กวดวิชาหนีตลาดซบเซา!! ปรับรูปแบบเป็น แอพพลิเคชัน ถือเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้เรียน เพราะทำให้ผู้เรียนสะดวก

16 กุมภาพันธ์ 2557 กวดวิชาหนีตลาดซบเซา!! ปรับรูปแบบเป็น แอพพลิเคชัน ถือเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้เรียน เพราะทำให้ผู้เรียนสะดวกยิ่งขึ้น

ประเด็นหลัก


"การพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งการเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ และโมบาย แอพพลิเคชัน ถือเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้เรียน เพราะทำให้ผู้เรียนสะดวกยิ่งขึ้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการกวดวิชารายใหญ่ต่างทะยอยปรับแพลตฟอร์ม เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมผู้เรียนมากขึ้น จากเดิมที่ใช้การเรียนแบบสอนสด  หรือการเรียนผ่านวิดีโอ เป็นต้น"
    ปัจจุบันเอ็นคอนเส็ปท์มีผู้เรียนกว่า 1.1 แสนคนทั่วประเทศ  ขณะที่รูปแบบการเรียนการสอนเน้นการเรียนการสอนผ่านคอมพิวเตอร์ 92% และเรียนสดหรือเรียนในห้องเรียน 8%  จากเดิมที่มีสัดส่วน คอมพิวเตอร์และวิดีโอ 80% และเรียนสด 20%


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=218414:-24&catid=106:-marketing&Itemid=456#.UwC-wUKSwct




______________________________________

กวดวิชาหนีตลาดซบเซา'เลอร์นบาลานซ์' ชูแพลตฟอร์มเรียนได้24ชม.



  - คอลัมน์ : การตลาด MARKETING พิมพ์
"เลอร์นบาลานซ์" พลิกกลยุทธ์รับตลาดกวดวิชาถึงจุดอิ่มตัว หันขยายกลุ่มเป้าหมายแนวดิ่งจับกลุ่มผู้บริโภคระดับบนและล่าง ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ "แพลตฟอร์ม-คอนเทนต์-คอมมูนิเคทีฟ อิงลิช"  ประเดิมส่งโมบาย แอพพลิเคชัน 8 ตัวรวด  ก่อนเปิดตัว Self@home  ซัมเมอร์นี้  เผยแผนรับเออีซี ซุ่มพัฒนาหลักสูตรอินเตอร์เนชันนอล ขายทั่วโลก
alt    น.พ.ธรรมศักดิ์  เอื้ออภิธร  ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เลอร์นบาลานซ์ จำกัด   ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาและสอนภาษาอังกฤษ "เอ็นคอนเส็ปท์"  (Enconcept) , โรงเรียนสอนวิชาภาษาไทยและสังคม "โซไซไทย" (Socithai) , สถาบันสอนภาษาควอลิชสำหรับเด็ก "ควอลิช" (Qualish) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชาทุกประเภทอยู่ในภาวะอิ่มตัวโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อหาโอกาสในการขยายกลุ่มผู้เรียน ดังนั้นในปีนี้นโยบายของเอ็นคอนเส็ปท์ จึงมุ่งขยายกลุ่มผู้เรียนไปยังกลุ่มผู้เรียนระดับบน คือระดับมหาวิทยาลัย  , ผู้ที่ต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศ และผู้ที่ต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังขยายไปยังกลุ่มเด็กประถมศึกษา เพื่อเป็นการวางรากฐานด้านภาษาอังกฤษให้แข็งแรง
    โดยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ประกอบไปด้วย  การพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ โดยบริษัทใช้งบลงทุนจำนวนมากในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ เพื่อพัฒนาโซลูชันให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ใดก็ได้ เวลาใดก็ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งที่บ้าน  ที่ทำงาน ผ่านอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีต่างๆ โดยปัจจุบันเอ็นคอนเส็ปท์มีคอมพิวเตอร์มากกว่า 5 พันเครื่อง และโมบาย แอพพลิเคชันอีก 8 แอพพลิเคชัน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และในซัมเมอร์นี้เอ็นคอนเส็ปท์เตรียมเปิดตัวโปรแกรมใหม่ภายใต้ชื่อ self@home เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดลงบนแท็บเลตหรือคอมพิวเตอร์ก็สามารถเรียนหรือฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษได้
    อีกกลยุทธ์คือ การพัฒนาคอนเทนต์ โดยเอ็นคอนเส็ปท์จะพัฒนาคอนเทนต์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ โดยล่าสุดยังได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพแพทย์ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนในรูปแบบโมเดลเชิงบูรณาการ ที่ผนวกการฟัง พูด อ่าน และเขียนเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาครบทั้ง 4 ทักษะ ในระยะแรก ส่วนระยะที่ 2 จะเน้นการใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งจะเป็นโปรแกรมที่เอ็นคอนเส็ปท์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารกับคนไข้
    ส่วนกลยุทธ์สุดท้าย ได้แก่ คอมมูนิเคทีฟ อิงลิช (communicative English) เป็นการพัฒนาโซลูชัน โดยใช้นวัตกรรม  เพื่อเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษแบบรอบด้าน โดยเฉพาะหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี จะทำให้ภาษาอังกฤษมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น
    อย่างไรก็ดี บริษัทมีแผนขยายธุรกิจไปยังประเทศในเออีซี ทั้งมาเลเซีย และสิงคโปร์ ภายใน 1-2 ปีนี้ โดยเริ่มวางระบบและสร้างเครือข่ายพร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนในประเทศมาเลเซียแล้ว  และจะพัฒนาไปยังวิชาอื่นๆผ่านการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในประเทศนั้นๆ  โดยการพัฒนาดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ได้ทั้งในไทยและต่างประเทศ   อาทิ หลักสูตร TOEFL (Test of English as a Foreign Language) ใหม่ ที่บริษัทพัฒนาขึ้นและจะเปิดตัวในซัมเมอร์นี้ จะเป็นโปรแกรมอินเตอร์เนชันนอล เวอร์ชัน ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ 100% ทำให้สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก
    น.พ.ธรรมศักดิ์ กล่าวอีกว่า  ขณะที่ตลาดโรงเรียนกวดวิชาเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว กลับพบว่า ตลาดโรงเรียนที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก กลับมีการเติบโตเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทมีแผนขยายสาขาของโรงเรียน โกลบอลอาร์ต ซึ่งเป็นโรงเรียนเสริมพัฒนาการของเด็กผ่านงานศิลปะ เพิ่มขึ้นอีก 5-6 แห่งจากปัจจุบันมีอยู่ 19 แห่ง
    "การพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งการเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ และโมบาย แอพพลิเคชัน ถือเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้เรียน เพราะทำให้ผู้เรียนสะดวกยิ่งขึ้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการกวดวิชารายใหญ่ต่างทะยอยปรับแพลตฟอร์ม เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมผู้เรียนมากขึ้น จากเดิมที่ใช้การเรียนแบบสอนสด  หรือการเรียนผ่านวิดีโอ เป็นต้น"
    ปัจจุบันเอ็นคอนเส็ปท์มีผู้เรียนกว่า 1.1 แสนคนทั่วประเทศ  ขณะที่รูปแบบการเรียนการสอนเน้นการเรียนการสอนผ่านคอมพิวเตอร์ 92% และเรียนสดหรือเรียนในห้องเรียน 8%  จากเดิมที่มีสัดส่วน คอมพิวเตอร์และวิดีโอ 80% และเรียนสด 20%
    สำหรับภาพรวมของบริษัทในปีนี้ คาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นราว 10% ขณะที่ในปีก่อนเติบโต 10% เช่นกัน  แม้ขณะนี้จะเกิดปัญหาด้านการเมือง แต่ที่ผ่านมาพบว่ายังไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา อาจจะส่งผลกระทบบ้างในด้านการเดินทาง  แต่หากการชุมนุมยืดเยื้อจนถึงช่วงซัมเมอร์ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา ก็จะส่งผลกระทบมากขึ้น โดยบริษัทมีโรงเรียนกวดวิชาในย่านการชุมนุม อาทิ สยาม รวม 4 แห่ง


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=218414:-24&catid=106:-marketing&Itemid=456#.UwC-wUKSwct





ผมขอเปลื่ยนชื่อจาก So Magawn เป็น Magawn19 (มันมีความหมายว่าเริ่มเล่นพันทิปอายุ19ครับ) มีผลทุกช่องทางนะครับ รวมถึงคลังความรู้โทรคมนาคมและการสือสาร http://magawn19.blogspot.com/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่