สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 10/03/2557

( ข้อจำกัดด้านข้อความ ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับรวมไว้เยอะ )


1....            (เกาะติดประมูล4G) ( ค่ายใหญ่มองเกมครั้งนี้เพื่อเปิด 2G เท่านั้น) TRUE,AIS แผนสูงเพื่อเปิด2G รับช่วงลูกค้า 10 ล้านเลขหมาย
2....            TRUE ทุ่มงบTRUE H 15,000 ลบ. สถานีฐาน 3G 2100 MHz เพิ่มเป็น 6,000แห่งและ 4G ความถี่ 2100 MHz เพิ่มเป็น2,000สถานีฐาน
3....            กสทช.ประวิทย์ วอนค่ายมือถือกำหนดแพ็กเกจพื้นฐานเอื้อคนหูหนวก //ITU ศึกษาพบว่า ต้นทุนบริการSMSนั้นต่ำกว่าบริการเสียง10เท่า


___________________________________

(เพิ่มเติม)
1....     ADSLThailand กำลังทดสอบระบบ Speedtest ตัวใหม่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของทาง OOLKA ชื่อว่า NetGauge ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่แม่นยำมากขึ้น
2....     วิทยุการบินแห่งประเทศไทย แจง สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ MH 370 ลำดังกล่าวไม่ผ่านเขตความรับผิดชอบของประเทศไทย (BKK FIR) แต่อย่างใด
3....    กสทช.สุภิญญา ระบุ การสร้างความร่วมมือสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์” หรือ เพชรบุรีโมเดล ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างมีกลไกการทำงานของผู้บริโภคระดับจังหวัด
4....    กสทช. เปิดตัวเลข เรื่องร้องเรียน SMS กวนใจ!!! 2556 ได้รับเรื่องร้องเรียนรวมทั้ง 2 ปัญหา 251 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 25,293.28 บาท (ในความเป็นจริง น่าจะมีกรณีเกิดขึ้นมากกว่าที่เข้ามาร้องเรียนเป็น 10 เท่า )


















07 มีนาคม 2557 วิทยุการบินแห่งประเทศไทย แจง สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ MH 370 ลำดังกล่าวไม่ผ่านเขตความรับผิดชอบของประเทศไทย (BKK FIR) แต่อย่างใด

ประเด็นหลัก


บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ชี้แจงว่า ตามที่ขณะนี้มีข่าวเครื่องบินขาดการติดต่อและหายไป ของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ MH 370 จากกัวลาลัมเปอร์ไปปักกิ่ง ทาง บวท. ได้ตรวจสอบแผนการบิน (flight plan) อย่างละเอียดแล้ว เครื่องบินลำดังกล่าวไม่ผ่านเขตความรับผิดชอบของประเทศไทย (BKK FIR) แต่อย่างใด จุดที่หายประมาณการณ์ได้ว่า เป็นบริเวณทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ซึ่งนักบินได้มีการติดต่อกับหอควบคุมการบินของเวียดนามแล้ว.

http://m.thairath.co.th/content/eco/408513
http://m.thairath.co.th/content/tech/408487
______________________________________

07 มีนาคม 2557 ADSLThailand กำลังทดสอบระบบ Speedtest ตัวใหม่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของทาง OOLKA ชื่อว่า NetGauge ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่แม่นยำมากขึ้น

ประเด็นหลัก

ล่าสุด ADSLThailand กำลังทดสอบระบบ Speedtest ที่ใหม่ที่สุดในไทย โดยมีชื่อเรียกว่า SpeedTest Version 3 (เปิดให้ทดสอบแล้ว) โดยคนที่เข้าใช้งาน SpeedTest จะเห็นแบนเนอร์ ADSLThailand SpeedTest version 3.0 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของทาง OOLKA ชื่อว่า NetGauge ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่แม่นยำมากขึ้น

โดยปกติแล้วการวัดความเร็วอินเทอร์เน็ต เราจะวัดจากค่า Ping อันนี้ตามภาษาชาวบ้านทั่วๆไปใช้งานเข้าใจง่าย ค่า Ping น้อยก็เร็ว แต่เจ้าเครื่องมือนี้ advance กว่านั้น เพราะทดสอบการสูญเสียคุณภาพสัญญาณ การรับส่งข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ และสแกนพอร์ต firewall ด้วย ซึ่ง NetGauge จะฝังอยู่ในระบบทดสอบความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของ Ookla Speedtest


http://www.adslthailand.com/news/adslthailand-speed-test-version-3


______________________________________
07 มีนาคม 2557 กสทช. เปิดตัวเลข เรื่องร้องเรียน SMS กวนใจ!!! 2556 ได้รับเรื่องร้องเรียนรวมทั้ง 2 ปัญหา 251 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 25,293.28 บาท (ในความเป็นจริง น่าจะมีกรณีเกิดขึ้นมากกว่าที่เข้ามาร้องเรียนเป็น 10 เท่า )

ประเด็นหลัก

สถิติระบุว่าระหว่างปี 2552 ถึงวันที่ 23 ม.ค.2557 กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมได้รับแจ้งปัญญาเกี่ยวกับการบริการจำนวน 19,849 เรื่อง จากจำนวนดังกล่าว มีเรื่องข้อความสั้นจำนวน 2,215 เรื่อง ด้านปัญหาจำแนกได้ 2 ลักษณะคือ ข้อความโฆษณารบกวน 456 เรื่อง ถูกคิดค่าบริการจากการได้รับข้อความ 1,759 เรื่อง รวมคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 137,812.56 บาท เฉพาะปี 2556 ได้รับเรื่องร้องเรียนรวมทั้ง 2 ปัญหา 251 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 25,293.28 บาท

“ในความเป็นจริงน่าจะมีกรณีเกิดขึ้นมากกว่าที่เข้ามาร้องเรียนเป็น 10 เท่า ทว่าผู้บริโภคไม่อยากเสียเวลามาร้องเรียนและยอมเสียเงินไปฟรีๆ แต่ผมคิดว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ ฉะนั้นฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกับหามาตรการป้องกัน”

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140307/567259/%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81.html
______________________________________



07 มีนาคม 2557 กสทช.สุภิญญา ระบุ การสร้างความร่วมมือสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์” หรือ เพชรบุรีโมเดล ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างมีกลไกการทำงานของผู้บริโภคระดับจังหวัด

ประเด็นหลัก


สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 10 มี.ค. 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 9/57 มีการพิจารณาวาระการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กลไกเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ หรือ “เพชรบุรีโมเดล” ตามที่สำนักงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ รส. ได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อ เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ใน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ร่วมกับสำนักงานจังหวัด หน่วยงานวิชาการ ภาคประชาสังคม และวิชาชีพสื่อใน จ.เพชรบุรี เพื่อติดตามสถานการณ์การเฝ้าระวังการโฆษณาในวิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จึงได้เกิดข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และสำนักงาน กสทช. ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ ตามแนวทางของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2559) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน มิให้ถูกละเมิดจากการประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในลักษณะที่เป็นเท็จ บิดเบือน อคติ ไม่เป็นธรรม ครอบงำ หรือเป็นการเอาเปรียบเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยมุ่งเน้นการสร้างหลักเกณฑ์การคุ้มครองสิทธิ มีกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนที่สะดวก มีประสิทธิภาพ มีการเยียวยาแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพให้ประชาชนมีความตื่นตัว เข้มแข็ง รู้จักปกป้องตนเองสามารถเข้าถึงเข้าใจและใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ผ่านกระบวนการรู้เท่าทันสื่อและการรณรงค์ทางสังคม

นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า “การสร้างความร่วมมือสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์” หรือ เพชรบุรีโมเดล ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างมีกลไกการทำงานของผู้บริโภคระดับจังหวัด โดยมีหน่วยงานราชการ วิชาการ และสื่อมวลชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้บริโภคโดยผ่านการปฏิบัติการณ์จริงและใช้แนวทางที่ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งและองค์กรชุมชนเป็นแกนหลักร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของผู้บริโภคในการรู้เท่าทันการโฆษณาเกินจริงทางสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ การจัดการฝ้าระวัง และการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ต่างๆผ่านสื่อท้องถิ่น ตลอดจนการเชื่อมร้อยผนึกกำลังหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้จริง นอกจากนี้ได้เตรียมขยายแผนงานสร้างความร่วมมือระดับจังหวัดต่างๆอีกประมาณ 9 โมเดลจังหวัด ต่อไป”





http://www.dailynews.co.th/Content/IT/221547/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5+%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99
______________________________________
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่