกรธ ความว้าวุ่นใจ ก็จะบรรเทาลง
ที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่ง คือการฝึกสติให้ระลึกได้ไวและรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเวลามารเข้ามาก่อกวน มารนั้นเป็นเจ้าแห่งกลอุบาย อุบายนั้นจะได้ผลต่อเมื่อ “เหยื่อ”หลงกล แต่หากเหยื่อรู้เท่าทันในกลอุบายนั้น มารก็ทำอะไรไม่ได้อีกต่อไป ในพระไตรปิฎกเต็มไปด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับมารที่ออกอุบายสารพัดเพื่อขัดขวางพระพุทธเจ้า ภิกษุ และภิกษุณีที่ใฝ่ธรรม เช่น ปลอมตัวเป็นพญาช้าง งูใหญ่ เสือร้าย หรือแกล้งทำแผ่นดินไหว เพื่อหลอกให้กลัว หรือปลอมตัวเป็นมนุษย์ เพื่อยั่วยวนให้สึก หรือหว่านล้อมให้กลับไปหากามสุข บางครั้งก็มาชวนพระพุทธองค์ให้เสด็จกลับไปครองราชย์ หรือแม้แต่เข้าไปสิงในท้องของพระโมคคัลลานะ แต่ทุกครั้งมารก็พ่ายแพ้ และที่พ่ายแพ้ก็เพราะถูกรู้ทัน ไม่ว่าพระพุทธองค์ พระอัครสาวก ภิกษุ หรือภิกษุณี ที่ถูกมารมารังควาน ล้วนใช้วิธีเดียวกันนั่นคือ บอกกับมารว่า “มารผู้มีใจบาป เรารู้จักท่าน อย่าคิดว่าเราไม่รู้จักท่าน” เพียงเท่านี้ มารก็ล่าถอยด้วยความเสียใจที่มันถูกรู้เท่าทัน
เชื้อโรคนั้นไม่ต้องกำจัดมันให้สิ้นซากไปจากร่างกาย (ถึงจะพยายามทำเช่นนั้น ก็ไม่มีวันสำเร็จ) เพียงแต่สร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง โดยที่บางครั้งก็ต้องช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งก็คือเชื้อโรคอย่างอ่อน เพื่อให้เซลล์คุ้มกันจำเชื้อโรคได้ และเมื่อจำได้แล้ว ไม่ว่าเชื้อโรคนั้น ๆ จะเข้าร่างกายทางไหน ก็จะถูกภูมิคุ้มกันบุกไปทำลาย เคล็ดลับของระบบภูมิคุ้มกันคือจำเชื้อโรคได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เคล็ดลับในการสู้กับมารก็คือ ระลึกได้ไวหรือรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเมื่อกิเลสมารเข้ามารังควาน ไม่ว่ามันจะปลอมตัวมาอย่างไร ทันทีที่มันย่างเท้าเข้าประตูใจ สติก็ระลึกได้ทันที เพียงเท่านี้มันก็ต้องล่าถอยไป เปรียบเสมือนหัวขโมยที่ถูกไฟส่องทันทีที่ย่างเท้าเข้าบ้าน ย่อมไม่อาจทนอยู่ต่อไปได
การพยายามกำจัดมารด้วยการกดข่มอารมณ์อกุศล เช่น ตัณหา ราคะ โทสะ นั้นอาจดูเหมือนได้ผล แต่ก็เพียงชั่วคราว เพราะมันไม่ได้ไปไหน หากซุกซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิต และคอยโผล่มารังควานเวลาเราเผลอ หาไม่ก็คอยปั่นป่วนอยู่ลึก ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว สังเกตได้เวลาเราโกรธใครสักคน และพยายามกดความรู้สึกนั้นเอาไว้ มันจะโผล่มาอยู่เรื่อย ๆ ยิ่งกดเท่าไร ก็ยิ่งโผล่มาบ่อยเท่านั้น และหากกดข่มมันอย่างหนัก (หรือพยายาม “กระทืบ”มันให้แดดิ้น) มันก็จะยิ่งหลบลึกขึ้นจนอาจไปฝังตัวอยู่ในจิตไร้สำนึก และแสดงตัวออกมาในอาการที่ผิดเพี้ยนหรือแปลงโฉม เช่น บางคนโกรธและเกลียดพ่อแม่มาก แต่พยายามปฏิเสธและกดข่มความรู้สึกนี้เอาไว้ เพราะรู้ว่ามันไม่ดี เป็นสิ่งที่ลูกไม่ควรทำ แต่ผลก็คือมันไปแสดงออกในรูปอื่น เช่น เกลียดโกรธศาลพระภูมิแทน เห็นศาลพระภูมิที่ไหนเป็นไม่ได้ อยากเข้าไปทำลาย
บางคนทะเลาะกับพ่อ ถูกพ่อด่าอย่างสาดเสียเทเสีย จึงโกรธมาก ถึงกับเงื้อมือจะไปตบพ่อ แต่ยั้งมือได้ทัน กระนั้นก็มีความรู้สึกผิดอย่างแรงที่คิดทำร้ายพ่อ จึงพยายามกดข่มทั้งความรู้สึกไม่ดีกับพ่อและความรู้สึกผิดในตัวเอง แต่ความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน หากหลบลึกและออกมาก่อกวนด้วยการทำให้แขนข้างที่จะตบพ่อนั้นยกไม่ขึ้น รักษาเท่าไรก็ไม่หาย ตรวจเท่าไรก็ไม่พบความผิดปกติทางกาย อาการเหล่านี้จะไม่หายจนกว่าจะดึงความรู้สึกอกุศลดังกล่าวให้โผล่มายังจิตสำนึก สู่การรับรู้ด้วยใจที่เป็นกลาง คือเห็นมันตามที่เป็นจริง ไม่คิดจะเข้าไปทำลายมัน หรือทำตามอำนาจของมัน แม้มันจะโถมถั่งทะลักทะลายออกมาเพียงใดก็ตาม
การเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับมารอย่างรู้เท่าทัน หรืออยู่กับมันชนิดที่มันทำอะไรเราไม่ได้ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตอย่างดีงามและเป็นสุข แต่จะดีกว่านั้นหากเราสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ด้วย นี้ใช่ไหมเป็นวิธีกำจัดมารอย่างได้ผล เพราะการกำจัดศัตรูที่ดีที่สุดก็คือการทำให้เขามาเป็นมิตร ทันทีที่เราทำให้มารเป็นประโยชน์ในทางส่งเสริมความดีงาม มารก็สิ้นสภาพความเป็นมาร และกลายเป็นมิตรแทน