ผมเข้าใจมาตลอดว่าศาลสถิตยุติธรรมคือที่พึ่งสุดท้ายที่จะตัดสิน ถูก-ผิด พูดง่ายๆ คือฟันธงนั่นเอง
จากกรณีใดๆที่คนสองคน หรือสองฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกัน ศาลน่าจะต้องตัดสิน ว่าใครถูก ใครผิดใช่มั้ยครับ
หลังๆ มานี่รู้สึกศาลจะออกคำตัดสินเพื้ยนๆ ไปหน่อย เช่น ออกเป็นความเห็น คำแนะนำ หรือล่าสุดศาลแพ่ง(เข้าใจว่าน่าจะตัดสินเกี่ยวกับเรื่องเงิน สัญญา ที่เกี่ยวกับคดีแพ่ง, ถ้าเรื่องการเมืองน่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญมากกว่านะ) มีคำตัดสิน(หรือเปล่าหรือคำแนะนำ) ว่าไม่ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน แต่......
ห้ามแทบทุกอย่างในข้อกำหนดใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เช่น ข้อห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ศาลก็สั่งห้ามไม่ให้ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน(งงมั้ย) ทำไมไม่บอกว่าชุมนุมเกิน 5 คนได้(ก็ห้ามของห้ามเท่ากับไม่ห้าม) คือคำตัดสินออกมาแบบไม่ฟันธง ว่ายกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินหรือไม่(ควรจะตัดสินไปเลยว่ายกเลิกหรือไม่ยกเลิก) ไม่น่าจะตัดสินกั๊กๆแบบนี้ ต่อไปศาลก็จะขาดความน่าเชื่อถือลงไปเรื่อยๆ
ทำไมมาตรฐานการตัดสินของศาลจึงเปลี่ยนไป
จากกรณีใดๆที่คนสองคน หรือสองฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกัน ศาลน่าจะต้องตัดสิน ว่าใครถูก ใครผิดใช่มั้ยครับ
หลังๆ มานี่รู้สึกศาลจะออกคำตัดสินเพื้ยนๆ ไปหน่อย เช่น ออกเป็นความเห็น คำแนะนำ หรือล่าสุดศาลแพ่ง(เข้าใจว่าน่าจะตัดสินเกี่ยวกับเรื่องเงิน สัญญา ที่เกี่ยวกับคดีแพ่ง, ถ้าเรื่องการเมืองน่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญมากกว่านะ) มีคำตัดสิน(หรือเปล่าหรือคำแนะนำ) ว่าไม่ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน แต่......
ห้ามแทบทุกอย่างในข้อกำหนดใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เช่น ข้อห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ศาลก็สั่งห้ามไม่ให้ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน(งงมั้ย) ทำไมไม่บอกว่าชุมนุมเกิน 5 คนได้(ก็ห้ามของห้ามเท่ากับไม่ห้าม) คือคำตัดสินออกมาแบบไม่ฟันธง ว่ายกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินหรือไม่(ควรจะตัดสินไปเลยว่ายกเลิกหรือไม่ยกเลิก) ไม่น่าจะตัดสินกั๊กๆแบบนี้ ต่อไปศาลก็จะขาดความน่าเชื่อถือลงไปเรื่อยๆ