สื่อนอกเผยสัปดาห์เดียวธุรกิจตระกูล'ชินวัตร'สูญ6.5หมื่นล้าน หลังเจอคว่ำบาตร

กระทู้คำถาม


       วอลล์สตรีท เจอนัลด์ - หนังสือพิมพ์ธุรกิจดังระดับโลกตีข่าว เหล่าบริษัทในไทยที่ตกเป็นเป้าหมายคว่ำบาตรของกลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฐานมีความเกี่ยวข้องกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและครอบครัว ได้สูญเสียมูลค่าทางการตลาดไปแล้วกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว 65,000ล้านบาท) ภายในเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว
       
       วอลล์สตรีท เจอนัลด์ รายงานว่าเสียงเรียกร้องคว่ำบาตรธุรกิจตระกูลชินวัตรของแกนนำผู้ชุมนุม เพื่อเพิ่มแรงกดดันแก่รัฐบาล ฉุดให้หุ้นของหลายบริษัทที่เกี่ยวข้องดำดิ่ง ไม่เว้นแม้กระทั่งเอไอเอส ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของไทย แม้ว่าบริษัทแห่งนี้ยืนยันว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตรมาตั้งแต่ปี 2006


       
       หนังสือพิมพ์การเงินทรงอิทธิพลของสหรัฐฯรายงานต่อไปว่าหุ้นของเอสซี แอสเซต บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ครั้งหนึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ เคยนั่งเก้าอี้ประธานและเวลานี้ตระกูลชินวัตรยังถือครองหุ้นใหญ่อยู่ ได้ร่วงลงมากกว่าร้อยละ 9 ในตลาดหลักทรัพย์ของไทย นับตั้งแต่การรณรงค์คว่ำบาตรเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันพุธที่แล้ว(19)
       
       ส่วนเอ็ม-ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น บริษัทนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวคนรองของทักษิณ และภรรยานายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ช่วงสั้นๆ ในปี 2008 ก็ร่วงลงเกือบร้อยละ 11 ภายในเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว น
       
       วอลล์สตรีท เจอนัลด์ อ้างความเห็นของนาย อิฐพงศ์ แสงทับทิม หัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ ระบุว่า "แรงเทขายมาจากนัลงทุนรายย่อยท้องถิ่น ด้วยความรู้สึกที่ว่าผู้ประท้วงอาจส่งผลกระทบบางอย่างต่อผลประกอบการในอนาคต" พร้อมบอกว่าผู้ประท้วงหลายรายเป็นชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
       
       อย่างไรก็ตาม วอลล์สตรีท เจอนัลด์ รายงานว่าไม่เพียงแค่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเท่านั้น แต่อีกฝ่ายที่เห็นต่างทางการเมืองก็งัดมาตรการคว่ำบาตรสินค้าออกมาต่อสู้เช่นกัน โดยประชาชนทางภาคเหนือ พื้นที่ชนบทที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายประชานิยมของนางสาวยิ่งลักษณ์และ"พี่ชาย" นายทักษิณ ก็เริ่มคว่ำบาตรเบียร์สิงห์ หลังทายาทของบุญรอดบริวเวอรี ขึ้นเวทีชุมนุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล แต่ทางบริษัทยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว
       
       สื่อมวลชนดังรายงานต่อว่าหนึ่งในบริษัทของไทย ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรของผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้แก่เอไอเอส ซึ่งก่อตั้งโดยทักษิณ และต่อมาถูกขายให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้ง กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ก่อนที่เขาจะถูกรัฐประหารโค่นอำนาจในปี 2006 และเวลานี้พำนักอยู่ในดูไบ หลบหนีโทษจำคุกในฐานความผิดคอรัปชัน โดยนับตั้งแต่มาตรการคว่ำบาตรเริ่มต้นขึ้น หุ้นของเอไอเอส ร่วงลงไปแล้วร้อยละ 5.5
       
       รายงานของวอลล์สตรีท เจอนัลด์ ระบุว่าทางทรู คอร์ปและโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) อาศัยโอกาสนี้ยื่นข้อเสนอลดราคาแก่ผู้ใช้ที่คิดย้ายค่าย ขณะที่ผู้ควบคุมกฎระเบียบด้านโทรคมนาคมของไทยเผยว่ามีผู้บริโภคหลายพันรายแล้วที่ย้ายหนีเอไอเอส ในนั้นรวมถึง 2,000 รายในวันจันทร์(24) เพียงแค่วันเดียวหรือเกือบ 3 เท่าของอัตราปกติ
       
       หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ได้อ้างคำสัมภาษณ์ของผู้บริโภครายหนึ่งบอกว่าที่เปลี่ยนตัดสินใจเปลี่ยนการใช้บริการของเอไอเอสไปที่อื่น แม้เป็นลูกค้ามานานเกือบ 10 ปี ก็เพราะอยากแสดงจุดยืนต่อต้านทักษิณ "ผมคิดว่ามันยุติธรรมแล้ว ที่เราจะไม่สนับสนุนธุรกิจของเขา"
       
       วอลล์สตรีท เจอนัลด์ รายงานปิดท้ายว่าเหล่าบริษัทที่มีความเชื่อมโยงกับทักษิณ เคยตกเป็นเป้าหมายโจมตีมาก่อนหน้านี้ เมื่อครั้งที่เขาขายหุ้นในชินคอร์ป บริษัทแม่ของเอไอเอส แก่เทมาเส็ก ในปี 2009 จำนวน 76,000 ล้านบาท โดยในปีที่ ทักษิณ ถูกโค่นอำนาจ หุ้นของชินคอร์ป ร่วงลงถึงร้อยละ 38 และเอไอเอส ดิ่งลงร้อยละ 28 แต่ปัจจุบันหุ้นทั้งสองตัวก็กู้คืนมูลค่าที่สุญเสียไปได้หมดแล้ว

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000022835


สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 24
คำถามจากรูปนี้

ท่านคงเห็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ชินคอร์ป เลยคิดว่า มันเป็นของ ตะกูลชินวัตร

ตอบท่านด้วยรายชื่อผู้ถือหุ้นใน  ชินคอร์ป หรือ Intuch ปัจจุบัน อันนี้


ในปัจจุบันไม่มีรายชื่อคนในตะกูล ชินวัตรแล้ว
ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ แอสเพน โฮลดิ้ง บริษัทในเครือ Singtel ของรัฐบาล สิงค์โปร์ ที่ซื้อหุ้นต่อไปจากคุณทักษิน ตั้งแต่ ก่อนคุณทักษิน ออกไป จนเกิดชนวน มาทุกวันนี้
นอกนั้นก็เป็นกองทุนต่างๆ
ผู้ถือหุ้น บุคคลธรรมดา สองรายใหญ่ คุณประชา กับ หมอบำรุง นั่น ก็คนไทย สาย VI ไต่เต้าจาก พอร์ตเล็กขึ้นมาเท่านั้น

ชื่อ ชินคอร์ป มันคือ ชื่อเดิมที่ ทางบริษัท ยังไม่ได้แจ้งเปลี่ยน เปลี่ยนแต่อักษรย่อในตลาด I์NTUCH เพื่อให้ ทราบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับตะกูลชิน แต่เมื่อเกิดเหตุ นี้ คาดว่า คงจะเปลี่ยนชื่อไทย ตามไปด้วยในไม่ช้า


ทีนี้ ถ้าจะบอกต่อว่า ถึงไม่มีรายชื่อเลย แต่พวกตะกูลชินวัตร อาจจะไป ใช้ นอร์มินี ถือแทน

ถ้ามีหลักฐาน หรือ ข้อมูล อันนั้น ก็แชร์กันมาได้  อยากเห็นเหมือนกันครับ



ส่วนประเด็นความเสียหายต่อ ตะกูลชินวัตร หรือ ธุรกิจในเครือที่เป็นข่าว  หกหมื่นกว่าล้าน คนเขียนข่าว ถ้าไม่เข้าใจผิด ก็คงต้องการเต้าข่าวให้ร้าย หรือ ต้องการ ทำให้มันตื่นเต้น

เอาจริงๆถ้าให้ใกล้เคียง คงจะไปคิดจาก Market Cap ของหุ้นที่มีลิสต์เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่ราคามันปรับตัวลง หลังเกิดเหตุการณ์กำนัน ยุให้ถล่มขาย และถล่มธุรกิจ ซึ่งจริงๆมันเป็นผลรวมของผู้ถือหุ้นทั้งหมดในตัวนั้น  ทั้งกองทุน รายย่อย รายใหญ่ ทั้งหมดแหละ

ผลรวมต่อธุรกิจองค์กร หรือ ตัวเลขผลประกอบการเช่นการย้ายค่ายจริง เท่าที่เห็นยังน้อย มาก
ความคิดเห็นที่ 5
รูปที่ สอง แสดงออกถึงความโง่เลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่