ซวยแล้วเมิง! "หญิงบริการ" ในม็อบสารภาพเป็น "เอดส์" โดนตบตี-ไม่ใส่ถุงยาง แต่ขายบริการให้การ์ด กปปส.เพื่อความสะใจ

กระทู้สนทนา
มูลนิธิอิสรชนร่วมกับบ้านมิตร ไมตรีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แถลงสรุปสถานการณ์ผู้ใช้ ชีวิตในที่สาธารณะปี 2556 และผลกระทบทางการเมืองที่ส่งผลต่อผู้ใช้ชีวิตในที่ สาธารณะ โดยนายนที สรวารีเลขาธิการมูลนิธิอิสรชน เปิดเผยว่าจากการสำรวจผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในปี 56 พื้นที่กรุงเทพมหานครมี ทั้งหมด 3,140 รายเป็นเพศชาย 1,944 รายเพศหญิง 1,196 รายแบ่งเป็น

1.คนเร่รอน 900 คน

2.คนที่ใช้ที่สาธารณะหลับนอนชั่วคราว 824 คน

3.ผู้ติดสุรา 806 คน

4.ผู้ป่วยข้างถนน 683 คน

5.คนจนเมือง 597 คน

6.คนไร้บ้าน 461 คน

7.พนักงานบริการ อิสระ 398 คน

8.คนเร่รอนไร้บ้าน 323 คน

9.ผู้พ้นโทษ 56 คน

10.ครอบครัวแรงงานเพื่อน บ้าน 34 คน

11.ชาวต่างชาติเร่ร่อน 22 คน

12.ผู้มีความหลากหลายทางเพศ 15 คน

โดยมีแนว โน้มที่จะเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี เขตที่พบคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะมากที่สุดคือเขตพระนคร 559 คนเขตบางซื่อ 275 คนเขตจตุจักร 228 คน และในช่วงที่มีสถานการณ์ทางการเมืองมีการชุมนุมต่างๆ เกิดขึ้นจะส่งผลให้มี กลุ่มคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพิ่มขึ้นตลอดซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีบุคคลตก ค้างจากการชุมนุมตั้งแต่ พ.ศ.2516-ปัจจุบันรวมกว่า140 คนและการชุมนุมแต่ละครั้งส่งผลกระทบต่อความเครียดและการป่วยทางจิต

นายนทีกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในช่วงการชุมนุมพบว่ามีกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศมากขึ้น เนื่องจากช่วงเวลาการชุมนุมบุคคลเหล่านี้ถือเป็นที่ต้องการอย่างมากโดยผู้ขายบริการจะเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณที่มีการชุมนุมต่างๆ ซึ่งจากการลงพื้นที่ พูดคุยกับผู้ขายบริการพบว่าบางส่วนเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์แต่ก็ยังมาขายบริการ ในช่วงการชุมนุมซึ่งคาดว่ามีกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน 398 คนบางครั้งหญิงขายบริการก็ถูกข่มขู่ใช้บริการฟรีโดยไม่สวมถุงยางอนามัยถึง ขั้นลงไม้ลงมือก็มีทำให้ผู้ขายบริการที่รู้ทั้งรู้ว่าตนเองเป็นเอดส์ก็ยังไป ขายบริการให้การ์ด กปปส.เพื่อความสะใจ

อย่างไรก็ตามปัญหาผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะถือเป็นส่วนที่ทุกคนต้องช่วย กันดูแลและแก้ปัญหาโดยกทม.ในฐานะการผู้ดูแลเมืองถือเป็นส่วนสำคัญมากในการ เข้าไปทำความเข้าใจและดูแลกับบุคคลเหล่านี้แต่กทม.ยังไม่มีการจัดการปัญหาคน เร่รอนอย่างเป็นระบบมีเพียงการตั้งบ้านอุ่นใจเพื่อเป็นที่พักพิงแก่คนเร่ ร่อนแต่ก็เป็นเพียงที่หลับนอนเท่านั้นไม่มีการติดตามประสานงานเพื่อช่วยแก้ ปัญหาซึ่งตนเห็นว่าส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางการเมืองที่ทำให้กทม.และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ไม่ร่วมมือกันดำเนินการซึ่ง กทม.ควรปรับทัศนะเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาดังกล่าวให้มากขึ้น

  http://www.go6tv.com/2014/03/blog-post_14.html?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+Go6tv+%28go6TV%29    
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่