การนำเรื่องราวจากหนังสือมาสร้างเป็นภาพยนตร์เป็นเรื่องยากเสมอ จัดเป็นของแสลงอย่างหนึ่งในวงการหนังก็ว่าได้ ยิ่งหนังสือได้รับความนิยมเท่าไหร่ ความคาดหวังก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น หากทำได้ดีส่วนมากแค่เสมอตัว แต่หากทำออกมาแย่ไม่ถูกใจคอนักอ่าน แน่นอนว่าทีมผู้สร้างคงโดนสวดยันลูกบวช
Mary Poppins พี่เลี้ยงเด็กถือร่มที่มากับมนต์วิเศษมากมาย คือโปรเจกต์ในฝันของ วอลท์ ดิสนีย์ ผู้สร้างดิสนีย์แลนด์ดินแดนในฝันของเด็กๆทั่วโลก เขาให้สัญญากับลูกๆว่าจะทำให้ แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ กระโดดจากหน้ากระดาษมาโลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม แต่ติดตรงที่ พี.แอล. เทรเวอร์ส นักเขียนเจ้าของบทประพันธ์หวงแหนตัวละครและนิยายของเธอมากๆ
Saving Mr. Banks เล่าถึงขั้นตอนอันยากลำบากของ วอลท์ ดิสนีย์ กับทีมงานในการโน้มน้าวให้ พี.แอล. เทรเวอร์ส ป้าแก่ขาวีนขี้บ่น อนุญาตให้ แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ หลังจากผ่านไปกว่า20ปีเธอปฏิเสธมาตลอด กระทั่งปัญหาด้านการเงินบีบให้ เทรเวอร์ส ยอมเดินทางจากอังกฤษมาสหรัฐฯเพื่อควบคุมไม่ให้ผลงานชิ้นสำคัญของเธอถูกคนอื่นเอาไปเปลี่ยนแปลงตามใจชอบ ตลอดเวลาที่เธอใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐฯภาพความหลังในอดีตซึ่งเป็นที่มาของ นิยาย แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ ก็หวนคืนกลับมาเป็นระยะ
หนังดำเนินเรื่องแบบตัดสลับปัจจุบันและอดีต คือช่วงเวลาที่ เทรเวอร์ส นักเขียนสาวกำลังชั่งใจที่จะขายลิขสิทธิ์หนังสือของเธอให้ ดิสนีย์ ทำเป็นหนัง และ ช่วงเวลาในวัยเด็กกับพ่อของเธอที่ฝังแน่นอยู่ในเบื้องลึกความทรงจำ หนังมีมุขตลกเล็กๆรายทาง แฝงความหมายบางอย่างสื่อสารเป็นสัญลักษณ์ผ่านทางข้าวของเครื่องของตัวละคร แม้จะโดดไปโดดมาทำให้คนดูสับสนบ้างแต่ก็สามารถประติดประต่อจนสมบูรณ์ได้เมื่อถึงฉากจบ ส่วนใครที่ยังไม่เคยดูหรืออ่าน แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ ก็ไม่ได้ทำให้อรรถรสในการชมหนังเรื่องนี้ลดลง เนื่องจากมีการให้ข้อมูลที่สำคัญตลอด ทั้งนี้ต้องชื่นชมบทที่แข็งแรง มีมิติ
จอห์น ลี แฮนคอกค์ ผู้กำกับพาคนดูย้อนเวลากลับไปในยุคปี 1961 รวมถึงออสเตรเลียในยุคบุกเบิก สมจริงทั้ง เครื่องแต่งกาย ฉาก และภาษา ที่โดดเด่นอีกอย่างคือเพลงประกอบเพราะๆที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ให้มีความสดใหม่ทันสมัยอย่างเพลง Let's go fly a kite
ตัวละครหลายตัวในหนังดูมีเสน่ห์ เอ็มม่า ธอมป์สัน แสดงได้ยอดเยี่ยมที่สุด ถ่ายทอดนิสัยของ พี.แอล. เทรเวอร์ส ได้สมจริงจนเรารำคาญความเรื่องมากของเธอ ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดปมความเศร้าในใจได้ดีจนผู้ชมเห็นใจ ฟาก ทอม แฮงค์ส ที่เล่นเป็น วอลท์ ดิสนีย์ ก็ดูเหมาะสม บทอาจจะไม่หวือหวาเหมือนเรื่องก่อนๆแต่ก็มีซีนเฉือดเฉือนปะทะคารมและอารมณ์กับ เอ็มม่า พอสมควร นัยหนึ่งก็คล้ายบทพ่อแง่
อนของคู่รักวัยดึก นอกจากนี้เขายังนำเสนอแง่มุมธรรมดาของชายผู้สร้างความสุขให้กับเด็กๆทั่วโลกได้อย่างน่าสนใจ ทั้งนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวซึ่งมีทั้งดีไม่ดีผสมกัน
กระนั้น ตัวละครที่ผมชอบที่สุดกลับเป็น คนขับรถ ที่แสดงโดย พอล จิอาแมตตี้ เขาคือทูตสันติภาพระหว่าง ทอม กับ เอ็มม่า ตัวจริง ส่วนในพล็อตรองยกความดีให้ โคลิน ฟาร์เรล กับบทพ่อขี้เมาช่างฝันของ เทรเวอร์ส ชายที่อยู่ทั้งในโลกแห่งความจริงและโลกแห่งจินตนาการของเธอ จุดนี้เองที่ช่วยขับเน้นความเป็นหนังครอบครัวขึ้นมา
Saving Mr. Banks เป็นภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวได้อบอุ่น ซาบซึ้ง น่าประทับใจ ให้ข้อคิดในการมองโลก ปล่อยวางอดีต ช่วงท้ายมีซีนสะเทือนใจเรียกนํ้าตาเบาๆ เมื่อดูจบแล้ว คุณจะเข้าใจถึงที่มาของชื่อหนัง หากหนังสือเป็นตัวแทนของจินตนาการ ภาพยนตร์ก็คือตัวแทนของโลกความจริง หนังสือสร้างเรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านมีจินตนาการ ทว่าภาพยนตร์สร้างเรื่องราวเพื่อให้คนดูเชื่อ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นเลยที่จะนำสองศาสตร์นี้มาเปรียบเทียบกัน ก็เหมือนกับการที่เราไม่เอาจินตนาการมาถกเถียงกับความจริงนั่นแหละ
คะแนน 8/10
โดย นกไซเบอร์
ที่มาจาก
http://movie.bugaboo.tv/watch/108847/?link=4
วิจารณ์หนัง : Saving Mr. Banks ชายในจินตนาการบนโลกแห่งความจริง
การนำเรื่องราวจากหนังสือมาสร้างเป็นภาพยนตร์เป็นเรื่องยากเสมอ จัดเป็นของแสลงอย่างหนึ่งในวงการหนังก็ว่าได้ ยิ่งหนังสือได้รับความนิยมเท่าไหร่ ความคาดหวังก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น หากทำได้ดีส่วนมากแค่เสมอตัว แต่หากทำออกมาแย่ไม่ถูกใจคอนักอ่าน แน่นอนว่าทีมผู้สร้างคงโดนสวดยันลูกบวช
Mary Poppins พี่เลี้ยงเด็กถือร่มที่มากับมนต์วิเศษมากมาย คือโปรเจกต์ในฝันของ วอลท์ ดิสนีย์ ผู้สร้างดิสนีย์แลนด์ดินแดนในฝันของเด็กๆทั่วโลก เขาให้สัญญากับลูกๆว่าจะทำให้ แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ กระโดดจากหน้ากระดาษมาโลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม แต่ติดตรงที่ พี.แอล. เทรเวอร์ส นักเขียนเจ้าของบทประพันธ์หวงแหนตัวละครและนิยายของเธอมากๆ
Saving Mr. Banks เล่าถึงขั้นตอนอันยากลำบากของ วอลท์ ดิสนีย์ กับทีมงานในการโน้มน้าวให้ พี.แอล. เทรเวอร์ส ป้าแก่ขาวีนขี้บ่น อนุญาตให้ แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ หลังจากผ่านไปกว่า20ปีเธอปฏิเสธมาตลอด กระทั่งปัญหาด้านการเงินบีบให้ เทรเวอร์ส ยอมเดินทางจากอังกฤษมาสหรัฐฯเพื่อควบคุมไม่ให้ผลงานชิ้นสำคัญของเธอถูกคนอื่นเอาไปเปลี่ยนแปลงตามใจชอบ ตลอดเวลาที่เธอใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐฯภาพความหลังในอดีตซึ่งเป็นที่มาของ นิยาย แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ ก็หวนคืนกลับมาเป็นระยะ
หนังดำเนินเรื่องแบบตัดสลับปัจจุบันและอดีต คือช่วงเวลาที่ เทรเวอร์ส นักเขียนสาวกำลังชั่งใจที่จะขายลิขสิทธิ์หนังสือของเธอให้ ดิสนีย์ ทำเป็นหนัง และ ช่วงเวลาในวัยเด็กกับพ่อของเธอที่ฝังแน่นอยู่ในเบื้องลึกความทรงจำ หนังมีมุขตลกเล็กๆรายทาง แฝงความหมายบางอย่างสื่อสารเป็นสัญลักษณ์ผ่านทางข้าวของเครื่องของตัวละคร แม้จะโดดไปโดดมาทำให้คนดูสับสนบ้างแต่ก็สามารถประติดประต่อจนสมบูรณ์ได้เมื่อถึงฉากจบ ส่วนใครที่ยังไม่เคยดูหรืออ่าน แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ ก็ไม่ได้ทำให้อรรถรสในการชมหนังเรื่องนี้ลดลง เนื่องจากมีการให้ข้อมูลที่สำคัญตลอด ทั้งนี้ต้องชื่นชมบทที่แข็งแรง มีมิติ
จอห์น ลี แฮนคอกค์ ผู้กำกับพาคนดูย้อนเวลากลับไปในยุคปี 1961 รวมถึงออสเตรเลียในยุคบุกเบิก สมจริงทั้ง เครื่องแต่งกาย ฉาก และภาษา ที่โดดเด่นอีกอย่างคือเพลงประกอบเพราะๆที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ให้มีความสดใหม่ทันสมัยอย่างเพลง Let's go fly a kite
ตัวละครหลายตัวในหนังดูมีเสน่ห์ เอ็มม่า ธอมป์สัน แสดงได้ยอดเยี่ยมที่สุด ถ่ายทอดนิสัยของ พี.แอล. เทรเวอร์ส ได้สมจริงจนเรารำคาญความเรื่องมากของเธอ ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดปมความเศร้าในใจได้ดีจนผู้ชมเห็นใจ ฟาก ทอม แฮงค์ส ที่เล่นเป็น วอลท์ ดิสนีย์ ก็ดูเหมาะสม บทอาจจะไม่หวือหวาเหมือนเรื่องก่อนๆแต่ก็มีซีนเฉือดเฉือนปะทะคารมและอารมณ์กับ เอ็มม่า พอสมควร นัยหนึ่งก็คล้ายบทพ่อแง่ อนของคู่รักวัยดึก นอกจากนี้เขายังนำเสนอแง่มุมธรรมดาของชายผู้สร้างความสุขให้กับเด็กๆทั่วโลกได้อย่างน่าสนใจ ทั้งนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวซึ่งมีทั้งดีไม่ดีผสมกัน
กระนั้น ตัวละครที่ผมชอบที่สุดกลับเป็น คนขับรถ ที่แสดงโดย พอล จิอาแมตตี้ เขาคือทูตสันติภาพระหว่าง ทอม กับ เอ็มม่า ตัวจริง ส่วนในพล็อตรองยกความดีให้ โคลิน ฟาร์เรล กับบทพ่อขี้เมาช่างฝันของ เทรเวอร์ส ชายที่อยู่ทั้งในโลกแห่งความจริงและโลกแห่งจินตนาการของเธอ จุดนี้เองที่ช่วยขับเน้นความเป็นหนังครอบครัวขึ้นมา
Saving Mr. Banks เป็นภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวได้อบอุ่น ซาบซึ้ง น่าประทับใจ ให้ข้อคิดในการมองโลก ปล่อยวางอดีต ช่วงท้ายมีซีนสะเทือนใจเรียกนํ้าตาเบาๆ เมื่อดูจบแล้ว คุณจะเข้าใจถึงที่มาของชื่อหนัง หากหนังสือเป็นตัวแทนของจินตนาการ ภาพยนตร์ก็คือตัวแทนของโลกความจริง หนังสือสร้างเรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านมีจินตนาการ ทว่าภาพยนตร์สร้างเรื่องราวเพื่อให้คนดูเชื่อ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นเลยที่จะนำสองศาสตร์นี้มาเปรียบเทียบกัน ก็เหมือนกับการที่เราไม่เอาจินตนาการมาถกเถียงกับความจริงนั่นแหละ
คะแนน 8/10
โดย นกไซเบอร์
ที่มาจาก http://movie.bugaboo.tv/watch/108847/?link=4