ข้อมูลงบการลงทุน ที่มา
http://thaipublica.org/2013/06/policy-watch-10-years-budget/
งบลงทุนจริงๆ อาจจะไม่ได้มากเหมือนที่ปรากฏในรายงานทั่วไปในเอกสารงบประมาณโดยสังเขปประจำปี 2557 มีการรายงานตัวเลข “รายจ่ายเพื่อการลงทุน” มูลค่าราว 4.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของงบประมาณทั้งหมด แต่หากดูตัวเลขงบลงทุนตามระบบของ GFS ซึ่งหมายถึงการซื้อสินทรัพย์ถาวร จะพบว่ามีมูลค่าเพียง 3 แสนล้านบาท เท่านั้น
รายจ่ายเพื่อการลงทุนได้รวมเอาค่าใช้จ่ายบางประเภท เช่น เงินอุดหนุนเงินเดือน ซึ่งไม่ควรจะรวมอยู่ใน “งบลงทุน” เข้าไปด้วย จากงบประมาณในปี 2557 เราคงไม่สามารถตอบได้ว่าส่วนต่างระหว่าง “รายจ่ายเพื่อการลงทุน” กับ “งบลงทุนตามระบบของ GFS” ที่แตกต่างกันมากถึง 1.4 แสนล้านบาท เกิดขึ้นเพราะเหตุใด หรือเป็นค่าใช้จ่ายรายการไหน แต่หากเราดูงบประมาณในปีก่อนหน้า จะพบว่ารายจ่ายเพื่อการลงทุนได้รวมเอาค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ เช่น เงินอุดหนุนเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทน ค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้สอย และค่าวัสดุไปด้วย ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงรายจ่ายเพื่อการซื้อหุ้น และรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าฉุกเฉิน ซึ่งถูกจัดเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนตามนิยามด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี รายการที่สามารถนับเป็นสินทรัพย์ทุนได้ก็มีเพียงเฉพาะค่าครุภัณฑ์และที่ดิน/สิ่งก่อสร้าง มูลค่าประมาณ 2.9 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับรายจ่ายเพื่อซื้อสินทรัพย์ทุนถาวรตามนิยามของระบบ GFS
หมายถึง เป็นการลงทุนทุกหน่วยงาน ตั้งแต่ สร้างห้องน้ำไปจนถึงซื้อรถถังใหม่ ต้องแย่งกันกี่หน่วยงาน
ใครที่บอกว่าใช้งบประมาณปกติทำได้ ทุกอย่างใน พรบ.เงินกู้ 2ล้านล้าน
คงไม่รู้ หรือแกล้งโง่
แล้วไทยจะหลุดจากกับดักประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างไร
หมดโอกาสสร้างให้อุปทานระยะยาวขยายตัว เพื่อขยับสร้างศักยภาพรายได้ประชาชาติ
อ่าน พัฒนาการของเศรษฐกิจไทย
http://www.siamintelligence.com/development-of-thai-economy/
และ กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)
http://www.siamintelligence.com/middle-income-trap/
ความท้าทายใหม่ของเศรษฐกิจไทยในทศวรรษหน้า
http://www.siamintelligence.com/next-challenges-of-thai-economy/
งบลงทุนในงบประมาณ57 ไม่ถึง 3 แสนล้าน ใครที่บอกว่า ทำโครงการต่างๆ จากงบประมาณปกติ แกล้งโง่หรือเปล่า
งบลงทุนจริงๆ อาจจะไม่ได้มากเหมือนที่ปรากฏในรายงานทั่วไปในเอกสารงบประมาณโดยสังเขปประจำปี 2557 มีการรายงานตัวเลข “รายจ่ายเพื่อการลงทุน” มูลค่าราว 4.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของงบประมาณทั้งหมด แต่หากดูตัวเลขงบลงทุนตามระบบของ GFS ซึ่งหมายถึงการซื้อสินทรัพย์ถาวร จะพบว่ามีมูลค่าเพียง 3 แสนล้านบาท เท่านั้น
รายจ่ายเพื่อการลงทุนได้รวมเอาค่าใช้จ่ายบางประเภท เช่น เงินอุดหนุนเงินเดือน ซึ่งไม่ควรจะรวมอยู่ใน “งบลงทุน” เข้าไปด้วย จากงบประมาณในปี 2557 เราคงไม่สามารถตอบได้ว่าส่วนต่างระหว่าง “รายจ่ายเพื่อการลงทุน” กับ “งบลงทุนตามระบบของ GFS” ที่แตกต่างกันมากถึง 1.4 แสนล้านบาท เกิดขึ้นเพราะเหตุใด หรือเป็นค่าใช้จ่ายรายการไหน แต่หากเราดูงบประมาณในปีก่อนหน้า จะพบว่ารายจ่ายเพื่อการลงทุนได้รวมเอาค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ เช่น เงินอุดหนุนเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทน ค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้สอย และค่าวัสดุไปด้วย ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงรายจ่ายเพื่อการซื้อหุ้น และรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าฉุกเฉิน ซึ่งถูกจัดเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนตามนิยามด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี รายการที่สามารถนับเป็นสินทรัพย์ทุนได้ก็มีเพียงเฉพาะค่าครุภัณฑ์และที่ดิน/สิ่งก่อสร้าง มูลค่าประมาณ 2.9 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับรายจ่ายเพื่อซื้อสินทรัพย์ทุนถาวรตามนิยามของระบบ GFS
หมายถึง เป็นการลงทุนทุกหน่วยงาน ตั้งแต่ สร้างห้องน้ำไปจนถึงซื้อรถถังใหม่ ต้องแย่งกันกี่หน่วยงาน
ใครที่บอกว่าใช้งบประมาณปกติทำได้ ทุกอย่างใน พรบ.เงินกู้ 2ล้านล้าน
คงไม่รู้ หรือแกล้งโง่
แล้วไทยจะหลุดจากกับดักประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างไร
หมดโอกาสสร้างให้อุปทานระยะยาวขยายตัว เพื่อขยับสร้างศักยภาพรายได้ประชาชาติ
อ่าน พัฒนาการของเศรษฐกิจไทย http://www.siamintelligence.com/development-of-thai-economy/
และ กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) http://www.siamintelligence.com/middle-income-trap/
ความท้าทายใหม่ของเศรษฐกิจไทยในทศวรรษหน้า http://www.siamintelligence.com/next-challenges-of-thai-economy/