อธิการบดี มธบ. เสนอ 4 วิธี แก้ปัญหากู้เงินเรียนแล้วไม่ชำระคืน แนะรัฐบาลให้เวลา นศ.ล่วงหน้า 1-2 ปี เตรียมตัว ชี้หากคนใดที่ยังเพิกเฉย ค่อยดำเนินการขั้นเด็ดขาด
จากกรณีปัญหาการกู้ยืมเงินในโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่มีนักศึกษาหรือนิสิตจำนวนหนึ่งกู้ไปแล้วไม่ใช้คืน รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา โดยเชื่อว่า เกิดจากความไม่เข้าใจระบบโครงการที่แท้จริงว่า กู้แล้วต้องใช้คืน ขณะที่ตัวผู้กู้เองก็ไม่ได้คำนึงถึงว่า ในอนาคตจะมีรุ่นน้องมากู้ต่อ และหากไม่คืนจะสร้างภาระให้กับทางรัฐบาลและส่งผลให้รุ่นน้องอาจขาดโอกาสในการกู้
“ขั้นตอนการดำเนินการเป็นอย่างไรตัวนิสิตนักศึกษาก็ไม่ทราบ เนื่องจากไม่มีการอธิบายอย่างละเอียด รวมถึงการพูดถึงความสำคัญให้นักศึกษาตระหนักและเข้าใจว่า เงินที่กู้ไปนั้นต้องคืนนั้น มีประโยชน์ต่อรุ่นน้องที่จะมากู้ต่อ เป็นต้น”
อธิการบดี มธบ. กล่าวอีกว่า การจะกล่าวหากลุ่มนักศึกษาที่กู้เงิน กยศ. ตั้งใจโกงหรือทุจริตโดยเจตนา ก็ไม่ได้ เพราะบางครั้งเกิดจากความไม่รู้ ฉะนั้น ก่อนอื่นเจ้าหน้าที่ควรจะอธิบายอย่างละเอียดตั้งแต่เริ่มต้นให้นักศึกษาเข้าใจ เห็นความสำคัญของเงินที่กู้ไป หากคนไหนที่เข้าใจแล้วแต่ไม่ชำระหนี้คืนอย่างนั้นถึงจะเรียกว่า “เจตนาทุจริต”
เมื่อถามถึงวิธีในการแก้ปัญหาลูกหนี้ กยศ.ชักดาบ ไม่ชำระหนี้นั้น รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า 1.ช่วงเริ่มต้นของการกู้จะต้องมีการแนะนำ พร้อมสร้างความเข้าใจให้นักศึกษาเห็นว่า เงินที่กู้ไปนั้นเป็นเงินที่มีคุณค่า มีคุณค่าต่อรุ่นน้องในอนาคตที่ต้องการจะเรียน มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศ หากไม่ชำระคืนจะส่งผลกระทบต่อผู้กู้ในช่วงต่อไป
2.ให้ผูกรายชื่อของผู้กู้เข้าในระบบเครดิตยูโร หากไม่ชดใช้ภาระหนี้ก็จะมีประวัติหนี้เสีย ท้ายที่สุดจะไม่สามารถดำเนินกู้ซื้อบ้านหรือรถได้
3. สำหรับในภาคเอกชน ทางรัฐบาลต้องขอความร่วมมือกับหน่วยงานบริษัท ไม่ให้รับนักศึกษาหรือนิสิตที่มีภาระหนี้แล้วไม่ชดใช้คืน ด้วยการตรวจสอบจากหมายเลขบัตรประชาชน โดยให้ทำข้อมูลผูกกับระบบไว้ ซึ่งแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเพื่อหลบหนี แต่เลขบัตรประชาชนเปลี่ยนไม่ได้แน่นอน
และ 4.ห้ามให้นิสิตนักศึกษาที่มีภาระผูกผันหนี้ที่ไม่ชดใช้ กยศ.สมัครสอบราชการ เพราะถือว่าคนที่จะมาเป็นราชการต้องไม่โกง
ทั้งนี้ รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวด้วยว่า หากต้องการแก้ปัญหาเรื่องกู้เงินเรียนแล้วไม่ชำระคืนจริงๆ ก็อยากเสนอ 4 วิธีข้างต้น โดยรัฐบาลก็ควรให้เวลานักศึกษาล่วงหน้า อาจจะ 1 ปี หรือ 2 ปี เพื่อให้มีการได้เตรียมตัว และมาติดต่อ หากคนใดที่ยังเพิกเฉยก็ดำเนินการขั้นเด็ดขาด
“ผมเชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้ทุกคนตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและกลับมาชำหนี้คืนตามปกติแน่นอน” ดร.วรากรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มาภาพ/ข่าว-สำนักข่าวอิศรา
http://www.isranews.org/
อยากให้เปิดเผยสถิติของแต่ละมหาวิทยาลัยว่ามีผู้เบี้ยวหนี้มากน้อยแค่ไหน
และผู้ที่จงใจไม่ชำระคืน (มีฐานะมีรายได้มากพอแต่ไม่ยอมใช้) ให้ยึดปริญญาคืน
ส่วนผู้ที่ใช้คืนแล้วให้นำเสนอเพื่อเป็นแบบอย่าง
http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม
ดร.วรากรณ์ เสนอ 4 วิธี จัดการลูกหนี้ กยศ.ชักดาบ ไม่ชำระหนี้
จากกรณีปัญหาการกู้ยืมเงินในโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่มีนักศึกษาหรือนิสิตจำนวนหนึ่งกู้ไปแล้วไม่ใช้คืน รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา โดยเชื่อว่า เกิดจากความไม่เข้าใจระบบโครงการที่แท้จริงว่า กู้แล้วต้องใช้คืน ขณะที่ตัวผู้กู้เองก็ไม่ได้คำนึงถึงว่า ในอนาคตจะมีรุ่นน้องมากู้ต่อ และหากไม่คืนจะสร้างภาระให้กับทางรัฐบาลและส่งผลให้รุ่นน้องอาจขาดโอกาสในการกู้
“ขั้นตอนการดำเนินการเป็นอย่างไรตัวนิสิตนักศึกษาก็ไม่ทราบ เนื่องจากไม่มีการอธิบายอย่างละเอียด รวมถึงการพูดถึงความสำคัญให้นักศึกษาตระหนักและเข้าใจว่า เงินที่กู้ไปนั้นต้องคืนนั้น มีประโยชน์ต่อรุ่นน้องที่จะมากู้ต่อ เป็นต้น”
อธิการบดี มธบ. กล่าวอีกว่า การจะกล่าวหากลุ่มนักศึกษาที่กู้เงิน กยศ. ตั้งใจโกงหรือทุจริตโดยเจตนา ก็ไม่ได้ เพราะบางครั้งเกิดจากความไม่รู้ ฉะนั้น ก่อนอื่นเจ้าหน้าที่ควรจะอธิบายอย่างละเอียดตั้งแต่เริ่มต้นให้นักศึกษาเข้าใจ เห็นความสำคัญของเงินที่กู้ไป หากคนไหนที่เข้าใจแล้วแต่ไม่ชำระหนี้คืนอย่างนั้นถึงจะเรียกว่า “เจตนาทุจริต”
เมื่อถามถึงวิธีในการแก้ปัญหาลูกหนี้ กยศ.ชักดาบ ไม่ชำระหนี้นั้น รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า 1.ช่วงเริ่มต้นของการกู้จะต้องมีการแนะนำ พร้อมสร้างความเข้าใจให้นักศึกษาเห็นว่า เงินที่กู้ไปนั้นเป็นเงินที่มีคุณค่า มีคุณค่าต่อรุ่นน้องในอนาคตที่ต้องการจะเรียน มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศ หากไม่ชำระคืนจะส่งผลกระทบต่อผู้กู้ในช่วงต่อไป
2.ให้ผูกรายชื่อของผู้กู้เข้าในระบบเครดิตยูโร หากไม่ชดใช้ภาระหนี้ก็จะมีประวัติหนี้เสีย ท้ายที่สุดจะไม่สามารถดำเนินกู้ซื้อบ้านหรือรถได้
3. สำหรับในภาคเอกชน ทางรัฐบาลต้องขอความร่วมมือกับหน่วยงานบริษัท ไม่ให้รับนักศึกษาหรือนิสิตที่มีภาระหนี้แล้วไม่ชดใช้คืน ด้วยการตรวจสอบจากหมายเลขบัตรประชาชน โดยให้ทำข้อมูลผูกกับระบบไว้ ซึ่งแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเพื่อหลบหนี แต่เลขบัตรประชาชนเปลี่ยนไม่ได้แน่นอน
และ 4.ห้ามให้นิสิตนักศึกษาที่มีภาระผูกผันหนี้ที่ไม่ชดใช้ กยศ.สมัครสอบราชการ เพราะถือว่าคนที่จะมาเป็นราชการต้องไม่โกง
ทั้งนี้ รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวด้วยว่า หากต้องการแก้ปัญหาเรื่องกู้เงินเรียนแล้วไม่ชำระคืนจริงๆ ก็อยากเสนอ 4 วิธีข้างต้น โดยรัฐบาลก็ควรให้เวลานักศึกษาล่วงหน้า อาจจะ 1 ปี หรือ 2 ปี เพื่อให้มีการได้เตรียมตัว และมาติดต่อ หากคนใดที่ยังเพิกเฉยก็ดำเนินการขั้นเด็ดขาด
“ผมเชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้ทุกคนตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและกลับมาชำหนี้คืนตามปกติแน่นอน” ดร.วรากรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มาภาพ/ข่าว-สำนักข่าวอิศรา http://www.isranews.org/
อยากให้เปิดเผยสถิติของแต่ละมหาวิทยาลัยว่ามีผู้เบี้ยวหนี้มากน้อยแค่ไหน
และผู้ที่จงใจไม่ชำระคืน (มีฐานะมีรายได้มากพอแต่ไม่ยอมใช้) ให้ยึดปริญญาคืน
ส่วนผู้ที่ใช้คืนแล้วให้นำเสนอเพื่อเป็นแบบอย่าง
http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม