เคยเขียนเรื่องนี้ตอนลูกคนแรกครบ 1 ขวบ เมื่อปี 54 คิดว่าอาจเป็นกำลังใจให้ทั้งคนมีลูกยาก และแม่ทำงานที่ยังมีลูกเล็กๆ เลยเอามาลงอีกที เอาว่าเล่าสู่กันฟังละกันนะคะ
----------------------------------------------------------------------------------------
สุขสันต์วันเกิดลูกรักครบ 1 ขวบ ขอบคุณที่ทำให้รู้ว่าแม่ก็ทำได้
ตั้งใจเขียนอะไรไว้ซักเล็กน้อย ในโอกาสที่ลูกชายครบ 1 ขวบ ในฐานะที่เป็นที่มีลูกยากและรักษาอยู่นาน (ทั้งหมอจีน หมอแมะ หมอแผนปัจจุบัน ... เพื่อนถามเยอะจนต้องเขียนโพยไว้ให้อ่าน) อยากบอกว่าทั้งดีใจที่ได้มีลูก ดีใจที่ลูกแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส เป็นขวัญใจของทุกคนในครอบครัว ที่จริงต้องขอบคุณลูกด้วย เป็นทำให้แม่ทำอะไรได้หลายอย่าง ที่ไม่คิดว่าจะทำได้ ไหน ๆ ก็เขียนแล้ว เลยอยากแชร์เรื่องราวชีวิตคุณแม่ทำงานที่มีลูกเล็ก ๆ เผื่อจะเป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจให้บรรดาคุณแม่ทำงานท่านอื่น ๆ ด้วยค่ะ
ก่อนอื่นต้องบอกว่าเราก็เหมือนคุณแม่คนอื่นที่อยากมาเป็นแม่บ้านเต็มตัว ดูแลลูกเอง แต่ไม่สามารถค่ะ สรุปว่ายังต้องไปทำงานหาเงิน ยอมรับว่าตอนลาคลอดครบ 3 เดือนแล้ว อยากลาออกต่อเลย ไม่มีสมาธิทำงาน ใจห่วงแต่จะปั๊มนม กลัวว่าถ้าไม่ตรงเวลาเดี๋ยวนมลด นมหาย เดี๋ยวมีประชุม เดี๋ยวคุยกับลูกค้า หัวหน้า ลูกน้อง เยอะสิ่ง อยากลาออกทุกวันกะว่ามาเลี้ยงลูกเอง... เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ เริ่มปรับตัวได้มากขึ้น หาแนวทางของตัวเองได้ โชคดีได้พี่เลี้ยงดี ก็ถ้อยทีถ้อยอาศัย รักษาน้ำใจกันไป อะไรทุ่นแรงเค้าก็ใช้เครื่องทุ่นแรง อยู่กันได้ดี เราเลยได้คำตอบว่าจะต้องทำงานต่อไป งั้นต้องทำตัวยังไงล่ะ ถึงจะเป็นแม่ทำงานที่ดูแลลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อยากจัดเต็มเหมือนคุณแม่ที่เป็นแม่บ้านเต็มตัวเหมือนกัน อาจได้ไม่เท่า 100% แต่คิดว่าสูสี ลองผิดลองถูกอยู่หลายแบบ ตอนนี้ลงตัวตามนี้ (ตารางคิวอาจจะแน่นสูสีกะณเดชน์กันเลยทีเดียว )
6: 15-- ตื่นนอน มาทำอาหารเสริมให้ลูก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที อันนี้รวมอาหารเสริมมื้อเย็นด้วย เตรียมพร้อม พี่เลี้ยงเอามาอุ่นได้เลย อันนี้จะได้มั่นใจว่าลูกเราได้กินอย่างที่เราต้องการ
6: 30 -- ตัวเรา ล้างหน้า อาบน้ำ แต่งตัว ใช้เวลา 10 นาที (แค่ทากันแดด ทาแป้งฝุ่น ทา highlight ผมซอยสั้น หวี 5 ที จบ ... สวยเบาๆ อย่าเยอะ ) ลูกเริ่มตื่นล่ะ ปล่อยให้นอนเล่นกะปะป๊ากันหนุงหนิง
6:45-- ให้ปะป๊าหรือพี่เลี้ยงพาลูกเดินเล่นหน้าบ้าน คุยกับเด็กวัยเดียวกัน โน่นนี่นั่น จัดสรรงานกันชัดเจน
7:00—เราจับลูกเข้าเก้าอี้เด็ก high chair สอนคำศัพท์อังกฤษ นับเลข สำหรับเราคิดว่า high chair เป็นสินค้าคุ้มมาก ซื้อดี ๆ ไปเลย ใช้ได้มากกว่าแค่ตอนกินข้าวนะ
7:05 -- เราเริ่มป้อนข้าวลูก ก็กินไปเล่นของเล่นโน่นนี่บนโต๊ะที่ติดกับเก้าอี้เด็ก high chair จังหวะนี้ฝากให้พี่เลี้ยงอุ่นอาหารผู้ใหญ่เตรียมพร้อม เรากะสามีต้องกินข้าวก่อนไปทำงาน เพื่อสุขภาพและความประหยัด (อันนี้สำคัญ)
7:30-- เรากินข้าวเช้า สลับให้ปะป๊าป้อนข้าวลูก
7:35-- กลับมาเล่นต่อกับลูก เรากินข้าวเร็วน่ะ ให้ปะป๊าไปกินมั่ง
7:50-- เราออกจากบ้านไปทำงาน
8:15 -- ถึงที่ทำงาน ก้มหน้าก้มตาทำไป มีอะไรรีบทำ เหมือนขยัน ดูดีด้วย (ว่าไปนั่น) แต่จริง ๆ คือจะได้กลับบ้านไว ๆ น่ะ ใครใช้อะไรรีบทำ ไม่อิดออด เสียเวลาคิด เรียกว่าการงานก็จัดเต็ม
12:00 -- เที่ยงแล้ว งัดข้าวกล่องจากบ้านขึ้นมากิน ถูก อร่อย สะอาด ที่สำคัญเหลือเวลาไปทำอย่างอื่น เช่น เข้าห้องชานเรือน (อันนี้ขอนิดนึง)
12:05-- กินข้าวเสร็จเร็ว (อีกแล้ว) เริ่มอ่านโน่นนี่เกี่ยวกับการดูแลลูก จากหนังสือบ้าง อินเตอร์เนตบ้าง เพื่อนยังตกลงไม่ได้ว่าจะกินข้าวที่ไหนกัน ฮ่า...
12:40 – ลุกเดินไปโน่นนี่ ออกกำลังกายซะหน่อย แวะคุยกับเพื่อนบ้าง อะไรบ้าง คนเราต้องมีสังคม (เม้าท์วันละนิด จิตแจ่มใส)
13:00 – กลับมาก้มหน้าก้มตาทำงาน เฮ้ย! อีก 4 ชั่วโมงก็ได้กลับบ้านแล้ว ดีใจมาก
17:15 – เอาล่ะวันนี้ จัดการงานการได้เข้าเป้าล่ะ เก็บของกลับบ้าน
18:20 – ถึงบ้านแล้ว เล่นกับลูกหนุกหนาน ถ้ายังไม่ค่ำมาก ฝนไม่ตก จะพาเข็นเดินเล่นหน้าบ้าน หรือไม่ก็เข็นไป 7-11 ห่างจากบ้านประมาณ 200 เมตร หยิบนั่นนี่ที่ดูทนไม้ทนเมือให้ลูกเล่น แล้วคืนที่เดิม นับได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีในการสอนคำศัพท์ต่าง ๆ what is this? What is that ? กันเงียบ ๆ สองคนแม่ลูก ขอบคุณร้านเซเว่น
19:00 -- สอนคำศัพท์อังกฤษ, นับเลข อ่านหนังสือให้ฟัง... บ้านนี้โทรทัศน์คืออะไร เลิกดูกันไปนานแล้ว
19:20 – เอาลูกเข้านอน อ่านนิทาน ไม่ใช่อ่านให้ฟังเฉย ๆ นะ ชี้ทุกคำที่อ่านให้เค้าฟัง เนื้อหาไม่ซับซ้อน สำหรับเด็กเล็ก ตัวหนังสืออย่าเยอะ เป็นคำคล้องจองได้ยิ่งดี
20:00 – เรากินข้าวเย็น แล้วทำอาหารเตรียมไว้พรุ่งนี้ พี่เลี้ยงช่วยอุ่นให้อย่างเดียว ทำเองสะอาด ครบคุณค่า ที่สำคัญประหยัด (เน้นอีกที)
20:30 – พักผ่อนอ่านโน่นนี่อย่างที่อยาก ส่วนมากก็การเลี้ยงการสอนเด็ก เตรียมบัตรคำภาษาไทย หนังสือ ของเล่น เอาไว้ให้พี่เลี้ยงเล่นกับลูกตอนกลางวัน
22:30—นอนล่ะ อย่านอนดึก พรุ่งนี้ต้องใช้แรงอีกเยอะ รักษาสุขภาพ
สรุปคืองานก็ต้องทำให้ดี เอาใจใส่ จัดเต็มไปเลย ก็ยังอยากมีงาน (= เงิน) ทำอยู่นี่นา เวลาที่มีจัดสรรให้ดี มีเวลาก็ใช้หาข้อมูลดี ๆ ไว้ใช้กับลูกของเรา อีกเทคนิคของเราคือใส่นาฬิกาตลอดเวลา (อันนี้ติดจากตอนลูกแรกเกิด ที่ต้องบันทึกเวลาให้นม ) จะรู้ตัวอยู่เสมอว่าเวลาไหนควรทำอะไร อะไรไม่จำเป็นจริง ๆ ต้องตัดออก เช่น social network นาน ๆ ค่อยเข้าละกัน ไม่ต้องรู้หรอกค่ะว่าใครเค้าทำไรกัน รู้แต่ว่าฉันจะทำอะไรก็เยอะแล้วเนี่ย!, การเลิกดูทีวีทำให้มีเวลาเหลือมากขึ้นเยอะมาก ...แต่ยังอ่านข่าวบันเทิงดารานะคะ ขาดไม่ได้ ณ จุดๆนี้ , เดินเล่นห้าง อันนี้เป็นไง ลืมไปนานละ จะซื้ออะไรจดไป รีบซื้อรีบกลับบ้านสิคะ... ไม่กล้าเดินนาน เดี๋ยวอดไม่ไหว ช๊อปกระจาย ดิฉันก็สตรีไทยนะค่ะ, เครื่องสำอางค์ยังใช้นะคะ ดูแลตัวเองด้วยค่ะ แต่มีเปลี่ยนเป็นยี่ห้อที่ราคาลดลงมาบ้าง... ต้องเอาเงินไปซื้อมีดดาบสายฟ้า ปืนนินจา และของวิเศษอีกมากมาย บริหารงบกันหน่อยนะคะ ฝึกสมองกันที่สุด
เทคนิคอีกอย่างของคุณแม่ทำงานคือแบ่งปันข้อมูลเรื่องลูกกัน ทั้งในสังคมชีวิตจริงและสังคมออนไลน์ ต้องขอบคุณชานเรือน และอีกหลายแหล่งที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น เราได้เรียนรู้อะไรมากมายในเวลาสั้น ๆ อะไรลดงานได้ก็ต้องลงทุนบ้างเพราะเรายังต้องเป็นพนักงานเงินเดือนอยู่ ต้องเหลือแรงที่สดชื่นไว้ทำงานด้วยนะคะ ... พี่เลี้ยงนับว่าเป็นคนสำคัญ ต้องดูแลใส่ใจกันให้ดี อะไรช่วยลดงานเค้าได้เราลงทุนนะ เค้าจะได้มีแรงเล่นกับลูกเรา เราอยากให้ลูกไม่ดูทีวี แต่ก็สงสารพี่เลี้ยงเหมือนกัน คนเค้าเคยดู สามีเลยจัดtablet ให้เค้าอันนึง เท่านั้นแหละ แฮปปื้ทั้งสองฝ่าย ลูกเราเข้านอนเค้าถึงดูรายงานที่ชอบย้อนหลัง เค้าชอบมากๆ นับว่าเป็นสิ่งนึงที่เราว่าคุ้มค่าในการลงทุน ลูกจะได้ไม่ติดทีวี, tablet ค่ะ
ลูกโตขึ้น ความเป็นแม่ก็โตขึ้นตาม ให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอว่าเราต้องทำได้ ทำได้ดีด้วย....................สู้โว๊ยค่ะ
แม่ลูกสองจากผู้มีบุตรยาก...จัดเต็มทั้งงานนอกบ้านและการเลี้ยงลูก
----------------------------------------------------------------------------------------
สุขสันต์วันเกิดลูกรักครบ 1 ขวบ ขอบคุณที่ทำให้รู้ว่าแม่ก็ทำได้
ตั้งใจเขียนอะไรไว้ซักเล็กน้อย ในโอกาสที่ลูกชายครบ 1 ขวบ ในฐานะที่เป็นที่มีลูกยากและรักษาอยู่นาน (ทั้งหมอจีน หมอแมะ หมอแผนปัจจุบัน ... เพื่อนถามเยอะจนต้องเขียนโพยไว้ให้อ่าน) อยากบอกว่าทั้งดีใจที่ได้มีลูก ดีใจที่ลูกแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส เป็นขวัญใจของทุกคนในครอบครัว ที่จริงต้องขอบคุณลูกด้วย เป็นทำให้แม่ทำอะไรได้หลายอย่าง ที่ไม่คิดว่าจะทำได้ ไหน ๆ ก็เขียนแล้ว เลยอยากแชร์เรื่องราวชีวิตคุณแม่ทำงานที่มีลูกเล็ก ๆ เผื่อจะเป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจให้บรรดาคุณแม่ทำงานท่านอื่น ๆ ด้วยค่ะ
ก่อนอื่นต้องบอกว่าเราก็เหมือนคุณแม่คนอื่นที่อยากมาเป็นแม่บ้านเต็มตัว ดูแลลูกเอง แต่ไม่สามารถค่ะ สรุปว่ายังต้องไปทำงานหาเงิน ยอมรับว่าตอนลาคลอดครบ 3 เดือนแล้ว อยากลาออกต่อเลย ไม่มีสมาธิทำงาน ใจห่วงแต่จะปั๊มนม กลัวว่าถ้าไม่ตรงเวลาเดี๋ยวนมลด นมหาย เดี๋ยวมีประชุม เดี๋ยวคุยกับลูกค้า หัวหน้า ลูกน้อง เยอะสิ่ง อยากลาออกทุกวันกะว่ามาเลี้ยงลูกเอง... เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ เริ่มปรับตัวได้มากขึ้น หาแนวทางของตัวเองได้ โชคดีได้พี่เลี้ยงดี ก็ถ้อยทีถ้อยอาศัย รักษาน้ำใจกันไป อะไรทุ่นแรงเค้าก็ใช้เครื่องทุ่นแรง อยู่กันได้ดี เราเลยได้คำตอบว่าจะต้องทำงานต่อไป งั้นต้องทำตัวยังไงล่ะ ถึงจะเป็นแม่ทำงานที่ดูแลลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อยากจัดเต็มเหมือนคุณแม่ที่เป็นแม่บ้านเต็มตัวเหมือนกัน อาจได้ไม่เท่า 100% แต่คิดว่าสูสี ลองผิดลองถูกอยู่หลายแบบ ตอนนี้ลงตัวตามนี้ (ตารางคิวอาจจะแน่นสูสีกะณเดชน์กันเลยทีเดียว )
6: 15-- ตื่นนอน มาทำอาหารเสริมให้ลูก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที อันนี้รวมอาหารเสริมมื้อเย็นด้วย เตรียมพร้อม พี่เลี้ยงเอามาอุ่นได้เลย อันนี้จะได้มั่นใจว่าลูกเราได้กินอย่างที่เราต้องการ
6: 30 -- ตัวเรา ล้างหน้า อาบน้ำ แต่งตัว ใช้เวลา 10 นาที (แค่ทากันแดด ทาแป้งฝุ่น ทา highlight ผมซอยสั้น หวี 5 ที จบ ... สวยเบาๆ อย่าเยอะ ) ลูกเริ่มตื่นล่ะ ปล่อยให้นอนเล่นกะปะป๊ากันหนุงหนิง
6:45-- ให้ปะป๊าหรือพี่เลี้ยงพาลูกเดินเล่นหน้าบ้าน คุยกับเด็กวัยเดียวกัน โน่นนี่นั่น จัดสรรงานกันชัดเจน
7:00—เราจับลูกเข้าเก้าอี้เด็ก high chair สอนคำศัพท์อังกฤษ นับเลข สำหรับเราคิดว่า high chair เป็นสินค้าคุ้มมาก ซื้อดี ๆ ไปเลย ใช้ได้มากกว่าแค่ตอนกินข้าวนะ
7:05 -- เราเริ่มป้อนข้าวลูก ก็กินไปเล่นของเล่นโน่นนี่บนโต๊ะที่ติดกับเก้าอี้เด็ก high chair จังหวะนี้ฝากให้พี่เลี้ยงอุ่นอาหารผู้ใหญ่เตรียมพร้อม เรากะสามีต้องกินข้าวก่อนไปทำงาน เพื่อสุขภาพและความประหยัด (อันนี้สำคัญ)
7:30-- เรากินข้าวเช้า สลับให้ปะป๊าป้อนข้าวลูก
7:35-- กลับมาเล่นต่อกับลูก เรากินข้าวเร็วน่ะ ให้ปะป๊าไปกินมั่ง
7:50-- เราออกจากบ้านไปทำงาน
8:15 -- ถึงที่ทำงาน ก้มหน้าก้มตาทำไป มีอะไรรีบทำ เหมือนขยัน ดูดีด้วย (ว่าไปนั่น) แต่จริง ๆ คือจะได้กลับบ้านไว ๆ น่ะ ใครใช้อะไรรีบทำ ไม่อิดออด เสียเวลาคิด เรียกว่าการงานก็จัดเต็ม
12:00 -- เที่ยงแล้ว งัดข้าวกล่องจากบ้านขึ้นมากิน ถูก อร่อย สะอาด ที่สำคัญเหลือเวลาไปทำอย่างอื่น เช่น เข้าห้องชานเรือน (อันนี้ขอนิดนึง)
12:05-- กินข้าวเสร็จเร็ว (อีกแล้ว) เริ่มอ่านโน่นนี่เกี่ยวกับการดูแลลูก จากหนังสือบ้าง อินเตอร์เนตบ้าง เพื่อนยังตกลงไม่ได้ว่าจะกินข้าวที่ไหนกัน ฮ่า...
12:40 – ลุกเดินไปโน่นนี่ ออกกำลังกายซะหน่อย แวะคุยกับเพื่อนบ้าง อะไรบ้าง คนเราต้องมีสังคม (เม้าท์วันละนิด จิตแจ่มใส)
13:00 – กลับมาก้มหน้าก้มตาทำงาน เฮ้ย! อีก 4 ชั่วโมงก็ได้กลับบ้านแล้ว ดีใจมาก
17:15 – เอาล่ะวันนี้ จัดการงานการได้เข้าเป้าล่ะ เก็บของกลับบ้าน
18:20 – ถึงบ้านแล้ว เล่นกับลูกหนุกหนาน ถ้ายังไม่ค่ำมาก ฝนไม่ตก จะพาเข็นเดินเล่นหน้าบ้าน หรือไม่ก็เข็นไป 7-11 ห่างจากบ้านประมาณ 200 เมตร หยิบนั่นนี่ที่ดูทนไม้ทนเมือให้ลูกเล่น แล้วคืนที่เดิม นับได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีในการสอนคำศัพท์ต่าง ๆ what is this? What is that ? กันเงียบ ๆ สองคนแม่ลูก ขอบคุณร้านเซเว่น
19:00 -- สอนคำศัพท์อังกฤษ, นับเลข อ่านหนังสือให้ฟัง... บ้านนี้โทรทัศน์คืออะไร เลิกดูกันไปนานแล้ว
19:20 – เอาลูกเข้านอน อ่านนิทาน ไม่ใช่อ่านให้ฟังเฉย ๆ นะ ชี้ทุกคำที่อ่านให้เค้าฟัง เนื้อหาไม่ซับซ้อน สำหรับเด็กเล็ก ตัวหนังสืออย่าเยอะ เป็นคำคล้องจองได้ยิ่งดี
20:00 – เรากินข้าวเย็น แล้วทำอาหารเตรียมไว้พรุ่งนี้ พี่เลี้ยงช่วยอุ่นให้อย่างเดียว ทำเองสะอาด ครบคุณค่า ที่สำคัญประหยัด (เน้นอีกที)
20:30 – พักผ่อนอ่านโน่นนี่อย่างที่อยาก ส่วนมากก็การเลี้ยงการสอนเด็ก เตรียมบัตรคำภาษาไทย หนังสือ ของเล่น เอาไว้ให้พี่เลี้ยงเล่นกับลูกตอนกลางวัน
22:30—นอนล่ะ อย่านอนดึก พรุ่งนี้ต้องใช้แรงอีกเยอะ รักษาสุขภาพ
สรุปคืองานก็ต้องทำให้ดี เอาใจใส่ จัดเต็มไปเลย ก็ยังอยากมีงาน (= เงิน) ทำอยู่นี่นา เวลาที่มีจัดสรรให้ดี มีเวลาก็ใช้หาข้อมูลดี ๆ ไว้ใช้กับลูกของเรา อีกเทคนิคของเราคือใส่นาฬิกาตลอดเวลา (อันนี้ติดจากตอนลูกแรกเกิด ที่ต้องบันทึกเวลาให้นม ) จะรู้ตัวอยู่เสมอว่าเวลาไหนควรทำอะไร อะไรไม่จำเป็นจริง ๆ ต้องตัดออก เช่น social network นาน ๆ ค่อยเข้าละกัน ไม่ต้องรู้หรอกค่ะว่าใครเค้าทำไรกัน รู้แต่ว่าฉันจะทำอะไรก็เยอะแล้วเนี่ย!, การเลิกดูทีวีทำให้มีเวลาเหลือมากขึ้นเยอะมาก ...แต่ยังอ่านข่าวบันเทิงดารานะคะ ขาดไม่ได้ ณ จุดๆนี้ , เดินเล่นห้าง อันนี้เป็นไง ลืมไปนานละ จะซื้ออะไรจดไป รีบซื้อรีบกลับบ้านสิคะ... ไม่กล้าเดินนาน เดี๋ยวอดไม่ไหว ช๊อปกระจาย ดิฉันก็สตรีไทยนะค่ะ, เครื่องสำอางค์ยังใช้นะคะ ดูแลตัวเองด้วยค่ะ แต่มีเปลี่ยนเป็นยี่ห้อที่ราคาลดลงมาบ้าง... ต้องเอาเงินไปซื้อมีดดาบสายฟ้า ปืนนินจา และของวิเศษอีกมากมาย บริหารงบกันหน่อยนะคะ ฝึกสมองกันที่สุด
เทคนิคอีกอย่างของคุณแม่ทำงานคือแบ่งปันข้อมูลเรื่องลูกกัน ทั้งในสังคมชีวิตจริงและสังคมออนไลน์ ต้องขอบคุณชานเรือน และอีกหลายแหล่งที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น เราได้เรียนรู้อะไรมากมายในเวลาสั้น ๆ อะไรลดงานได้ก็ต้องลงทุนบ้างเพราะเรายังต้องเป็นพนักงานเงินเดือนอยู่ ต้องเหลือแรงที่สดชื่นไว้ทำงานด้วยนะคะ ... พี่เลี้ยงนับว่าเป็นคนสำคัญ ต้องดูแลใส่ใจกันให้ดี อะไรช่วยลดงานเค้าได้เราลงทุนนะ เค้าจะได้มีแรงเล่นกับลูกเรา เราอยากให้ลูกไม่ดูทีวี แต่ก็สงสารพี่เลี้ยงเหมือนกัน คนเค้าเคยดู สามีเลยจัดtablet ให้เค้าอันนึง เท่านั้นแหละ แฮปปื้ทั้งสองฝ่าย ลูกเราเข้านอนเค้าถึงดูรายงานที่ชอบย้อนหลัง เค้าชอบมากๆ นับว่าเป็นสิ่งนึงที่เราว่าคุ้มค่าในการลงทุน ลูกจะได้ไม่ติดทีวี, tablet ค่ะ
ลูกโตขึ้น ความเป็นแม่ก็โตขึ้นตาม ให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอว่าเราต้องทำได้ ทำได้ดีด้วย....................สู้โว๊ยค่ะ