อินไซด์ วิธ “เขี้ยวกุด” . . . สิ่งละอันพันละน้อยกับ How To Train Your Dragon ที่จะทำให้คุณรัก Animation เรื่องนี้มากยิ่งขึ้นแน่นอน
มีใครคิดถึงเจ้าเขี้ยวกุดเหมือนผมบ้าง? (อ้าวยกมือกันเพียบเลย)
How to train your dragon เป็น Animation ที่ไม่ใช่จาก PIXAR ไม่กี่เรื่องนะครับที่ผมเปิดดูบ่อยมาก จำได้ว่าช่วงที่มันเข้าฉายกระแสก็ไม่ได้มากมายอะไร แต่แทบทุกคนที่ได้ไปดูกลับหลงรักหนังเรื่องนี้กันแทบทั้งนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากเจ้า ”เขี้ยวกุด” มังกรที่ได้แรงบัลดาลใจมาจาก”แมว” “หมา” “ม้า” และ “ซาลาแมนเดอร์” รวมกัน(ตามคำบอกของทีมงาน) อีกส่วนคงจะมาจากความกลมกล่อมและลงตัวของตัวหนังที่อาจจะไม่หวือหวาแต่รวมกันออกมาแล้วบอกได้คำเดียวว่า “อร่อยเหาะ”
ว่าแล้วระหว่างที่เรารอการกลับมาของเจ้าเขี้ยวกุด มาลองย้อนกลับไปภาคแรกกันซักหน่อยแล้วย้อนไปดู 10 ฉากที่จะทำให้คุณรัก HTTYD มากขึ้นกันดีกว่าครับ
1. ดวงตา
หลังจากที่ Hiccup ยิงกระสุนเชือกไปจับเขี้ยวกุดได้สำเร็จ วันรุ่งขึ้นเขาก็ตามไปดูผลงานที่ตัวเองทำไว้ และนั่นก็เป็นการพบกันระหว่างทั้งสองเป็นครั้งแรก ลองสังเกตตอนแรกสุดที่กล้องจับภาพทั้งตัวเขี้ยวกุด ตาของมันปิดอยู่ แต่ในซีนต่อมาที่กล้องค่อยๆแพนจากปีกมาถึงหัวคราวนี้ตาของมันเปิดออกแล้วจ้อง Hiccup เขม็ง
ความจริงจุดนี้คือความผิดพลาดของ Animator ครับแต่พอผกก.เห็นกลับชอบมากจึงสั่งให้เก็บไว้แบบนั้นแหละ เพราะมันช่วยสื่อถึงสัญชาติญาณของสัตว์ออกมาได้ดีสุดๆ
2. “I Did This”
ตอนท้ายๆหลังจากที่Hiccupกับเขี้ยวกุดช่วยกันปราบราชินีมังกรได้แล้ว Stoick ออกตามหา Hiccup แล้วก็มาเจอทั้งคู่ร่วงลงมากองอยู่กับพื้น จากนั้น Stoick ก็กระซิบออกมาเบาๆว่า “I did this”
จริงๆฉากนี้คนไทยอย่างเราๆคงไม่มีปัญหาอะไรเพราะมีทั้งซับทั้งพากย์ไทย แต่ของฝรั่งเค้าจะไม่ค่อยได้ยินกันเนื่องจากในหนัง Stoick พูดออกมาเบามากๆนั่นเอง
3. ภาพมังกรเคลื่อนไหว
อีกหนึ่งจุดที่ดูผ่านๆอาจจะไม่สังเกต เป็นตอนที่ Hiccup นั่งอ่าน “คู่มือปราบมังกร” คนเดียวในความมืด ในตอนแรกภาพในหนังสือจะแน่นิ่งอย่างที่มันควรจะเป็น แต่เมื่อเขาอ่านไปได้ครึ่งทาง ฟ้าก็ผ่าลงมา หลังจากนั้นเมื่อเขากลับมาอ่านต่อ ภาพในหนังสือกลับเคลื่อนไหวน้อยๆเพื่อสื่อให้เห็นว่า Hiccup เริ่มกลัวจนมโนออกมาเองว่าภาพมันเคลื่อนไหว!
4. เปลวเทียน
ฉากเดียวกับข้างบนครับ เป็นอีกหนึ่งรายละเอียดเล็กๆที่ Animator ใส่ใจและไม่พลาดที่จะใส่มาครับ ลองสังเกตเปลวเทียนตอน Hiccup เปิดหนังสือ กับตอนฟ้าผ่าหน้าต่างเปิดจนลมพัดเข้ามาสิ...
5. ฮิปโปบรรรณาการ
ฉากที่เขี้ยวกุดพา Hiccup กับ Astrid ไปดูรังมังกร สังเกตดีๆจะมีมังกรตัวนึงหิ้วฮิปโปมาเป็นบรรณาการให้ราชินีมังกรกับเค้าด้วย ซึ่งเจ้าฮิปโปตัวนี้มันคือฮิปโปแบบเดียวกันกับใน Madagascar Animation อีกเรื่องของ Dreamworks นั่นเอง
6. Gobber ผู้ว่องไว
ในฉากสังเวียนปราบมังกรตอนกลางๆเรื่อง ก่อนที่ Hiccup จะต้องเข้าไปในสังเวียนเพื่อสู้กับ Monstrous nightmare จะเจอ Gobber ผู้ซึ่งขาและแขนขาดไปอย่างละข้างมาแวะบอกเขาว่า “ได้เวลาแล้วไอ้หนู เข้าไปจัดการมันให้หมดซะ” แต่หลังจากนั้นไม่กี่วินาที Gobber ดันไปยืนอยู่ข้าง Stoick บทขอบเวทีชั้นสองที่อยู่คนละด้านกับจุดปล่อยตัวซะงั้น??? พี่ขาขาดนะครับ มันจะเร็วไปป่าวจ๊ะ หรือแม้จริงแล้วไวกิ้งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเทเลพอร์ท!
7. “So Why Didn’t You?”
Hiccup และ เขี้ยวกุดเป็นเหมือนคู่แฝดทางวิญญาณซึ่งกันและกัน เขี้ยวกุดต่างจากมังกรตัวอื่นเพราะมันไม่ไม่ขโมยของและไม่ฆ่ามนุษย์ รวมถึงต้องสูญเสียส่วนหนึ่งของร่างกายไป Hiccup ต่างจากไวกิ้งคนอื่นตรงที่เขาตัวเล็ก ไม่ชอบความรุนแรงมีแต่คนเกลียดเขา และต้องสูญเสียส่วนหนึ่งของร่างกายไปเช่นกัน เขาเคยได้ยินการบอกเล่ามาตลอดชีวิตว่ามังกรล้วนพยายามจะฆ่ามนุษย์ เขาจึงได้ถามเขี้ยวกุดว่า “แล้วทำไมนายไม่ฆ่าฉันล่ะ?” ในภายหลัง Hiccip ก็โดนถามคำถามเดียวกันโดย Astrid ว่า “แล้วทำไมเธอไม่ฆ่ามัน?”
8. หางมังกร
เป็นอีกฉากที่หลายคนพลาดไปครับ ในฉากที่กลุ่มไวกิ้งนำโดย Stoick บุกมาถึงรังมังกร เขามองขึ้นไปยังปากภูเขาและได้เห็นหางแดงๆของมังกรแว๊บๆก่อนที่มันจะหลบไป
9. ไฟกับน้ำไม่ทำปฏิกิริยากัน
ตอนที่ดูฉากไคลแม็กซ์ช่วงท้ายเคยสงสัยไหมครับทำไม Hiccup กับ เขี้ยวกุดไปโจมตีราชินีมังกรทันทีที่พวกเขาบินขึ้นไป นั่นเพราะผู้สร้างเขาไม่ลืมกฎสำคัญที่เคยบอกเอาไว้ช่วงต้นเรื่อง ระหว่างการฝึกฝน Gobber เคยบอกเอาไว้ว่า “เวลาหัวมังกรเปียกน้ำมันจะพ่นไฟไม่ได้” และก่อนหน้านั้นไม่นานเขี้ยวกุดเพิ่งจะขึ้นมาจากน้ำ มันจึงต้องบินไปรอบๆเพื่อจัดการให้ตัวมันแห้งเสียก่อนจึงจะพุ่งเข้าไปพ่นไฟใส่ราชินีมังกรไงล่ะครับ
10. Hiccup ผู้ฆ่ามังกร
ในหนังHiccup บอกเราตลอดว่าเขาไม่ฆ่ามังกร ในขณะที่ไวกิ้งอื่นๆนั่นเที่ยวบอกเสมอว่าเขาฆ่ามังกรมามากมาย แต่ที่เราเห็นคือพวกไวกิ้งนั้นอย่างมากก็แค่ต่อยรึขว้างอะไรสักอย่างใส่มังกรให้มันสลบก่อนจะโยนทิ้งไป ในขณะเดียวกัน Hiccup ที่ปากบอกจะไม่ฆ่ามังกรดันกลายเป็นคนสังหารมังกรที่ร้ายกาจที่สุดในเรื่องได้ซะอย่างงั้น จริงๆแล้ว Hiccup นี้ก็โหดเหี้ยมไม่เบาเลยทีเดียว
จบไปแล้ว 10 ฉากแต่ผมยังไม่หนำใจขอแถมข้างล่างอีกนิดละกันเนาะ
- ฉากเปิดตัวของDreamwork ที่เราคุ้นเคยคือเด็กชายนั่งตกปลาบนดวงจันทร์ แต่ใน HTTYD เราจะเห็นเงาของเจ้าเขี้ยวกุดบินโฉบไปมาด้วยนะครับ
- ตามจริงเผ่าพันธุ์ของเขี้ยวกุดถูกออกแบบให้คล้ายกับหมาป่าแต่บังเอิญผกก.ดันไปเห็นสกรีนเซฟเวอร์ของพนักงานคนนึงเป็นรูปเสือดาวเลยได้เป็นแรงบัลดาลใจว่าให้มันออกมาคล้ายแมวอีกนิดดีกว่า
- ในฉบับหนังสือ Hiccup จะไม่ได้มีความสนใจในเรื่องรักๆใคร่ๆมากนัก ตัวเขี้ยวกุดเองก็ไม่เหมือนในหนังเพราะตามบทประพันธุ์มันจะมีสีเขียว/แดง ไม่ใช่ดำ และขนาดมันก็ใหญ่กว่าที่เราเห็น
- เสียงของเจ้าเขี้ยวกุดเกิดจากการผสมผสานเสียงของสัตว์หลายๆพันธุ์เข้าด้วยกันเช่น ช้าง, แมวน้ำ, ม้า, เสือ, แมว รวมถึงเสียงของตัว Voice Supervisor เองอีกด้วย
- ตามที่บอกไปตอนแรกครับว่าลักษณะและพฤติกรรมของเจ้าเขี้ยวกุดเกิดการสัตว์สี่ชนิดรวมกันได้แก่ หมา,แมว, ม้า และซาลลาแมนเดอร์ยักษ์
- Hiccup ถนัดซ้าย
- เสียงคำรามของราชินีนั้นสร้างโดยการใช้เสียงของหมาชิวาว่าพันธุ์ดีชื่อว่า “PACO” จากฟาร์มหมาในโอเรกอน ซึ่งนักออกแบบเสียงของทีมงานบังเอิญไปได้ยินจากวิดีโอในยูทูป ภายหลังเจ้า PACO ได้รับค่าตัว $100 หลังจากเสียงของมันถูกนำไปใช้จริงๆ
- Gobber ใช้มือเทียมไปทั้งหมด 14 ชนิดตลอดเรื่อง
- ฉากการบินของมังกรหรือการสู้บนท้องฟ้าส่วนใหญ่ได้แรงบัลดาลใจมาจากการต่อสู้ของเครื่องบินใบพัด
- ค้อนที่ Stoick ใช้มีต้นแบบมาจาก Mjolnir ของ Thor นั่นเองงงง(แหม่น่าจะปล่อยสายฟ้าได้ด้วยนะ)
- ตามบทดั้งเดิมฉากสุดท้าย Hiccup ควรจะกลับมาแบบไร้บาดแผล แต่หลังจากคิดไปคิดมาแล้วผกก.กลับคิดว่ามันดูเหลือเชื่อเกินไปที่เด็กคนนึงจะไปสู้กับอสุรกายที่โหดร้ายแล้วกลับมาได้โดยไร้บาดแผล เขาจึงตัดสินใจให้ขาข้างนึงของ Hiccup ขาดเหมือนกับส่วนหางของเขี้ยวกุด ซึ่งตัวผกก.เองก็แอบกังวลกับเสียงตอบรับ ซึ่งสุดท้ายกลายเป็นว่ามันออกมาดีเกินคาด แม้แต่เจ้าของบทประพันธ์ยังชื่นชอบและบอกว่าเป็นการดัดแปลงที่เคารพงานของเขาได้อย่างยอดเยี่ยม
...
ตอนผมนั่งหาข้อมูลเรื่องนี้บอกเลยจากแต่เดิมที่ผมชอบมากๆอยู่แล้วกลับยิ่งรักมากยิ่งขึ้นไปอีก และหวังว่าเพื่อนๆมาแวะมาอ่านกันจะรัก Animation เรื่องนี้เหมือนที่ผมรักนะครับ
ที่มา : http://dejareviewer.com/2012/12/04/10-cool-details-you-may-have-missed-in-how-to-train-your-dragon
http://www.imdb.com/title/tt0892769/trivia
--------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตแนะนำเพจ
"โรงภาพยนตร์ที่ 3 ที่นั่ง E12"
สนใจเข้าไปเยี่ยมชมกันได้นะครับ
www.facebook.com/SeatNoE12
อินไซด์ วิธ “เขี้ยวกุด” ... สิ่งละอันพันละน้อยกับ How To Train Your Dragon ที่จะทำให้คุณรักหนังเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
มีใครคิดถึงเจ้าเขี้ยวกุดเหมือนผมบ้าง? (อ้าวยกมือกันเพียบเลย)
How to train your dragon เป็น Animation ที่ไม่ใช่จาก PIXAR ไม่กี่เรื่องนะครับที่ผมเปิดดูบ่อยมาก จำได้ว่าช่วงที่มันเข้าฉายกระแสก็ไม่ได้มากมายอะไร แต่แทบทุกคนที่ได้ไปดูกลับหลงรักหนังเรื่องนี้กันแทบทั้งนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากเจ้า ”เขี้ยวกุด” มังกรที่ได้แรงบัลดาลใจมาจาก”แมว” “หมา” “ม้า” และ “ซาลาแมนเดอร์” รวมกัน(ตามคำบอกของทีมงาน) อีกส่วนคงจะมาจากความกลมกล่อมและลงตัวของตัวหนังที่อาจจะไม่หวือหวาแต่รวมกันออกมาแล้วบอกได้คำเดียวว่า “อร่อยเหาะ”
ว่าแล้วระหว่างที่เรารอการกลับมาของเจ้าเขี้ยวกุด มาลองย้อนกลับไปภาคแรกกันซักหน่อยแล้วย้อนไปดู 10 ฉากที่จะทำให้คุณรัก HTTYD มากขึ้นกันดีกว่าครับ
1. ดวงตา
หลังจากที่ Hiccup ยิงกระสุนเชือกไปจับเขี้ยวกุดได้สำเร็จ วันรุ่งขึ้นเขาก็ตามไปดูผลงานที่ตัวเองทำไว้ และนั่นก็เป็นการพบกันระหว่างทั้งสองเป็นครั้งแรก ลองสังเกตตอนแรกสุดที่กล้องจับภาพทั้งตัวเขี้ยวกุด ตาของมันปิดอยู่ แต่ในซีนต่อมาที่กล้องค่อยๆแพนจากปีกมาถึงหัวคราวนี้ตาของมันเปิดออกแล้วจ้อง Hiccup เขม็ง
ความจริงจุดนี้คือความผิดพลาดของ Animator ครับแต่พอผกก.เห็นกลับชอบมากจึงสั่งให้เก็บไว้แบบนั้นแหละ เพราะมันช่วยสื่อถึงสัญชาติญาณของสัตว์ออกมาได้ดีสุดๆ
2. “I Did This”
ตอนท้ายๆหลังจากที่Hiccupกับเขี้ยวกุดช่วยกันปราบราชินีมังกรได้แล้ว Stoick ออกตามหา Hiccup แล้วก็มาเจอทั้งคู่ร่วงลงมากองอยู่กับพื้น จากนั้น Stoick ก็กระซิบออกมาเบาๆว่า “I did this”
จริงๆฉากนี้คนไทยอย่างเราๆคงไม่มีปัญหาอะไรเพราะมีทั้งซับทั้งพากย์ไทย แต่ของฝรั่งเค้าจะไม่ค่อยได้ยินกันเนื่องจากในหนัง Stoick พูดออกมาเบามากๆนั่นเอง
3. ภาพมังกรเคลื่อนไหว
อีกหนึ่งจุดที่ดูผ่านๆอาจจะไม่สังเกต เป็นตอนที่ Hiccup นั่งอ่าน “คู่มือปราบมังกร” คนเดียวในความมืด ในตอนแรกภาพในหนังสือจะแน่นิ่งอย่างที่มันควรจะเป็น แต่เมื่อเขาอ่านไปได้ครึ่งทาง ฟ้าก็ผ่าลงมา หลังจากนั้นเมื่อเขากลับมาอ่านต่อ ภาพในหนังสือกลับเคลื่อนไหวน้อยๆเพื่อสื่อให้เห็นว่า Hiccup เริ่มกลัวจนมโนออกมาเองว่าภาพมันเคลื่อนไหว!
4. เปลวเทียน
ฉากเดียวกับข้างบนครับ เป็นอีกหนึ่งรายละเอียดเล็กๆที่ Animator ใส่ใจและไม่พลาดที่จะใส่มาครับ ลองสังเกตเปลวเทียนตอน Hiccup เปิดหนังสือ กับตอนฟ้าผ่าหน้าต่างเปิดจนลมพัดเข้ามาสิ...
5. ฮิปโปบรรรณาการ
ฉากที่เขี้ยวกุดพา Hiccup กับ Astrid ไปดูรังมังกร สังเกตดีๆจะมีมังกรตัวนึงหิ้วฮิปโปมาเป็นบรรณาการให้ราชินีมังกรกับเค้าด้วย ซึ่งเจ้าฮิปโปตัวนี้มันคือฮิปโปแบบเดียวกันกับใน Madagascar Animation อีกเรื่องของ Dreamworks นั่นเอง
6. Gobber ผู้ว่องไว
ในฉากสังเวียนปราบมังกรตอนกลางๆเรื่อง ก่อนที่ Hiccup จะต้องเข้าไปในสังเวียนเพื่อสู้กับ Monstrous nightmare จะเจอ Gobber ผู้ซึ่งขาและแขนขาดไปอย่างละข้างมาแวะบอกเขาว่า “ได้เวลาแล้วไอ้หนู เข้าไปจัดการมันให้หมดซะ” แต่หลังจากนั้นไม่กี่วินาที Gobber ดันไปยืนอยู่ข้าง Stoick บทขอบเวทีชั้นสองที่อยู่คนละด้านกับจุดปล่อยตัวซะงั้น??? พี่ขาขาดนะครับ มันจะเร็วไปป่าวจ๊ะ หรือแม้จริงแล้วไวกิ้งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเทเลพอร์ท!
7. “So Why Didn’t You?”
Hiccup และ เขี้ยวกุดเป็นเหมือนคู่แฝดทางวิญญาณซึ่งกันและกัน เขี้ยวกุดต่างจากมังกรตัวอื่นเพราะมันไม่ไม่ขโมยของและไม่ฆ่ามนุษย์ รวมถึงต้องสูญเสียส่วนหนึ่งของร่างกายไป Hiccup ต่างจากไวกิ้งคนอื่นตรงที่เขาตัวเล็ก ไม่ชอบความรุนแรงมีแต่คนเกลียดเขา และต้องสูญเสียส่วนหนึ่งของร่างกายไปเช่นกัน เขาเคยได้ยินการบอกเล่ามาตลอดชีวิตว่ามังกรล้วนพยายามจะฆ่ามนุษย์ เขาจึงได้ถามเขี้ยวกุดว่า “แล้วทำไมนายไม่ฆ่าฉันล่ะ?” ในภายหลัง Hiccip ก็โดนถามคำถามเดียวกันโดย Astrid ว่า “แล้วทำไมเธอไม่ฆ่ามัน?”
8. หางมังกร
เป็นอีกฉากที่หลายคนพลาดไปครับ ในฉากที่กลุ่มไวกิ้งนำโดย Stoick บุกมาถึงรังมังกร เขามองขึ้นไปยังปากภูเขาและได้เห็นหางแดงๆของมังกรแว๊บๆก่อนที่มันจะหลบไป
9. ไฟกับน้ำไม่ทำปฏิกิริยากัน
ตอนที่ดูฉากไคลแม็กซ์ช่วงท้ายเคยสงสัยไหมครับทำไม Hiccup กับ เขี้ยวกุดไปโจมตีราชินีมังกรทันทีที่พวกเขาบินขึ้นไป นั่นเพราะผู้สร้างเขาไม่ลืมกฎสำคัญที่เคยบอกเอาไว้ช่วงต้นเรื่อง ระหว่างการฝึกฝน Gobber เคยบอกเอาไว้ว่า “เวลาหัวมังกรเปียกน้ำมันจะพ่นไฟไม่ได้” และก่อนหน้านั้นไม่นานเขี้ยวกุดเพิ่งจะขึ้นมาจากน้ำ มันจึงต้องบินไปรอบๆเพื่อจัดการให้ตัวมันแห้งเสียก่อนจึงจะพุ่งเข้าไปพ่นไฟใส่ราชินีมังกรไงล่ะครับ
10. Hiccup ผู้ฆ่ามังกร
ในหนังHiccup บอกเราตลอดว่าเขาไม่ฆ่ามังกร ในขณะที่ไวกิ้งอื่นๆนั่นเที่ยวบอกเสมอว่าเขาฆ่ามังกรมามากมาย แต่ที่เราเห็นคือพวกไวกิ้งนั้นอย่างมากก็แค่ต่อยรึขว้างอะไรสักอย่างใส่มังกรให้มันสลบก่อนจะโยนทิ้งไป ในขณะเดียวกัน Hiccup ที่ปากบอกจะไม่ฆ่ามังกรดันกลายเป็นคนสังหารมังกรที่ร้ายกาจที่สุดในเรื่องได้ซะอย่างงั้น จริงๆแล้ว Hiccup นี้ก็โหดเหี้ยมไม่เบาเลยทีเดียว
จบไปแล้ว 10 ฉากแต่ผมยังไม่หนำใจขอแถมข้างล่างอีกนิดละกันเนาะ
- ฉากเปิดตัวของDreamwork ที่เราคุ้นเคยคือเด็กชายนั่งตกปลาบนดวงจันทร์ แต่ใน HTTYD เราจะเห็นเงาของเจ้าเขี้ยวกุดบินโฉบไปมาด้วยนะครับ
- ตามจริงเผ่าพันธุ์ของเขี้ยวกุดถูกออกแบบให้คล้ายกับหมาป่าแต่บังเอิญผกก.ดันไปเห็นสกรีนเซฟเวอร์ของพนักงานคนนึงเป็นรูปเสือดาวเลยได้เป็นแรงบัลดาลใจว่าให้มันออกมาคล้ายแมวอีกนิดดีกว่า
- ในฉบับหนังสือ Hiccup จะไม่ได้มีความสนใจในเรื่องรักๆใคร่ๆมากนัก ตัวเขี้ยวกุดเองก็ไม่เหมือนในหนังเพราะตามบทประพันธุ์มันจะมีสีเขียว/แดง ไม่ใช่ดำ และขนาดมันก็ใหญ่กว่าที่เราเห็น
- เสียงของเจ้าเขี้ยวกุดเกิดจากการผสมผสานเสียงของสัตว์หลายๆพันธุ์เข้าด้วยกันเช่น ช้าง, แมวน้ำ, ม้า, เสือ, แมว รวมถึงเสียงของตัว Voice Supervisor เองอีกด้วย
- ตามที่บอกไปตอนแรกครับว่าลักษณะและพฤติกรรมของเจ้าเขี้ยวกุดเกิดการสัตว์สี่ชนิดรวมกันได้แก่ หมา,แมว, ม้า และซาลลาแมนเดอร์ยักษ์
- Hiccup ถนัดซ้าย
- เสียงคำรามของราชินีนั้นสร้างโดยการใช้เสียงของหมาชิวาว่าพันธุ์ดีชื่อว่า “PACO” จากฟาร์มหมาในโอเรกอน ซึ่งนักออกแบบเสียงของทีมงานบังเอิญไปได้ยินจากวิดีโอในยูทูป ภายหลังเจ้า PACO ได้รับค่าตัว $100 หลังจากเสียงของมันถูกนำไปใช้จริงๆ
- Gobber ใช้มือเทียมไปทั้งหมด 14 ชนิดตลอดเรื่อง
- ฉากการบินของมังกรหรือการสู้บนท้องฟ้าส่วนใหญ่ได้แรงบัลดาลใจมาจากการต่อสู้ของเครื่องบินใบพัด
- ค้อนที่ Stoick ใช้มีต้นแบบมาจาก Mjolnir ของ Thor นั่นเองงงง(แหม่น่าจะปล่อยสายฟ้าได้ด้วยนะ)
- ตามบทดั้งเดิมฉากสุดท้าย Hiccup ควรจะกลับมาแบบไร้บาดแผล แต่หลังจากคิดไปคิดมาแล้วผกก.กลับคิดว่ามันดูเหลือเชื่อเกินไปที่เด็กคนนึงจะไปสู้กับอสุรกายที่โหดร้ายแล้วกลับมาได้โดยไร้บาดแผล เขาจึงตัดสินใจให้ขาข้างนึงของ Hiccup ขาดเหมือนกับส่วนหางของเขี้ยวกุด ซึ่งตัวผกก.เองก็แอบกังวลกับเสียงตอบรับ ซึ่งสุดท้ายกลายเป็นว่ามันออกมาดีเกินคาด แม้แต่เจ้าของบทประพันธ์ยังชื่นชอบและบอกว่าเป็นการดัดแปลงที่เคารพงานของเขาได้อย่างยอดเยี่ยม
...
ตอนผมนั่งหาข้อมูลเรื่องนี้บอกเลยจากแต่เดิมที่ผมชอบมากๆอยู่แล้วกลับยิ่งรักมากยิ่งขึ้นไปอีก และหวังว่าเพื่อนๆมาแวะมาอ่านกันจะรัก Animation เรื่องนี้เหมือนที่ผมรักนะครับ
ที่มา : http://dejareviewer.com/2012/12/04/10-cool-details-you-may-have-missed-in-how-to-train-your-dragon
http://www.imdb.com/title/tt0892769/trivia
--------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตแนะนำเพจ "โรงภาพยนตร์ที่ 3 ที่นั่ง E12"
สนใจเข้าไปเยี่ยมชมกันได้นะครับ www.facebook.com/SeatNoE12