คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ในกระทู้ผมผมไม่ได้เขียนสักคำเลยนะครับว่าผมอยากได้บุญ
ความหมายของผมคือ ทำแบบไหน เป็นประโยชน์ กับ "ผู้รับ" มากกว่ากัน
คือบริจาคเป็นอวัยวะ จะได้ช่วยเป็นรายคนไปเลย
แต่ถ้าอุทิศ จะได้ช่วยในด้านการเรียนของแพทย์ แล้วมารักษาคนอีกที
ผมเลยชั่งใจไม่ถูกครับ
ส่วนตัวผมไม่เชื่อเรื่องบุญกรรมครับ ขอแค่คิดดี ทำดี แค่นี้ครับ
ขอบคุณครับ
ความหมายของผมคือ ทำแบบไหน เป็นประโยชน์ กับ "ผู้รับ" มากกว่ากัน
คือบริจาคเป็นอวัยวะ จะได้ช่วยเป็นรายคนไปเลย
แต่ถ้าอุทิศ จะได้ช่วยในด้านการเรียนของแพทย์ แล้วมารักษาคนอีกที
ผมเลยชั่งใจไม่ถูกครับ
ส่วนตัวผมไม่เชื่อเรื่องบุญกรรมครับ ขอแค่คิดดี ทำดี แค่นี้ครับ
ขอบคุณครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
ถ้าถามว่าอันไหนได้ประโยชน์มากกว่ากัน คิดว่าคงเทียบกันไม่ได้ค่ะ
แต่ถ้าพูดถึงในแง่ความจำเป็น ขออธิบายในขอบเขตที่ทราบนะคะ ยาวนิดนึงนะคะ
1. การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่
การสมัคร : ร.พ.ที่จะรับ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนแพทย์ คือ ร.พ.ที่มีการสอนนักศึกษา เราสามารถไปขอใบสมัครได้ที่โรงเรียนแพทย์
จุดประสงค์ : เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนร่างกายที่ปกติว่าเป็นอย่างไร ดังนั้น ถึงเราจะบริจาคร่างกายไว้ แต่เมื่อเสียชีวิตก็ต้องดูอีกทีค่ะว่าเค้าจะรับหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เป็นมะเร็ง ก็ไม่รับค่ะ ตายจากโรคติดต่ออันราย ก็ไม่รับค่ะ ส่วนตายผิดธรรมชาติ ก็ต้องไปชันสูตร ไม่รับเหมือนกันค่ะ
การจัดการหลังตาย : แต่ละที่ไม่เหมือนกันค่ะ บางที่มีรถไปรับ บางทีต้องนำศพไปส่งเอง โดยศพที่เค้ารับไว้ ต้องได้รับการดองก่อนที่จะนำมาให้นักศึกษาเรียน ดังนั้น ศพจะถูกเก็บไว้ที่โรงเรียนแพทย์ 1 - 2 ปี หลังจากนั้นจึงจะมีการจัดพิธีศพให้อาจารย์ใหญ่ค่ะ
ความต้องการ : ตอนนี้โรงเรียนแพทย์ส่วนใหญ่ มีศพค่อนข้างจะพอเพียงค่ะ
2. การบริจาคอวัยวะ
การสมัคร : สภากาชาด และหน่วยของกาชาดในร.พ.ต่างๆ (ส่วนใหญ่ที่ที่รับบริจาคเลือจะมีใบรับบริจาคไว้ให้ค่ะ)
จุดประสงค์ : เพื่อใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ในการเปลี่ยนถ่ายให้กับคนไข้รายอื่น อวัยวะที่ใช้ได้ คือ กระจกตาสองข้าง หัวใจ ปอดสองข้าง ตับ ไตสองข้าง
การจัดการ : เนื่องจากเป็นการเอาอวัยวะไปเปลี่ยนให้คนเป็น เพราะฉะนั้น ร่างกายคนให้ต้องยังไม่ตาย คือ สมองตาย แต่หัวใจยังเต้น (ยกเว้นกระจกตานะคะ อันนั้นอยู่ได้เป็นชั่วโมงหลังตาย) กรณีที่จะเจอได้ คือ บาดเจ็บที่ศีรษะ ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม โดยต้องไม่เป็นโรคติดต่อ เพราะจะส่งต่อไปคนที่รับอวัยวะได้
สิ่งที่เน้นมากคือ การคุยกับครอบครัวให้เข้าใจ ว่าเราต้องการบริจาคจริงๆ เพราะเมื่อเกิดเหตุการเราจะอยู่ในภาวะที่ตัดสินใจไม่ได้ ญาติมีสิทธิ์เต็มใจการตัดสินใจ แม้ว่าเราจะมีใบบริจาค แต่ถ้าญาติปฏิเสธ ก็จบค่ะ ร.พ.ไม่สามารถทำอะไรได้
ความต้องการ : ขาดแคลนมากค่ะ เพราะคนบริจาคก็มีไม่เยอะ หรือมีใบบริจาค ถึวเวลาญาติไม่ให้ก็เยอะ และการจะอาไปใช้ ก็ต้องไปตรวจการเข้ากันได้ของอวัยวะกับผู้รับ ซึ่งทำให้โอกาสการได้รับน้อยลงไปอีก
แนะนำส่วนตัว จขกท. สามารถสมัครไว้ทั้งสองอย่างค่ะ อย่างที่บอก ชีวิตคนเราไม่แน่นอน ตอนตายก็ไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง อาจจะบริจาคแบบใดแบบหนึ่งได้แต่อีกอันไม่ได้ ทำไว้เผื่อได้ค่ะ แต่คุยกับญาติไว้ก่อนว่าอยากให้บริจาคอันไหนก่อน^_^
แต่ถ้าพูดถึงในแง่ความจำเป็น ขออธิบายในขอบเขตที่ทราบนะคะ ยาวนิดนึงนะคะ
1. การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่
การสมัคร : ร.พ.ที่จะรับ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนแพทย์ คือ ร.พ.ที่มีการสอนนักศึกษา เราสามารถไปขอใบสมัครได้ที่โรงเรียนแพทย์
จุดประสงค์ : เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนร่างกายที่ปกติว่าเป็นอย่างไร ดังนั้น ถึงเราจะบริจาคร่างกายไว้ แต่เมื่อเสียชีวิตก็ต้องดูอีกทีค่ะว่าเค้าจะรับหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เป็นมะเร็ง ก็ไม่รับค่ะ ตายจากโรคติดต่ออันราย ก็ไม่รับค่ะ ส่วนตายผิดธรรมชาติ ก็ต้องไปชันสูตร ไม่รับเหมือนกันค่ะ
การจัดการหลังตาย : แต่ละที่ไม่เหมือนกันค่ะ บางที่มีรถไปรับ บางทีต้องนำศพไปส่งเอง โดยศพที่เค้ารับไว้ ต้องได้รับการดองก่อนที่จะนำมาให้นักศึกษาเรียน ดังนั้น ศพจะถูกเก็บไว้ที่โรงเรียนแพทย์ 1 - 2 ปี หลังจากนั้นจึงจะมีการจัดพิธีศพให้อาจารย์ใหญ่ค่ะ
ความต้องการ : ตอนนี้โรงเรียนแพทย์ส่วนใหญ่ มีศพค่อนข้างจะพอเพียงค่ะ
2. การบริจาคอวัยวะ
การสมัคร : สภากาชาด และหน่วยของกาชาดในร.พ.ต่างๆ (ส่วนใหญ่ที่ที่รับบริจาคเลือจะมีใบรับบริจาคไว้ให้ค่ะ)
จุดประสงค์ : เพื่อใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ในการเปลี่ยนถ่ายให้กับคนไข้รายอื่น อวัยวะที่ใช้ได้ คือ กระจกตาสองข้าง หัวใจ ปอดสองข้าง ตับ ไตสองข้าง
การจัดการ : เนื่องจากเป็นการเอาอวัยวะไปเปลี่ยนให้คนเป็น เพราะฉะนั้น ร่างกายคนให้ต้องยังไม่ตาย คือ สมองตาย แต่หัวใจยังเต้น (ยกเว้นกระจกตานะคะ อันนั้นอยู่ได้เป็นชั่วโมงหลังตาย) กรณีที่จะเจอได้ คือ บาดเจ็บที่ศีรษะ ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม โดยต้องไม่เป็นโรคติดต่อ เพราะจะส่งต่อไปคนที่รับอวัยวะได้
สิ่งที่เน้นมากคือ การคุยกับครอบครัวให้เข้าใจ ว่าเราต้องการบริจาคจริงๆ เพราะเมื่อเกิดเหตุการเราจะอยู่ในภาวะที่ตัดสินใจไม่ได้ ญาติมีสิทธิ์เต็มใจการตัดสินใจ แม้ว่าเราจะมีใบบริจาค แต่ถ้าญาติปฏิเสธ ก็จบค่ะ ร.พ.ไม่สามารถทำอะไรได้
ความต้องการ : ขาดแคลนมากค่ะ เพราะคนบริจาคก็มีไม่เยอะ หรือมีใบบริจาค ถึวเวลาญาติไม่ให้ก็เยอะ และการจะอาไปใช้ ก็ต้องไปตรวจการเข้ากันได้ของอวัยวะกับผู้รับ ซึ่งทำให้โอกาสการได้รับน้อยลงไปอีก
แนะนำส่วนตัว จขกท. สามารถสมัครไว้ทั้งสองอย่างค่ะ อย่างที่บอก ชีวิตคนเราไม่แน่นอน ตอนตายก็ไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง อาจจะบริจาคแบบใดแบบหนึ่งได้แต่อีกอันไม่ได้ ทำไว้เผื่อได้ค่ะ แต่คุยกับญาติไว้ก่อนว่าอยากให้บริจาคอันไหนก่อน^_^
แสดงความคิดเห็น
ระหว่างบริจาคร่างกายเป็นชิ้นๆกับอุทิศร่างเป็นอาจารย์ใหญ่แบบไหนเป็นประโยชน์มากกว่ากันครับ
ถ้าบริจาคเป็นอวัยวะ ก็จะได้ช่วยชีวิตคนคนนึง
แต่ถ้าอุทิศร่างกาย ก็อิทิศเพื่อการศึกษา
และในกำหนดการของการอุทิศร่างกายมีข้อกำหนดหลายอย่าง เช่น จะไม่รับร่างกายที่ประสบอุบัติเหตุมา เป็นต้น
เราสามารถทำเรื่อง 2 ต่อได้รึเปล่าครับว่า หากร่างกายเราไม่สามารถใช้เป็นอาจารย์ใหญ่ได้ ให้เลือกบริจาคอวัยวะส่วนที่ยังดีอยู่
ปล.ผมเองยังอายุ19 แม่ก็บอกถ้ารีบทำเรื่องเดี๋ยวจะเป็นลางไม่ดี แต่ชีวิตคนเรามันไม่แน่ไม่นอน เราตายไปแล้วยังเป็นภาระของคนที่อยู่ต้องจัดงานศพอาลัยอาวรณ์อีก เลยมีความต้องการที่จะทำประโยชน์ครั้งสุดท้ายในชีวิต ให้กับคนที่ยังอยู่ต่อไป
ปล.1 ผมขอ tag สวนลุม หว้ากอ ศาลาประชาคม และสยามนะครับ