วันนี้(24 ก.พ.) ที่โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ กท. ได้มีการสัมมนาพิเศษระดับผู้บริหารบทบาทของสถานศึกษาที่ดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) โดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี บรรยายพิเศษเรื่อง "บทบาทของสถานศึกษากับความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานกองทุน" ว่า กองทุน กยศ. มีการเบี่ยงเบนออกจากเป้าหมายเดิมที่ก่อตั้งกองทุนฯ เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กยากจน แต่ด้วยนโยบายการเมืองทำให้มีการขยายให้เด็กที่มีฐานะปานกลาง และร่ำรวย สามารถกู้ยืมเงินได้ด้วย ทั้งๆ ที่คนกลุ่มนี้ถือว่ามีโอกาสทางการศึกษาอยู่แล้ว ดังนั้น กยศ.น่าจะกลับไปสู่เป้าหมายเดิมที่มุ่งให้เด็กยากจนจริงๆ โดยควรแก้ไขหลักเกณฑ์รายได้ของครอบครัวให้มีความเหมาะสม ด้วยการหาค่าเฉลี่ยรายได้ครัวเรือนไทย และให้เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยได้มีโอกาสกู้ยืมเงิน
" กยศ.ควรคิดอัตราดอกเบี้ยที่เพียงพอต่อการบริหารจัดการกองทุน และที่สำคัญต้องจัดการกับผู้ที่เบี้ยวหนี้อย่างจริงจัง ต้องเลิกเกรงใจคนโกง เงิน กยศ.เป็นเงินภาษีที่คนไทยทุกคน รวมทั้งคนยากจนจ่ายมา คนที่เบี้ยวหนี้ก็คือคนโกง นอกจากจะโกงเงินแล้ว ยังโกงโอกาสรุ่นน้อง ดังนั้นต้องเลิกเกรงใจ และเมื่อมีกฎเราก็ต้องรีบนำมาจัดการกับคนกลุ่มนี้ เพื่อให้มีเงินมาปล่อยกู้แก่เด็กรุ่นต่อไป นอกจากนี้ กยศ.จะต้องประสานกับสถานศึกษาอบรมจิตสำนึกผู้รับทุนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม จะได้ไม่เกิดปัญหาเบี้ยวหนี้" องคมนตรี กล่าวและว่า หาก กยศ.สามารถตามหนี้ส่วนใหญ่กลับมาได้ ถึงแม้จะถูกตัดงบประมาณ กยศ. ก็จะไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่ที่ผ่านมา กยศ.ปล่อยให้มีผู้ค้างชำระจำนวนมาก ดังนั้นการที่รัฐบาลตัดงบฯ ส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจากการบริหารจัดการของ กยศ. เองที่มีปัญหาในการติดตามหนี้ ซึ่งเมื่อรัฐบาลเห็นว่าตัวเลขในการติดตามหนี้ยังน้อย และจะมาของบฯ เพิ่ม ทางรัฐบาลก็มีสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาให้
ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกยศ.กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ กยศ.จะเริ่มกระบวนการตรวจสอบผู้ค้างชำระจากเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อให้ทราบที่อยู่ และที่ทำงานของผู้กู้ เพราะที่ผ่านมาบางคนเปลี่ยนแปลงที่อยู่จึงทำให้ไม่สามารถติดตามได้ ขณะเดียวกันได้ลงนามความร่วมมือกับองค์กรนายจ้าง เพื่อให้ตรวจสอบลูกจ้างตนเองที่กู้เงิน กยศ.ให้รีบชำระคืน และในปี 2561 จะเริ่มนำรายชื่อของผู้ค้างชำระตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบันเข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตบูโร
เดลินิวส์
รีบไวๆ เลยครับ (นึกว่าลงมือทำอะไรไปแล้วเห็นข่าวมาเป็นปี) ใครทำงานเงินเดือนเยอะแล้วไม่ยอมจ่ายเจตนาเบี้ยว ยึดปริญญาเลย และปรับปรุงตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการให้กู้ การตามทวงทั้งระบบ
เราก็บอกนักการเมืองโกงๆ แต่ นศ. เยาวชนก็โกงเหมือนกัน
โครงการโตไม่โกงที่เพิ่งเริ่มในเด็กชั้นเล็กๆ จะได้ผลไหมในอนาคต
กยศ. เตรียมจัดการผู้เบี้ยวหนี้
" กยศ.ควรคิดอัตราดอกเบี้ยที่เพียงพอต่อการบริหารจัดการกองทุน และที่สำคัญต้องจัดการกับผู้ที่เบี้ยวหนี้อย่างจริงจัง ต้องเลิกเกรงใจคนโกง เงิน กยศ.เป็นเงินภาษีที่คนไทยทุกคน รวมทั้งคนยากจนจ่ายมา คนที่เบี้ยวหนี้ก็คือคนโกง นอกจากจะโกงเงินแล้ว ยังโกงโอกาสรุ่นน้อง ดังนั้นต้องเลิกเกรงใจ และเมื่อมีกฎเราก็ต้องรีบนำมาจัดการกับคนกลุ่มนี้ เพื่อให้มีเงินมาปล่อยกู้แก่เด็กรุ่นต่อไป นอกจากนี้ กยศ.จะต้องประสานกับสถานศึกษาอบรมจิตสำนึกผู้รับทุนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม จะได้ไม่เกิดปัญหาเบี้ยวหนี้" องคมนตรี กล่าวและว่า หาก กยศ.สามารถตามหนี้ส่วนใหญ่กลับมาได้ ถึงแม้จะถูกตัดงบประมาณ กยศ. ก็จะไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่ที่ผ่านมา กยศ.ปล่อยให้มีผู้ค้างชำระจำนวนมาก ดังนั้นการที่รัฐบาลตัดงบฯ ส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจากการบริหารจัดการของ กยศ. เองที่มีปัญหาในการติดตามหนี้ ซึ่งเมื่อรัฐบาลเห็นว่าตัวเลขในการติดตามหนี้ยังน้อย และจะมาของบฯ เพิ่ม ทางรัฐบาลก็มีสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาให้
ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกยศ.กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ กยศ.จะเริ่มกระบวนการตรวจสอบผู้ค้างชำระจากเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อให้ทราบที่อยู่ และที่ทำงานของผู้กู้ เพราะที่ผ่านมาบางคนเปลี่ยนแปลงที่อยู่จึงทำให้ไม่สามารถติดตามได้ ขณะเดียวกันได้ลงนามความร่วมมือกับองค์กรนายจ้าง เพื่อให้ตรวจสอบลูกจ้างตนเองที่กู้เงิน กยศ.ให้รีบชำระคืน และในปี 2561 จะเริ่มนำรายชื่อของผู้ค้างชำระตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบันเข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตบูโร
เดลินิวส์
รีบไวๆ เลยครับ (นึกว่าลงมือทำอะไรไปแล้วเห็นข่าวมาเป็นปี) ใครทำงานเงินเดือนเยอะแล้วไม่ยอมจ่ายเจตนาเบี้ยว ยึดปริญญาเลย และปรับปรุงตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการให้กู้ การตามทวงทั้งระบบ
เราก็บอกนักการเมืองโกงๆ แต่ นศ. เยาวชนก็โกงเหมือนกัน
โครงการโตไม่โกงที่เพิ่งเริ่มในเด็กชั้นเล็กๆ จะได้ผลไหมในอนาคต