รู้ไหมเลขประจำตัว 13 หลักมาได้ไง ผมจะบอกให้ฟัง

เคยสงสัยกันมั้ยว่า เลขบัตรประชาชนของเราทำไมขึ้นต้นด้วย เลข 1 เลข 2

มาดูความหมายกัน........

กฎหมายกำหนดไว้ว่า คนไทยทุกคนจะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

ตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน

พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน

(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 โดยจะต้องไปขอทำบัตรประชาชนครั้งแรก

กับที่ว่าการอำเภอ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์

งานทะเบียนราษฎรของเมืองไทยเริ่มจัดเก็บข้อมูลในลักษณะ

ของเอกสารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา ซึ่งเรียกว่าสำเนาทะเบียนบ้าน

ข้อมูลที่จัดเก็บดังกล่าวมีรายละเอียดของบ้าน และคนว่าอยู่ที่ไหน

มีชื่อสกุล เพศ เกิดวันเดือน ปีอะไร สัญชาติไหน มีพ่อแม่ชื่ออะไร

สัญชาติอะไร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2515 จึงได้มีการคัดลอกทะเบียนบ้านใหม่

เป็นครั้งแรก เพื่อความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ทั้งนี้

ความหมายของเลขประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลักมีดังนี้

----------------------

หลักที่ 1 หมายถึง ประเภทบุคคลซึ่งมี 8 ประเภท อันได้แก่

ประเภทที่ 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา

(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527

ประเภทที่ 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา

(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)

ประเภทที่ 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)

ประเภทที่ 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว

แต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก

(1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)

ประเภทที่ 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้า

ในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ

ประเภทที่ 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย

และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฏหมาย แต่จะอยู่ในลักษณะชั่วคราว

ประเภทที่ 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย

ประเภทที่ 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฏหมาย

คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว คนที่ได้รับการแปลงสัญชาติ

เป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย

------------------

หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึง รหัสของสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่อใน

ทะเบียนบ้านในขณะให้เลข สำหรับเด็กเกิดใหม่จะหมายถึงถิ่น

ที่เกิดเลยทีเดียว โดยหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงจังหวัด

หลักที่ 4 และ 5 หมายถึงอำเภอ หรือเทศบาล

หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 หมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท

ตามหลักแรก หรือหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร แล้วแต่กรณี

หลักที่ 11 และ 12 หมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท

หรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่ม แล้วแต่กรณี

หลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลข 12 หลักแรก

ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยและใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

Credit  http://kungsss.exteen.com/20070422/entry-3
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่